20.11.2016 Views

ANDROID APP

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ความแตกต่างของฮารด์แวร์ที่ใช้งานร่วมกับแอนดรอยด์<br />

วิธีการรับข้อมูล<br />

เทคโนโลยีจอภาพแบบสัมผัส ทำให้ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับจอแสดงผลได้โดยตรง ในปัจจุบันมี<br />

การใช้เทคโนโลยีของจอสัมผัส ดังนี้<br />

m Resistive – ใช้แผ่นตัวต้านทานจำนวน 2 แผ่นติดตั้งที่ชั้นบนสุดของจอภาพ เมื่อมีวัตถุ<br />

กดทับ เช่น นิ้วมือ ปากกา กดลงบนพื้นผิว จะทำให้แผ่นตัวต้านทานทั้ง 2 สัมผัสกัน และ<br />

แสดงค่าความต้านทานระดับต่างๆ ออกมา โดยค่าที่ได้จะถูกนำไปประมวลผลเพื่อระบุ<br />

พิกัดบนจอภาพ เทคโนโลยีนี้มีราคาไม่สูง แต่มีข้อจำกัดตรงที่แผ่นตัวต้านทานมีความ<br />

โปร่งแสงเพียง 75% เลยทำให้จอภาพแสดงสีได้ไม่คมชัด และยังไม่รองรับการทำงาน<br />

แบบสัมผัสหลายจุดพร้อมๆ กันด้วย<br />

m Capasitive – มีลักษณะเป็นแผ่นตัวเก็บประจุติดตั้งบนจอภาพ เมื่อมีนิ้วมือหรือวัตถุตัวนำ<br />

ใดๆ มาสัมผัสลงบนแผ่นตัวเก็บประจุนี้ จะทำให้ค่าประจุที่ตำแหน่งนั้นๆ เปลี่ยนไป แล้วนำ<br />

ค่านั้นมาแปลงเป็นพิกัดบนจอภาพ เทคโนโลยีนี้มีจุดเด่นตรงที่แผ่นตัวเก็บประจุมีความ<br />

โปร่งแสงถึง 90% แต่ความแม่นยำจะต่ำกว่าจอภาพแบบ Resistive เล็กน้อย<br />

m Surface Acoustic Wave – จอภาพชนิดนี้ใช้เทคโนโลยีที่ค่อนข้างสูงกว่าแบบอื่นๆ<br />

โดยจะใช้คลื่นอัลตราโซนิคในการรับส่งสัญญาณ เมื่อมีนิ้วมือหรือวัตถุใดๆ มาสัมผัสบน<br />

จอภาพ คลื่นอัลตราโซนิคที่ตำแหน่งนั้นจะถูกดูดซับ และนำค่านั้นมาแปลงเป็นพิกัดบน<br />

จอภาพ จุดเด่นของจอภาพชนิดนี้คือมีความทนทาน แต่เหมาะที่จะใช้กับจอภาพขนาดใหญ่<br />

เท่านั้น เช่น จอภาพของตู้เอทีเอ็ม เป็นต้น<br />

ในอุปกรณ์แอนดรอยด์มีการนำเทคโนโลยีจอภาพทั้งแบบ Resistive และแบบ Capasitive มา<br />

ใช้ โดยในรุ่นที่ใช้จอภาพแบบ Capasitive สามารถรองรับการทำงานแบบสัมผัสหลายจุดพร้อมกันได้<br />

ด้วย<br />

นอกจากจอภาพแบบสัมผัสแล้ว ในอุปกรณ์แอนดรอยด์ยังมีการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมเพื่อช่วย<br />

ในการใช้งานกับจอภาพด้วย เช่น<br />

m D-pad (Direction pad) – มีลักษณะเป็นปุ่มบน ล่าง ซ้าย ขวา<br />

m Trackball – มีลักษณะเป็นลูกกลิ้ง คล้ายกับการทำงานของเมาส์<br />

m Trackpad – มีลักษณะเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมเล็กๆ ใช้สัมผัสเพื่อระบุตำแหน่ง<br />

เซ็นเซอร์ตรวจจับ<br />

โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนอกจากจะมีลำโพงและไมโครโฟนซึ่งเป็นอุปกรณ์พื้นฐานแล้ว ยังมีการ<br />

ติดตั้งตัวตรวจจับต่างๆ ไว้หลายอย่าง ช่วยให้เกิดประโยชน์ในการใช้งานเพิ่มขึ้น รวมถึงกล้องที่มีความ<br />

ละเอียดหลายระดับ ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกแบบที่ตรงกับความต้องการได้อย่างอิสระ<br />

ในโทรศัพท์มือถือประเภทสมาร์ทโฟนจะมีการติดตั้งตัวตรวจจับมาตรฐานเอาไว้ 3 ชนิด คือ<br />

ตัวตรวจจับอัตราเร่งแบบ 3 แกนเพื่อใช้จับทิศทางที่กระทาจากแรงโน้มถ่วง ตัวตรวจจับสนามแม่เหล็ก<br />

เพื่อใช้จับทิศทางที่อ้างอิงจากสนามแม่เหล็กโลก และตัวตรวจจับอุณหภูมิ ตัวอย่างเช่น HTC Dream<br />

(G1) ก็เป็นโทรศัพท์รุ่นหนึ่งที่มีการติดตั้งตัวตรวจจับแบบที่ว่ามา (การตรวจสอบว่าโทรศัพท์มีตัวตรวจ<br />

จับอะไรติดตั้งไว้บ้าง ให้ใช้คาสั่ง getSensorList() โดยคุณสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในบทที่<br />

7 “การติดต่อกับฮารด์แวร์ต่างๆ”)<br />

9

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!