13.06.2018 Views

902

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

กระบอกที่ ๑ มีคำาว่า ในซาย (น่าจะเป็นในซ้าย) และในทับหลวง (น่าจะเป็น<br />

ทัพหลวง) ต่อด้วย ไดวงแลว (ไม่สามารถแปลความแน่นอนได้)<br />

กระบอกที่ ๒ มีคำาว่า ใหญ่ซาย (น่าจะเป็นใหญ่ซ้าย) และตัวเลขซึ่งพระยา<br />

โบราณราชธานินทร์ สันนิษฐานว่า อาจจะหมายถึงนำ้ำหนักดินปืนที่ใช้เป็นดินชนวน ในการ<br />

บรรจุปืนโดยลำาดับ แต่ก็ว่ายังไม่ใช่ข้อสันนิษฐานที่ถูกต้องนัก<br />

กระบอกที่ ๓ มีคำาว่า ในขวา และยังมีคำาจารึกอักษรไทยเรียงรายอยู่ในรูปกึ่ง<br />

วงกลม คือ<br />

กูกอหล่อในวันพุฒเดือนหก<br />

ขึ้นสิบสามคำ่ำ วอก ส (ม) ฤ (ทธิ) ศก<br />

เพลารุ่งแล้วสองนิลิกาหก<br />

บาท จุลศักราช ๑๐ (๙๐)<br />

พ.ต.อ.ทวยหาญ ยมนาค ได้ขยายความเกี่ยวกับจารึกนี้ พร้อมกับข้อสันนิษฐาน<br />

ของ นายซีเวลล์ ว่า ตามวัน เดือน ปี ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าท้ายสระ จุลศักราช ๑๐๖๘<br />

- ๑๐๙๔ (พ.ศ. ๒๒๐๙ - ๒๒๙๐) คำาว่า กู เป็นสรรพนามหมายถึง พระเจ้าท้ายสระ ปืน<br />

กระบอกนี้น่าจะหล่อในโอกาสพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินประทับเป็น<br />

ประธานอยู่ด้วย จึงน่าจะเป็นปืนที่ยกย่องกันเป็นพิเศษ เมื่อตกอยู่ในมือของพม่าจึงจารึก<br />

เป็นความหมายที่มีชัยชนะอย่างงดงาม<br />

กระบอกที่ ๔ มีคำาว่า ในขวา<br />

ปืนใหญ่ทั้งหมดนี้ ยกเว้นกระบอกที่ ๓ ที่มีหลักฐานว่าเป็นปืนหล่อของกรุง<br />

ศรีอยุธยาชัดเจน ส่วนกระบอกที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๔ มีตราของราชวงศ์ออราเบียแสดงว่า<br />

ปืนใหญ่ทำาในยุโรปสมัยโบราณ<br />

ส่วนจารึกภาษาพม่าซึ่งแน่นอนว่า เป็นจารึกเพิ่มขึ้นในภายหลัง มีความอย่าง<br />

เดียวกันว่า จับได้ ณ กรุงทวาราวดีในปีจุลศักราช ๑๑๒๘ (พ.ศ. ๒๓๐๘) เฉพาะกระบอก<br />

ที่ ๔ มีความละเอียดเพิ่มขึ้นว่า จับได้ ณ กรุงทวาราวดีในภายหลัง ๙ นาฬิกา ในคืนวัน<br />

อังคาร ขึ้น ๙ คำ่ำ เดือนตาคู (เดือน ๕) จุลศักราช ๑๑๒๘ (วันอังคารที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ.<br />

๒๓๐๘)<br />

วันที่จารึกนี้เป็นเวลาก่อนกรุงแตกเกือบ ๑ ปี นายซีเวลล์ สันนิษฐานว่า ปืนเหล่า<br />

นี้คงจะตีได้จากป้อมชั้นนอกของพระนคร หรือขณะที่ทางกรุงออกตีโต้ แต่ตามวันเวลานี้ยัง<br />

ขัดกับหลักฐานในพงศาวดารทั้งของไทยและพม่า เพราะไม่ได้มีการรบพุ่งกัน ประเด็นนี้<br />

พ.ต.อ.ทวยหาญ ยมนาค มีความเห็นว่าระยะเวลาใกล้เคียงกับเดือน ๕ มีคราวหนึ่งคือ ใน<br />

เวลาที่ชาวบ้านบางระจันกำาลังรวมกำาลังต่อสู้รบชนะหลายครั้ง ทางในกรุงดีใจจัดกำาลังไปตี<br />

ค่ายพม่าที่ปากนำ้ำพระประสบข้างฝ่ายเหนือแต่เสียทีแตกพ่าย จึงน่าจะเป็นเหตุการณ์ตาม<br />

ที่จารึกไว้บนปืนใหญ่ที่ยึดไปได้คราวนั้น<br />

56

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!