07.09.2022 Views

E-BOOK หลักเมือง สิงหาคม 65

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

สาระน่ารู้ทางการแพทย์

“มารู้จักโรคฝีดาษลิง

(Monkeypox)

แพร่เชื้อติดต่ออย่างไร” แบบเจาะลึก

สำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ฝี

ดาษลิง (Monkeypox) คืออะไร โรคไข้ฝีดาษลิงหรือไข้ทรพิษลิง

(Monkeypox) เกิดจากไวรัส Othopoxvirus ซึ่งอยู่ในกลุ่ม

เดียวกันกับไวรัสโรคไข้ทรพิษ (Smallpox) โดยพบเชื้อในสัตว์ตระกูล

ลิง และสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระรอก กระแต เป็นหลัก โดยค้นพบ

โรคนี้ครั้งแรกในลิง ซึ่งไปรับเชื้อมาโดยบังเอิญจึงเป็นที่มาของชื่อโรค

“ฝีดาษลิง” โรคฝีดาษลิงแพร่ระบาดอยู่ทั่วไปในทวีปแอฟริกา จนกลาย

เป็นโรคประจำถิ่น (Endemic disease) ซึ่งพบอัตราการเสียชีวิต

ร้อยละ ๑ - ๑๐ ทั้งนี้การเสียชีวิตขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์หลัก

ของโรคฝีดาษลิง แบ่งออกเป็น ๒ สายพันธุ์คือ สายพันธุ์ Congo

Basin พบอัตราการเสียชีวิตร้อยละ ๑๐ และสายพันธุ์ West African

พบอัตราการเสียชีวิตร้อยละ ๑

“ฝีดาษลิง” แตกต่างจาก “ไข้ฝีดาษ-ไข้ทรพิษ” อย่างไร

โรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ (Smallpox) จัดเป็นกลุ่มโรคไข้ออกผื่น กินระยะ

เวลานาน ๒ - ๔ สัปดาห์ เช่นเดียวกับไข้ฝีดาษลิง แม้ว่าจะเป็นไวรัส

Othopoxvirus กลุ่มเดียวกันแต่จัดเป็นคนละชนิดกัน โดยลักษณะ

การติดต่อและความรุนแรงของโรคพบว่า มีความแตกต่างกันอย่าง

ชัดเจน เชื้อไวรัสของโรคไข้ทรพิษจะอยู่ในคนเป็นหลักโดยจะมีการ

ติดต่อจากคนสู่คนเท่านั้น โดยติดต่อผ่านการหายใจสามารถติดต่อกัน

ง่ายมากโดยผ่านละอองฝอยเล็ก ๆ ซึ่งสามารถแพร่กระจายได้

เป็นวงกว้าง โดยพบว่าผู้ป่วยโรคไข้ทรพิษมีอัตราการเสียชีวิต

สูงถึงร้อยละ ๓๐ แตกต่างจากไข้ฝีดาษลิง ที่ติดต่อกันผ่านการสัมผัส

(Contact)

48

มีหลักฐานยืนยันว่า โรคไข้ทรพิษเป็นโรคที่

มีการแพร่ระบาดมาอย่างยาวนานมากกว่าพันปี

แต่ปัจจุบันนี้ไม่พบผู้ป่วยโรคไข้ทรพิษ โดย

ประเทศไทยได้ยุติการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษ ตั้งแต่ปี

พ.ศ.๒๕๖๒ ซึ่งปัจจุบันได้มีการเก็บตัวอย่างเชื้อ

ไข้ทรพิษไว้สำหรับเพื่อการศึกษาวิจัยเท่านั้น

โรคฝีดาษลิง โรคระบาดใหม่ที่ไม่ควรมอง

ข้าม ซึ่งพบผู้ติดเชื้อเพิ ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ภายใน

ระยะเวลา ๓๐ วัน โดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ ร้อยละ

๙๙ เป็นผู้ชาย ซึ่งมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย

ที่ได้รับเชื้อมา โดยติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์

อย่างที่กล่าวไปในข้างต้นแล้วว่า พบการแพร่

ระบาดของโลกฝีดาษลิงในทวีปแอฟริกาเท่านั้น

นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๒ เป็นต้นมา จากสถานการณ์

การแพร่ระบาดในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีแพรี่

ด็อก (Prairie Dog) สัตว์นำเข้าจากประเทศคองโกเป็นพาหะในการ

แพร่เชื้อเป็นวงกว้าง และโรคได้สงบไปจากการแพร่ระบาดในครั้งนั้น

และไม่พบผู้ป่วยโรคไข้ฝีดาษลิงนอกทวีปแอฟริกาอีก โรคไข้ฝีดาษลิง

ถูกพบเมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๕ เป็นรายแรก และพบผู้ติดเชื้อ

แพร่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก สำหรับประเทศไทย โดยนายแพทย์

โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า กรมควบคุมโรค

ในฐานะที่เป็นหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ป้องกันควบคุมโรค โดยเฉพาะโรค

อุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ จึงได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทาง

สาธารณสุข กรมควบคุมโรค กรณีโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เพื่อ

เฝ้าติดตามสถานการณ์ แนวโน้ม พร้อมทั้งคาดการณ์สถานการณ์ที่

อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อจัดทำแผนทั้งในระยะยาว ระยะกลาง

ในการปรับปรุงกลยุทธ์และมาตรการให้เหมาะสม

อาการโรคฝีดาษลิง ระยะเวลาฟักตัวของโรคฝีดาษลิง

(Monkeypox) จะใช้ระยะเวลาในการฟักตัวประมาณ ๗ - ๑๔ วัน

ผู้ติดเชื้อจะมีอาการแสดงต่าง ๆ ดังนี้ มีไข้ ไข้สูง ปวดตัว ปวดกล้ามเนื้อ

ปวดหลัง ปวดกระบอกตา ต่อมน้ำเหลืองโตทั่วร่างกาย

อาการต่อมน้ำเหลืองโต ถือเป็นจุดเด่นที่สังเกตได้ของโรค

ไข้ฝีดาษลิง สามารถเกิดขึ้นได้ตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะจุด

ที่ไปสัมผัสโรคตามผิวหนัง เช่น คอ ไหปลาร้า ข้อศอก รักแร้ เป็นต้น

หรือผ่านทางเยื่อบุทางเดินหายใจ จากการพูดคุย สัมผัสใกล้ชิด

การจูบได้เช่นกัน ซึ่งอาการต่อมน้ำเหลืองโตนี้จะเป็นอาการที่แตกต่าง

สำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!