13.06.2018 Views

902

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ถึงแม้ยังไม่มีหลักฐานการใช้ปืนไฟครั้งกรุงสุโขทัยที่แน่ชัด เมื่อพิจารณา<br />

คำาว่า ปากจอบ ก็ยังไม่พบว่า ธนูปากจอบ มีลักษณะเช่นใดจึงอาจ<br />

สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นคำาเรียกปืนไฟที่ปากกระบอกตัดลงคล้ายรูป<br />

จอบ และเนื่องจากมี ปืนมกร ที่เชื่อกันว่ามีอายุสมัยปลายกรุงสุโขทัยถึง<br />

ต้นกรุงศรีอยุธยาปากลำากล้องตัดลงคล้ายจอบเช่นกัน ศาสตราจารย์<br />

นายแพทย์สำาราญ วังศพ่าห์ ได้ศึกษาปืนกระบอกนี้ไว้ว่ามีปากกระบอก<br />

กว้าง ๑.๓ นิ้ว ลำากล้องยาว ๒๓ นิ้ว ตัวปืนเป็นรูปทรงกระบอก ท้าย<br />

ปืนหล่อเป็นรูปคล้ายเจดีย์สามารถใส่ไม้คัดปืนได้ อาจารย์จุลทัศน์<br />

พยาฆรานนท์ (ราชบัณฑิต สำานักศิลปกรรม) ได้กรุณาให้ความรู้เรื่อง<br />

ลายที่ประดับบนปืนว่า ปากกระบอกปืนเป็นรูปหน้ากาล หรือ บางที<br />

เรียกว่า เกียรติมุข อ้าปากอยู่ ปากของตัวกาล คือ ส่วนปากลำากล้อง<br />

ปืน ระหว่างตาของตัวกาล มีดั้งจมูกเป็นสัน ปากมีเขี้ยวโค้งออกสองข้าง<br />

ท้ายปืนหล่อเป็นรูปเจดีย์โดยฐานเจดีย์ติดอยู่กับตัวปืน รูปทรงของเจดีย์<br />

คล้ายกับเจดีย์จำาลององค์เล็ก องค์ระฆัง คล้ายกับที่วัดศรีโคมคำา และ<br />

วัดพระเจ้าตนหลวง จังหวัดพะเยา จากเพลาไปจนถึงรังเพลิง มีการหล่อ<br />

เป็นตัวกาล หรือ มกร อมปืนไว้อีกทีหนึ่ง ปากมกร อมบริเวณเพลาปืน<br />

และบริเวณรูชนวนเป็นเกล็ดของตัวมกร ลายด้านข้างของเกล็ดมกรผูก<br />

เป็นกระจังรักร้อยและขอสร้อย ลายที่พบบนตัวปืนสันนิษฐานว่าเป็น<br />

ลายสมัยกรุงสุโขทัย ลายแบบนี้พบที่วัดนางพญา อำาเภอศรีสัชนาลัย<br />

และรูปหางกระเบื้อง สมัยปลายกรุงสุโขทัย พบที่วัดสวนแก้วอุทยาน<br />

น้อย และมีความเห็นเพิ่มเติมว่า ลายแบบนี้เลยมาถึงตอนต้นสมัย<br />

กรุงศรีอยุธยา แต่ไม่เกินรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.<br />

๑๙๙๑ - ๒๐๓๑)<br />

25

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!