07.09.2022 Views

E-BOOK หลักเมือง สิงหาคม 65

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ความรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญา

ของผู้บริหารกิจการร้านอาหาร

กรณีเพลิงไหม้สถานบริการ

พลตรี นิติน ออรุ่งโรจน์

หัวหน้าอัยการทหาร กรมพระธรรมนูญ

ป็นที่ทราบกันว่าเมื่อกลางดึกของวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๕ เกิดเหตุ

เพลิงไหม้ร้านอาหารกึ่งบาร์ชื่อ เมาน์เทน บี ริมถนนสุขุมวิท จังหวัด

ชลบุรี ซึ่งก่อนเกิดเหตุมีเสียงดังข้างบูธดีเจ ๒ ครั้ง ก่อนไฟลุก

และกระจายไปอย่างรวดเร็ว และทุกคนต่างพากันออกมาทางประตู

ด้านหน้าร้าน โดยไม่ทราบว่ามีประตูหนีไฟหรือไม่ซึ่งภายในสถานบันเทิง

แห่งนี้มีจุดเสี่ยงหลายจุด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาประตูทางออก - ทางหนี

ไฟ การจัดวางโต๊ะกีดขวางทางเดิน รวมทั้งบุคลากรขาดการฝึกอบรม

ขณะเกิดเหตุฉุกเฉิน ทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ

เหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นหลายครั้ง ผู้บริหารกิจการร้านอาหาร

ประเภทนี้ ส่วนใหญ่แล้วยังคงไม่จัดให้มีการรักษาความปลอดภัย

เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินตามมาตรฐาน บทความนี้จึงมุ่งหมายที่จะนำเสนอ

ว่า หากผู้บริหารกิจการร้านอาหารไม่จัดให้ร้านมีมาตรฐานด้านความ

ปลอดภัยแก่ลูกค้าแล้วจะต้องมีความรับผิดตามประมวลกฎหมาย

อาญาอย่างไรบ้าง

ความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท ตามประมวล

กฎหมายอาญา มาตรา ๒๒๕ กำหนดให้ผู้ใดกระทำให้เกิดเพลิงไหม้

โดยประมาท และเป็นเหตุให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหาย หรือการกระทำ

18

โดยประมาทนั้นน่าจะเป็นอันตรายแก่ชีวิตของบุคคลอื่น ต้องระวาง

โทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือ

ทั้งจำทั้งปรับ

ยกตัวอย่าง เช่น ในคดีที่จำเลยที่ ๑ และ ๒ ร่วมกันลักน้ำมันที่

ปั๊มผู้เสียหายโดยใช้สายไฟต่อขั้วแบตเตอรี่กับเครื่องปั๊มดูดน้ำมันจาก

ถังใต้ดินมาใส่ถังในรถยนต์ เมื่อดูดน้ำมันได้ ๔ ถังแล้วจำเลยที่ ๒

ดึงสายไฟจากขั้วแบตเตอรี่ให้ปั๊มติ๊กหยุดท ำงานเพื่อจะเปลี่ยนสายยาง

ไปใส่ถังที่๕ ทำให้เกิดประกายไฟเป็นเหตุให้เพลิงไหม้ดังนี้พฤติการณ์

ที่บุคคลทั้งสองร่วมกันมาลักทรัพย์โดยวิธีการเช่นนี้ท ำให้เกิดไอระเหย

ของน้ำมันกระจายอยู่ในบริเวณนั้นง่ายต่อการเกิดเพลิงไหม้ ถือได้ว่า

เป็นการกระทำโดยประมาท เพราะแบตเตอรี่เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

และน้ำมันเป็นวัตถุที่ติดไฟได้ง่าย เมื่อเกิดเพลิงไหม้ขึ้นเนื่องจากวิธี

การในการลักทรัพย์ของบุคคลทั้งสองซึ่งกระทำด้วยความประมาท

จึงต้องรับผิดฐานทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท (คำพิพากษา

ศาลฎีกาที่ ๑๒๑๑/๒๕๓๐)

ความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๑ ที่กำหนดให้ผู้กระทำ

พลตรี นิติน ออรุ่งโรจน์

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!