20.11.2016 Views

ANDROID APP

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

23<br />

บทที่ 2<br />

การพัฒนาแอพเบื้องต้น:<br />

แอคทิวิตี้ และ อินเท็นต์<br />

แอพแอนดรอยด์แต่ละตัวนั้นสร้างมาจากแอนดรอยด์โปรเจ็กต์ โดยในบทนี้จะกล่าวถึง<br />

โครงสร้างของโปรเจ็กต์ และพื้นฐานเบื้องต้นที่ควรรู้ก่อนเริ่มพัฒนาแอพ จากนั้นเราก็จะพาคุณไป<br />

เรียนรู้ขั้นตอนการสร้างแอคทิวิตี้ (Activity) และอินเท็นต์ (Intent) กัน<br />

โครงสร้างการทำงานของแอพแอนดรอยด์<br />

การทำงานของแอพแอนดรอยด์จะประกอบขึ้นจากฟังก์ชั่นการทำงานต่างๆ ร่วมกัน ทำให้เมื่อ<br />

ติดตั้งลงบนโทรศัพท์แล้วจะรองรับการทำงานได้หลากหลาย เช่น เล่นไฟล์เพลง, ใช้เป็นนาฬิกาปลุก,<br />

จัดการสมุดโทรศัพท์, การแก้ไขข้อมูลในไฟล์ต่างๆ เป็นต้น ฟังก์ชั่นการทำงานของแอนดรอยด์จะถูก<br />

แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังที่เห็นในตารางที่ 2.1<br />

ตารางที่ 2.1 ประเภทของคอมโพเน็นต์ที่ใช้ในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์<br />

ลักษณะการทางาน Java Base Class ตัวอย่างการทางาน<br />

การทำางานของผู้ใช้งาน Activity แก้ไขไฟล์ข้อมูล หรือเล่นเกม<br />

การประมวลผลเบื้องหลัง Service เล่นไฟล์เพลง หรือแสดงข้อมูลสภาพอากาศ<br />

การรับข้อความ BroadcastReceiver นาฬิกาปลุก หรือแจ้งเตือนเหตุการณ์ต่างๆ<br />

การเก็บและเรียกใช้ข้อมูล ContentProvider การเปิดสมุดโทรศัพท์<br />

แอพที่สร้างขึ้นจะต้องประกอบด้วยคอมโพเน็นต์ทั้ง 4 ส่วนนี้ เมื่อมีการเรียกใช้งานคอมโพเน็นต์<br />

ก็จะถูกสร้างขึ้นเป็นอินสแตนซ์ (Instance) ด้วยระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยแอพอื่นๆ สามารถ<br />

เรียกใช้งานอินสแตนซ์เหล่านี้ได้เช่นกัน<br />

จากตารางข้างบนจะเห็นได้ว่าในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์นั้น มีคอมโพเน็นต์ที่ทำงานอยู่<br />

หลายประเภท คอมโพเน็นท์เหล่านี้มีวงจรการทำงานเช่นเดียวกับคอมโพเน็นท์ในระบบปฏิบัติการอื่นๆ<br />

คือมีสถานะการสร้าง, การใช้งาน, การเลิกใช้งาน และการทำลาย การทำงานเหล่านี้เราสามารถทำการ<br />

โอเวอร์ไรด์ (Override) เพื่อนำมาใช้งานในแอพของเราได้

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!