25.01.2021 Views

E - Book หลักเมือง มกราคม 64

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

หลักเมือง มกราคม ๒๕๖๔

รูปมงกุฎ ตัวอักษร P เลขลำดับปืน

และปี ค.ศ.ที่สร้าง ของปืนใหญ่ P1009 1860

ขึ้นตามหมายเลขลำดับที่ ที่มีการสลักลงบนตัวปืน คือ ลำดับที่ 1009

และ 1010 ส่วนตัวเลขต่อท้าย คือ 1860 หมายถึง เลขของปี ค.ศ.

ที่สร้างปืนใหญ่ทั้ง ๒ กระบอกขึ้น (ตรงกับปี พ.ศ.๒๔๐๓)

ปืนใหญ่คู่นี้ เป็นปืนใหญ่บะเรียมอังกฤษแบบที่เรียกว่า

อาร์มสตรอง ถูกสร้างขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๓ และออกแบบ

ในช่วงปี ค.ศ.๑๗๓๖ - ๑๗๙๕ (พ.ศ.๒๒๗๙ - ๒๓๓๘) สิ่งที่น่าสนใจ

ของปืนใหญ่คู่นี้ คือ สัญลักษณ์รูปมงกุฎเหนือตัวอักษร P และตัวเลข

ที่ระบุไว้บนกระบอกปืน จากการศึกษาของคุณศิริรัจน์ วังศพ่าห์

ผู้เชี่ยวชาญด้านปืนใหญ่ ได้กล่าวถึงสัญลักษณ์ดังกล่าวที่พบบนปืน

แบบอังกฤษไว้ในหนังสือ “ปืนใหญ่โบราณในประวัติศาสตร์ชาติไทย”

ว่า ปืนใหญ่อังกฤษที่ประกอบด้วยรูปมงกุฎประดับเหนืออักษรตัว P

และด้านล่างระบุปีที่สร้างขึ้นนั้น มีความหมายถึงปืนกระบอกนั้นได้

ผ่านการทดสอบการยิงมาแล้วจากทาง Royal Arsenal Foundry

(ซึ่งเป็นสถานที่ผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์และพิสูจน์ วิจัยวัตถุระเบิด

สำหรับกองทัพอังกฤษ ตั้งอยู่ในเมืองวูลวิช (Woolwich) ทางตะวันออก

เฉียงใต้ของลอนดอน สหราชอาณาจักรในปัจจุบัน) หรือเรียก

อีกอย่างว่า ตราปรู๊ฟมาร์ค หรือสัญลักษณ์ที่ผ่านการตรวจสอบ

หรือการันตีแล้ว

ส่วนใหญ่จะมีการจารึกชื่อของผู้ที่ทำการทดสอบปืนนั้นๆ เอาไว้

บนกระบอกปืนด้วย แต่สำหรับปืนใหญ่ P1009 1860 และ P1010

1860 ไม่มีการจารึกชื่อลงบนกระบอกปืนไว้เลย และสันนิษฐานว่า

น่าจะเป็นปืนใหญ่ที่มีจำหน่ายอยู ่ในตลาดค้าอาวุธมากกว่าจะมาจาก

ทางการของอังกฤษ เนื่องจากถ้าเป็นปืนใหญ่ที่นำเข้ามาจากทางการ

โดยตรงจะมีจารึกพระนามาภิไธยของพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ

ที่ครองราชย์อยู่ในขณะนั้นปรากฏอยู่บนกระบอกปืนด้วย

จากข้อมูลข้างต้นและจากการศึกษาเพิ่มเติม ปี ค.ศ.ที่ผลิต

ปืนใหญ่คู่นี้ มีอายุตรงกับช่วงปลายรัชกาลที่ ๔ สันนิษฐานว่า สยาม

รูปมงกุฎ ตัวอักษร P เลขลำดับปืน

และปี ค.ศ.ที่สร้าง ของปืนใหญ่ P1010 1860

ในช่วงเวลาดังกล่าวหรือหลังจากนั้นไม่นาน คงมีการซื้อขายอาวุธปืน

ประเภทปืนใหญ่จากอังกฤษ ทั้งในตลาดค้าอาวุธและนำเข้ามาโดยตรง

จากทางการ เนื่องจากในประเทศไทยได้พบปืนใหญ่อังกฤษ

แบบอาร์มสตรองจำนวนหลายกระบอกที่มีการจารึกบนกระบอกปืน

แบบมีพระนามาภิไธยของกษัตริย์และแบบที่มีเพียงแค่รูปมงกุฎ

อยู่เหนือตัวอักษร P และคงมีการนำเข้าปืนจากอังกฤษแบบ

อาร์มสตรองมาตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์แล้ว เนื่องจากได้พบ

ปืนใหญ่อาร์มสตรองที่ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ป้อมวิเชียรโชฎก จังหวัด

สมุทรสาคร ที่มีการจารึกปี ค.ศ.ที่สร้างเก่าไปถึงปี ค.ศ.๑๗๘๑

ซึ่งตรงกับปีพ.ศ.๒๓๓๔ และพบอีกหลายรุ่นจนมาถึงปืนใหญ่P1009

1860 และ P1010 1860

สำหรับปืนใหญ่ P1009 1860 และ P1010 1860 ไม่สามารถ

ระบุได้อย่างชัดเจนว่า ถูกนำเข้ามาเพื่อใช้ในราชการครั้งใด พบเพียง

หลักฐานว่าได้ถูกนำมาตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารศาลาว่าการกลาโหม

ในคราวที่เปลี่ยนแปลงการจัดวางผังปืนใหญ่ในครั้งที่ ๓ ประมาณ

ปี พ.ศ.๒๔๘๑ - ๒๔๘๓ สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่ง

นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยมี

พลโท พระยาศักดิ์ดาดุลยฤทธิ์ เป็นปลัดกระทรวงกลาโหม และ

ในปัจจุบันปืนใหญ่ P1009 1860 และ P1010 1860 ยังคงจัดแสดง

อยู่ด้านหน้าอาคารศาลาว่าการกลาโหม

เอกสารอ้างอิง :

กระทรวงกลาโหม. ประวัติศาลาว่าการกลาโหม. กองกลาง สำนักงาน

สนับสนุน กรมเสมียนตรา. ๒๕๔๘.

ศิริรัจน์ วังศพ่าห์. ปืนใหญ่โบราณในประวัติศาสตร์ชาติไทย. กรุงเทพฯ

: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. ๒๕๕๐.

En.wikipedia.org/wiki/Royal_Arsenal

พิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม

19

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!