25.01.2021 Views

E - Book หลักเมือง มกราคม 64

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ในการเข้าถึงพี่น้องประชาชนในพื้นที่ปลายด้ามขวาน ผ่านการ

ดำเนินกิจกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นกระบวน

การที่มีรูปแบบ โดยต้องคำนึงถึงและนำปัจจัยที่เอื้ออำนวยในการ

เข้าถึงประชาชนผ่านกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งปัจจัยภายใน

และปัจจัยภายนอก มาใช้ในการดำเนินการเป็นสำคัญ

โดยมีรูปแบบการดำเนินกิจกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจ

พอเพียง มีขั้นตอนสำคัญ คือ ๑) ปรับทุกข์ผูกมิตร ซึ่งการทำความ

เข้าใจดังกล่าว จะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถเข้าถึงจิตใจของ

ประชาชนได้มากขึ้น แต่จะเข้าถึงจนชนะใจประชาชนได้ ก็ต้อง

เริ่มจากการเข้าหาประชาชนด้วยความเป็นมิตร ไม่ใช่ในฐานะที่

เหนือกว่าหรือมีอำนาจมากกว่า แต่เข้าหาในฐานะเพื่อนมนุษย์ที่ยอมรับ

ความแตกต่างทางวัฒนธรรมและความคิดของกันและกัน สิ่งที่ขาด

ไม่ได้ในกระบวนการดังกล่าว ก็คือ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่

ไม่ใช่การพูดฝ่ายเดียว หรือสั่งมาจากเบื้องบน แต่ใช้วิธีการปรึกษา

หารือ รับทราบปัญหาในทุกเรื่องของคนในชุมชนด้วยความตั้งใจ การ

ปรับสุข ด้วยการสนทนา สอบถามสารทุกข์สุกดิบโดยทั่วไปของการ

ดำรงชีวิตของประชาชน โดยไม่จำกัดเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว

ช่วยคลี่คลายปัญหาอันเป็นความทุกข์เหล่านั้นอย่างเต็มกำลัง

ความสามารถ การผูกมิตรด้วยการสานใจด้วยความจริงใจ ใช้ท่วงทีวาจา

ที่เป็นมิตรกับประชาชน ๒) จุดประกาย ด้วยการชักนำ ปลุกให้คนใน

ชุมชนตื่นตัว ให้เขาเห็นช่องทางในการทำมาหากิน โดยเริ่มจากผู้นำ

ชุมชน จากกลุ่มเล็ก ขยายเป็นกลุ่มใหญ่ให้ประชาชนในชุมชนร่วม

สร้างอนาคตที่สดใสและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามความถนัด หรือ

สามารถ และความชำนาญพิเศษของคนในชุมชน เพื่อให้เกิดความ

คาดหวังในอนาคตที่ดี สู่ความต้องการที่จะบรรลุความคาดหวังนั้น

การจุดประกาย จึงเป็นการชี้นำจุดเด่น หรือจุดแข็งที่แต่ละชุมชน

มีต้นทุนอยู่แต่เดิม แล้วชี้ช่องให้ประชาชนเข้าใจรับรู้จุดเด่น หรือ

จุดแข็งที่ตนเองมี โดยชักจูงให้ประชาชนเห็นเป็นรูปธรรม ๓) นำร่อง

คือการทำให้เกิดความเชื่อมั่นในพื้นที่ ซึ่งมีความจำเป็นที่หน่วยงาน

ภาครัฐจะต้องลงมือกระทำให้เห็นผลเป็นตัวอย่างอย่างเป็นรูปธรรม

โดยอาจดำเนินการเอง ด้วยการลงมือทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง หรือ

การจัดตั้งกลุ่มคนจำนวนหนึ่งในชุมชน เป็นผู้ดำเนินการ ภายใต้การ

สนับสนุนความรู้ทางวิชาการ ทุนทรัพย์ และอุปกรณ์ที่จำเป็น เพื่อ

ให้กิจกรรมนั้น เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม อันจะส่งผลให้ชุมชน

เกิดความเชื่อมั่นว่า กิจกรรมนั้นสามารถปฏิบัติได้จริง และมีผล

บังเกิดจริง ซึ่งกิจกรรมนั้น ต้องเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับบริบท

ของชุมชน ทั้งวัตถุดิบที่มีจุดเด่น และจุดแข็งของชุมชนด้วย ๔) รวม

กลุ่มกิจกรรมตามความต้องการ ซึ่งพลังที่เกิดจากการรวมกลุ่ม เพื่อ

ดำเนินกิจกรรมของคนในชุมชนนั้น จะเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรง

อยู่ของกิจกรรมที่เข้มแข็งและยั่งยืน โดยเฉพาะการรวมกลุ่มกิจกรรม

ที่เกิดขึ้นตามความต้องการของคนในชุมชน และได้รับการให้

ความรู้ในการดำเนินกิจกรรมนั้นๆ ตามหลักการของหน่วยงาน

ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

นอกจากจะเป็นการสนับสนุนเรื่องกิจกรรมตามแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการพัฒนาชุมชนแล้ว ยังเป็นโอกาสที่ดีใน

การเข้าถึงคนในชุมชนอย่างมีเหตุและมีผลอย่างเป็นธรรมชาติ เป็น

โอกาสในการสะสมบ่มเพาะความคุ้นเคย และความไว้เนื้อเชื่อใจ

ระหว่างกันของคนของรัฐและพี่น้องประชาชนในพื้นที่ปลายด้าม

ขวานแห่งนี้ทั้งยังสามารถขยายผลจากเรื่องหนึ่งไปสู่เรื่องอื่นๆ สู่การ

เข้าถึงพี่น้องประชาชนผ่านกิจกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ของปวงชนชาวไทยได้อย่างมีนัยสำคัญ

ในที่สุด

หลักเมือง มกราคม ๒๕๖๔

25

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!