07.09.2022 Views

E-BOOK หลักเมือง สิงหาคม 65

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

กระทรวงกลาโหม จัดแบ่งส่วนราชการออกเป็น ๔ ส่วน ตามพระราช

กฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของสำนักงาน

รัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ ๒)

พ.ศ.๒๕๖๐ ได้แก่ กองการเมือง กองกลาง กองเลขานุการ ศูนย์รับ

เรื่องราวร้องทุกข์ กระทรวงกลาโหม และสำนักงานจเรทหารทั่วไป

โดยมีเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นผู้บังคับ

บัญชา และมีหัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม เป็น

ผู้บังคับบัญชารองจากเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับงานด้านเลขานุการและการ

ประสานงานด้านพิธีการ ในเรื่องของการประชุม การจัดทำคำขวัญ

สาร คำปราศรัย เอกสาร การรับรองคณะบุคคลทั่วไป รวมทั้งการ

เผยแพร่ภารกิจและกิจกรรมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นหน้าที่ของกอง

เลขานุการ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม โดยมีผู้อำนวยการ

กองเลขานุการ เป็นผู้รับผิดชอบ ทำหน้าที่ประสานงานด้าน

เอกสารและการปฏิบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักนายก

รัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักปลัดสำนักนายก

รัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง

กลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย

เหล่าทัพ รวมทั้งหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาค

รัฐและภาคเอกชน

งานด้านเลขานุการ ดำเนินการ

เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บังคับ

บัญชา ในเรื่องของเอกสาร จัดแยกแฟ้ม

เสนองานตามความสำคัญ ลำดับ

ความเร่งด่วนของงานตามวันเวลาก่อน

และหลังของภารกิจหรือเหตุการณ์

ตรวจสอบรายละเอียด ความถูกต้อง

เรียบร้อยของเอกสารและติดตามความ

ก้าวหน้า ความสำเร็จของเรื่องที่นำเรียน เพื่อแจ้งผลให้กับหน่วยต้นเรื่อง

ได้รับทราบ การบันทึกเข้าร่วมประชุม จัดทำวาระงานเพื่อให้

ผู้บังคับบัญชาทราบการปฏิบัติล่วงหน้าตามวันและเวลาที่กำหนด

การนัดหมายวันเวลาการขออนุญาตเข้าพบของบุคคลทั่วไป เพื่อไม่

ให้ซ้ำซ้อนกับภารกิจหรืองานอื่น ๆ ของผู้บังคับบัญชา ตลอดจนการ

เข้าร่วมงานพิธี ราชพิธี และงานหรือกิจกรรมอื่น ๆ ตามที่ได้รับการ

เรียนเชิญจากหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะการปฏิบัติภารกิจของ

ผู้บังคับบัญชาภายนอกหน่วยงานนั้น เลขานุการจะต้องปฏิบัติงาน

อย่างใกล้ชิดกับผู้บังคับบัญชาหรืออยู่ในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับ

ผู้บังคับบัญชา สามารถที่จะติดต่อ ติดตามหรือเรียกตัวให้เข้าพบได้

ตลอดเวลา ทั้งนี้เพื่อความมั่นใจของผู้บังคับบัญชาและป้องกัน

ความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติงาน

งานประสานงานด้านพิธีการ ดำเนินการประสานงานกับ

หน่วยงานที่เสนอเรื่องถึงผู้บังคับบัญชา โดยทำการวิเคราะห์ ตรวจสอบ

รายละเอียดข้อมูลของเรื่องที่จะนำเสนอเกี่ยวกับการปฏิบัติของ

ผู้บังคับบัญชา ในเรื่องของกำหนดการ ลำดับพิธี การปฏิบัติของ

ผู้บังคับบัญชาในแต่ละขั้นตอน การแต่งกาย สถานที่ ห้องรับรอง

ห้องประชุม รวมทั้งผังที่นั่งหรือที่ยืนของผู้บังคับบัญชาในระหว่าง

พิธี มีการจัดที่เหมาะสม ถูกต้องตามลำดับตำแหน่งของผู้บังคับ

บัญชาหรือไม่ หากตรวจสอบแล้วพบว่าไม่ถูกต้อง ก็จะเสนอแนะ

หรือแนะนำให้หน่วยเจ้าของเรื่องแก้ไขต่อไป

เลขานุการที่มีความสามารถและมีประสิทธิภาพ จะช่วย

ผู้บังคับบัญชาในการบริหารงานและการดำเนินการต่าง ๆ ในหน่วยงาน

ให้เกิดความเรียบร้อย ราบรื่น รวดเร็ว ถูกต้อง ทันเวลา สำเร็จ

ตามเป้าหมายของหน่วยงานและเป็นไปตามนโยบายของผู้บังคับ

บัญชา จึงนับได้ว่า เลขานุการเป็นบุคคลที่มีความสำคัญและจำเป็น

ต่องานทุกสาขาอาชีพ ซึ่งเลขานุการที่มีความสามารถในปัจจุบัน

ก็คือ “ผู้บริหารที่มีความสามารถในอนาคต”

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๖๕

57

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!