13.06.2018 Views

902

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ทั้งป้อมรูปกลมมนและรูปหกเหลี่ยม ล้วนเป็นวิทยาการจากชาติตะวันตกที่กรุง<br />

ศรีอยุธยารับมาปรับใช้ตามยุทธศาสตร์ป้องกันเมือง และพลานุภาพของอาวุธยุทธภัณฑ์<br />

ที่มีอยู่<br />

ยังมีป้อมใหญ่ที่ตั้งอยู่ในทางร่วมของลำานำ้ำ ตั้งตรงมุมพระนครเช่นเดียวกับ<br />

ป้อมเพชรอีก คือ ป้อมมหาไชย อยู่ตรงมุมพระนครด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณ<br />

ตลาดหัวรอไม่เห็นร่องรอยของป้อมแล้ว อีกป้อมหนึ่งคือ ป้อมซัดกบ หรือท้ายกบ อยู่<br />

มุมพระนครด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตรงบริเวณหัวแหลม ไม่พบร่องรอยของซาก<br />

ป้อมเช่นกัน ทั้ง ๓ ป้อม เป็นป้อมปืนตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำาคัญเช่นเดียวกัน แต่จะมี<br />

รูปร่างเดียวกับ ป้อมเพชรที่เหลืออยู่หรือไม่ ไม่สามารถยืนยันได้ ป้อมเหล่านี้ล้วนเป็น<br />

ป้อมที่มีเหตุการณ์ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ เช่น ปืนใหญ่ประจำป้อมมหาไชย น่าจะเป็น<br />

ปืนที่มีขนาดใหญ่มีกำาลังแรงพอที่จะยิงป้องกันข้าศึกที่เข้ามาทางแม่นำ้ำลพบุรีทางด้านนี้<br />

เมื่อครั้งเกิดกบฏธรรมเถียรในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ซึ่งกรมพระราชวังบวร ต่อ<br />

มาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเสือได้โปรดให้เอา ปืนใหญ่ป้อมแห่งนี้ ยิงปราบกบฏทั้ง<br />

๘ กระบอก ส่วน ป้อมซัดกบ หรือท้ายกบได้ทำาหน้าที่เมื่อคราวมีศึกประชิดกรุง พ.ศ.<br />

๒๓๐๙ พระยาศรีสุริยพาห เจ้าหน้าที่รักษาป้อมซัดกบนำาปืนชื่อ มหากาฬมฤตยู ประจุ<br />

ดินปืนอัดเป็นสองเท่าเพื ่อที่จะยิงให้ถึงค่ายพม่าที่วัดภูเขาทอง แม้ยิงได้เพียงนัดเดียว<br />

ปืนก็ร้าวราน แต่ก็ยังจมเรือรบพม่าได้ถึง ๒ ลำา<br />

ป้อมปืน ปืนและพลประจำป้อมในความทรงจำและจิตสำนึกของช่างเขียน<br />

ภาพจิตรกรรมไทยประเพณี ทั้งภาพฝาผนัง ภาพลายรดนำ้ำ ตั้งแต่สมัยอยุธยา<br />

เป็นต้นมา เขียนเล่าเรื่องในพระพุทธศาสนาเป็นภาพพระพุทธประวัติ หรือภาพชาดก<br />

แต่ภาพที่เกี่ยวกับการสู้รบ ภาพบ้านเมืองมีกำาแพงป้อมปราการ ช่างเขียนจะเขียนภาพ<br />

ชนต่างชาติ คือ ฝรั่งบ้าง แขกบ้าง อยู่ประจำาป้อมพร้อมด้วยอาวุธปืนใหญ่น้อย ยิงต่อสู้<br />

ป้องกันเสมอ ส่วนไพร่พลคนพื้นถิ่นที่เข้าเป็นผู้ช่วย ก็มีอาวุธประจำากายพื้นๆ คือ ดาบ<br />

หอก ธรรมดา ที่เป็นขุนนางก็นุ่งผ้าตามยศสวมลอมพอก หรือหมวกแบบต่างๆ ถือ<br />

ดาบ เหน็บกฤช ก็มี ภาพเขียนเหล่านี้ได้สะท้อนสภาพสังคมที่ช่างเขียนได้เห็นได้รับรู้<br />

มาถ่ายทอดไว้ต่อเนื่องกันมา แม้ช่างในสมัยหลังจะไม่เคยเห็นด้วยตาตนเองแล้วก็ตาม<br />

เป็นความทรงจำาและจินตนาการที่เป็นประโยชน์แก่คนรุ่นหลังมาศึกษาตีความทำาความ<br />

เข้าใจได้<br />

48

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!