20.11.2016 Views

ANDROID APP

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

79<br />

บทที่ 4<br />

ส่วนการติดต่อกับผู้ใช้งาน<br />

(User Interface)<br />

ในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์นั้น ส่วนการติดต่อกับผู้ใช้งาน (UI – User Interface)<br />

จะประกอบไปด้วย ส่วนของจอ, การสัมผัสจอ และการกดปุ่มต่างๆ ทาง Google ได้พัฒนาเฟรมเวิร์ค<br />

เพื่อสนับสนุนการทำงานเหล่านี้เอาไว้ ทำให้สามารถรองรับกับการทำงานร่วมกันในอุปกรณ์แอนดรอยด์<br />

หลายๆ แบบได้ ในบทนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเฟรมเวิร์คที่นำมาใช้ในการสร้างกราฟิกเลย์เอาต์<br />

และการเปลี่ยนแปลงบนจอภาพตามเหตุการณ์ต่างๆ แล้วในบทที่ 5 เราค่อยมาพูดถึงเหตุการณ์ต่างๆ<br />

ที่เกี่ยวพันกับการกดปุ่มและเจสเจอร์ (Gesture) กัน<br />

โครงสร้างของรีซอร์สในไดเร็กทอรี และค่าแอททริบิวต์<br />

ที่เกี่ยวข้อง<br />

การแสดงผลบนจอภาพโดยการกำหนดเลย์เอาต์นั้น เราจะใช้ไฟล์รีซอร์สที่เราสร้างขึ้น ซึ่งไฟล์<br />

เหล่านี้ได้พูดถึงแล้วในบทที่ 2 “การพัฒนาแอพเบื้องต้น: แอคทิวิตี้ และ อินเท็นต์” โดยไฟล์จะถูกจัด<br />

เก็บอยู่ในโปรเจ็กต์แอนดรอยด์ ด้านล่างนี้คือการสรุปแบบคร่าวๆ ถึงโครงสร้างของรีซอร์สใน<br />

ไดเร็กทอรี<br />

m res/anim/ -- จัดเก็บไฟล์ประเภทภาพเคลื่อนไหวในรูปแบบเฟรม<br />

m res/drawable/ -- จัดเก็บไฟล์ประเภทรูปภาพ ซึ่งสามารถแก้ไขและปรับแต่งให้มีขนาดที่<br />

เหมาะสมในระหว่างการคอมไพล์แอพได้<br />

m res/layout/ -- จัดเก็บไฟล์ประเภท XML (Extensible Markup Language) ที่ใช้ในการ<br />

กำหนดเลย์เอาต์<br />

m res/values/ -- จัดเก็บไฟล์ประเภท XML ที่ประกาศรายละเอียดของรีซอร์ส เช่น<br />

arrays.xml, colors.xml, dimens.xml, strings.xml และ styles.xml<br />

m res/xml/ -- จัดเก็บไฟล์ประเภท XML อื่นๆ ที่ไม่เข้าพวกกับกลุ่มข้างต้น<br />

m res/raw/ -- จัดเก็บไฟล์รีซอร์สอื่นๆ ที่ไม่เข้าพวกกับกลุ่มข้างต้น เช่น ไฟล์รูปภาพที่ไม่<br />

สามารถแก้ไขได้ เป็นต้น<br />

ออบเจ็กต์ UI แต่ละตัวจะมีค่าแอททริบิวต์ที่สามารถกำหนดได้จำนวน 3 ค่า ซึ่งค่าเหล่านี้จะใช้<br />

ในการปรับแต่ง UI ได้แก่ ค่าของขนาดออบเจ็กต์, ข้อความที่แสดงในออบเจ็กต์ และสีของออบเจ็กต์<br />

โดยรูปแบบของค่าที่จะใช้กำหนดให้แก่แอททริบิวต์เหล่านี้จะแสดงไว้ในตารางที่ 4.1 เวลากำหนดขนาด<br />

ของออบเจ็กต์นั้น ควรใช้หน่วยเป็น dp หรือ sp เพื่อให้สามารถรองรับการทำงานบนอุปกรณ์ได้หลาย<br />

แบบ

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!