20.01.2015 Views

ชื่อบทความ การใช้ประโยชน์จากออนโทโลยีในงานบ

ชื่อบทความ การใช้ประโยชน์จากออนโทโลยีในงานบ

ชื่อบทความ การใช้ประโยชน์จากออนโทโลยีในงานบ

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

หน้าที่ 1<br />

ชื่อบทความ การใช้ประโยชน์จากออนโทโลยีในงานบริการสารสนเทศ<br />

(Using Ontology Tools for Information Services)<br />

ผู้เขียน นายโชคธ ารงค์ จงจอหอ<br />

กลุ่มเป้าหมาย 1) ผู้ให้บริการสารสนเทศ เช่น บรรณารักษ์ นักสารสนเทศ นักเอกสารสนเทศ เป็นต้น<br />

2) ผู้ใช้บริการสารสนเทศ เช่น อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา ป.โท-ป.เอก เป็นต้น<br />

วัตถุประสงค์ 1) ผู้อ่านได้รับความรู้ในการประเมินออนโทโลยี<br />

2) ผู้อ่านสามารถประยุกต์ใช้ออนโทโลยีในการบริการสารสนเทศและสืบค้นข้อมูลได้<br />

เค้าโครงของบทความ<br />

1) บทน า (ขึ้นต้นด้วยค านิยามศัพท์ของ “บริการสารสนเทศ” แล้วเชื่อมโยงเข้าสู่ “Thesis statement”)<br />

2) ความส าคัญของการประเมินออนโทโลยี<br />

2.1 แนวคิดเกี่ยวกับออนโทโลยี<br />

2.2 ความส าคัญของออนโทโลยี<br />

3) แนวทางในการประเมินออนโทโลยี (พิจารณาจาก)<br />

3.1 การประเมินตามแนวคิดของ Sure, Y. และคณะ (2004)<br />

- การท างานร่วมกัน (Interoperability) - ก าหนดทิศทางการสืบค้น (Navigability)<br />

- การรองรับการขยายตัว (Scalability) - ความสะดวกในการใช้งาน (Usability)<br />

3.2 การประเมินตามแนวคิดของ Brank, Grobelnik และ Mladenic (2005)<br />

ความหมายของค า (Lexical) ค าศัพท์ (vocabulary) หรือ ระดับของข้อมูล (data layer)<br />

ล าดับชั้น (Hierarchy) หรือ อนุกรมวิธาน ( taxonomy)<br />

ความสัมพันธ์เชิงความหมายในลักษณะอื่น ๆ (Other semantic relations)<br />

บริบท หรือ ระดับของโปรแกรมประยุกต์ (Context or application level)<br />

ระดับประโยค (Syntactic level)<br />

โครงสร้าง (Structure) สถาปัตยกรรม (architecture) และการออกแบบ (design)<br />

4) การประยุกค์ใช้ออนโทโลยีในงานบริการบริการสารสนเทศ<br />

4.1 บริการตอบค าถามและช่วยการค้นคว้า (Reference services)<br />

4.2 บริการสอนผู้ใช้ (Instruction service) และทักษะการรู้สารสนเทศ (Information literacy skill)<br />

4.3 บริการให้ค าแนะน าในการเลือกแหล่งสารสนเทศ (Referral services)<br />

4.4 บริการการค้นคืนสารสนเทศ (Information retrieval service)<br />

5) บทสรุป


หน้าที่ 2<br />

การใช้ประโยชน์จากออนโทโลยีในงานบริการสารสนเทศ<br />

Using Ontology Tools for Information Services<br />

โชคธ ารงค์ จงจอหอ 1<br />

Chokthumrong Chongchorhor<br />

บทคัดย่อ<br />

บทความนี้กล่าวถึงปรากฏการณ์ที่ผู้ใช้บริการสารสนเทศต้องเผชิญกับออนโทโลยีจ านวนมาก ซึ่งถูก<br />

พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประมวลผลแนวคิดและความสัมพันธ์ขององค์ความรู้ในขอบเขตที่เฉพาะเจาะจง จากนั้นได้<br />

น าเสนอเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินออนโทโลยี ซึ่งประกอบด้วย การวิเคราะห์ปัจจัยและระดับของการประเมิน<br />

ส่วนสุดท้ายน าเสนอแนวทางที่ผู้ให้บริการสารสนเทศ เช่น บรรณารักษ์ และนักสารสนเทศ สามารถใช้<br />

ประโยชน์จากออนโทโลยีเป็นเครื่องมือในการเพิ่มคุณภาพของการให้บริการ ข้อเสนอดังกล่าวเป็นประโยชน์<br />

ต่อผู้รับผิดชอบในการขับเคลื่อนบริการสารสนเทศ ทั้งในแง่บริการตอบค าถามและช่วยการค้นคว้า บริการ<br />

สอนผู้ใช้และอบรมทักษะการรู้สารสนเทศแก่ บริการให้ค าแนะน าในการเลือกแหล่งสารสนเทศ และบริการ<br />

การค้นคืนสารสนเทศ<br />

Abstract<br />

This article describes how users of information services can work with ontologies that have<br />

been developed for processing the concepts and relationships within the body of knowledge of any<br />

specific domain. It presents a method for evaluating these ontologies, and shows the factors and<br />

levels of evaluation that may be relevant. It also shows how information service providers such as<br />

librarians and information professionals can improve the quality of their services by using ontology<br />

tools. These findings may be useful to people in such diverse information service roles as<br />

instructional services, literacy training, reference services, referral services, and retrieval services.<br />

ค าส าคัญ:<br />

Keywords:<br />

การประเมินออนโทโลยี, บริการสารสนเทศ,<br />

ontology evaluation, Information services,<br />

1 นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตร ปร.ด. (สารสนเทศศึกษา) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


หน้าที่ 3<br />

บทน า<br />

บริการสารสนเทศ (Information services) เป็นบริการหลักของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา และ<br />

สถาบันบริการสารสนเทศ ประกอบด้วย บริการจัดท าดรรชนีและสาระสังเขป บริการข่าวสารทันสมัย บริการ<br />

ตอบค าถามและช่วยการค้นคว้า บริการการสอนทักษะการรู้ สารสนเทศ บริการการชี้แนะแหล่งสารสนเทศ<br />

และบริการค้นคืนสารสนเทศ บริการเหล่านี้ก าหนดขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้บริการให้สามารถค้นหา<br />

ข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือค าตอบในเรื่องใดๆ ซึ่งถูกบันทึกไว้ในสื่อรูปแบบต่างๆ ตามที่ต้องการได้อย่างสะดวก<br />

รวดเร็วและละเอียดลึกซึ้ง โดยมีบรรณารักษ์เป็นผู้ช่วยเหลือที่เข้าใจ ท าหน้าที่บริการผู้ใช้ในการค้นหา<br />

สารสนเทศ หรือ ให้ค าแนะน าในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสารสนเทศ และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ อย่าง<br />

คุ้มค่ามากที่สุด ทั้งยังช่วยสอนทักษะการรู้สารสนเทศ หรือให้ค าแนะน าแก่ผู้ใช้ในการเลือกแหล่งสารส นเทศ<br />

ที่เหมาะสม (น้ าทิพย์ วิภาวิน , 2546; มาลี ล้ าสกุล , 2549; มาลี กาบมาลา , 2553; อิศราวดี ทองอิ นทร์,<br />

2553) แต่เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICTs) เข้ามามีบทบาทในห้องสมุด บรรณารักษ์จึงต้อง<br />

เพิ่มพูนทักษะด้านเทคโนโลยี เพื่อช่วยผู้ใช้ให้ได้รับบริการสารสนเ ทศตรงตามความต้องการอย่างสะดวกและ<br />

รวดเร็วยิ่งขึ้น (รวีวรรณ ข าพล และนริศรา เฮมเบีย, 2551)<br />

อย่างไรก็ตาม ความสนใจของนักวิชาการในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ ได้เคลื่อนตัวจาก<br />

"การประมวลผลข้อมูล (data processing)" ไปสู่ "การประมวลผลในระดับแนวคิด (concept processing)"<br />

กล่าวคือ นักวิชาการหันมาให้ความสนใจในแนวคิดเชิงความหมายที่มุ่งตีความ และท าความเข้าใจต่อการ<br />

ด ารงอยู่ของความรู้ในบริบทที่แตกต่างกัน โดยพัฒนาเครื่องมือเชิงโครงสร้างเพื่อดักจับความรู้ และอธิบาย<br />

ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ที่เรียกว่า “ออนโทโลยี (ontology)” (Brank, Grobelnik & Mladenic, 2005)<br />

ในบทความนี้ผู้เขียนขอน าเสนอความรู้เกี่ยวกับการประเมินออนโทโลยี ประกอบด้วย ความส าคัญของการ<br />

ประเมินออนโทโลยี แนวทางในการประเมินออนโทโลยี และการใช้ออนโทโลยีในงานบริการสารสนเทศ ดังนี้<br />

1. ความส าคัญของการประเมินออนโทโลยี<br />

สมชาย ปราการเจริญ (2548) กล่าวว่า “ออนโทโลยี เป็นศาสตร์ที่เกิดขึ้นในสมัยกรีก-โรมันโบราณ โดย<br />

นักปราชญ์อริสโตเติล ผู้สร้างต้นไม้แห่งพอร์ฟิรี (Porphyry) ซึ่งมีลักษณะเป็นไฮรากีทรี (Hierarchy tree)<br />

เพื่อใช้จ าแนกประเภทของสิ่งต่างๆ Sowa (2000) อธิบายค าว่า “ออนโทโลยี” ว่าเป็นค าทับเสียง ontology<br />

ในภาษาอังกฤษซึ่งมาจากภาษากรีก (Greek) ว่า “ontos” แปลว่า การมีอยู่ และ “logos” แปลว่า ค า (word)<br />

มาลี กาบมาลา ล าปาง แม่นมาตย์ และครรชิต มาลัยวงศ์ (2549) กล่าวถึง “ออนโทโลยี” หรือ “ภววิทยา<br />

(ontology)” ว่าเป็นสาขาวิชาของอภิปรัชญาที่ว่าด้วยเรื่องของธรรมชาติและความสัมพันธ์ที่มีอยู่ ออนโทโลยี<br />

น ามาใช้เป็นครั้งแรกในสาขาปัญญาประดิษฐ์ เมื่อ ปี ค.ศ.1980 ในสาขาบรรณรักษศาสตร์ ค าว่า “ออนโทโลยี<br />

(ontology)” ถูกให้อธิบายด้วยค าศัพท์แตกต่างกันไป อาทิ อภิธานศัพท์ (Glossary) พจนานุกรม (Data<br />

Dictionaries) ธีซอรัสและแทกโซโนมี (Thesauri & Taxonomies) แบบแผนเค้าร่าง (Schemas) เป็นต้น”


หน้าที่ 4<br />

ปรัชญา<br />

(Philosophy)<br />

ในส่วนของ (In)<br />

เกี่ยวกับภาวะการด ารงอยู่ (The being)<br />

และ (And)<br />

กระบวนการมองที่อยู่เหนือความเข้าใจ<br />

(Transcendental process)<br />

การตรวจสอบลักษณะการด ารงอยู่<br />

(Examines the nature of being)<br />

ออนโทโลยี<br />

(ONTOLOGY)<br />

อภิปรัชญา<br />

(Metaphysics)<br />

ศึกษาสิ่งที่ด ารงอยู่<br />

(The study of what exists)<br />

และ (And)<br />

ศึกษาสิ่งที่เราคาดคิดว่าจะด ารงอยู่<br />

(What we assume exists)<br />

เพื่อให้เข้าถึงความหมายที่ตรงกับความจริง<br />

(In order to achieve a coherent description of reality)<br />

ส าหรับผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์<br />

(For computer specialists)<br />

รูปที่ 1 แนวทางการศึกษาความจริงด้วยออนโทโลยี ปรับปรุงมาจาก Currás (2010)<br />

กล่าวโดยสรุป “ออนโทโลยี” หมายถึง แนวคิดที่ใช้ก าหนดความหมายที่เป็นทางการของค าศัพท์ พร้อม<br />

ทั้งประกาศคุณลักษณะที่ชัดแจ้งเพื่อน ามาใช้ในการอธิบายความเป็นตัวแทนของแนวคิด (Concepts) หรือ<br />

แบบจ าลอง (Model) ของกลุ่มชุมชนสารสนเทศที่ใช้ร่วมกัน (Information Communities) ซึ่งโครงสร้าง<br />

ความสัมพันธ์ดังกล่าว เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสามารถเข้าใจและแปลความได้ โดยใช้คลาส (Class)<br />

ความสัมพันธ์ระหว่างคลาส หมายรวมถึงล าดับชั้นของคลาสและคุณสมบัติ (Properties) ของคลาส ความรู้ที่<br />

ได้จากออนโทโลยีมีขอบเขตอยู่เฉพาะทาง (Domain) ซึ่งช่วยสนับสนุนกระบวนการค้นคืนสารสนเทศ<br />

(Information Retrieval) ในแง่ของการตัดทอนค าศัพท์ที่สับสน หรือ บรรยายเชิงความหมายจากหลาย<br />

แนวคิด (Concepts) ให้สอดคล้องกันภายใต้แนวคิด (Concept) เพียงหนึ่งเดียว ทั้งยังมีบทบาทส าคัญต่อ<br />

การพัฒนาระบบความรู้ (Knowledge Based Systems) ในแง่ของการน ากลับมาใช้ใหม่ (Reusable) และ<br />

เพิ่มเติมองค์ประกอบได้ภายหลัง ส่วนภาษาที่ใช้ในออนโทโลยีเพื่อบรรยายข้อมูลเชิงความหมาย ได้แก่<br />

XML (Extensible Markup Language) RDF (Resource Description Framework) และ OWL (Web<br />

Ontology Language) ในการพัฒนาออนโทโลยีแต่ละประเภทจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ขอบเขตของความรู้<br />

บริบทแวดล้อม และความพร้อมในการพัฒนา (สมชาย ปราการเจริญ , 2548; มาลี กาบมาลา ล าปาง แม่น<br />

มาตย์ และครรชิต มาลัยวงศ์ 2549; วรลักษณ์ วงศ์โดยหวัง ศิริเจริญ , 2551; วิชุดา โชติรัตน์ ผุสดี บุญรอด<br />

และศจีมาจ ณ วิเชียร , 2554; โรสริน อัคนิจ และคณะ, 2554; Broughton, 2006; Dragan, Dragan and<br />

Vladan, 2006; Currás, 2010)


หน้าที่ 5<br />

ความจริง (Reality)<br />

สารสนเทศ<br />

(Information)<br />

แนวคิด (Idea)<br />

ความคิด (Mind)<br />

ความรู้ (Knowledge)<br />

หน่วยการเรียนรู้ (Unit of learning)<br />

การจัดระบบ (Systematization)<br />

หมวดหมู่แห่งการเรียนรู้ (Division of learning)<br />

จัดล าดับ (Order) การจัดหมวดหมู่ความรู้<br />

(Classification of knowledge)<br />

ความเป็นตัวแทน (Representation)<br />

การจัดหมวดหมู่สากล (Universal classification)<br />

ภาษาเชิงเอกสาร (Documentary languages)<br />

การประมวลผลอัตโนมัติ ( FIELD OF COMPUTING)<br />

การยกระดับความหมายสู่นามธรรม (Ascension to a higher level of abstraction)<br />

การจัดความรู้ให้เป็นระบบ<br />

(Knowledge organization)<br />

ความคิดที่เปลี่ยนไป (Change of mentality)<br />

โครงสร้าง (Structure in)<br />

การจัดกลุ่มความหมาย<br />

(Semantic fields)<br />

ความคิดรวบยอด (Conceptual units)<br />

การเข้ารหัส (Codified)<br />

ออนโทโลยี / ภววิทยา (Ontologies)<br />

ศัพท์สัมพันธ์ (Thesauri)<br />

รูปที่ 2 ความสัมพันธ์ของออนโทโลยีกับการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ ปรับปรุงมาจาก Currás (2010)


หน้าที่ 6<br />

ตัวอย่างออนโทโลยี ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้บริการสารสนเทศ บนโดเมนความรู้ในสาขาต่างๆ ของสังคมไทย<br />

เช่น ออนโทโลยีของพืชสมุนไพรไทย (สิริรัตน์ ประกฤติกรชัย, 2550) ออนโทโลยีเพื่อการจัดการความรู้ด้าน<br />

การแปรรูปข้าว (โรสริน อัคนิจอ และคณะ, 2554) ออนโทโลยีชีวภาพส าหรับสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลทางชี<br />

วิทยา (เพ็ญพรรณ อัศวนพเกียรติ อรินทิพย์ ธรรมชัยพิเนต และกฤษณะ ไวยมัย, 2546) ออนโทโลยีส าหรับ<br />

สืบค้นองค์ความรู้ด้านทรัพยากรดิน (Heeptaisong and Srivihok, 2553) ออนโทโลยีส าหรับโดเมนห้องสมุด<br />

อิเล็กทรอนิกส์ (สีลตา วงศ์กาฬสินธุ์ และงามนิจ อาจอินทร์, 2552) ออนโทโลยีส าหรับระบบให้ค าแนะน าการ<br />

บริโภคอาหาร (นภัส สุขสม มารุต บูรณรัช และเทพชัย ทรัพย์นิธิ , 2551) ออนโทโลยีส าหรับวิเคราะห์ข่าว<br />

ออนไลน์ (วิชุดา โชติรัตน์ ผุสดี บุญรอด และศจีมาจ ณ วิเชียร , 2554) ออนโทโลยีในระบบบริหารลูกค้า<br />

สัมพันธ์ (นงเยาว์ พันธุ์คง และสมชาย ปราการเจริญ, 2553) ออนโทโลยีส าหรับกฎหมายไทย (Boonchom<br />

& Soonthornphisaj, 2009) ออนโทโลยีเพื่อสนับสนุนห่วงโซ่อุปทานกล้วยไม้ (มารุต บูรณรัช และเทพชัย<br />

ทรัพย์นิธิ, 2553) เป็นต้น จะเห็นได้ว่าผู้ใช้บริการต้องเผชิญกับทางเลือกใหม่ๆ ในการใช้สารสนเทศผ่านออน<br />

โทโลยีเป็นจ านวนมาก ดังนั้น หากบรรณารักษ์มีความรู้ในการประเมินออนโทโลยี และแนะน าแก่ผู้ใช้บริการ<br />

ในฐานะแหล่งสารสนเทศเฉพาะทาง ย่อมเป็นการสร้างโอกาสในการใช้เครื่องมือเพื่อดักจับและเชื่อมร้อยองค์<br />

ความรู้ (body of knowledge) ที่แตกต่างหลากหลาย ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และตรงกับความต้องการ<br />

2. แนวทางในการประเมินออนโทโลยี<br />

Sure และคณะ (2004) กล่าวถึงจุดเริ่มต้นในการประเมินออนโทโลยีว่าอยู่ที่การประเมินเนื้อหาในปี<br />

ค.ศ.1994 ซึ่งเป็นช่วงที่นักวิชาการในกลุ่มวิศวกรรมออนโทโลยี (ontological engineering) ได้ให้ความสนใจ<br />

ต่อปัญหาการเติบโตและขยายตัวอย่างรวดเร็วในเนื้อหาของออนโทโลยี ซึ่งต้องการแนวทางประเมินเนื้อหา<br />

ที่รองรับการพัฒนาและปรับปรุงออนโทโลยีจ านวนมาก (ontologies) ในอนาคต<br />

การประเมินเนื้อหาดังกล่าว สามารถสรุปได้ 3 แนวคิด คือ (1) การประเมินเนื้อหาของออนโทโลยีที่<br />

ต้องด าเนินการตลอดทั้งวงจรชีวิตของการพัฒนาออนโทโลยี (ontology life cycle) (2) เครื่องมือประเมิน<br />

เนื้อหาควรสนับสนุนการประเมินในระหว่างกระบวนการพัฒนาออนโทโลยี (ontology-building process) (3)<br />

การประเมินเนื้อหาของออนโทโลยีต้องแสดงถึงสัมมพันธ์กันอย่างแนบแน่น ระหว่างกระบวนทัศน์ทางภาษา<br />

(paradigm of language) กับความเป็นตัวแทนขององค์ความรู้ (Knowledge representative)<br />

แนวคิดส าคัญ 3 ประการข้างต้น ถือเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเทคโนโลยีต้นแบบเพื่อประเมินออน<br />

โทโลยี (Ontology technology evaluation's) ส าหรับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งการประเมิน (evaluate) และ<br />

เทียบเคียงสมรรถนะ (benchmark) ดังกล่าว ช่วยให้มั่นใจได้ว่าเทคโนโลยีต้นแบบที่ใช้ประเมินออนโทโลยีมี<br />

ความสัมพันธ์กับปัจจัย 4 ประการ ดังนี้<br />

(1) ความสามารถในการท างานร่วมกัน (Interoperability) กล่าวคือ ปัญหาหนึ่งที่เกิดจากการใช้<br />

ออนโทโลยี คือ การให้ความหมายในโดเมนเดียวกันให้เข้าใจได้ตรงกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับการตกลงในเงื่อนไข


หน้าที่ 7<br />

ทางการสื่อสารระหว่างซอฟต์แวร์ การประเมิน จึงมุ่งพิจารณาการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างแอพพลิเคชั่นทั้ง<br />

ในระดับประโยค (syntactic level) และในระดับความหมาย (semantic level)<br />

(2) ความสามารถในการก าหนดทิศทาง (Navigability) วิเคราะห์จากความแตกต่างของแพลตฟอร์ม<br />

(platform) ที่น ามาใช้เป็นองค์ประกอบในการพัฒนาออนโทโลยี และประเมินระยะเวลาที่ระบบใช้ (required)<br />

ในการเปิดใช้งาน การบันทึก การสร้าง การปรับปรุง หรือ การลบองค์ประกอบต่างๆ ของออนโทโลยี และ<br />

พิจารณาการประมวลผลข้อค าถาม (queries) ด้วย<br />

(3) ความสามารถต่อการขยายตัว (Scalability) วิเคราะห์ได้จากเครื่องมือของออนโทโลยี (ontology<br />

tools) ที่ใช้ค้นหาองค์ประกอบต่างๆ ในออนโทโลยีขนาดใหญ่ เช่น ภาพกราฟิก ข้อความ ได้อย่างสะดวก<br />

และรวดเร็ว และรองรับการขยายตัวขององค์ประกอบอื่นๆ ด้วย<br />

(4) ความสะดวกในการใช้งาน (Usability) วิเคราะห์ได้จากความชัดเจนและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน<br />

ในส่วนติดต่อกับผู้ใช้ รวมไปถึงระยะเวลาที่ผู้ใช้เรียนรู้ระบบ ความเสถียรของระบบ และส่วนช่วยเหลืออื่นๆ<br />

อย่างไรก็ตาม นักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่ง ได้เสนอแนวคิดในการประเมินออนโทโลยีโดย พิจารณาจาก<br />

ระดับของการประเมิน (Level of evaluation) นั่นคือ Brank Grobelnik และ Mladenic (2005) ที่ได้จ าแนก<br />

ระดับในการประเมินออนโทโลยี ออกเป็น 6 ระดับ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้<br />

1) ประเมินระดับลักษณะของค า (Lexical) และค าศัพท์ (vocabulary) หรือระดับของข้อมูล (data<br />

layer) กล่าวคือ การประเมินได้ให้ความส าคัญกับแนวคิด (concepts) กรณีตัวอย่าง (instances) ข้อเท็จจริง<br />

(facts) และค าศัพท์ที่ใช้เป็นเป็นตัวแทนหรือให้ความหมายแก่แนวความคิดที่บรรจุอยู่ในออนโทโลยี การ<br />

ประเมินในระดับนี้เปรียบเทียบผลจากแหล่งที่มาของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันในขอบเขตความรู้ (domain) ของ<br />

ปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งประเมินรูปแบบเชิงเทคนิคของออนโทโลยี เช่น ค่ าสตริง (string) ความคล้ายคลึงกัน<br />

(similarity) และพิจารณาการแก้ไขค าศัพท์ (edit distance) เป็นต้น<br />

2) ประเมินระดับโครงสร้างข้อมูลแบบล าดับชั้น (Hierarchy) หรือแบบอนุกรมวิธาน (taxonomy)<br />

โดยทั่วไปออนโทโลยีจะประกอบด้วย ล าดับชั้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดด้ วยค าว่า "is-a" และ<br />

ความสัมพันธ์ด้วยค าในลักษณะอื่นๆ เช่น การประเมินค าที่มีความหมายคล้ายกัน (synonym) จะพิจารณา<br />

ความถูกต้องในการก าหนดความสัมพันธ์แบบ "is-a" เป็นล าดับแรก<br />

3) ประเมินจากความสัมพันธ์เชิงความหมายในลักษณะอื่นๆ (Other semantic relations)<br />

นอกเหนือจากการประเมินจากความสัมพันธ์แบบ “is-a” แล้ว ออนโทโลยีอาจมีความสัมพันธ์อื่นๆ ซึ่ง<br />

ความสัมพันธ์เหล่านี้สามารถประเมินได้จากการพิจารณาความแม่นย า (precision) และการเรียกคืน (recall)<br />

จากการสืบค้นของผู้ใช้บริการแต่ละครั้ง<br />

4) ประเมินระดับบริบท (Context) หรือ แอพพลิเคชั่น (application) กล่าวคือ ออนโทโลยีอาจเป็น<br />

ส่วนหนึ่งของแหล่งทรัพยากรสารสนเทศขนาดใหญ่ซึ่งรวมเอาออนโทโลยีจ านวนมากไว้ด้วยกัน และในการ<br />

สืบค้าข้อมูลอาจต้องอ้างอิงค าจ ากัดความเดียวกันจากออนโทโลยีหลายๆ ชุด ในกรณีนี้จึงจ าเป็นที่จะต้องเข้า


หน้าที่ 8<br />

ไปประเมินในระดับบริบท และแอพ พลิเคชั่น (application) ซึ่งการประเมินจะพิจารณาจากผลกระทบที่เกิด<br />

กับโปรแกรมประยุกต์ เมื่อผู้ใช้บริการด าเนินการสืบค้นข้อมูลบนออนโทโลยีด้วยแอพพลิเคชั่นดังกล่าว<br />

5) ประเมินในระดับประโยค (Syntactic) การประเมินในระดับน้ าด้รับความสนใจจากออนโทโลยี<br />

เป็นจ านวนมาก (ontologies) โดยเฉพาะออนโทโลยีที่ได้พัฒนาโครงสร้างขึ้นด้วยตนเอง (constructed<br />

manually) โดยปกติออนโทโลยีถูกอธิบายด้วยภาษาที่เป็นทางการ และให้ประโยคที่ตรงกับหลักไวยากรณ์<br />

พื้นฐานของภาษาเหล่านั้น เกณฑ์ที่ใช้ประเมิน อาทิ การน าเสนอเอกสารด้วยภาษาธรรมชาติ การหลีกเลี่ยง<br />

การซ้ าซ้อนกัน (loops) ระหว่างค านิยาม เป็นต้น<br />

6) ประเมินในระดับโครงสร้าง สถาปัตยกรรม และการออกแบบ (Structure Architecture and<br />

Design) เนื่องจากการพัฒนาออนโทโลยีต้องท าให้เป็นไปตามข้อก าหนดเชิงโครงสร้าง สถาปัตยกรรม และ<br />

มาตรฐานในการออกแบบที่มีไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว การประเมินในระดับนี้จะท า ให้ได้ ออนโทโลยี ที่มีความ<br />

เหมาะสม และสามารถรองรับการปรับปรุงในอนาคตอย่างยั่งยืน<br />

ตารางที่ 1 แนวทางในการประเมินออนโทโลยี (An overview of approach to ontology evaluation)<br />

ระดับของการประเมิน<br />

(Level of evaluation)<br />

โดยมาตรฐานที่ดี<br />

(Golden standard)<br />

แนวทางที่ใช้ในการประเมิน (Approach of evaluation)<br />

โดยแอพพลิเคชั่น<br />

(Application-based)<br />

โดยข้อมูล<br />

(Data-driven)<br />

โดยมนุษย์<br />

(Humans)<br />

ลักษณะของค า (Lexical) ค าศัพท์<br />

(vocabulary) ระดับข้อมูล (data layer)<br />

√ √ √ √<br />

โครงสร้างแบบล าดับชั้น (Hierarchy)<br />

โครงสร้างแบบอนุกรมวิธาน (taxonomy)<br />

√ √ √ √<br />

ความสัมพันธ์เชิงความหมายอื่นๆ<br />

(Other semantic relations)<br />

√ √ √ √<br />

บริบท (Context) หรือ<br />

แอพพลิเคชั่น (application)<br />

√<br />

√<br />

รูปแบบประโยค (Syntactic) √ √<br />

โครงสร้าง (Structure) สถาปัตยกรรม<br />

(architecture) และการออกแบบ (design)<br />

√<br />

* ปรับปรุงมาจาก Brank, J., Grobelnik, M. and Mladenic, D. (2005)<br />

นอกจากนี้ Brank, Grobelnik และ Mladenic (2005) ได้แบ่งแนวคิดในการประเมินออนโทโลยี<br />

ออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่<br />

(1) การประเมินผลด้วยการเปรียบเทียบมาตรฐานออนโทโลยีที่ดี (golden standard) กับออนโทโลยี<br />

ที่พัฒนาขึ้น กล่าวคือ การประเมินจะท าการเปรียบเทียบการให้ความหมายของรูปแบบไวยากรณ์ (syntax)


หน้าที่ 9<br />

ในออนโทโลยี กับการให้ความหมายเฉพาะตามรูปแบบไวยากรณ์ในภาษาทางการ (syntax specification of<br />

formal language) ที่ออนโทโลยีท าการเขียน เช่น ภาษา RDF และ ภาษา OWL เป็นต้น<br />

(2) การประเมินลักษณะการใช้งานออนโทโลยีบนแอพพลิเคชั่นต่างๆ พิจารณาจากผลลัพธ์ที่ได้จาก<br />

ออนโทโลยีซึ่งท างานบนแอพพลิเคชั่นเหล่านั้น<br />

(3) การประเมินโดยเปรียบเทียบที่มาของแหล่งข้อมูล เช่น พิจารณาการจัดเก็บเอกสาร (collection<br />

of documents) หรือ ขอบเขตความรู้ที่อยู่ในออนโทโลยี (domain to be covered by the ontology)<br />

(4) การประเมินโดยมนุษย์ (Assessment by humans) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญในโดเมนเฉพาะเป็นผู้<br />

ก าหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐาน และระบุความต้องการเชิงระบบในออนโทโลยีไว้ล่วงหน้า<br />

3. การประยุกต์ใช้ในงานบริการสารสนเทศ<br />

“ออนโทโลยี (ontology)” จัดเป็นทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ (electronic material) ที่ผ่านการ<br />

สังเคราะห์และก าหนดรายละเอียดของค าค้นสารสนเทศ (description & synthesis) เรียบร้อยแล้ว ซึ่งผู้<br />

ให้บริการสารสนเทศสามารถประยุกต์ใช้กับการบริการในห้องสมุดได้ดังนี้<br />

3.1 บริการตอบค าถามและช่วยการค้นคว้า (Reference services) แบ่งเป็น การให้บริการตอบ<br />

ค าถามและช่วยการค้นคว้าโดยตรง (direct service) ซึ่งบรรณารักษ์สามารถสาธิตวิธีการสืบค้นสารสนเทศ<br />

ด้วยการใช้ออนโทโลี (ontology) ให้แก่ผู้ใช้ได้ดูเป็นตัวอย่างตามประเด็นค าถามที่ตั้งขึ้น ยก ตัวอย่างในการ<br />

สืบค้นด้วยค าว่า “อุทกภัย (flood)” เมื่อป้อนข้อมูลลงในออนโทโลยี ระบบจะให้รายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง<br />

กับอุทกภัย ทั้งความหมายโดยสังเขป และค าศัพท์ที่ อยู่ในขอบเขตความรู้เดียวดัน ได้แก่ ความแห้งแล้ง<br />

แผ่นดินไหว ซึนามิ พายุ ดินถล่ม เขื่อน เป็ นต้น ซึ่งระบบออนโทโลยีจะแสดงความสัมพันธ์ของค าศัพท์<br />

เหล่านั้น พร้อมทั้งจัดแบ่งระดับของค าศัพท์แต่ละตัวที่เชื่อมโยงกับค าหลักซึ่งเราป้อนไปก่อนหน้า<br />

ส าหรับการให้บริการตอบค าถามและช่วยการค้นคว้าโดยทางอ้อม (indirect service) จะเกิดขึ้น<br />

ภายหลังจากที่บรรณารักษ์ได้ทดลองใช้ออนโทโลยี และประเมินความถูกต้องเหมาะสมต่างๆ เรียบร้อยแล้ว<br />

โดยบรรณารักษ์อาจจัดหมวดหมู่ของเว็บไซต์ที่ให้บริการออนโทโลยี เพื่อให้สามารถน ามาจัดบริการได้ตรง<br />

กับประเด็นเฉพาะทางต่างๆ ที่ผู้ใช้บริการร้องขอ รวมทั้งเชิญผู้รู้ที่อยู่ในหน่วยงานหรือองค์กรเดียวกัน ซี่งมี<br />

ความเชี่ยวชาญในศาสตร์แขนงเดียวกันกับเว็บบริการออนโทโลยีที่ท าการประเมิน เข้ามามีส่วนร่วมในการ<br />

ถ่ายทอดความรู้ หรือ สร้างสรรค์บทเรียนแนะน าประโยชน์และวิธีการสืบค้นเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถอ้างอิง<br />

หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ที่ใช้ออนโทโลยีในศาสตร์แขนงนั้นได้ในอนาคต<br />

3.2 บริการสอนผู้ใช้ (Instruction service) และอบรมทักษะการรู้สารสนเทศ (Information literacy<br />

skill) โดยปกติบรรณารักษ์ได้จัดบริการให้ความรู้และแนะน าทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่มีใน<br />

ห้องสมุด โดยการประชาสัมพันธ์หลักสูตรฝึกอบรมต่างๆ เป็นประจ าแล้ วอยู่ และในการน าออนโทโลยีเข้าไป<br />

บรรจุอยู่ในโปรแกรมฝึกอบรมดังกล่าวก็สามารถน าไปบูรณาการได้ 2 แนวทาง ประการแรก คือ การพัฒนา<br />

หลักสูตรฝึกอบรมด้านการใช้ออนโทโลยีที่จ าแนกตามโดเมนเฉพาะทาง ซึ่งผู้ใช้บริการมักประสบปัญหาใน


หน้าที่ 10<br />

การสืบค้น หรือ มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อความสัมพันธ์ของค าศัพท์และระดับของความหมาย ส่วน<br />

การบูรณาการในล าดับถัดมา คือ การแนะน าวิธีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความหมายที่บรรณารักษ์ใช้เป็น<br />

เกณฑ์อย่างง่ายในการก าหนดค าค้นที่เหมาะสม ซึ่งออนโทโลยีจะแสดงรายละเอียดเหล่านั้นอย่างเป็น<br />

ระบบม าให้ผู้ใช้บริการเกิดกระบวนการเรียนรู้และมีตัวอย่างในการพัฒนาค าค้นในโดเมนที่ตนเองสนใจ<br />

จากนั้นบรรณารักษ์จึงค่อยน าเข้าสู่ฐานข้อมูลเฉพาะทางอื่นๆตามความเหมาะสมเป็นต้น<br />

รูปที่ 2 แสดงผลการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ อุทกภัย (flood) จาก http://onki.fi<br />

หรือเรียกว่า Finnish Ontology Library Service ซึ่งให้บริการเชื่อมโยงเว็บเชิงความหมาย<br />

3.3 บริการให้ค าแนะน าในการเลือกแหล่งสารสนเทศ (Referral services) จากการเพิ่มจ านวนขึ้น<br />

ของทรัพยากรสารสนเทศ ท าให้หอ้งสมุดไม่สามารถจัดหาทรัพยากรเข้ามาให้บริการได้ครบทั้งหมด และ<br />

ทางเลือกหนึ่งของการบริการก็คือ การชี้แ นะแหล่งสารสนเทศภายนอกเพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับสารสนเทศที่


หน้าที่ 11<br />

อยู่นอกองค์กรอย่างตรงกับความต้องการ ในการให้บริการลักษณะนี้บรรณารักษ์จะส ารวจข้อมูลและรวบรวม<br />

แหล่งสารสนเทศไว้บริการโดยแบ่งเป็นประเภทต่างๆ เช่น งานวิจัย โครงการพัฒนาเอกชน สารสนเทศ<br />

รัฐบาลและองค์กรระหว่างประเทศ สารสนเทศจากการประชุมและข้อสรุปของผู้เชี่ยวชาญต่างๆ หรือแม้แต่<br />

ข่าวสารและเหตุการณ์ส าคัญ เป็นต้น ในการน าออนโทโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในฐานะที่เป็นแหล่งสารสนเทศ<br />

นั้น บรรณารักษ์สามารถประเมิน (evaluate) และเทียบเคียงสมรรถนะ (benchmark) กับแหล่งสารสนเทศ<br />

เดิมที่สถาบันบริการสารสนเทศรวบรวมไว้ แล้วท าการจับคู่ (matching) ตามโดเมนเฉพาะทางเหล่านั้น เพื่อ<br />

ช่วยให้ผู้ใช้บริการมีทางเลือกในการท าความเข้าใจระดับความสัมพันธ์ของค าค้นที่ตนใช้ กับผลที่เกิดขึ้นจาก<br />

การค้นในฐานข้อมูลเหล่านั้น ซึ่งจะท าให้ผู้ใช้เข้าใจมาตรฐานการก าหนดค าค้ นของแขนงวิชาที่ตนสนใจและ<br />

ค้นคว้าหาข้อมูลอยู่ได้เป็นอย่างดี<br />

รูปที่ 3 แสดงผลการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ positive regulation of cytolysis<br />

ในเว็บไซต์ที่ให้บริการออนโทโลยีด้านชีวสารสนเทศ www.ebi.ac.uk/ontology-lookup<br />

3.4 บริการการค้นคืนสารสนเทศ (Information retrieval service) ส าหรับการน าออนโทโลยีมา<br />

ประยุกต์ใช้ในบริการลักษณะนี้ บรรณารักษ์สามารถน าข้อมูลจากออนโทโลยีมาแสดงวิธีการก าหนดค าค้น<br />

ก่อนจะลงมือสืบค้นในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ซึ่งข้อดีของออนโทโลยีก็คือการอธิบายความสัมพันธ์<br />

ระหว่างแนวคิดซึ่งฐานข้อมูลจะให้เพียงรายละเอียดทางบรรณานุกรมและเอกสารฉบับเต็มแก่ผู้ใช้ แต่เมื่อ


หน้าที่ 12<br />

ผู้ใช้น าข้อมูลของออนโทโลยีที่อธิบายความหมายของเอกสารฉบับนั้นอย่างครอบคลุมก็จะท าให้ผู้ใช้สามารถ<br />

เรียนรู้ความสัมพันธ์ของเอกสารแต่ละฉบับ โดยที่ไม่ต้องอ่านเอสารทั้งหมดอย่างละเอียดก็สามารถเชื่อมโยง<br />

ความหมายหลักเข้าด้วยกันได้อย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ออนโทโลยียังช่วยให้การเรียบเรียงสารสนเทศใน<br />

รูปแบบพร้อมใช้ (information packaging) ของบรรณารักษ์มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และครอบคลุม<br />

ค าศัพท์ต่างๆ ที่ส าคัญภายใต้โดเมนเดียวกันอีกด้วย<br />

4. บทสรุป<br />

บทความฉบับนี้ กล่าวถึง ปรากฏการณ์ที่ผู้ใช้บริการสารสนเทศต้องเผชิญกับออนโทโลยีเป็นจ านวน<br />

มาก ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประมวลผลแนวคิด (Concepts) และความสัมพันธ์ (Relations)<br />

ขององค์ความรู้ (Body of knowledge) ในโดเมนที่มีขอบเขตเฉพาะเจาะจง หากผู้ให้บริการสารสนเทศ เช่น<br />

บรรณรักษ์ และนักสารสนเทศ สามารถ น าความรู้ด้านการประเมินออนโทโลยีเพื่อประยุกต์ใช้ในการบริการ<br />

สารสนเทศ เพื่อสร้างโอกาสแก่ผู้ใช้บริการให้มีทางเลือกผ่านเครื่องมือสืบค้นข้อมูลรูปแบบใหม่ๆ ช่วยให้<br />

การเข้าถึงสารสนเทศมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ จากการทบทวนวรรณกรรม พบว่า<br />

แนวทางที่ใช้ในการประเมินออนโทโลยี (ontology evaluation) ถูกเสนอไว้โดยนักวิชาการ 2 กลุ่ม กลุ่มแรก<br />

คือ แนวการประเมินออนโทโลยีของ Sure ได้แก่ การประเมินเนื้อหา การประเมินเครื่องมือ การประเมิน<br />

ความสัมพันธ์ของค าศัพท์ และการประเมินกระบวนการท างานของเครื่องมือและแอพพลิเคชั่น กลุ่มถัดมา<br />

คือ แนวการประเมินออนโทโลยีของ Brank Grobelnik และ Mladenic (2005) ได้แก่ การประเมินในระดับ<br />

ของค าศัพท์ การประเมินในระดับโครงสร้างของล าดับชั้นข้อมูล การประเมินในระดับความสัมพันธ์ การ<br />

ประเมินในระดับบริบทและแอพพลิเคชั่น การประเมินในระดับประโยค และ การประเมินในระดับโครงสร้าง<br />

สถาปัตยกรรม และการออกแบบ ซึ่งผู้ให้บริการสารสนเทศสามารถใช้แนวทางในการประเมินออนโทโลยี<br />

ดังกล่าว มาวิเคราะห์และเลือกสรรประโยชน์จากออนโทโลยีเข้ามาพัฒนาบริการสารสนเทศในหน่วยงานให้<br />

มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างในการขับเคลื่อนบริการสารสนเทศ ได้แก่ บริการตอบค าถามและช่วยการ<br />

ค้นคว้า บริการสอนผู้ และฝึกอบรมทักษะการรู้สารสนเทศแก่ผู้ใช้ บริการให้ค าแนะน าในการเลือกแหล่ง<br />

สารสนเทศ และบริการการค้นคืนสารสนเทศ


หน้าที่ 13<br />

เอกสารอ้างอิง<br />

ธนิตา วงศ์กาฬสินธุ์ & งามนิจ อาจอินทร์. (2552). การเชื่อมโยงออนโทโลยีบนโดเมน E-learning โดยใช้<br />

WordNet บนพื้นฐานของการวัดค่าความคล้ายคลึงความหมาย. เอกสารประกอบการสัมนาทาง<br />

วิชาการ The 5 th National Conference on Computing and Information Technology-<br />

NCCIT 2009. (หน้า 218-224). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.<br />

นงเยาว์ พันธุ์คง & สมชาย ปราการเจริญ. (2553). การบูรณาการออนโทโลยีในระบบริหารลูกค้าสัมพันธ์<br />

ด้วยกฎควบคุมการเข้าถึงสิทธิ์. เอกสารประกอบการสัมนาทางวิชาการ The 6 th National<br />

Conference on Computing and Information Technology-NCCIT 2010. (หน้า 734-739).<br />

กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.<br />

นภัส สุขสม, มารุต บูรณรัช & เทพชัย ทรัพย์นิธิ. (2551). การพัฒนาออนโทโลยีส าหรับระบบให้<br />

ค าแนะน าการบริโภคอาหารตามโภชนาการเฉพาะบุคคล. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยี<br />

อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ<br />

น้ าทิพย์ วิภาวิน. (2546). ทักษะการใช้ห้องสมุดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: เอสอาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.<br />

เพ็ญพรรณ อัศวนพเกียรติ, อรินทิพย์ ธรรมชัยพิเนต & กฤษณะ ไวยมัย. (2546). ออนโทโลยีชีวภาพ: ระบบ<br />

ส าหรับสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านชีววิทยา. เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ<br />

ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 41 : สาขาพืช สาขาวิศวกรรมศาสตร์และ<br />

สถาปัตยกรรมศาสตร์.. (หน้า 277-285). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.<br />

มารุต บูรณรัช & เทพชัย ทรัพย์นิธิ. (2553). การอบรมเชิงปฏิบัติการ: พัฒนาออนโทโลยีเพื่อสนับสนุน<br />

ห่วงโซ่อุปทานกล้วยไม้. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ.<br />

มาลี กาบมาลา. (2553). เอกสารประกอบการสอนวิชา 412 231 บริการสารสนเทศ. ขอนแก่น: สาขา<br />

การจัดการสารสนเทศและการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.<br />

มาลี กาบมาลา, ล าปาง แม่นมาตย์ & ครรชิต มาลัยวงศ์. (2549). ออนโทโลยี: แนวคิดการพัฒนา. บรรณ<br />

รักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ มข, 24 (1-3), 24-49.<br />

มาลี ล้ าสกุล. (2549). การบริการและเผยแพร่สารนิเทศ. (น. 1-36). นนทบุรี: แขนงวิชาสารสนเทศ<br />

ศาสตร์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.<br />

รวีวรรณ ข าพล & นริศรา เฮมเบีย. (2551). การบริการตอบค าถามและช่วยการค้นคว้า: ความคาดหวังและ<br />

ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ฝ่ายหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้. วารสารวิชาการคณะ<br />

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1): 104-132.


หน้าที่ 14<br />

โรสริน อัคนิจ, ธนิต พุทธพงศ์ศิริพร, น้ าฝน ล าดับวงศ์ & อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ. (2554). การพัฒนาออนโทโล<br />

ยีเพื่อการจัดการความรู้ด้านการแปรรูปข้าว. วารสารเกษตร, 27(3): 267-274.<br />

วรลักษณ์ วงศ์โดยหวัง ศิริเจริญ. (2550). ออนโทโลยีกับวิศวกรรมซอฟต์แวร์. กรุงเทพฯ: คณะ<br />

วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.<br />

วิชุดา โชติรัตน์ ผุสดี บุญรอด และศจีมาจ ณ วิเชียร. (2554). การพัฒนาฐานความรู้ออนโทโลยีส าหรับ<br />

วิเคราะห์ข่าวออนไลน์โดยอัตโนมัติ. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, 7 (17): 13-18.<br />

วิสิทธิ์ บุญชุม & นวลวรรณ สุนทรภิษัช. (2552). ออนโทโลยี: สื่อกลางในการจับคู่ข้อมูลเอ็กซ์เอ็มเอลที่มี<br />

ความสัมพันธ์กันเชิงความหมาย. เอกสารประกอบการสัมนาทางวิชาการ The 5 th National<br />

Conference on Computing and Information Technology-NCCIT 2009. (หน้า 338-343).<br />

กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.<br />

สมชาย ปราการเจริญ. (2548). ออนโทโลยีทางเลือกของการพัฒนาฐานความรู้ในรูปแบบเชิงเนื้อหา.<br />

เอกสารประกอบการสัมนาทางวิชาการ The 5 th National Conference on Computing and<br />

Information Technology-NCCIT 2009. (หน้า 92-99). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ<br />

จอมเกล้าพระนครเหนือ.<br />

สมมณี ลูซะวงษ์ & งามนิจอาจอินทร์. (2553). การเข้าถึงฐานข้อมูลบนพื้นฐานของออนโทโลยีด้วยวิธีการ<br />

ปรับเปลี่ยนค าสั่งการสืบค้น. เอกสารประกอบการสัมนาทางวิชาการ The Second<br />

Conference on Knowledge and Smart Technologies. (หน้า 29-34). ชลบุรี: ประเทศไทย.<br />

สิริรัตน์ ประกฤติกรชัย. (2550). การสร้างต้นแบบออนโทโลยีของพืชสมุนไพรไทย. วิทยานิพนธ์ วิทยา<br />

ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม<br />

เกล้าพระนครเหนือ.<br />

สีลตา วงศ์กาฬสินธุ์ & งามนิจ อาจอินทร์. (2552). การรวมกันของออนโทโลยีอย่างมีความหมายส าหรับ<br />

โดเมนห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์. เอกสารประกอบการสัมนาทางวิชาการ The 5 th National<br />

Conference on Computing and Information Technology-NCCIT 2009. (หน้า 288-293).<br />

กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.<br />

อรวรรณ อุไรเรืองพันธุ์ & สมจิตรอาจอินทร์. (2552). การสรุปเอกสารเชิงความหมายโดยใช้ออนโทโลยี.<br />

เอกสารประกอบการสัมนาทางวิชาการ The 5 th National Conference on Computing and<br />

Information Technology-NCCIT 2009. (หน้า 294-299). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี<br />

พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.<br />

อิศราวดี ทองอินทร์. (2553). การพัฒนาบริการสารสนเทศออนไลน์เพื่อการวิจัยในสาขาวิชาพระพุทธศาสนา<br />

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่. สารสนเทศศาสตร์, 28(1): 1-15.


หน้าที่ 15<br />

Boonchom, V. & Soonthornphisaj, N. (2009). Thai succession and family law ontology building<br />

using ant colony algorithm. Kumiyo Nakakoji, Yohei Murakami, and Eric McCready (Eds.).<br />

Proceedings of the 2009 international conference on New frontiers in artificial<br />

intelligence (JSAI-isAI'09). (pp 19-32). New York: Springer Berlin Heidelberg.<br />

Brank, J., Grobelnik, M., & Mladenic, D. (2005). A Survey of Ontology Evaluation Techniques.<br />

Proceedings of the Conference on Data Mining and Data Warehouses (SiKDD).<br />

Ljubljana: Slovenia.<br />

Broughton, V. (2006). Essential thesaurus construction. London: Facet Publishing.<br />

Currás, E. (2010). Ontologies, taxonomies and thesauri in systems science and systematic.<br />

Oxford : Chandos.<br />

Dragan, G., Dragan, D. and Vladan, D. (2006). Model driven architecture and ontology<br />

development. New York: Springer Berlin Heidelberg.<br />

Gruber, T. R. (1993). A Translation Approach to Portable Ontology Specifications. Knowledge<br />

Acquisition, 5(2), 199-220.<br />

Guarino, N. (1995). Formal Ontology, Conceptual Analysis and Knowledge Representation,<br />

International Journal of Human-Computer Studies, 43: 625–640.<br />

Heeptaisong, T. & Srivihok, A. (2010). Ontology Development for Searching Soil Knowledge.<br />

Proceeding of The 9th International Conference on e-Business 2010. Bangkok: Faculty<br />

of Science, Kasetsart University.<br />

Hendler, J. (2001). Agents on the Web. IEEE Intelligent Systems, 16(2): 30-37.<br />

Kayed, A. & Colomb, R. M. (2005). Using BWW model to evaluate building ontologies in CGs<br />

formalism. Information Systems, 30(5): 379-398.<br />

Oh, S. & Yeom, H.Y. (In Press). A comprehensive framework for the evaluation of ontology<br />

modularization. Expert Systems with Applications, Retrieved January, 25 2012, from<br />

http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0957417412001479<br />

Orbst, L., Hughes, T. & Ray, S. (2006). Prospects and Possibilities for Ontology Evaluation: The<br />

View from NCOR. Proceedings of Evaluation of Ontologies for the Web, The 4 th<br />

International EON Workshop.<br />

Park, J., Cho, W. & Rho, S. (2010). Evaluating ontology extraction tools using a comprehensive<br />

evaluation framework. Data and Knowledge Engineering, 69(10): 1043-1061.


หน้าที่ 16<br />

Sowa, J.F. (2000). Knowledge Representation: Logical, Philosophical, and Computational<br />

Foundations. Pacific Grove, CA: Brooks Cole.<br />

Soysal E, Cicekli I, Baykal N. Design (2010). Design and evaluation of an ontology based<br />

information extraction system for radiological reports. Computers in Biology and<br />

Medicine, 40(11–12): 900-911.<br />

Sure, Y., Gomez-Perez, G.-P., Daelemans, W., Reinberger, M.-L., Guarino, N. & Noy, N. F. (2004).<br />

Why Evaluate Ontology Technologies: Because It Works!. IEEE Intelligent Systems,<br />

19 (4): 74-81.<br />

Swartout, W. R. & Tate, A. (1999). Guest editors' introduction: Ontologies. IEEE Intelligent<br />

Systems, 14(1): 18–19.<br />

Tsoi, L. C., Patel, R., Zhao, W. & Zheng, W. J. (2009). Text-mining approach to evaluate terms for<br />

ontology development. Journal of Biomedical Informatics, 42(5): 824-830.


ภาคผนวก<br />

หน้าที่ 17


หน้าที่ 18<br />

เนื้อหาเดิมที่ใช้ในส่วน “บทน า”<br />

เนื้อหาเดิม 1 น้ าทิพย์ วิภาวิน (2546, น. 93) บริการสารสนเทศ เป็นบริการทรัพยากรสารสนเทศใน<br />

รูปแบบต่างๆ แก่ผู้ใช้บริการห้องสมุดให้ได้รับสารสนเทศตามความต้องการ ซึ่งหัวใจของงานห้องสมุด คือ<br />

การบริการสารสนเทศเพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับข้อมูลที่ต้องการสารสนเทศทุกรูปแบบ ได้รวดเร็ว และตรงตาม<br />

ต้องการไม่ว่าจะอยู่ในรูปสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์<br />

เนื้อหาเดิม 2 มาลี กาบมาลา (2553, น. 5) บริการสารสนเทศ หมายถึง งานบริการที่ให้ข้อมูลอย่าง<br />

ละเอียดลึกซึ้ง ช่วยค้นหาข้อมู ล หรือเรื่องราวในสาขาวิชาต่างๆ ให้บริการหลายประเภท เช่น บริการจัดท า<br />

ดรรชนีและสาระสังเขป บริการเลือกสรรสารสนเทศเฉพาะบุคคล บริการข่าวสารทันสมัย เป็นต้น และยังต้อง<br />

ติดต่อกับศูนย์เอกสารและศูนย์สารสนเทศต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลตามความต้องการของผู้ใช้ ในการค้นหา<br />

ข้อมูลโดยใช้ทรัพยากรสารสนเทศ (information sources) นอกจากจะเป็นเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว ยังรวมถึง<br />

สารสนเทศที่อยู่ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ สามารถค้นข้อมูลออกมาในรูปบรรณานุกรมและเนื้อหาเต็มฉบั บ<br />

(full text) บริการสารสนเทศมีจุดมุ่งหมายให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศที่ถูกต้อง สมบูรณ์ รวดเร็ว และตรงกับ<br />

ความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด<br />

เนื้อหาเดิม 3 มาลี ล้ าสกุล (2549, น. 6) บริการสารสนเทศ เป็นบริการที่ช่วยเหลือผู้ใช้ด้านต่างๆ นับแต่<br />

การค้นคว้าหาข้อมูลข่าวสารหรือเรื่องราวในสาขาวิชาต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการอย่างละเอียด รวมถึงการ<br />

ค้นหาค าตอบจากบรรณานุกรม ดรรชนีและสาระสังเขป และการติดต่อกับแหล่งสารสนเทศอื่นๆ เพื่อให้ได้<br />

สารสนเทศที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ในการศึกษาค้นคว้า วิจัย ประกอบการตัดสินใจ แก้ปัญหาใน<br />

การปฏิบัติงาน และบริหารจัดการงาน<br />

เนื้อหาเดิม 4 อิศราวดี ทองอินทร์ (2553, น. 3) “บริการสารสนเทศที่มีคุณภาพ ต้องเป็นบริการที่มี<br />

รูปแบบตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และให้ข้อมูลข่าวสารข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้<br />

ให้มากที่สุด การจัดบริการสารสนเทศให้สนองคว ามต้องการของผู้ใช้จึงเป็นภารกิจหลักของห้องสมุด การ<br />

จัดบริการสารสนเทศให้สนองความต้องการของผู้ใช้จึงเป็นภารกิจหลักของห้องสมุด”<br />

เนื้อหาเดิม 5 รวีวรรณ ข าพล และนริศรา เฮมเบีย (2551, น. 3) “เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามี<br />

บทบาทในห้องสมุด งานบริการตอบค าถามและช่วยการ ค้นคว้าซึ่งเป็นงานที่ต้องช่วยเหลือผู้ใช้บริการให้<br />

ได้รับสารสนเทศตามที่ต้องการอย่างสะดวกและรวดเร็ว ห้องสมุดจึงน าเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ และ<br />

บรรณารักษ์ผู้ให้บริการก็ต้องพัฒนาตนเองในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้วย”


หน้าที่ 19<br />

เนื้อหาเดิม 6 Brank, Grobelnik and Mladenic (2005, p 1) The focus of modern information systems<br />

is moving from “data processing” towards “concept processing”, meaning that the basic unit of<br />

processing is less and less an atomic piece of data and is becoming more a semantic concept<br />

which carries an interpretation and exists in a context with other concepts. Ontology is commonly<br />

used as a structure capturing knowledge about a certain area via providing relevant concepts and<br />

relations between them.


ผลที่ได้จากการสรุปความ (Summarizing) และใช้การขึ้นต้นด้วยค านิยามศัพท์ (Definition)<br />

หน้าที่ 20<br />

บริการสารสนเทศ (Information services) เป็นบริการหลักของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา และ<br />

สถาบันบริการสารสนเทศ ประกอบด้วย บริการจัดท าดรรชนีและสาระสังเขป บริการข่าวสารทันสมัย บริการ<br />

ตอบค าถามและช่วยการค้นคว้า บริการการสอนทักษ ะการรู้สารสนเทศ บริการการชี้แนะแหล่งสารสนเทศ<br />

และบริการค้นคืนสารสนเทศ บริการเหล่านี้ก าหนดขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้บริการให้สามารถค้นหา<br />

ข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือค าตอบในเรื่องใดๆ ซึ่งถูกบันทึกไว้ในสื่อรูปแบบต่างๆ ตามที่ต้องการได้อย่างสะดวก<br />

รวดเร็วและละเอียดลึกซึ้ง โดยมีบรรณารักษ์เป็นผู้ช่วยเหลือที่เข้าใจ ท าหน้าที่บริการผู้ใช้ในการค้นหา<br />

สารสนเทศ หรือ ให้ค าแนะน าในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสารสนเทศ และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ อย่าง<br />

คุ้มค่ามากที่สุด ทั้งยังช่วยสอนทักษะการรู้สารสนเทศ หรือให้ค าแนะน าแก่ผู้ใช้ในการเลือกแห ล่งสารสนเทศ<br />

ที่เหมาะสม (น้ าทิพย์ วิภาวิน , 2546; มาลี ล้ าสกุล , 2549; มาลี กาบมาลา , 2553, อิศราวดี ทองอินทร์ ,<br />

2553) แต่เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICTs) เข้ามามีบทบาทในห้องสมุด บรรณารักษ์จึงต้อง<br />

เพิ่มพูนทักษะด้านเทคโนโลยี เพื่อช่วยผู้ใช้ให้ได้รับบริก ารสารสนเทศตรงตามความต้องการอย่างสะดวกและ<br />

รวดเร็วยิ่งขึ้น (รวีวรรณ ข าพล และนริศรา เฮมเบีย, 2551)<br />

อย่างไรก็ตาม ความสนใจของนักวิชาการในการบริหาร เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ ได้เคลื่อนตัว<br />

จาก "การประมวลผลข้อมูล (data processing)" ไปสู่ "การประมวลผลในระดับแนวคิด (concept<br />

processing)" กล่าวคือ นักวิชาการหันมาให้ความสนใจในแนวคิดเชิงความหมายที่มุ่งตีความ และท าความ<br />

เข้าใจต่อการด ารงอยู่ของความรู้ในบริบทที่แตกต่างกัน โดยพัฒนาเครื่องมือเชิงโครงสร้างเพื่อดักจับความรู้<br />

และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ที่เรียกว่า “ออนโทโลยี (ontology)” (Brank, J., Grobelnik, M. and<br />

Mladenic, D., 2005) ในบทความนี้ผู้เขียนขอน าเสนอความรู้เกี่ยวกับการประเมินออนโทโลยี ประกอบด้วย<br />

ความส าคัญของการประเมินออนโทโลยี แนวทางในการประเมินออนโทโลยี และการประยุกค์ใช้ออนโทโลยี<br />

ในงานบริการสารสนเทศ ดังนี้


หน้าที่ 21<br />

เนื้อหาเดิมที่ใช้ในส่วน “ความส าคัญของการประเมินออนโทโลยี”<br />

เนื้อหาเดิม 1 Sowa, J.F. (2000). “ The word “ontology” comes from the Greek ontos, for “being”,<br />

and logos, for “word”. In philosophy, it refers to the subject of existence, i.e., the study of being as<br />

such. More precisely, it is the study of the categories of things that exist or may exist in some<br />

domain. ”<br />

เนื้อหาเดิม 2 Emilia Curras (2010, p. 18) “ The Diccionario Enciclopédico Abreviado de Espasa<br />

Calpe describes ontology as the part metaphysics that deals with the being in general and its<br />

transcendental properties. The Instituto de Ontologíca says that it is the art and science of being.<br />

Its aim is to penetrate and examine the fundamental nature of being in itself. In some philosophical<br />

treaties, ontology is described as the study of what exists and what we assume exists in order to<br />

achieve a coherent description of reality. ”<br />

เนื้อหาเดิม 3 Dragan, G., Dragan, D. and Vladan, D. (2006, p. 46-47) Cited are “Gruber, T.R.<br />

(1993) Ontology is a specification of a conceptualization. Guarino, N. (1995) Ontology can be seen<br />

as the study of the organization and the nature of the world independently of the form of our<br />

knowledge about it. Swartout, W.R. and Tate, A. (1999) Ontology is the basic structure or armature<br />

around which a knowledge base can be built. Hendler, J. (2001) Ontology is a set of knowledge<br />

term, including the vocabulary, the semantic interconnections, and some simple rules of inference<br />

and logic for some particular topic.”<br />

เนื้อหาเดิม 4 Vanda Broughton (2006, p. 218) “Ontology is a model or representation of a subject<br />

field in which the relationships between concepts in the field are specified.”<br />

เนื้อหาเดิม 5 วรลักษณ์ ศิริเจริญ (2551) “นิยามความหมายของออนโทโลยี เป็นรายละเอียดของ<br />

แนวความคิดหรือทฤษฎีที่สร้างขึ้น (Specification of Conceptualization) ซึ่งอ้างถึงอย่างถูกต้องตามหลัก<br />

ไวยากรณ์บนพื้นฐานของภาษามาร์คอัพ (Markup Language) ต่างๆ เช่น XML (Extensible Markup<br />

Language) XMLs (XML Schema) RDF (Resource Description Framework) RDFs (RDF Schema)<br />

และ OWL (Web Ontology Language) เป็นต้น”


หน้าที่ 22<br />

เนื้อหาเดิม 5 โรสริน อัคนิจ ธนิต พุทธพงศ์ศิริพร น้ าฝน ล าดับวงศ์ และอารีย์ ธัญกิจจานุกิจ (2554) “ออน<br />

โทโลยี คือ แบบจ าลองที่แสดงถึงโครงสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างหมวดหมู่ของค าส าคัญที่ก าหนดขึ้น เพื่อ<br />

ประโยชน์ในการอธิบายความเพื่อเข้าใจร่วมกัน เชื่อมโยง และสืบค้นข้อมูลที่แม่นย าและมีประสิทธิภาพมาก<br />

ขึ้น ซึ่งเป็นส่วนส าคัญต่อการจัดการองค์ความรู้ ออนโทโลยีใช้แสดงมโนทัศน์และความสัมพันธ์ระหว่างมโน<br />

ทัศน์ในรูปแบบโครงสร้างล าดับชั้น (hierarchical structure) และมีการระบบชนิดของความสัมพันธ์นั้น”<br />

เนื้อหาเดิม 6 ธนิตา วงศ์กาฬสินธุ์ และงามนิจ อาจอินทร์ (2552) “ออนโทโลยี คือ แนวคิดในการบรรยาย<br />

องค์ความรู้และแสดงสิ่งที่เราสนใจอย่างมีขอบเขตตามโครงสร้างและความสัมพันธ์หรือการนิยามค าศัพท์และ<br />

ความหมายของค าศัพท์ส าหรับบรรยายความรู้ที่สนใจ ซึ่งโครงสร้างคว ามสัมพันธ์ดังกล่าว เครื่อง<br />

คอมพิวเตอร์สามารถสามารถเข้าใจและแปลความได้โดยใช้คลาส (Class) ความสัมพันธ์ระหว่างคลาส หมาย<br />

รวมถึงล าดับชั้นของคลาสและคุณสมบัติของคลาส (Properties)”<br />

เนื้อหาเดิม 7 สมชาย ปราการเจริญ . (2548, น. 93) “ออนโทโลยีเป็นศาสตร์ที่เกิดขึ้น ในสมั ยกรีกโรมัน<br />

โบราณโดยนักปราชญ์อริสโตเติล ได้ก าหนดวิชาออนโทโลยีอันมาจากรากศัพท์ ออนโท +โลยี (Onto+logy)<br />

ออนโท หมายถึงสิ่งที่มีอยู่ (Exist) และโลยี คือ ศาสตร์ หากแปลตามค าศัพท์จะหมายถึง ศาสตร์ที่กล่าวถึงสิ่ง<br />

ที่มีอยู่ เริ่มจาก อริสโตเติลได้พยายามสร้างต้นไม้แห่งพอร์ฟิรี (Porphyry) ซึ่งมีลักษณะเป็นไฮรากีทรี จ าแนก<br />

ประเภทของสิ่งต่างๆ”<br />

เนื้อหาเดิม 8 มาลี, ล าปาง แม่นมาตย์ & ครรชิต (2549, 24-49) ออนโทโลยี มีการน ามาใช้เป็นครั้งแรกใน<br />

สาขาปัญญาประดิษฐ์ เมื่อ ปี ค .ศ.1980 โดย John MxCarthy ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ในบทความ Cricumscript:<br />

A form of Non-Monotonic ในวารสาร Artificial Intelligence ปีที่ 5 ฉบับที่ 13 หน้า 27-29 และได้เริ่ม<br />

น ามาใช้ในหลากหลายสาขาวิชา ตั้งแต่ช่วงปี 1990s ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมความรู้ (Knowledge<br />

Engineering) การน าเสนอตัวแทนความรู้ (Knowledge representation) การประมวลผลภาษาธรรมชาติ<br />

(Natural Language Process) ระบบสารสนเทศความร่วมมือ (Cooperative Information System) การบูร<br />

ณาการข้อมูลอัจฉริยะ (Intelligent Information Integration) การจัดการความรู้ (Knowledge Management)<br />

การออบแบบฐานข้อมูล (Database Design) การค้นคืนสารสนเทศ (Information Retrieval) พาณิชย์<br />

อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) ส าหรับสาขาบรรณรักษศาสตร์ ในปี ค .ศ.1997 Vickery ได้ตีพิมพ์<br />

บทความทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับความส าคัญของออนโทโลยีในวารสาร journal of Information<br />

Science ปีที่ 23 ฉบับที่ 7 เดือนกรกฎาคม 1977 หน้า 277-286 ซึ่งนักวิชาการได้ก าหนดค าที่ใช้เรียก "ออน<br />

โทโลยี(Ontology)" ไว้หลากหลายแตกต่างกัน เช่น อภิธานศัพท์ (Glossary) และพจนานุกรม (Data<br />

Dictionaries) ธีซอรัสและแทกโซโนมี (Thesauri & Taxonomies) แบบแผนเค้าร่าง (Schemas) แบบจ าลอง<br />

ข้อมูล (Data Model) แบบจ าลองขอบเขตความรู้ (Domain Model) ออนโทโลยีที่เป็นแบบแผน (Formal<br />

Ontology) การอนุมาน (Inference) เป็นต้น ออนโทโลยี มีบทบาทส าคัญในการบรรยายเชิงความหมาย เพื่อ


หน้าที่ 23<br />

ความเข้าใจร่วมกันในของเขตความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างสอดคล้องตรงกัน โดยใช้แนวคิด (Concept)<br />

เดียว เพื่อลด หรือ ตัดทอนหลายแนวคิด (Concepts) หรือค าศัพท์ที่สับสน และเพื่อสนับสนุนการ<br />

แลกเปลี่ยน การค้นคืนข้อมูล สารสนเทศ และมีความส าคัญต่อการพัฒนาระบบความรู้ (Knowledge Based<br />

Systemms) เนื่องจากการสร้างออนโทโลยีท าให้สามารถแบ่งปันและใช้ความรู้ร่วมกัน และสามารถน า ความรู้<br />

มาใช้ใหม่ได้ ออนโทโลยี เป็นการก าหนดนิยามความหมายของแนวคิด (Concepts) ในขอบเขตของความรู้ที่<br />

สนใจ หรือ ขอบเขตความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง (Domian of Interrest) โดยการก าหนดคุณสมบัติ (Property) ที่<br />

เกี่ยวข้องกับแนวคิด และก าหนดลักษณะความสัมพันธ์ (Relationship) รวมทั้งตรรกะของการแปลง<br />

ความสัมพันธ์เพื่อสร้างความหมาย เช่น ลักษณะความสัมพันธ์ที่ถูกต้อง หรือลักษณะการแสดงความ<br />

เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกันของแนวคิด หรือระหว่างแนวคิดกับคุณสมบัติในขอบเขตความรู้ที่สนใจ เพื่อ<br />

สร้างองค์ความรู้ในด้านนั้น ๆ โดยแสดงโครงสร้างความ สัมพันธ์ที่ชัดเจนโดยใช้คลาส (Classes) หรือ<br />

แนวคิด (Concepts) ความสัมพันธ์ระหว่างคลาสกับคุณสมบัติของคลาส (property) นอกจากนี้ยังมี<br />

นักวิชาการได้ก าหนดนิยามความหมายของออนโทโลยีที่สอดคล้องตรงกัน กล่าวคือ ออนโทโลยี หมายถึง<br />

การก าหนดนิยามความหมายที่เป็นทางการ และปร ะกาศคุณลักษณะที่ชัดแจ้งของค าศัพท์ที่ใช้ในการอธิบาย<br />

ซึ่งเป็นตัวแทนของแนวคิด (Concepts) หรือแบบจ าลอง (Model) ของกลุ่มชุมชนสารสนเทศที่ใช้ร่วมกัน<br />

(Information Communities)<br />

เนื้อหาเดิม 9 วิชุดา ผุสดี และศจีมาจ (2554) อธิบายว่า “ฐานความรู้ออนโทโลยี คือ การอธิบาย รูปแบบ<br />

โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลในขอบเขตที่สนใจ (Domain) เชิงมโนภาพ โดยสามารถใช้โครงร่าง<br />

พื้นฐานความสัมพันธ์ของเทอม (Term) ส าหรับเพื่อใช้เป็นฐานความรู้ได้ โดยฐานความรู้ออนโทโลยี<br />

ประกอบด้วย แนวคิด (Concepts) คุณสมบัติ (Properties) ความสัมพันธ์ (Relationships) ข้อก าหนดการ<br />

สร้างความสัมพันธ์ (Axioms) และตัวอย่างข้อมูล (Instance) ออนโทโลยีจะถูกอธิบายคลาส (Class) และ<br />

คุณสมบัติหรือคุณลักษณะด้วยสล็อต (Slot) ซึ่งอาจมีซับคลาส (Subclass) เพื่ออธิบายรายละเอียดของคลาส<br />

นั้นๆ โดยรูปแบบของการบรรยายจะขึ้นอยู่กับภาษาที่ใช้ ได้แก่ ภาษา RDFS และ OWL เป็นต้น”


หน้าที่ 24<br />

ผลที่ได้จากการคัดลอก (Coding) สรุปความ (Summarizing) และการถ่ายความ (Paraphrasing)<br />

สมชาย (2548) กล่าวถึงออนโทโลยีไว้ว่า “เป็นศาสตร์ที่เกิดขึ้นในสมัยกรีก-โรมันโบราณ โดยนักปราชญ์<br />

อริสโตเติล ผู้สร้างต้นไม้แห่งพอร์ฟิรี (Porphyry) ซึ่งมีลักษณะเป็นไฮรากีทรี (Hierarchy tree) เพื่อใช้จ าแนก<br />

ประเภทของสิ่งต่างๆ Sowa (2000) อธิบายค าว่า “ออนโทโลยี” ว่าเป็นค าทับเสียง ontology ใน<br />

ภาษาอังกฤษซึ่งมาจากภาษากรีก (Greek) ว่า “ontos” แปลว่า การมีอยู่ และ “logos” แปลว่า ค า (word)<br />

มาลี, ล าปาง & ครรชิต (2549) กล่าวถึง “ออนโทโลยี” หรือเรียกว่า “ภววิทยา (ontology)” ไวว่าเป็น<br />

สาขาวิชาของอภิปรัชญาที่ว่าด้วยเรื่องของธรรมชาติและความสัมพันธ์ที่มีอยู่ “ออนโทโลยี น ามาใช้เป็นครั้ง<br />

แรกในสาขาปัญญาประดิษฐ์ เมื่อ ปี ค.ศ.1980 ในสาขาบรรณรักษศาสตร์ ค าว่า “ออนโทโลยี (ontology)” ถูก<br />

ให้อธิบายด้วยค าศัพท์แตกต่างกันไป อาทิ อภิธานศัพท์ (Glossary) และพจนานุกรม (Data Dictionaries) ธี<br />

ซอรัสและแทกโซโนมี (Thesauri & Taxonomies) แบบแผนเค้าร่าง (Schemas) แบบจ าลองข้อมูล (Data<br />

Model) แบบจ าลองขอบเขตความรู้ (Domain Model) ออนโทโลยีที่เป็นแบบแผน (Formal Ontology) และ<br />

การอนุมาน (Inference) เป็นต้น”<br />

กล่าวโดยสรุป “ออนโทโลยี” หมายถึง แนวคิดที่ใช้ก าหนดความหมายที่เป็นทางการของค าศัพท์ พร้อม<br />

ทั้งประกาศคุณลักษณะที่ชัดแจ้งเพื่อน ามาใช้ในการอธิบายความเป็นตัวแทนของแนวคิด (Concepts) หรือ<br />

แบบจ าลอง (Model) ของกลุ่มชุมชนสารสนเทศที่ใช้ร่วมกัน (Information Communities) ซึ่งโครงสร้าง<br />

ความสัมพันธ์ดังกล่าว เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสามารถเข้าใจและแปลความได้โดยใช้คลาส (Class)<br />

ความสัมพันธ์ระหว่างคลาส หมายรวมถึงล าดับชั้นของคลาสและคุณสมบัติ (Properties) ของคลาส ความรู้ที่<br />

ได้จากออนโทโลยีมีขอบเขตอยู่เฉพาะทาง (Domain) ซึ่งช่วยสนับสนุนกระบวนการค้นคืนสารสนเทศ<br />

(Information Retrieval) ในแง่ของการตัดทอนค าศัพท์ที่สับสน หรือ บรรยายเชิงความหมายจากหลาย<br />

แนวคิด (Concepts) ให้สอดคล้องกันภายใต้แนวคิด (Concept) เพียงหนึ่งเดียว ทั้งยั งมีบทบาทส าคัญต่อ<br />

การพัฒนาระบบความรู้ (Knowledge Based Systems) ในแง่ของการน ากลับมาใช้ใหม่ (Reusable) และ<br />

เพิ่มเติมองค์ประกอบได้ภายหลัง ส่วนภาษาที่ใช้ในออนโทโลยีเพื่อบรรยายข้อมูลเชิงความหมาย ได้แก่<br />

XML (Extensible Markup Language) RDF (Resource Description Framework) และ OWL (Web<br />

Ontology Language) ในการพัฒนาออนโทโลยีแต่ละประเภทจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ขอบเขตของความรู้<br />

บริบทแวดล้อม และความพร้อมในการพัฒนา (สมชาย, 2548; มาลี, ล าปาง, & ครรชิต, 2549; วรลักษณ์,<br />

2551; วิชุดา ผุสดี และศจีมาจ , 2554; โรสริน และคณะ, 2554; Broughton, 2006; Dragan, Dragan and<br />

Vladan, 2006; Curras, 2010)


หน้าที่ 25<br />

เนื้อหาเดิมที่ใช้ในส่วน “แนวทางการประเมินออนโทโลยี”<br />

เนื้อหาเดิม Brank, J., Grobelnik, M. and Mladenic, D. (2005).<br />

In addition to the above categories of evaluation, we can group the ontology evaluation<br />

approaches based on the level of evaluation, as described below.<br />

Lexical, vocabulary, or data layer. Here the focus is on which concepts, instances, facts,<br />

etc. have been included in the ontology, and the vocabulary used to represent or identify these<br />

concepts. Evaluation on this level tends to involve comparisons with various sources of data<br />

concerning the problem domain (e.g. domain-specific text corpora), as well as techniques such as<br />

string similarity measures (e.g. edit distance).<br />

Hierarchy or taxonomy. An ontology typically includes a hierarchical is-a relation between<br />

concepts. Although various other relations between concepts may be also defined, the is-a<br />

relationship is often particularly important and may be the focus of specific evaluation efforts.<br />

Other semantic relations. The ontology may contain other relations besides is-a, and<br />

these relations may be evaluated separately. This typically includes measures such as precision<br />

and recall.<br />

Context or application level. An ontology may be part of a larger collection of ontologies,<br />

and may reference or be referenced by various definitions in these other ontologies. In this case it<br />

may be important to take this context into account when evaluating it. Another form of context is<br />

the application where the ontology is to be used; evaluation looks at how the results of the<br />

application are affected by the use of the ontology.<br />

Syntactic level. Evaluation on this level may be of particular interest for ontologies that<br />

have been mostly constructed manually. The ontology is usually described in a particular formal<br />

language and must match the syntactic requirements of that language. Various other syntactic<br />

considerations, such as the presence of natural-language documentation, avoiding loops between<br />

definitions, etc., may also be considered.<br />

Structure, architecture, design. This is primarily of interest in manually constructed<br />

ontologies. We want the ontology to meet certain pre-defined design principles or criteria; structural<br />

concerns involve the organization of the ontology and its suitability for further development. This<br />

sort of evaluation usually proceeds entirely manually.


หน้าที่ 26<br />

ผลที่ได้จากการสรุปความ (Summarizing) และการถ่ายความ (Paraphrasing)<br />

Brank, J., Grobelnik, M. and Mladenic, D. (2005) กล่าวถึงแนวทางในการประเมินออนโทโลยี ที่<br />

แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ (1) การประเมินผลด้วยการเปรียบเทียบมาตรฐานออนโทโลยีที่ดี (golden<br />

standard) กับออนโทโลยีที่พัฒนาขึ้น กล่าวคือ การประเมินจะท าการเปรียบเทียบการให้ความหมายของ<br />

รูปแบบไวยากรณ์ (syntax) ในออนโทโลยี กั บการให้ความหมายเฉพาะตามรูปแบบไวยากรณ์ในภาษา<br />

ทางการ (syntax specification of formal language) ซึ่งออนโทโลยีท าการเขียน เช่น ภาษา RDF และ<br />

ภาษา OWL เป็นต้น (2) การประเมินลักษณะการใช้งานออนโทโลยีบนแอพพลิเคชั่นต่างๆ โดยพิจารณา<br />

ผลลัพธ์ที่สืบค้นได้จากออนโทโลยีที่ท างานบนแอพพลิเคชั่นเหล่านั้น (3) การประเมินโดยเปรียบเทียบที่มา<br />

ของแหล่งข้อมูล เช่น ประเมินจากแหล่งจัดเก็บเอกสาร (collection of documents) หรือ ประเมินจาก<br />

ขอบเขตความรู้ที่อยู่ในออนโทโลยี (domain to be covered by the ontology) และ (4) การประเมินโดย<br />

มนุษย์ (Assessment by humans) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญในโดเมนเฉพาะเผ็นผู้ก าหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐาน และ<br />

ระบุความต้องการเชิงระบบในออนโทโลยีไว้ล่วงหน้า<br />

ระดับของการประเมิน<br />

(Level of evaluation)<br />

ตารางที่ 1 แสดงภาพรวมของแนวทางต่างๆ ที่ใช้ในการประเมินออนโทโลยี<br />

(An overview of approach to ontology evaluation)<br />

โดยมาตรฐานที่ดี<br />

(Golden standard)<br />

แนวทางที่ใช้ในการประเมิน (Approach of evaluation)<br />

โดยแอพพลิเคชั่น<br />

(Application-based)<br />

โดยข้อมูล<br />

(Data-driven)<br />

โดยมนุษย์<br />

(Humans)<br />

ลักษณะของค า (Lexical) ค าศัพท์<br />

(vocabulary) ระดับข้อมูล (data layer)<br />

√ √ √ √<br />

โครงสร้างแบบล าดับชั้น (Hierarchy)<br />

โครงสร้างแบบอนุกรมวิธาน (taxonomy)<br />

√ √ √ √<br />

ความสัมพันธ์เชิงความหมายลักษณะอื่น<br />

(Other semantic relations)<br />

√ √ √ √<br />

บริบท (Context) หรือ<br />

แอพพลิเคชั่น (application)<br />

√<br />

√<br />

รูปแบบของประโยค (Syntactic) √ √<br />

โครงสร้าง (Structure) สถาปัตยกรรม<br />

(architecture) การออกแบบ (design)<br />

√<br />

* ปรับปรุงมาจาก Brank, J., Grobelnik, M. and Mladenic, D. (2005)


หน้าที่ 27<br />

นอกจากนี้ หากพิจารณาตามระดับของการประเมิน (Level of evaluation) ยังสามาถจ าแนกลักษณะ<br />

การประเมินออนโทโลยี ออกเป็น 6 ระดับ ดังนี้<br />

1) ประเมินระดับลักษณะของค า (Lexical) และค าศัพท์ (vocabulary) หรือระดับของข้อมูล (data<br />

layer) กล่าวคือ การประเมินให้ความส าคัญกับแนวคิด (concepts) กรณีตัวอย่าง (instances) ข้อเท็จจริง<br />

(facts) และค าศัพท์ที่ใช้เป็นเป็นตัวแทนหรือให้ความหมายแก่แนวความคิดเหล่านั้นซึ่งบรรจุอยู่ในออนโทโล<br />

ยี การประเมินในระดับนี้จะเปรียบเทียบผลลัพธ์กับแหล่งที่มาของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันในขอบเขตความรู้<br />

(domain) ของปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งประเมินรูปแบบเชิงเทคนิคของออนโทโลยี เช่น ค่าสตริง (string)<br />

ความคล้ายคลึงกัน (similarity) การวัดค่าในลักษณะอื่นๆ (measures) และพิจารณาการแก้ไขค าศัพท์ (edit<br />

distance) เป็นต้น<br />

2) ประเมินระดับโครงสร้างข้อมูลแบบล าดับชั้น (Hierarchy) หรือแบบอนุกรมวิธาน (taxonomy)<br />

โดยทั่วไปออนโทโลยีจะประกอบด้วย ล าดับชั้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดด้วยค าว่า "is-a" และ<br />

ความสัมพันธ์ด้วยค าในลักษณะอื่นๆ เช่น synonym ซึ่งการประเมินจะพิจารณาความถูกต้องในการก าหนด<br />

ความสัมพันธ์แบบ "is-a" เป็นล าดับแรก<br />

3) ประเมินจากความสัมพันธ์เชิงความหมายในลักษณะอื่นๆ (Other semantic relations)<br />

นอกเหนือจากการประเมินจากความสัมพันธ์แบบ “is-a” แล้ว ออนโทโลยีอาจมีความสัมพันธ์อื่นๆ ซึ่ง<br />

ความสัมพันธ์เหล่านี้สามารถประเมินได้จากการพิจารณาความแม่นย า (precision) และการเรียกคืน (recall)<br />

จากการสืบค้นของผู้ใช้บริการแต่ละครั้ง<br />

4) ประเมินระดับบริบท (Context) หรือ แอพพลิเคชั่น (application) กล่าวคือ ออนโทโลยี อาจเป็น<br />

ส่วนหนึ่งของแหล่งทรัพยากรสารสนเทศขนาดใหญ่ซึ่งรวมเอาออนโทโลยีจ านวนมาก (ontologies) เข้าไว้<br />

ด้วยกัน และในการสืบค้าข้อมูลอาจต้องอ้างอิงค าจ ากัดความเดียวกันจากออนโทโลยีหลายๆ ชุด ในกรณีนี้<br />

จึงจ าเป็นที่จะต้องเข้าไปประเมินในระดับบริบท และแอพพลิเคชั่น (application) ซึ่งการประเมินจะพิจารณา<br />

จากผลกระทบที่เกิดกับโปรแกรมประยุกต์ เมื่อผู้ใช้บริการด าเนินการสืบค้นข้อมูลบนออนโทโลยีด้วย<br />

แอพพลิเคชั่นดังกล่าว<br />

5) ประเมินในระดับประโยค (Syntactic) การประเมินในระดับน้ าด้รับความสนใจจากออนโทโลยีเป็น<br />

จ านวนมาก (ontologies) โดยเฉพาะออนโทโลยีที่ได้พัฒนาโครงสร้างขึ้นด้วยตนเอง (constructed<br />

manually) โดยปกติออนโทโลยีถูกอธิบายด้วยภาษาที่เป็นทางการ และให้ประโยคที่ตรงกับหลักไวยากรณ์<br />

พื้นฐานของภาษาเหล่านั้น เกณฑ์ที่ใช้ประเมิน อาทิ การน าเสนอเอกสารด้วยภาษาธรรมชาติ การหลีกเลี่ยง<br />

การซ้ าซ้อนกัน (loops) ระหว่างค านิยาม เป็นต้น<br />

6) ประเมินในระดับโครงสร้าง (Structure) สถาปัตยกรรม (architecture) และการออกแบบ (design)<br />

เนื่องจากการพัฒนาออนโทโลยี (ontologies) ได้ถูกบังคับให้เป็นไปตามข้อก าหนดเชิงโครงสร้าง ลักษณะ<br />

สถาปัตยกรรม และมาตรฐานในการออกแบบไว้ล่วงหน้าอยู่ แล้ว การประเมินในระดับนี้จะท าให้ทราบได้ว่า<br />

ออนโทโลยีเหล่านั้นมีความเหมาะสม และรองรับการปรับปรุงในอนาคตอย่างยั่งยืน หรือไม่


หน้าที่ 28<br />

เนื้อหาเดิมที่ใช้ในส่วน “แนวทางการประเมินออนโทโลยี”<br />

เนื้อหาเดิม<br />

Sure, Y., Gomez-Perez, G.-P., Daelemans, W., Reinberger, M.-L., Guarino, N. & Noy, N. F. (2004).<br />

Ontology evaluation work on ontology content evaluation started in 1994. In the last two years,<br />

the ontological engineering community's interest in this issue has grow and extended to the<br />

evaluation of technology used to build ontologies. You can find a survey on evaluation methods<br />

and tools in Ontological Engineering. Ontology content evaluation has three main underlying ideas:<br />

(1) We should evaluate ontology content during the entire ontology life cycle.<br />

(2) Ontology development tools should support the content evaluation during the entire<br />

ontology-building process.<br />

(3) Ontology content evaluation is strongly related to the underlying of the language in<br />

which the ontology is implemented.<br />

Ontology technology evaluation's main underlying idea is that because ontology technology is<br />

maturing and should soon be ready for industry, we must evaluate and benchmark it to ensure a<br />

smooth consider several factors – including interoperability. Scalability. Navigability and Usability.


หน้าที่ 29<br />

ผลที่ได้จากการสรุปความ (Summarizing) และการถ่ายความ (Paraphrasing)<br />

Sure, Y. และคณะ (2004) กล่าวถึงจุดเริ่มต้นในการประเมินออนโทโลยีว่าอยู่ที่การประเมินเนื้อหา<br />

ในปี ค.ศ.1994 ซึ่งเป็นช่วงที่นักวิชาการกลุ่มวิศวกรรมออนโทโลยี (ontological engineering community's)<br />

ให้ความสนใจต่อปัญหาการเติบโตและขยายตัวอย่างรวดเร็วในเนื้อหาของออนโทโลยี ซึ่งต้องการแนวทาง<br />

ประเมินเนื้อหาที่รองรับการพัฒนาและปรับปรุงออนโทโลยีจ านวนมาก (ontologies) ในอนาคต<br />

การประเมินเนื้อหาดังกล่าว สามารถสรุปได้ 3 แนวคิด คือ (1) การประเมินเนื้อหาของออนโทโลยีที่<br />

ต้องด าเนินการตลอดทั้งวงจรชีวิตของการพัฒนาออนโทโลยี (ontology life cycle) (2) เครื่องมือประเมิน<br />

เนื้อหาควรสนับสนุนการประเมินในระหว่างกระบวนการพัฒนาออนโทโลยี (ontology-building process) (3)<br />

การประเมินเนื้อหาของออนโทโลยีต้องแสดงถึงสัมมพันธ์กันอย่างแนบแน่น ระหว่างกระบวนทัศน์ทางภาษา<br />

(paradigm of language) กับความเป็นตัวแทนขององค์ความรู้ (Knowledge representative)<br />

แนวคิดส าคัญ 3 ประการข้างต้น ถือเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเทคโนโลยีต้นแบบเพื่อประเมินออน<br />

โทโลยี (Ontology technology evaluation's) ส าหรับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งวิธีประเมิน (evaluate) และ<br />

เทียบเคียงสมรรถนะ (benchmark) ดังกล่าว ช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมมั่นใจได้ว่าเทคโนโลยีต้นแบบที่ใช้<br />

ประเมินออนโทโลยีมีความละเมียดละไมต่อ 4 ปัจจัย ได้แก่<br />

(1) ความสามารถในการท างานร่วมกัน (Interoperability)<br />

(2) ความสามารถในการก าหนดทิศทาง (Navigability)<br />

(3) ความสามารถในการขยายตัว (Scalability) และ<br />

(4) ความสามารถในการใช้งาน (Usability)


หน้าที่ 30<br />

เนื้อหาเดิมที่ใช้ในส่วน “แนวทางการประเมินออนโทโลยี”<br />

เนื้อหาเดิม<br />

Sure, Y., Gomez-Perez, G.-P., Daelemans, W., Reinberger, M.-L., Guarino, N. & Noy, N. F. (2004).<br />

The problem of interoperability between software applications across different<br />

organizations, providing a shared understanding of common domains. Ontologies allow applications<br />

to agree on the terms that they use when communicating. Thus, ontologies, if shared among the<br />

interoperating applications, allow the exchange of data to take place not only at a syntactic level,<br />

but also at a semantic level.<br />

Scalability: Analyzing how different ontology building platforms scale when managing large<br />

ontologies with thousands of components, and the time required to open and save ontologies, to<br />

create, update, or remove ontology components, to compute simple or complex queries, and so on.<br />

Navigability: Analyzing how ontology tools allow for navigating large ontologies—how easy<br />

is it to search for a component (graphically, text based, and so on), to extend the ontology with<br />

new components, to obtain a small part of the ontology, and so on.<br />

Usability: Analyzing user interfaces’ clarity and consistency, users’ learning time, stability,<br />

help systems, and so on.


หน้าที่ 31<br />

ผลที่ได้จากการสรุปความ (Summarizing) และการถ่ายความ (Paraphrasing)<br />

เทคโนโลยีต้นแบบที่ใช้ประเมินออนโทโลยีมีความละเมียดละไมต่อปัจจัย 4 ประการ ดังนี้<br />

(1) ความสามารถในการท างานร่วมกัน (Interoperability) กล่าวคือ ปัญหาหนึ่งที่เกิดจากการใช้<br />

ออนโทโลยี คือ การให้ความหมายในโดเมนเดียวกันให้เข้าใจได้ตรงกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับการตกลงในเงื่อนไข<br />

ทางการสื่อสารระหว่างซอฟต์แวร์ การประเมิน จึงมุ่งพิจารณาการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างแอพพลิเคชั่นทั้ง<br />

ในระดับประโยค (syntactic level) และในระดับความหมาย (semantic level)<br />

(2) ความสามารถในการก าหนดทิศทาง (Navigability) วิเคราะห์จากความแตกต่างของแพลตฟอร์ม<br />

(platform) ที่น ามาใช้เป็นองค์ประกอบในการพัฒนาออนโทโลยี และประเมินระยะเวลาที่ระบบใช้ (required)<br />

ในการเปิดใช้งาน (open) บันทึกข้อมูล (save) สร้างข้อมูล (create) ปรับปรุง (update) หรือ ลบ (remove)<br />

องค์ประกอบต่างๆ (components) ของออนโทโลยี และพิจารณาการประมวลผลข้อค าถาม (queries) ด้วย<br />

(3) ความสามารถต่อการขยายตัว (Scalability) วิเคราะห์ได้จากเครื่องมือของออนโทโลยี (ontology<br />

tools) ที่ใช้ค้นหาองค์ประกอบต่างๆ ในออนโทโลยีขนาดใหญ่ เช่น ภาพกราฟิก ข้อความ ได้อย่างสะดวก<br />

และรวดเร็ว และรองรับการขยายตัวขององค์ประกอบอื่นๆ ด้วย<br />

(4) ความสะดวกในการใช้งาน (Usability) วิเคราะห์ได้จากความชัดเจนและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน<br />

ในส่วนติดต่อกับผู้ใช้ รวมไปถึงระยะเวลาที่ผู้ใช้เรียนรู้ระบบ ความเสถียรของระบบ และส่วนช่วยเหลืออื่นๆ

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!