13.06.2018 Views

902

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

“แรกทำตำราพิชัยสงคราม” ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ นั้น น่าจะให้มี<br />

การรวบรวมขึ้นจากหลักการสงครามและวิชาต่างๆ ที่ใช้อยู่ก่อนหน้านั้นดังมีความปรากฏใน<br />

ยวนพ่ายโคลงดั้น ซึ่งเป็นเรื่องราวของการทำาสงคราม ระหว่างสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ<br />

แห่งอโยธยา กับพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนา ความว่า<br />

“เชิงแก้ศึกใหญ่ให้<br />

หายแรง รวจแฮ<br />

เชิงรายรอบพลซุก ซุ่มไว้<br />

เชิงศึกสั่งแสวงเชิง ลาลาศ ก็ดี<br />

เชิงชั่งเสียได้รู้ รอบการย์”<br />

ความตอนนี้มีความหมายว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ มีความชำานาญในการ<br />

รบทัพจับเชลย ทรงชำานาญกลการยุทธ์ การลาดตระเวน ยุทธวิธีซุ่มโจมตีข้าศึก การบังคับ<br />

บัญชา ตลอดจนการประมาณการประมาณสถานการณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ตำาราการยุทธ์<br />

หรือการรบนั้นมีมานานแล้ว คงมีอยู่และใช้กันอย่างกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป สมเด็จพระ<br />

รามาธิบดีที่ ๒ จึงโปรดให้ “แรกทำตำราพิชัยสงคราม” คือทรงให้มีการรวบรวมคัดลอก<br />

ทำาเป็นตำาราสำาหรับศึกษา และใช้ในการราชการ ยังคงเหลือต้นฉบับตำาราพิไชยสงคราม<br />

(ฉบับตัวเขียน) ทั้งที่เป็น สมุดไทยดำา สมุดไทยขาว ใบลาน และสมุดฝรั่ง ที่เก็บรักษาไว้ที่<br />

หอสมุดแห่งชาติ รวมทั้งสิ้น ๒๑๒ ฉบับ<br />

ต้นกำาเนิดที่แท้จริงของตำาราพิไชยสงครามไทย จึงยังไม่สามารถยืนยันได้ว่า ใคร<br />

เป็นคนแต่ง และแต่งขึ้นเมื่อใด แต่หากพิจารณาความในตำาราพิไชยสงครามคำากลอน ฉบับ<br />

รัชกาลที่ ๑ ที่ถอดความโดยกรมศิลปากรมีความว่า<br />

“ตำาราวรวากย์ไว้<br />

วิถาร<br />

พิชัยสงครามการ ศึกสิ้น<br />

จงหาที่พิสดาร เติมต่อ<br />

จงอย่าฟังกลสิ้น เล่ห์เลี้ยวจำาความ<br />

สมเด็จจักรพรรดิรู้ คัมภีร์<br />

ชื่อว่านามกามมนทกี กล่าวแก้<br />

พิชัยสงครามศรี<br />

สูรราช<br />

ยี่สิบเบ็ดกลแล้ เลิศให้เห็นกล”<br />

182

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!