22.05.2017 Views

ASA CREW VOL.3

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

เรือนหลังที่ 2 พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก รูปตัด<br />

มาตราส่วน (ต้นฉบับ) 1:50 โดย ศรายุทธ สายบุญจันทร์, 2555<br />

The second house at Bangkok Folk Museum. Cross-sectional view.<br />

Scale (original) 1:50, by Mr.Sarayut Saiboonjun, 2012.<br />

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก<br />

273 ซอยเจริญกรุง 43 ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร<br />

เปิดให้เข้าชมทุกวันพุธถึงวันอาทิตย์ เวลา 10.00-17.00 น.<br />

สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทรศัพท์ 0-2233-7027<br />

Bangkokian Museum<br />

273 Soi Charoen Krung 43, Charoen Krung Road, Bangrak District, Bangkok<br />

Open: Wednesday – Sunday from 10.00 am - 5.00 pm<br />

For more information, call 0-2233-7027<br />

ส่วนที่เกินจากความคาดหมายคือประวัติความเป็นมาของเรือนหลังเล็กที่ย้ายมาจากทุ่งมหาเมฆ<br />

ซึ่งเชื่อมโยงให้เห็นว่า พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นตัวแทนของชาวบางกอกในยุคนั้น<br />

เนื่องด้วยเป็นสถานที่ที่มีคนอย่างน้อย 3 ชั่วคน และ 3 เชื้อชาติ ได้มาใช้ชีวิตผูกพันกัน ณ อาคารเหล่านี้<br />

โดยมีสังคมเมืองบางกอกยุครัตนโกสินทร์เป็นฉากหลัง<br />

นางอิน ตันบุ้นเต็ก คุณยายของเจ้าของเรือนมีเชื้อสายจากชาวจีนที่มาตั้งรกรากทํามาหากินอยู่ที่<br />

เมืองสยามตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนนางสอาง สุรวดีผู้เป็นมารดา ได้แต่งงานครั้งแรกกับ นายแพทย์<br />

ฟรานซีส คริสเตียน ศัลยแพทย์ชาวอินเดียที่สําเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ โดยพบกันครั้งแรกที่<br />

ปีนัง แล้วติดตามสามีมาสร้างครอบครัวที่บางกอก เสียดายที่หมอฟรานซีสอายุสั้นจนไม่ได้เปิดกิจการ<br />

ตามที่ตั้งใจ ทิ้งไว้แต่เพียงอาคารที่จัดสร้างเพื่อเตรียมท ําคลินิก และเครื่องไม้เครื่องมือแพทย์ตามยุคสมัยนั้น<br />

ไว้เป็นอนุสรณ์ รวมถึง รศ.วราพร สุรวดี ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ก็มีชีวิตผูกพันกับสถานที่<br />

แห่งนี้ด้วยเช่นกัน<br />

อาคารทั้งหมดที่ปรากฏในพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกแห่งนี้ประกอบด้วยเรือนไม้2 ชั้นหลังเดิม 1 หลัง<br />

จัดแสดงเครื่องเรือนและวิถีชีวิตของครอบครัวในยุคสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นหลัก ส่วนเรือนไม้ 2<br />

ชั้นด้านหลัง เป็นคลินิกเดิมของหมอฟรานซีสที่รื้อย้ายมาจากทุ่งมหาเมฆ ปัจจุบันจัดแสดงประวัติและ<br />

รูปหล่อโลหะของคุณหมอ จากต้นแบบฝีมือปั้นของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ตลอดจนหนังสือและ<br />

อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์สุดท้ายคืออาคารแถวครึ่งตึกครึ่งไม้อีก 1 หลังที่จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้และ<br />

ของสะสมส่วนตัวของครอบครัวสุรวดี<br />

ทุกอาคารได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดีตามรูปแบบเดิมเมื่อแรกสร้าง แม้จะไม่ได้ใช้เครื่องปรับ<br />

อากาศในบางอาคาร แต่อาศัยร่มไม้ที่ครึ้มอยู่โดยรอบ ก็ช่วยให้สามารถเดินชมได้ด้วยความเพลิดเพลิน<br />

แม้ในวันที่อากาศอบอ้าว ชวนให้คิดถึงความสบายในยุคสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี<br />

เมื่อ พ.ศ.2555 สมาคมสถาปนิกสยามฯ มีโอกาสได้นําสถาปนิกและอาสาสมัครเข้าไปช่วยสํารวจ<br />

รังวัดอาคารในพิพิธภัณฑ์ ในโครงการ <strong>ASA</strong> VERNADOC 2012 โดยได้จัดแสดงนิทรรศการและตีพิมพ์<br />

เผยแพร่ผลงานในหนังสือ VERNADOC Vol.1 : Thailand ออกสู่สาธารณชน ทําให้พิพิธภัณฑ์เป็นที่รู้จัก<br />

และถูกจดจําผ่านภาพลายเส้นที่งดงาม<br />

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก รูปด้านหน้าซุ้มประตูทางเข้า<br />

มาตราส่วน (ต้นฉบับ) 1:2.5 โดย พนิสรา บุญสม, 2555<br />

Bangkok Folk Museum, Front view of the entrance arch.<br />

Scale (original) 1:2.5, by Miss Panisara Boonsom, 2012.<br />

ผู้สนใจสามารถติดตาม VERNADOC ได้ที่ www.facebook.com/vernadoc<br />

- 12 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!