26.03.2021 Views

มีนาคม 64

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

สำนักงำนปลัดกระทรวงกลำโหม

หน่วยงำนนโยบำยและยุทธศำสตร์ควำมมั่นคง

๓๑ มีนาคม วันมหาเจษฎาบดินทร์

ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส า นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

ISSN 0858 - 3803

ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๓๖๐ หลักเมือง มีนำคม ๒๕๖๔ www.lakmuangonline.com

9 770858 380005


๑๓๔ ปี ปี กระทรวงกลาโหม

กลาโหมเทิดราชา รักษ์ราษฎร์ ชาติมั่นคง

๘๘ เมษายน ๒๕๖๔


ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

Editor Consultants

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

พล.อ.วันชัย เรืองตระกูล

พล.อ.อ.สุวิช จันทประดิษฐ์

พล.อ.ไพบูลย์ เอมพันธุ์

พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา

พล.อ.ธีรเดช มีเพียร

พล.อ.ธวัช เกษร์อังกูร

พล.อ.สัมพันธ์ บุญญานันต์

พล.อ.อู้ด เบื้องบน

พล.อ.สิริชัย ธัญญสิริ

พล.อ.วินัย ภัททิยกุล

พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ

พล.อ.กิตติพงษ์ เกษโกวิท

พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์

พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์

พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน

พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก

พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์

พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล

พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา

พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล

พล.อ.เทพพงศ์ ทิพยจันทร์

ที่ปรึกษา

พล.อ.ณัฐ อินทรเจริญ

พล.ร.อ.สมประสงค์ นิลสมัย ร.น.

พล.อ.ชูชาติ บัวขาว

พล.อ.ชัยพฤกษ์ พูนสวัสดิ์

พล.อ.อ.ธรินทร์ ปุณศรี

พล.อ.พงษ์สวัสดิ์ พรรณจิตต์

พล.อ.วรวิช มลาสานต์

พล.อ.สมควร ทองนาค

พล.อ.สราวุธ รัชตะนาวิน

พล.อ.ประชาพัฒน์ วัจนะรัตน์

พล.ท.นพพงศ์ ไพนุพงศ์

พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค

พล.ท.เดชา พลสุวรรณ

พล.อ.ท.จำานง สุจริต

พล.ท.ภราดร จินดาลัทธ

พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์

พล.ท.ภัทรพล ภัทรพัลลภ

พล.ท.เอกชัย หาญพูนวิทยา

พล.ท.คมสัน ศรียานนท์

พล.ท.พุฒิประสิทธิ์ จิระมะกร

พล.ท.จักรพงษ์ นวลชื่น

พล.ต.จิรศักดิ์ ไกรทุกข์ร้าง

พล.ต.พจน์ เอมพันธุ์

พล.ต.ประจวบ จันต๊ะมี

พล.ต.ศักดิ์วุฒิ วงศ์วานิช

พล.ต.หญิง อิษฎา ศิริมนตรี

ผู้อำนวยการ

พล.ต.ชูเลิศ จิระรัตนเมธากร

รองผู้อำนวยการ

พ.อ.ปณิธาน กาญจนวิโรจน์

น.อ.พรหมเมธ อติแพทย์ ร.น.

กองจัดการ

ผู้จัดการ

น.อ.กฤษณ์ ไชยสมบัติ

ประจำกองจัดการ

พ.อ.ธนะศักดิ์ ประดิษฐ์ธรรม

พ.ท.ไพบูลย์ รุ่งโรจน์

เหรัญญิก

พ.อ.กณพ หงษ์วิไล

ฝ่ายกฎหมาย

น.อ.สุรชัย สลามเต๊ะ

พิสูจน์อักษร

พ.อ.หญิง วิวรรณ วรวิศิษฏ์ธำารง

กองบรรณาธิการ

บรรณาธิการ

พ.อ.ชัยวัฒน์ สว่างศรี

รองบรรณาธิการ

น.อ.สูงศักดิ์ อัครปรีดี ร.น.

น.อ.วัฒนสิน ปัตพี ร.น.

ผู้ช่วยบรรณาธิการ

น.ท.หญิง กัญญารัตน์ ชูชาติ ร.น.

ประจำำกองบรรณาธิการ

น.ท.หญิง ฉันทนี บุญปักษ์

ว่าที่ พ.ท.หญิง ลลิดา กล้าหาญ

นางสาวภัทชญา นิตยสุทธิ์

พ.จ.อ.สุพจน์ นุตโร

จ.ท.หญิง ศุภรเพ็ญ สุพรรณ


ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

Editor talk

สวัสดีท่านผู้้ อ ่าน พบกันอีกครั้งในเดือนมีนาคม ซึ่่่งในเดือนนี้มี

วันคล้ายวันสถาปนาของหน่วยข่้นตรงสำนัักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (นขต.สป.)

คือ สำน ักงานเลขานุการสำน ักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (สลก.สป.)

ซึ่่งทำาหน้าที่ดูแลภาระงานให้กับผู้้บ ังคับบัญชาชั้นสูง อีกทั้งยังเป็นกระบอก

เสียงในการประชาสัมพันธ์ให้กับกระทรวงกลาโหมและสำนัักงานปลัดกระทรวง

กลาโหม นอกจากนี้ยังมีวันกองทัพอากาศและวันมหาเจษฎาบดินทร์

ในห้วงสิ้นเดือน ท่านผู้้ อ ่านทราบหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วเดือนมีนาคมเป็น

ชื่อแห่งสงคราม เท่าที่มีหลักฐานปรากฏทางฝั่่ งยุโรป เมื่อราว ๒,๗๐๐ ปีก่อน

กษัตริย์ผูู้ ้สร้างกรุงโรมได้กำาหนดปฏิทินแบบจันทรคติข่้น โดยกำาหนดให้

๑ ปีมี ๑๐ เดือน หรือ ๓๐๔ วัน (แต่ละเดือนมีจำานวนวันแตกต่างไปจาก

ปฏิทินในยุคนี้) นับจากมีนาคมเป็นเดือนเริ่มต้นปีใหม่ไปจนถ่งธันวาคม

คือ Martius, Aprilis, Maius, Junius, และ Quintilis, Sextilis, September,

October, November และ December (๔ เดือนแรก มาจากชื่อเทพเจ้า

ส่วน ๖ เดือนหลัง มาจากคำาเรียกเลขตามลำดัับ Quintus = เดือนที่ ๕,

Sextus = เดือนที่ ๖, Septem = เดือนที่ ๗, Octo = เดือนที่ ๘,

Novem = เดือนที่ ๙ และ Decem = เดือนที่ ๑๐) โดยปฏิทินแบบเดิมนี้

ใช้เรื่อยมาจนถ่งประมาณ ๗๓๘ ปีก่อนคริสตกาล จากนั้นเดือน January และ

February ได้ถูกเพิ่มข่้นโดยกษัตริย์โรมันนามว่า “Numa Pompilius”

และสำาหรับชื่อเดือนมีนาคม (March) ที่เคยเป็นชื่อเดือนแรกของปีในปฏิทิน

รูปแบบเดิม มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า “Martius” หมายถ่งเทพเจ้า

“Mars” เทพแห่งสงคราม อันมีนัยว่า เป็นปีที่ดีในการเริ่มต้นทำาสงคราม

เพื่อขยายอาณาจักรสำาหรับชาวโรมันนั่นเอง

ว่ากันด้วยเรื่องเนื้อหาของฝั่่งตะวันตกในยุคโบราณมาแล้ว กลับมา

ที่อาหารสมองในฝั่่ งตะวันออก (เฉียงใต้) ในยุคปัจจุบันแบบเราๆ กันบ้าง

ในฉบับนี้ท่านจะได้พบกับบทความที่สำคััญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และความ

มั่นคงในประเทศเพื่อนบ้านของเรา อาทิ สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐ

อินโดนีเซึ่ีย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา รวมถ่งเทคโนโลยีทางอาวุธ

ยุทโธปกรณ์และระบบป้องกันภัยทางอากาศที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และ

ปิดท้ายด้วยวิธีการสมัครเข้าเป็นพลทหารกองประจำาการ ที่ยังคง “ต้องดำาเนิน

ต่อไป...” ในต้นเดือนเมษายนนี้ ...ลมหนาวกำลัังจะผู้่านไป ไอร้อนกำลัังจะ

เข้ามา COVID-19 กำลัังจะได้ยารักษา และฉบับหน้าเราจะมาพบกันใหม่

ขอให้ทุกท่านสุขภาพแข็งแรง

สวััสดีีครัับ

๑๒

ปฐมบทกองทัพเรือไทย

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในศาลาว่าการกลาโหม

๑๐

๓๒ ปี สำนัักงานเลขานุการ

สำนัักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๑ มีนาคม ๒๕๖๔

๑๒

๘ เมษายน ๒๕๖๔

วันคล้ายวันสถาปนากรมการเงินกลาโหม

๑๓๔ ปี กรมการเงินกลาโหม

บริการทันใจ ซึ่ื่อสัตย์ โปร่งใส ทันสมัย สามัคคี

๑๔

“คนไทยในสังคมยุคดิจิทัล

ทักษะที่จำาเป็นเพื่อความอยู่รอดสำาหรับยุคดิจิทัล”

๑๘

“คชสีห์... สัญลักษณ์แห่งกระทรวงกลาโหม”

๒๐

ทิศทางยุทธศาสตร์ของจีน (ตอนที่ ๓)

ในระยะเวลา ๕ ปี (พ.ศ.๒๕๖๔ - ๒๕๖๘)

และระยะยาวถ่งปี พ.ศ.๒๕๗๘

๑๔


๒๐

๓๒

๓๖

๒๔

“ชีวิตต้องดำาเนินต่อไป”

๒๖

นโยบายของกระทรวงกลาโหม

ในด้านการปฏิรูปกองทัพและการส่งเสริม

การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล

๒๘

กฎหมายคุ้มครองผูู้้บริโภคที่เกี่ยวข้อง

กับการซึ่ื้อขายออนไลน์กรณีการโฆษณา

๓๐

“งานวิจัยยุคโควิด-๑๙”

๓๒

สถานการณ์ความมั่นคง

ในอินโดนีเซึ่ีย ปี ๒๐๒๑

(สงครามนอกแบบ : มิติการก่อการร้าย)

๓๖

เปิดประตูสู่เทคโนโลยีป้องกันประเทศ

เปรียบเทียบคุณลักษณะ

ของระบบป้องกันภัยทางอากาศ

Iron Dome และ VL MICA

๒๔

๔๐

“Pandemic” the word of year 2020

๔๒

วิธีการเข้าเป็นพลทหาร

กองประจำาการ (ทหารเกณฑ์์)

น้องใหม่ที่เหมาะสมของไทย

๔๖

การวัดความสำาเร็จในชีวิต

๕๐

พระเจ้ามินดงแห่งราชวงศ์

อลองพญากับปลายรัชกาล

๕๒

สาระน่ารู้ทางการแพทย์

“ความก้าวหน้าล่าสุดของการพัฒนาวัคซึ่ีน

ป้องกันโควิด-๑๙ ในประเทศไทย”

๕๔

แนะนำาอาวุธเพื่อนบ้าน อาเซึ่ียน

กับกองเรือดำานำ้าดีเซึ่ลไฟฟ้า ชั้นกิโล (Kilo)

๕๗ ปริศนาอักษรไขว้

๕๘ ภาพกิจกรรม

ข้อคิดเห็นและบทความที่นำาลงในวารสารหลักเมืองเป็นของผูู้้เขียน มิใช่ข้อคิดเห็นหรือนโยบายของหน่วยงานของรัฐ และมิได้ผูู้กพัน

ต่อราชการแต่อย่างใด สำานักงานเลขานุการสำานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถนนสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐

โทร./โทรสาร ๐-๒๒๒๕-๘๒๖๒ http://61.19.220.3/opsd/sopsdweb/index_1.htm

พิมพ์ที่ : บริษัท ธนอรุณการพิมพ์ จำากัด ๔๕๗/๖-๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐

โทร. ๐-๒๒๘๒-๖๐๓๓-๔ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๒๑๘๗-๘

E-mail : thanaaroon19@gmail.com ออกแบบ : บริษัท ธนอรุณการพิมพ์ จำากัด

๔๒

๔๐

๕๐

๕๔


ปฐมบทกองทัพเรือไทย

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั ่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พลโท ชัยวิทย์ ชยาภินันท์

ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ระเทศไทย ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใน

คาบสมุทรอินโดจีน โดยมีชายฝั่งทะเลแยกเป็น ๒ ด้าน คือ ด้าน

ตะวันออก (อ่าวไทย) และด้านตะวันตก (ทะเลอันดามัน และ

ช่องแคบมะละกา) จึงมีเส้นทางออกสู่มหาสมุทรแปซิฟิกและ

มหาสมุทรอินเดีย ซึ่งพื้นที่ทางทะเลนั้นฝั่งทะเลรวมประมาณ

๓๒๓,๔๘๘.๓๒ ตารางกิโลเมตร (คือด้านอ่าวไทย มีพื้นที่

๒๐๒,๖๗๖.๒๐ ตารางกิโลเมตร และด้านทะเลฝั่งอันดามันมีพื้นที่

๑๒๐,๘๑๒.๑๒ ตารางกิโลเมตร) มีความยาวชายฝั่ง รวมประมาณ

๓,๑๔๘.๓๒ กิโลเมตร (คือ ฝั่งตะวันออกความยาว ๒,๐๕๕.๑๘

กิโลเมตร และฝั่งตะวันตกความยาว ๑,๐๙๓.๑๔ กิโลเมตร)

ครอบคลุม ๒๓ จังหวัดชายทะเล

ในอดีตที ่ผ่านมา ประเทศไทย ได้ทำการค้าขายและสาน

สัมพันธไมตรีกับต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาติดต่อด้วยการเดินทาง

4

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

กรมขุนอิศเรศรังสรรค์

(พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว)

ด้วยเรือ ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยราชอาณาจักรกรุงสุโขทัย โดยเฉพาะมี

การจัดตั้งหน่วยงานให้มีหน้าที่ดูแลในการจัดเก็บภาษีการค้าทางเรือ

ที่เรียกว่า เจ้าภาษี หรือนายด่าน หรือนายขนอมตลาด ซึ่งทั้งหมด

ทำหน้าที่บังคับการจอดสมอเรือค้าขาย พร้อมทั้งจัดเก็บค่าธรรมเนียม

เรือค้าขายที่เข้าและออกราชอาณาจักร โดยอยู่ในความปกครอง

บังคับบัญชาของ กรมพระคลัง

ต่อมา ในสมัยราชอาณาจักรศรีอยุธยา ปรากฏหลักฐานใน

รัชสมัยพระเจ้าปราสาททองว่า ได้มีการพัฒนาหน่วยงานการจัดเก็บ

ค่าธรรมเนียมเรือสินค้าต่างชาติ ค่าภาษีสินค้า และค่าธรรมเนียม

เข้าออกทางเรือ โดยเป็นหน่วยงานหลวงเพื่อผูกขาดสินค้าบางอย่างเป็น

สินค้าต้องห้าม ไม่ให้พ่อค้าประชาชนซื้อขายโดยตรง รวมทั้งติดต่อ

กับต่างชาติเรื่องการค้าขายและการต่างประเทศ ใช้ชื่อว่า กรมท่า

พลโท ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


อยู่ในความควบคุมดูแลของ กรมพระคลังสินค้า ทั้งนี้ กรมท่า

แบ่งออกเป็น ๓ กรม กล่าวคือ

๑. กรมท่ากลาง ทำหน้าที่รวมงานการติดต่อกับชาติตะวันตก

เรื่องการค้าขายและการต่างประเทศ อาทิ โปรตุเกส ฮอลันดา

อังกฤษ สเปน ฝรั่งเศส

๒. กรมท่าขวา ทำหน้าที่ติดต่อกับต่างชาติเรื่องการค้าขายและ

การต่างประเทศ กับชาติที่อยู่ทางด้านขวาหรือทางตะวันตกของอ่าวไทย

อาทิ อินเดีย อิหร่าน รวมทั้งชาติที่เข้ามาติดต่อทางทิศทางดังกล่าว

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

หลวงนายสิทธิ์

(สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์)

๓. กรมท่าซ้าย ทำหน้าที่ติดต่อกับต่างชาติเรื่องการค้าขาย

และการต่างประเทศกับชาติที่อยู่ทางด้านซ้ายหรือทางตะวันออก

ของอ่าวไทย อาทิ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี รวมทั้งชาติที่เข้ามาติดต่อทาง

ทิศทางดังกล่าว

แม้ในสมัยของราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ ก็ยังคงใช้รูปแบบ

ตามแนวทางของราชอาณาจักรศรีอยุธยา โดยเพิ่มประเทศจาก

ตะวันตกที่เข้ามาเปิดความสัมพันธ์ทางการค้าและการต่างประเทศ

อาทิ สหรัฐอเมริกา ซึ่งอยู่ในกำกับดูแลของกรมท่ากลาง

อย่างไรก็ตาม การค้าขายทางทะเลก็ยังมีความเสี่ยงภัย

ระหว่างการเดินทางเป็นอย่างมากเพราะต้องใช้ระยะเวลาและ

สนธิสัญญาเบอร์นี่

ระยะทางการเดินทางค่อนข้างมาก กอปรกับยังมีความเสี่ยงภัยจาก

ภัยธรรมชาติ และที่สำคัญที่สุดคือภัยจากปัญหาการปล้นสดมภ์ จึง

มีความจำเป็นที่จะต้องมีการจัดตั้งกองกำลังทางเรือ หรือกองเรือรบ

ทางทะเล เพื่อดำเนินภารกิจในการปกป้องกระบวนเรือสินค้า หรือ

เรือพาณิชย์สัญชาติไทย ที่เดินทางไปประกอบกิจการพาณิชยนาวี

ในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูลในอดีต พบว่า ประเทศไทย

ตั้งแต่ราชอาณาจักรศรีอยุธยายังไม่เคยมีกองเรือรบทางทะเลอย่าง

เป็นทางการมาก่อน

ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล

ที่ ๓ เป็นยุคที่ประเทศไทยให้ความสนใจเรือของชาวตะวันตกที่สร้าง

ด้วยเหล็กและใช้เครื่องจักรแทนใบเรือ จึงทำให้เรือมีความแข็งแรง

ทนทาน แล่นได้เร็ว สามารถเดินทางไปได้ทุกทิศทางและฤดูกาล

กอปรกับในสมัยดังกล่าวนั้นเป็นยุคที่ชาวตะวันตกพากันหลั่งไหล

สู่ประเทศโลกตะวันออกและเดินทางเข้ามาค้าขายและเจริญ

สัมพันธไมตรีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในยุคสมัยดังกล่าวก็ยังเป็นยุค

ของการแอบแฝงของชาวตะวันตกที่มุ่งแสวงหาอาณานิคม เพื่อเป็น

แหล่งทรัพยากรและการสร้างผลประโยชน์แก่ประเทศเจ้าของ

อาณานิคม โดยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นพื้นที่

เป้าหมายของประเทศมหาอำนาจตะวันตก คือ อังกฤษและฝรั่งเศส

ซึ่งตัวอย่างที่ชัดเจนในสมัยนั้นคือ การยึดครองจีนของอังกฤษ

ในกรณีสงครามฝิ่นในจีน และการเสียเอกราชของพม่าซึ่งเป็น

ประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้น เรื่องดังกล่าวจึงนับว่าเป็นอุทาหรณ์

อันสำคัญที่ทำให้ไทยต้องทบทวนบทบาทและแนวทางการดำเนิน

กิจการต่างประเทศให้มั่นคง ดังจะเห็นได้จาก พระราชดำรัส

5


พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ความว่า

“...การศึกสงครามข้างญวน ข้างพม่า ก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมี

อยู่ก็แต่พวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดี อย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใด

ของเขาที่คิดควรจะเรียนเอาไว้ ก็เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือ

เลื่อมใสไปทีเดียว...”

ดังนั้น ในรัชสมัยของพระองค์จึงมีการเตรียมความพร้อม

ในการปฏิบัติการทางน้ำและทางทะเล โดยทรงพระกรุณาโปรด

เกล้าฯ ให้ต่อเรือขึ้นใหม่ในลักษณะ ดังนี้

ก) เรือที่ใช้ประโยชน์ทั้งในแม่น้ำและในทะเล ในลักษณะการ

เกณฑ์ขุนนาง และเจ้าภาษีนายอากร ร่วมกันต่อเรือขนาดย่อม

รูปแบบของเรือสำเภาจีนและเรือกำปั่นแปลง มีจำนวนประมาณ

๒๐๐ ลำเศษ โดยส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์เป็นเรือเพื่อการพาณิชย์

ข) เรือลาดตระเวนทางทะเลและชายฝั่ง ในลักษณะของเรือ

กำปั่นขนาดใหญ่ที่ต่อแบบตะวันตกจำนวน ๑๔ ลำ อำนวยการสร้าง

โดย กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ และหลวงนายสิทธิ์

(สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์) อาทิ เรือ

แกล้วกลางสมุทรหรือเรือแอเรียล เรือรบวิทยาคม เรือ

วัฒนานามหรือเรือแอโร เรือจินดาดวงแก้วหรือเรือ

ซักเซส เรือเทพโกสินทร์ เรือราชฤทธิ เรือสยามภพ

เรือโผนเผ่นทะเล เรือจรจบชล เพื่อใช้เป็นเรือลาด

ตระเวนตามชายฝั่งของไทย พร้อมกับจัดตั้งเป็น กองเรือ

ของกรมท่า ที่ทำหน้าที่ลาดตระเวน ป้องปราม และ

ปราบปรามการกระทำความผิดในทะเลและชายฝั่ง

หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นกิจการอุตสาหกรรมป้องกัน

ประเทศทางเรือครั้งแรกของประเทศไทย

ทั้งนี้ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ทรงพระปรีชา

สามารถทางด้านวิทยาการตะวันตกและการต่าง

ประเทศ ทรงศึกษาด้านการทหารเรือตะวันตก ทั้งเรื่องการต่อเรือ

การใช้กำลังทางเรือ และระบบอาวุธทางเรือ จึงทรงเป็นพระกำลัง

สำคัญของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเรื่องกิจการทาง

เรือ จึงนับเป็นการจัดกองทัพเรือในยุคแรกของประเทศไทย ที่มีหลัก

ฐานและระเบียบแบบแผน และวิธีการปฏิบัติตามรูปแบบสากลตาม

หลักนิยมและวิทยาการของตะวันตก ทัดเทียมนานาอารยประเทศ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทรงมีบทบาทอย่างมากในการจัดทำสนธิสัญญา

เบอร์นี่ ซึ่งเป็นสนธิสัญญาพระราชไมตรีทางการค้าโดยเสรีของ

รัฐบาลอังกฤษกับราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ และขอความสะดวก

ในการค้าได้โดยเสรี ทั้งนี้ การเจรจาการค้าบรรลุผลสำเร็จ และมี

สัญญาเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๓๖๙

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ขึ้นเป็น

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ก็ทรงเป็นพระกำลัง

ที่สำคัญยิ่งในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ได้ทรงเข้าร่วมการเจรจาทำสัญญาทางพระราชไมตรี

กับต่างประเทศ อาทิ สนธิสัญญาเบาว์ริงกับราชทูต

ประเทศอังกฤษ โดยที่พระเกียรติยศชื่อเสียง ในด้าน

ความรอบรู้ของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทในภาษา

หลายภาษา และในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชั ้นสูง

หลายวิชา ส่งผลให้พระเกียรติยศแพร่สะพัดถึง

สหรัฐอเมริกา

ทั้งนี้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า

นภาลัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในขณะทรงดำรงพระอิสริยยศ กรมหมื่นเจษฎา

บดินทร กำกับกรมท่านั้น ประเทศไทยได้ฟื้นฟูการ

ติดต่อค้าขายกับชาวยุโรป ทำให้การเดินเรือเพื่อ

ค้าขายของไทยกลายเป็นกิจการขนาดใหญ่ เห็นได้

จากที่ จอห์น ครอเฟอร์ด ทูตของผู้สำเร็จราชการ

อังกฤษ กล่าวไว้ว่า

6

พลโท ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


“...กรุงเทพฯ เป็นท่าเรือใหญ่โตแห่งหนึ่งทางภาคเอเชีย หาก

ไม่นับเมืองท่าเรือของประเทศที่มีอยู่ในความยึดครองของยุโรปแล้ว ...

...เมื่อการค้าทางทะเลเจริญรุดหน้า สามารถทำรายได้เข้าสู่

ท้องพระคลังเป็นจำนวนมาก ทำให้ประเทศมีกำลังรบทางเรือ

เข้มแข็ง ทั้งนี้เพราะเรือสินค้าเหล่านั้นใช้เป็นกำลังสำคัญในยาม

สงครามอีกด้วย...”

สำหรับ จำนวนเรือรบในสมัยนั้น พบว่า จอห์น ครอเฟอร์ด

ได้บันทึกต่อเป็นหลักฐานที่น่าสนใจและความมั่นคงในการรักษา

เอกราช ความว่า

“...มีเรือสำเภาอยู่ในแม่น้ำถึง ๗๐ ลำ ขนาดบรรทุกได้ ๑,๖๐๐

หาบขึ้นไป จนถึง ๑๕,๐๐๐ หาบเป็นเรือหลวง ๒ ลำ เป็นเรือของ

เจ้านายและข้าราชการไทยอีก ๒๐ ลำ นอกนั้นเป็นเรือของพ่อค้า

ซึ่งเรือหลวง ๒ ลำที่ล่าวถึง คือ เรือมาลาพระนครเป็นเรือกำปั่นหลวง

ใช้ไปค้าขายถึงเมืองสิงคโปร์และมาเก๊า และเรือเหราข้ามสมุทร เป็น

เรือหลวงใช้ค้าขายเช่นเดียวกัน เรือทั้งสองลำนี้เมื่อติดอาวุธปืนแล้ว

ก็จะนำมาเป็นเรือรบได้...”

ผลงานที่สำคัญของกองทัพเรือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ

พระนั ่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือภารกิจการปราบจลาจลทางหัวเมือง

ปักษ์ใต้และหัวเมืองมลายูใหม่ ในปี พ.ศ.๒๓๘๒ รวมทั้งการใช้กำลัง

ทางเรือตีเมืองบันทายมาศคืนกรณีสงครามอานามสยามยุทธ์ ในปี

พ.ศ.๒๓๘๔

ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า กิจการทหารเรือในรัชสมัยพระบาท

สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือต้นแบบของกองทัพเรือไทย

สมัยใหม่ และเป็นรากฐานของการพัฒนากองทัพเรือของไทยมาจน

ปัจจุบันนี้ ซึ่งความมั่นคงทางทะเลของไทยในสมัยดังกล่าว ได้สร้าง

ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

ให้เก็บรวบรวมเงินเพื่อเป็นทุนสำรองเงินตราของประเทศได้ถึง

๔๐,๐๐๐ ชั่ง ที่รู้จักกันดีว่า “เงินถุงแดง” และในเงินดังกล่าวจำนวน

๓๐,๐๐๐ ชั่ง สามารถใช้ปกป้องเอกราชของชาติได้ในเวลาต่อมา

เนื่องในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระบรม

ราชสมภพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เขียนจึง

ขอเรียนเชิญพสกนิกรไทยทุกท่านร่วมน้อมเกล้าฯ รำลึกใน

พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระ

ผู้ทรงเป็นองค์บันดาลให้เกิดปฐมบทของกองทัพเรือไทยและรักษา

เอกราชอธิปไตย และความมั่นคงของชาติตราบจนทุกวันนี้ เพื่อ

อำนวยประโยชน์ให้แก่ปวงประชาชนชาวไทยและประเทศชาติโดย

พร้อมเพรียงกันด้วยเทอญ

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

7


สิ ่งศักดิ ์สิทธิ ์

ภายในศาลาว่าการกลาโหม

กองผลิตสื่อ

ระเมธีวราลงกรณ์(มณฑล อิสฺสรธมฺโม ป.ธ.๙) วัดชนะสงคราม

และคณะผู้มีจิตศรัทธา ได้สร้างพระพุทธรูปขนาดหน้าตัก

กว้าง ๓๙ นิ้ว จำนวน ๑ องค์ มอบถวายไว้ให้เป็นพระประธานประจำ

พุทธศาสนสถานของกระทรวงกลาโหม โดยได้ถวายพระนามว่า

“พระพุทธนวราชตรีโลกนาถศาสดากลาโหมพิทักษ์” ซึ่งแปลว่า

8

“พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเพื ่อเฉลิมพระเกียรติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙

พระองค์ทรงเป็นที่พึ่งในโลกทั้ง ๓ และพิทักษ์

รักษาปวงทหารกระทรวงกลาโหม” พร้อมทั้ง

เครื่องบูชา คือ พานพุ่ม ธูปเทียนไฟฟ้าไร้มลภาวะ

พลเอก กิตติพงษ์ เกษโกวิท อดีตปลัด

กระทรวงกลาโหม พร้อมคณะข้าราชการได้

ประกอบพิธีสมโภชและเปิดห้องพุทธศาสนสถาน

โดยมี สมเด็จพระวันรัต วัดบวรนิเวศวิหาร เป็น

ประธานสงฆ์เมื่อ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณ พุทธ

ศาสนสถาน (ห้องเจ้าพ่อหอกลอง) เป็นสิริมงคล

แก่กำลังพลกระทรวงกลาโหมสืบมาจนถึง

ปัจจุบัน

พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ ปลัดกระทรวง

กลาโหม ได้ปรับปรุงห้องพุทธศาสนสถานให้มี

ความงดงาม โดยได้ยกฐานชุกชีองค์พระปฏิมา

ประธานให้สูงขึ้น สร้างศาลเจ้าพ่อหอกลองจำลอง

ทาสีทองจัดทำอาสนะพระสงฆ์ใหม่ พร้อมกับ

จัดให้มีการฉลองสมโภชพุทธศาสนสถาน

(ห้องเจ้าพ่อหอกลอง) เมื่อ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๓

อนึ่ง ห้องพุทธศาสนสถานนี้ มีความ

สัปปายะ จึงมีกำลังพลเข้ามาไหว้พระ สวดมนต์

และปฏิบัติธรรมเจริญจิตภาวนาอยู่เป็นประจำ

ท้าวเวสสุวัณณ์ หรือ ท้าวกุเวร เป็นหนึ่ง

ในท้าวจตุโลกบาล ๔ ผู้คุ้มครองและดูแลโลก

มนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา

ทรงอิทธิฤทธิ์อานุภาพมาก ประทับ ณ โลกบาล

ทิศเหนือ มียักษ์เป็นบริวาร มีกายสีเขียว สัณฐาน

สูง ๒ คาวุต ประมาณ ๒๐๐ เส้น มีอาวุธเป็นคฑาวุธ (กระบอง)

ซึ่งนับเป็นหนึ่งในศาสตราวุธหนึ่งในห้าที่มีฤทธานุภาพมากที่สุด

ในสามโลก มีพาหนะ ช้าง ม้า รถ มีอาภรณ์มงกุฎประดับรูปนาค

มีบริวารแสนโกฏิ ถือโล่แก้วประพาฬ หอกทอง

กองผลิตสื่อ


ท้าวเวสสุวัณณ์

คนไทยโบราณนิยมนำผ้ายันต์รูปยักษ์ผูกไว้ที่หัวเตียงเด็ก

เพื่อป้องกันวิญญาณชั่วร้ายไม่ให้มารังความแก่เด็ก ท้าวกุเวรองค์นี้

มีกล่าวถึงในอาฏานาฏิยสูตร ว่า นำเทวดาสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา

มาเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้ถวายสัตย์ที่จะดูแลพระพุทธเจ้าและ

เหล่าพระสาวก ไม่ให้ยักษ์หรือบริวารอื่นๆ ไปรังควาน

ท้าวเวสสุวัณณ์ เป็น “เทพแห่งทรัพย์” เป็นผู้รักษาทรัพย์

ในแผ่นดิน ประจำทิศเหนือของสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา เป็น

เทพเจ้าแห่งยักษ์และภูตผีปีศาจ และความมั่งคั่งไพบูลย์ทั้งหลาย

พลเอก ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม

ได้ริเริ่มในการก่อสร้าง “ศาลท้าวเวสสุวัณณ์” ณ บริเวณดาดฟ้า

ชั้นบนของศาลาว่าการกลาโหม ด้านทิศตะวันออก เพื่อขจัดปัดเป่า

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

สิ่งที่ไม่เป็นมงคลไม่ให้กล้ำกรายเข้ามาในกระทรวงกลาโหมและเพื่อ

ความเป็นสิริมงคลความร่มเย็นเป็นสุขให้กับประเทศโดยมี อาจารย์

สุภชาติ สุวรรณสิงห์ (อ.เอ ตาทิพย์) เป็นผู้กระทำพิธีอัญเชิญขึ้น

ประทับศาล เมื่อ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕

***คำกล่าวบูชาสักการะท้าวเวสสุวัณณ์***

ตั้ง นะโม ๓ จบ แล้วท่องพระคาถาจักรพรรดิ

“สัมมาสัมพุทธัสสะ สะหัสสะเนคโต โสทายะ”

โปรดติดตามอ่านเรื่องราวของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในศาลาว่าการ

กลาโหมได้ใหม่ในฉบับหน้า

9


๓๒ ปี สำนักงานเลขานุการ

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

๑ มีนาคม ๒๕๖๔

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

สำ

พลตรี ชูเลิศ จิระรัตนเมธากร

เลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

นักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถือเป็น

อีกหน่วยงานหนึ่งที่มีความสำคัญ และเป็นหน่วยขึ้นตรง

ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ที่มีหน้าที่หลักในงานด้าน

เลขานุการและงานด้านการประชาสัมพันธ์ ตลอดระยะเวลากว่า ๓๐ ปี

ที่ผ่านมา สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ได้มีการพัฒนาศักยภาพและเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของ

บุคลากรและวิสัยทัศน์การบริหารจัดการที่มีขอบเขตและรูปแบบ

ของงานโครงการต่างๆ ตามนโยบายผู้บังคับบัญชาและความ

เปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะในปี ๒๕๖๓ ซึ่งเป็น

ปีที่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ทำให้การ

ดำเนินงานต่างๆ ของสำนักงานเลขานุการฯ จำเป็นต้องมีการปรับ

เปลี่ยนรูปแบบการทำงานเพื่อให้สอดคล้องกับฐานวิถีชีวิตใหม่

(New Normal)

จากภารกิจงานด้านเลขานุการและงานด้านการ

ประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวง

กลาโหม ได้มีการพัฒนาบุคลากร เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ อย่าง

ต่อเนื่อง เพื่อให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ รองรับภารกิจและสร้าง

ความเชื่อมั่นให้กับผู้บังคับบัญชา โดยเฉพาะในปัจจุบัน งาน

ประชาสัมพันธ์ของกระทรวงกลาโหมได้มีความเชื่อมโยงกับงาน

ปฏิบัติการจิตวิทยาและงานกิจการพลเรือนเช่นเดียวกับงานด้าน

เลขานุการที่ต้องเกี่ยวข้องกับการรับรองผู้บังคับบัญชาและงานพิธี

ต่างๆ ซึ่งต้องใช้ความละเอียดรอบคอบ ทั้งในการประสานงานและ

10

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


การปฏิบัติต่อหน่วยข้างเคียง ตลอดระยะเวลากว่า ๑ ปี ที่ผ่านมา

ภายใต้การดูแลของ พลตรี ชูเลิศ จิระรัตนเมธากร เลขานุการ

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม สำนักงานเลขานุการฯ ได้ขับเคลื่อน

งานผ่านบริบทต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

บรรลุเป้าหมายและเกิดผลสัมฤทธิ์เป็นที่ไว้วางใจของผู้บังคับบัญชา

ในทุกระดับ

ทั้งนี้ ผลการปฏิบัติงานในปีที ่ผ่านมา ในเรื่องการสร้าง

ความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

สำนักงานเลขานุการฯ ได้สร้างสรรค์กิจกรรมโครงการและงานพิเศษ

ที่อำนวยประโยชน์ต่อสังคม อาทิ โครงการจิตสำนึกรักเมืองไทย ซึ่ง

เป็นโครงการต่อเนื่องของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมที่ได้

ดำเนินการมาจนถึงปีที่ ๑๒ ด้วยการเปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดง

ความสามารถผ่านกิจกรรมการประกวด เพื่อกระตุ้นและสร้าง

จิตสำนึกรักเมืองไทยให้กับเยาวชนของชาติ ซึ่งจะได้เติบโตไปเป็น

พลเมืองของชาติที่มีจิตสำนึกที่ดีและเป็นส่วนหนึ่งในการสร้าง

ความรักความสามัคคีของคนในชาติ นอกจากนี้ยังได้ขยาย

ความร่วมมือไปยังหน่วยงานภาครัฐที่ได้ดำเนินการร่วมกันมาโดย

ตลอด ได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

(พม.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และกระทรวงมหาดไทย (มท.)

โดยจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยการบูรณาการ

ความร่วมมือในการผนึกกำลังปลูกจิตสำนึกรักเมืองไทยให้กับ

เด็กและเยาวชนให้รับผิดชอบต่อผลประโยชน์ส่วนรวม

การดำเนินการสร้างเครือข่ายสีขาวเพื่อความมั่นคงของ

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยสำนักงานเลขานุการฯ ได้

ดำเนินการพัฒนาและเสริมสร้างเครือข่ายสื่อสารมวลชนเพื่อความ

มั่นคงมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การขับเคลื่อนตามแผนปฏิบัติราชการ

ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมสัมฤทธิผล ทั้งเรื่องการพิทักษ์

รักษาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีเป้าประสงค์ให้เกิด

ประโยชน์แก่สาธารณชนและบรรลุความสำเร็จไปสู่เป้าหมายสูงสุด

คือ สถาบันพระมหากษัตริย์ได้รับการเทิดทูนอย่างสมพระเกียรติ

ทั้งยังส่งผลให้สังคมไทยเกิดความสมัครสมานสามัคคี นอกจากนี้

ยังมีกิจกรรมย่อย คือ การสัมมนาเชิงปฏิบัติการฯ และการผลิต

สื่อประชาสัมพันธ์เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ สื่อสารมวลชน

และประชาชนทั่วไป มีความรู้ความเข้าใจและเป็นกลางทางสังคม

ในการป้องกันและทำความเข้าใจมิให้มีการล่วงละเมิดสถาบัน

พระมหากษัตริย์

การนำเสนอผลการดำเนินงานของผู้บังคับบัญชา ตลอดจน

หน่วยขึ้นตรงสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ผ่านเสียงตามสาย

บิลบอร์ด ทั้งที่ตั้งอยู่ในศาลาว่าการกลาโหมและศรีสมาน

การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสารสนเทศ อาทิ เว็บไซต์ Lakmuang

online.com Thewhiteradio.mod.go.th จิตสำนึกรักเมืองไทย.com

รวมถึง Facebook ของโฆษกกระทรวงกลาโหม หลักเมืองออนไลน์

จิตสำนึกรักเมืองไทย สถานีวิทยุสีขาว และ G-news ซึ่งปัจจุบัน

มีผู้ติดตามเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

และในวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๔ นี้ เป็นโอกาสอันดีที่สำนักงาน

เลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมดำเนินงานมาจน

ครบรอบปีที่ ๓๒ ซึ่งสำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวง

กลาโหม ยังคงมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพและปฏิบัติภารกิจ

ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มกำลังความสามารถของกำลังพลทุกนาย

ภายใต้ปณิธานที่ว่า “เลขานุการก้าวหน้า ประชาสัมพันธ์ก้าวไกล

ผลิตสื่อทันสมัย ก้าวต่อไปอย่างมั่นคง”

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

11


๘ เมษายน ๒๕๖๔

วันคล้ายวันสถาปนากรมการเงินกลาโหม

๑๓๔ ปี กรมการเงินกลาโหม

บริการทันใจ ซื ่อสัตย์ โปร่งใส ทันสมัย สามัคคี

กรมการเงินกลาโหม

“กรมการเงินกลาโหม เป็นต้นกำเนิดของการดำเนินงานด้านการเงิน ในกิจการ

ทหารอย่างเป็นระบบ และมีระเบียบแบบแผน โดย ๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จ

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้ง

กรมยุทธนาธิการ” โดยแยกงานการเงินไว้ใน กรมใช้จ่าย ปัจจุบันตามอัตราการจัดหน่วย

เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และมีฐานะหัวหน้าเหล่าสายวิทยาการ

ด้านการเงิน มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การบัญชี เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ และการควบคุม

การใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

ในกระบวนการทำงาน และการให้บริการให้มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว”

พลโท ภราดร จินดาลัทธ

เจ้ากรมการเงินกลาโหม

ามนโยบายและแผนว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ

สังคม (พ.ศ.๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) ส่วนที่ ๓ ยุทธศาสตร์การพัฒนา

ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ยุทธศาสตร์ที่ ๔ ปรับเปลี่ยนภาครัฐ

สู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในกระบวนการ

ทำงานและการให้บริการภาครัฐ เพื ่อให้เกิดการปฏิรูปกระบวนการ

ทำงานและขั้นตอนการให้บริการให้มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว

อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการสร้างบริการของภาครัฐที่มี

ธรรมาภิบาล และสามารถให้บริการประชาชนแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุด

เดียว ผ่านระบบเชื่อมโยงข้อมูลอัตโนมัติและแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

ของประเทศไทย พ.ศ.๒๕๖๓ - ๒๕๖๕ ให้ปรับปรุงกระบวนการและ

พัฒนาบริการดิจิทัลตามความต้องการของประชาชน และพัฒนา

แพลตฟอร์มเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้บริการดิจิทัลอย่างเต็ม

รูปแบบ

กรมการเงินกลาโหม เป็นองค์กรหลักในการบริหารและ

ให้บริการด้านการเงิน การบัญชี การเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ และ

การควบคุมการใช้จ่ายเงินให้มีความถูกต้อง ทันสมัย โปร่งใส และมี

ประสิทธิภาพ รวมถึงการให้บริการเกี่ยวกับการเบิกเงินสวัสดิการ

ค่าการศึกษาบุตรและค่ารักษาพยาบาล ซึ่งสามารถให้บริการได้เสร็จสิ้น

ภายในกรมการเงินกลาโหม และให้บริการเกี่ยวกับการขอรับเงิน

บำเหน็จตกทอดและการขอรับเงินช่วยพิเศษ ซึ่งมีหลายหน่วยงานที่

เกี่ยวข้องที่ต้องมาดำเนินการร่วมกัน ประกอบด้วย สำนักงานปลัด

กระทรวงกลาโหม (กรมการเงินกลาโหม และกรมเสมียนตรา)

กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ

และกระทรวงมหาดไทย ทำให้ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ และทายาท

ไม่ได้รับความสะดวกในการติดต่อขอรับบริการเท่าที่ควร กรมการเงิน

กลาโหมจึงมีแนวคิดที่จะทำให้ผู้ใช้บริการเกิดความสะดวกและรวดเร็ว

ประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

โดยผู้ที่มาติดต่อขอรับบริการ สามารถขอรับบริการจากหน่วย

งานราชการต่างๆ ได้ ณ ที่แห่งเดียว ได้แก่ กรมการเงินกลาโหม หรือ

กรมเสมียนตรา แห่งใดแห่งหนึ่ง ดังนั้น กรมการเงินกลาโหม

จึงได้ดำเนินการพัฒนาระบบงานบริการผู้รับเบี้ยหวัด บำนาญ

แบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ขึ้นมา เพื่อให้บริการกับผู้รับ

เบี้ยหวัด บำนาญ และทายาทโดยมีระยะเวลาในการพัฒนา ๓ ปี

(พ.ศ.๒๕๖๓ - ๒๕๖๕) โดยสามารถให้บริการ ณ จุดเดียวทุกกระบวน

งาน ภายใต้ความร่วมมือจากหน่วยงานทั้ง ๓ หน่วยงาน คือ

12

กรมการเงินกลาโหม


กรมการเงินกลาโหม ทำหน้าที่ออกแบบ วิเคราะห์ระบบ เขียน

โปรแกรมและทำการทดสอบระบบ

กรมเสมียนตรา ให้การสนับสนุนการเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบ

สารสนเทศ

กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม ให้การ

สนับสนุนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server)

ในปีงบประมาณ ๒๕๖๓ ดำเนินการพัฒนาระบบการขอรับเงิน

บำเหน็จตกทอดและการขอรับเงินช่วยพิเศษของข้าราชการบำนาญ

ชั้นนายพลที่รับเงินทางสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ในปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ดำเนินการพัฒนาระบบการขอหนังสือ

รับรองการมีสิทธิรับเงินค่ารักษาพยาบาลกรณีเป็นคนไข้ของ

โรงพยาบาลรัฐบาล และพัฒนาระบบ การขอหนังสือรับรอง

การมีสิทธิรับเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าการศึกษาบุตร และพัฒนา

ระบบการพิสูจน์ตัวตน

ในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ดำเนินการพัฒนาระบบการขอรับเงิน

บำเหน็จตกทอดและการขอรับเงินช่วยพิเศษ ของข้าราชการบำนาญ

นายทหารต่ำกว่าชั้นนายพล และพัฒนาระบบการขอปรับปรุงข้อมูล

บุคลากรภาครัฐของผู้รับเบี้ยหวัด บำนาญ

การดำเนินการผู้รับบริการสามารถแจ้งเรื่อง หรือเขียนคำร้อง

ขอรับบริการผ่านเว็บไซต์ออนไลน์ของระบบงานบริการผู้รับเบี้ยหวัด

บำนาญแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)

โดยมีกรมการเงินกลาโหมเป็นผู้ดูแลระบบ เมื่อระบบฯ ได้รับ

เรื่องหรือคำร้องแล้วจะส่งต่อให้กับผู้มีหน้าที่ดำเนินการโดยอัตโนมัติ

เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบสามารถดำเนินเรื่องตามกระบวนการเพื่อให้

เกิดความรวดเร็วทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการโดยไม่จำเป็นต้องไป

ติดต่อ ณ ส่วนราชการต่างๆ หลายแห่ง ซึ่งจะทำให้ข้าราชการ ผู้รับ

เบี้ยหวัด บำนาญ และทายาท ได้รับความสะดวกสบายในการติดต่อ

ราชการกับภาครัฐมากขึ้น เป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายของ

ผู้รับบริการและยังเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐอีกด้วย โดย

สามารถที่จะใช้บริการร่วมกันทั้งในด้านสถานที่ บุคลากร ตลอดจน

เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์

สูงสุด ดังคติพจน์ของกรมการเงินกลาโหมที่ว่า

“บริการทันใจ ซื่อสัตย์ โปร่งใส ทันสมัย สามัคคี”

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

13


“คนไทยในสังคม

ยุคดิจิทัล

ทักษะที ่จำเป็นเพื ่อความอยู่รอดสำหรับยุคดิจิทัล”

พลเอก เฉลิม คูหาวิชานันท์

ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

นั

บตั้งแต่เกิดการระบาดของโรคโควิด-๑๙ ในประเทศไทย

และมีการประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตราย ตั้งแต่วันที่ ๑

มีนาคม ๒๕๖๓ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ถือได้ว่าประเทศไทย

สามารถรับมือกับปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดีทั้งด้านสาธารณสุข

และด้านผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชน อย่างไรก็ตาม

เหตุการณ์ต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในสังคมไทยขณะนี้ทำให้เราต้อง

ตระหนักว่าเรากำลังอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความผันผวนอันเนื่อง

มาจากความไม่แน่นอนของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งยากต่อการคาด-

การณ์ว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป และจะมีผลอย่างไร สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น

มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาด้วยอัตราเร่งที่เพิ่มสูงมากยิ่งขึ้นทุกวัน

และส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบต่างๆ ทั้งด้านสังคม

เศรษฐกิจ การเมือง การทหารและด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะการ

เปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลที่พัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว

จนเกิดกระบวนการพลิกผันด้านเทคโนโลยีอยู่อย่างต่อเนื่อง ส่งผล

14

ให้คนในสังคมจำนวนมากตามไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของ

เทคโนโลยีดิจิทัลที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำใน

การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการดำรงชีวิต

ในสังคม ทั้งนี้ในช่วงเกิดการระบาดของโรคโควิด-๑๙ ทำให้พบว่า

ช่องว่างและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จาก

เทคโนโลยีดิจิทัลของคนกลุ่มต่างๆ ในสังคมไทย นับวันจะยิ่งขยาย

มากขึ้น โดยเฉพาะระหว่างกลุ่มคนต่างวัยต่างยุคต่างสมัยที่มีความ

รู้ ประสบการณ์ และความต้องการที่แตกต่างกัน ซึ่งหากไม่ได้รับ

การแก้ไขอาจกลายเป็นอุปสรรคที่ก่อให้เกิดปัญหาในการดำรงชีวิต

ของคนไทย และเป็นปัญหาในการพัฒนาประเทศในระยะยาว

รัฐบาลและประชาชนในภาคส่วนต่างๆ ของสังคมไทยคงต้องร่วมกัน

หาวิธีการเพื่อรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว และหาวิธีการที่

เหมาะสมกับสภาพของสังคมไทยพัฒนาคนไทยทุกวัยให้มีทักษะที่จ ำเป็น

สำหรับยุคดิจิทัลให้พร้อมเพื่อความอยู่รอดในสังคมยุคดิจิทัล

พลเอก เฉลิม คูหาวิชานันท์


สังคมไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญต่อการ

พัฒนาประเทศและการบริหารราชการแผ่นดินประการหนึ่งคือ

ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรในสังคมไทย ทำให้เกิด

สังคมที่เรียกว่า สังคม “ผู้สูงอายุ” หรือสังคม “ผู้สูงวัย” และสังคม

“คนในยุคดิจิทัล” ขึ้นมาในห้วงเวลาเดียวกัน ซึ่งต้องการวิธีการ

บริหารจัดการให้ประชากรที่ต่างวัยต่างยุคต่างสมัยสามารถปรับตัว

ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมของดิจิทัล และสามารถอยู่

ร่วมกันโดยผสมผสานและสร้างจุดสมดุลระหว่าง

การใช้ประสบการณ์และการใช้ความรู้ใหม่ของคน

ต่างวัยต่างยุคสมัย เพื่อตอบสนองความต้องการและ

ร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีให้เกิดขึ้นต่อสังคม

ไทยโดยรวม

การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ คือ เมื่อ

ประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๐ หรือ

ประชากรอายุ ๖๕ ปี เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๔ ของ

ประชากรโดยรวมทั้งหมดของทั้งประเทศ ซึ่งพบว่า

ในปี ๒๕๖๔ ประเทศไทยมีแนวโน้มของประชากร

เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ ๒๐ จึงถือได้ว่าประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคม

ผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้ว อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของ

ประเทศไทยกับการเปลี่ยนแปลงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัล

ได้เกิดช่องว่างของการปรับตัวระหว่าง “ผู ้สูงอายุ” กับ “เทคโนโลยี

ดิจิทัล” ในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะในช่วงการระบาด

ของโรคโควิด-๑๙ กลุ่มผู้สูงอายุเกิดปัญหาด้านข้อจำกัดเรื่องความรู้

และทักษะในการเข้าถึงและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อลงทะเบียน

ขอรับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ ดังนั้นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้

และทักษะการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล จึงมี

ความจำเป็นและถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สำคัญในสังคมไทยยุคดิจิทัล

ในขณะที่สังคมไทยเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์

สังคมไทยก็ได้ปรากฏประชากรอีกกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า “คนในยุค

ดิจิทัล” ขึ้นเป็นสังคมอีกสังคมหนึ่ง คนในกลุ่มนี้คือ เด็กไทยที่เกิด

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

15


ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๔๗ - ๒๕๕๖ ซึ่งจะเป็นอนาคตที ่สำคัญของ

ประเทศไทย คนกลุ่มนี้ถือได้ว่าเป็นคนยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว เพราะ

เป็นคนรุ่นที่ได้เริ่มสัมผัสกับเทคโนโลยีใหม่และโลกออนไลน์นับตั้งแต่

เกิด การที่เกิดมาและเติบโตขึ้นพร้อมๆ กับการพัฒนาก้าวหน้าของ

เทคโนโลยีสมัยใหม่ล่าสุดจึงทำให้คนรุ่นนี้ไม่เหมือนกับคนรุ่นก่อนๆ

และมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะใช้ชีวิตอยู่กับ

สมาร์ทโฟน และมีกิจกรรมต่างๆ บนโลกออนไลน์มากที่สุด ทั้งเพื่อ

การค้นหาข้อมูลความรู้และความบันเทิง จึงส่งผลต่อพฤติกรรมการ

ใช้ชีวิตที่มีความคุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลงมากกว่ารุ่นก่อนๆ ทำให้

ความคิดเห็นและมุมมองในมิติของการเรียนรู้ และอาชีพการงาน

แตกต่างจากคนรุ ่นอื่นๆ “คนในยุคดิจิทัล” มักจะใฝ่ฝันที่จะมีอาชีพ

ที่สามารถสร้างรายได้จากความชอบของตัวเองและที่สำคัญ

มักแสดงออกถึงความเป็นตัวเองในด้านที่ไม่เหมือนใคร

การที่คนในยุคดิจิทัล มีรูปแบบชีวิตและพฤติกรรมที่แตกต่าง

จากคนรุ่นก่อน เนื่องจากการรับรู้ที่แตกต่างกัน อาจส่งผลให้เกิดเป็น

ความไม่เข้าใจกัน จนอาจพัฒนาไปสู่ความขัดแย้งของคนต่างรุ่น หาก

ไม่มีการบริหารจัดการที่เหมาะสม สังคมไทยโดยเฉพาะรัฐบาลจึง

ควรจะได้เตรียมการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีและเหมาะสมเพื่อให้

“คนในยุคดิจิทัล” สามารถเติบโตขึ้นเป็นประชากรที่มีคุณภาพที่

สังคมไทยสามารถฝากอนาคตของประเทศไทยไว้กับคนรุ่นนี้ได้

ในปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลไม่ได้เป็นแค่เพียงเครื่องมือ

สนับสนุนการทำงานดังเช่นในอดีตที่ผ่านมาแต่กลายเป็นปัจจัยที่

สำคัญในวิถีการดำเนินชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน สังคมโลกรวมทั้ง

สังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคที่เรียกว่า “สังคมยุคดิจิทัล” ซึ่งเป็นสังคม

ที่มีการแข่งขันด้วยข้อมูลสารสนเทศ มีการใช้นวัตกรรมระบบ

อัจฉริยะต่างๆ ในการดำเนินกิจกรรมทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม

รวมทั้งด้านการทหารอย่างเต็มศักยภาพ และเป็นปัจจัยสำคัญที่

16

พลเอก เฉลิม คูหาวิชานันท์


ส่งผลต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของคนในสังคม รวมทั้งการจัด

ระบบต่างๆ ในโครงสร้างของสังคม คนในสังคมไทยทั้งที่เป็นคนใน

ยุคดิจิทัล และผู้สูงอายุ รวมทั้งคนไทยทุกรุ่นทุกวัยจึงต้องปรับตัว

ให้ทันในการใช้ชีวิตประจำวันและในการทำงาน

การทำงานในสังคมยุคดิจิทัล คนไทยทุกรุ่นทุกช่วงวัยต้อง

พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องให้มีทักษะที่จำเป็นสำหรับยุคดิจิทัล เพื่อ

ความอยู่รอดในการดำรงชีวิตและในการทำงาน ทั้งนี้ทักษะที่จะช่วย

ให้อยู่รอดได้ในสังคมยุคดิจิทัลมีหลายทักษะ แต่ที่สำคัญ ได้แก่

ทักษะการคิดแบบปรับตัวตามสถานการณ์ โดยสามารถคิดทั้งใน

เชิงสร้างสรรค์และคิดในเชิงวิเคราะห์ร่วมกับบริบทของข้อมูลที่

เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การฝึกให้มีทักษะการคิดแบบปรับตัว

ตามสถานการณ์ต้องอาศัยความชำนาญด้านการวางแผนที่ดีมีความ

ยืดหยุ่นกับความคิด ความเชื่อ และพฤติกรรมของผู้อื่นสามารถ

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

ทำงานเป็นทีมและพร้อมรับบทบาทเป็นผู้นำยุคดิจิทัล

อีกทักษะหนึ่งที่จะช่วยให้อยู่รอดในสังคมยุคดิจิทัล คือ การ

เรียนรู้และตอบรับเทคโนโลยีและสื่อใหม่ๆ ตลอดเวลา รวมทั้งมี

ความรู้ความเข้าใจศาสตร์สาขาต่างๆ ที่หลากหลาย ไม่ได้เชี่ยวชาญ

เฉพาะด้านใดด้านเดียวต้องขยายองค์ความรู้ให้กว้างขึ้น เพราะองค์

ความรู้ต่างๆ มีความเชื่อมโยงกันซึ่งจะช่วยให้มีมุมมองที่แตกต่างจาก

ความรู้ที่มีอยู่ นอกจากนี้ต้องคอยเรียนรู้ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง

มีความชำนาญการเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ และสามารถจับประเด็นปัญหา

และเข้าใจความต้องการของตนเองและผู้อื่นได้รวดเร็วและถูกต้อง

ในทุกสถานการณ์

และทักษะที่สำคัญประการสุดท้ายที่จะทำให้เหนือกว่า

เทคโนโลยีโดยเฉพาะ เหนือกว่า AI ก็คือ ต้องมีทักษะในการรับรู้และ

ทำความเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของคนอื่น เริ่มจากการเป็นนักฟัง

ที่ดี เพื่อให้รับรู้และเข้าใจความคิดความรู้สึกของผู้อื่น และรู้จัก

การให้คุณค่าและความหมายต่อผู้อื่นด้วยมุมมองเชิงสร้างสรรค์

เชื่อมั่นในศักยภาพของคนในทีมงานที่จะทำภารกิจให้สำเร็จ

ทักษะทั้งสามทักษะที่กล่าวมา จะช่วยให้มีความพร้อมในการ

ทำงานและช่วยให้สามารถดำรงชีวิตรอดได้ในทุกองค์กรทุกระดับ

ทั้งนี้ผู้บริหารองค์กรทั้งรัฐบาลและองค์กรอื่นๆ ควรร่วมกันพัฒนา

คนไทยทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัยให้รู้ทันเทคโนโลยีดิจิทัลและมีทักษะ

ที่จำเป็นสำหรับยุคดิจิทัล อย่างน้อยให้มีทักษะทั้ง ๓ ดังกล่าว

เพื่อความอยู่รอดในสังคมยุคดิจิทัล รวมทั้งลดช่องว่างและความ

เหลื่อมล้ำในการเข้าถึง และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล

ของคนกลุ่มต่างๆ ในสังคมโดยเร็ว

17


กลับหลังหัน...กับพิพิธภัณฑ์กลาโหม

“คชสีห์...

สัญลักษณ์แห่งกระทรวงกลาโหม”

พิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม

ประติมากรรมพญาคชสีห์ ๑ ใน ๒ องค์ บริเวณประตูทางเข้า-ออกหน้ากระทรวงกลาโหม

มื่อพูดถึงสัญลักษณ์หรือตราของกระทรวงกลาโหม หลายๆ ท่าน

คงนึกถึงคชสีห์ซึ่งเป็นสัตว์สัญลักษณ์ที่อยู่คู่กับกระทรวงกลาโหม

มาอย่างยาวนาน แต่ท่านผู้อ่านทราบหรือไม่ว่าทำไมกระทรวง

กลาโหมจึงต้องใช้คชสีห์เป็นสัญลักษณ์หรือเป็นตราประจำกระทรวง

วันนี้ผู้เขียนมีเรื่องราวมานำเสนอให้ทราบกันค่ะ...

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

(ครองราชย์ปี พ.ศ.๑๙๙๑ - ๒๐๓๑) พระองค์ได้ทรงปฏิรูปการ

ปกครองขึ้นใหม่ทรงรวมอำนาจการปกครองเข้าสู่ศูนย์กลาง และแยก

การปกครองของฝ่ายทหารและพลเรือนออกจากกัน โดยกำหนดให้

ตำแหน่งสมุหนายก มีหน้าที่บังคับบัญชาและดูแลฝ่ายพลเรือน ใช้ตรา

พระราชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง ตำแหน่งสมุหกลาโหม มีหน้าที่

บังคับบัญชาและดูแลฝ่ายทหาร ใช้ตราพระคชสีห์เป็นตราประจำ

ตำแหน่ง และกรมท่า ดูแลเรื่องการค้าโดยเฉพาะกับชาวต่างชาติ

ใช้ตราบัวแก้วเป็นตราประจำตำแหน่ง ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์

ตราประทับพระคชสีห์ใหญ่ พระคชสีห์น้อย และพระคชสีห์เดินดง ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม

18

พิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม


กฎหมายตราสามดวง ที่ประทับตราสำคัญของแผ่นดินทั้ง ๓ ดวง

คือ ตราราชสีห์ ตราคชสีห์ ตราบัวแก้ว

ตราสำคัญทั้งสามยังคงถูกใช้งานมาอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากกฎหมาย

ตราสามดวง ที่เป็นการนำกฎหมายสมัยอยุธยามาชำระขึ้นใหม่ใน

รัชกาลที่ ๑ ก็ได้มีการประทับตราสำคัญของแผ่นดินทั้งสาม คือ ตรา

พระราชสีห์ ตราพระคชสีห์ และตราบัวแก้ว ลงบนกฎหมายทุกเล่ม

กฎหมายนี้จึงเรียกชื่อว่า กฎหมายตราสามดวง

สำหรับตราพระคชสีห์ ประจำกรมพระกลาโหมหรือกระทรวง

กลาโหมในปัจจุบัน มีการกล่าวถึงในกฎหมายตราสามดวง ในส่วน

ลักษณะพระธรรมนูญและทำเนียบศักดินาว่า “ตราพระคชสีห์เป็น

ตราของกรมพระกลาโหม มีเจ้าพระยามหาเสนาบดี เป็นผู้ถือศักดินา

๑๐,๐๐๐” โดยจัดให้อยู่ในประเภทตราของหลวงที่เรียกว่าตรา

ประจำกรม คือเป็นตราที่มุ่งเน้นหน้าที่ของผู้ถือเป็นสำคัญ ไม่กำหนด

ชั้นยศ ขึ้นอยู่กับผู้ใดเป็นผู้ถือ ต่างจากตราเชลยศักดิ์หรือตราประจำตัว

ซึ่งเป็นตราของข้าราชการตำแหน่งต่างๆ ที่ไม่ได้มีอยู่ในลักษณะ

พระธรรมนูญและทำเนียบศักดินา

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

ตราประทับพระคชสีห์

ประติมากรรมคชสีห์ สัตว์ผสมระหว่างช้างกับราชสีห์

ที่ใช้ประดับบันไดในงานพระเมรุมาศรัชกาลที่ ๙

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก็ยังคงใช้ตราพระคชสีห์เป็นตรา

ประจำกระทรวงกลาโหมอยู่เช่นเดิม และได้มีการกำหนดตราตำแหน่ง

ในกระทรวงกลาโหม ร.ศ.๑๓๐ สำหรับเสนาบดีกระทรวงกลาโหม

กำหนดให้ใช้ตราพระคชสีห์ ๓ ดวง คือ ตราพระคชสีห์ใหญ่ ตราพระ

คชสีห์น้อย และตราพระคชสีห์เดินดง ซึ่งตราทั้งสามมีขนาดและ

หน้าที่การใช้งานที่แตกต่างกัน

สำหรับเหตุผลที่ใช้คชสีห์เป็นสัญลักษณ์ประจำกระทรวง

กลาโหมนั้น เนื่องจากคชสีห์เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ เป็นสัตว์ผสมที่

มีลักษณะของช้างกับราชสีห์ มีศีรษะเป็นช้าง และส่วนท่อนล่าง

เป็นราชสีห์ มีพละกำลังเทียบเท่าช้างและสิงห์รวมกัน และมีความ

น่าเกรงขาม นอกจากนี้ในคติของไทย ช้างยังถือได้ว่าเป็นสัตว์ประจำชาติ

ที่ใช้ในราชการสงคราม คชสีห์จึงเปรียบได้กับสัญลักษณ์ของ

ข้าราชการทหารที่ออกสงครามและมีหน้าที่รักษาราชบัลลังก์และ

ปกป้องแผ่นดิน เปรียบได้กับเหล่าทหารของประเทศนั่นเอง

ดังนั้น พระคชสีห์จึงเปรียบเสมือนตัวแทนหรือสัญลักษณ์ที่อยู่

คู่กับกระทรวงกลาโหมมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาสืบเนื่องมาจนถึง

สมัยรัตนโกสินทร์โดยสืบทอดผ่านเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มาอย่าง

ยาวนาน ดังจะเห็นได้จากการถ่ายทอดผ่านระบบสัญลักษณ์ต่างๆ

เช่น ตราประทับพระคชสีห์ที่ใช้ในเอกสารราชการ ตราแผ่นดินหรือ

ตราอาร์มที่ประกอบด้วยราชสีห์และคชสีห์ถือฉัตรสองข้าง หรือแม้แต่

หน้าบันของกระทรวงกลาโหมก็ประกอบด้วยราชสีห์และคชสีห์

ถือฉัตรยืนอยู่สองข้างเช่นกัน ทั้งนี้ ด้านหน้ากระทรวงกลาโหม มีการ

จัดสร้างประติมากรรมองค์พญาคชสีห์บริเวณประตูทางเข้า-ออก

จำนวน ๒ องค์ และในฉบับต่อๆ ไป ผู้เขียนจะนำเรื่องราวขององค์

พญาคชสีห์ ทั้ง ๒ องค์ มานำเสนอให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกันค่ะ

เอกสารอ้างอิง :

กรมศิลปากร (๒๐๒๑). ฐานข้อมูลพระเมรุมาศและเครื่องประกอบพระเมรุมาศ, สืบค้นเมื่อ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ จาก. phramerumas.finearts.go.th

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. พญาคชสีห์ กระทรวงกลาโหม. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. ไม่ปรากฏปีพิมพ์.

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. ๑๒๐ ปี ศาลาว่าการกลาโหม. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. ๒๕๔๙.

สำนักราชเลขาธิการ. สมุดภาพเหตุการณ์สำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรุงเทพ. ๒๕๒๕.

สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร.

อรพินท์ ลิ่มสกุล และคนอื่นๆ. บรรณาธิการ. ประชุมประกาศตราประจำตำแหน่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. คณะอำนวยการจัดงาน

เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในโอกาสที่วันพระบรมราชสมภพครบ ๑๕๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๔๖.

กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์. ๒๕๔๖.

พิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม

19


ทิศทางยุทธศาสตร์ของจีน (ตอนที ่ ๓)

ในระยะเวลา ๕ ปี (พ.ศ.๒๕๖๔ - ๒๕๖๘)

และระยะยาวถึงปี พ.ศ.๒๕๗๘

พลตรี ดร.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ต่

20

ภาพที่ ๑ การใช้นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจีน

ที่มา : http://www.vijaichina.com/articles/1264

อจากฉบับที่แล้ว เรื่องที่ ๓ การดำรงอยู่ในการพัฒนาที่

ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและกำหนดข้อได้เปรียบในการ

พัฒนาใหม่ๆ อย่างครอบคลุม

๑. เสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เชิงยุทธศาสตร์ของชาติ กำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อสร้างความเข้มแข็ง

ให้กับประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปรับปรุงระบบใหม่

ทั่วประเทศภายใต้เงื่อนไขของเศรษฐกิจตลาดสังคมนิยม ต่อสู้เพื่อ

เทคโนโลยีหลักที่สำคัญและปรับปรุงประสิทธิผลโดยรวมของห่วงโซ่

นวัตกรรม เสริมสร้างการวิจัยขั้นพื้นฐานมุ่งเน้นไปที่นวัตกรรมดั้งเดิม

ปรับรูปแบบของสาขาวิชาการวิจัย และพัฒนาให้เหมาะสมส่งเสริม

การบูรณาการสหวิทยาการและปรับปรุงระบบการจัดหาเทคโนโลยี

พื้นฐานทั่วไป มุ่งเป้าไปที่เขตแดนของปัญญาประดิษฐ์ ข้อมูล

ควอนตัม วงจรรวมชีวิตและสุขภาพ วิทยาศาสตร์ด้านสมอง การ

เพาะพันธุ์ทางชีวภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการบิน และ

อวกาศทะเลน้ำลึกและน้ำลึก ฯลฯ ดำเนินโครงการทางวิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยีที่สำคัญระดับชาติที่คาดการณ์ล่วงหน้าและเชิง

ยุทธศาสตร์ กำหนดและดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ทาง

วิทยาศาสตร์และโครงการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการจัดสรร

พลตรี ดร.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล


ภาพที่ ๒ การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศของจีน โดยการใช้ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

ที่มา : http://www.vijaichina.com/articles/1136

และการแบ่งปันทรัพยากรที่เหมาะสมที่สุดของพลังวิจัยทาง

วิทยาศาสตร์ในสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยและ

องค์กรต่างๆ ส่งเสริมการสร้างห้องปฏิบัติการระดับชาติและ

จัดระบบห้องปฏิบัติการหลักแห่งชาติใหม่ วางผังและสร้างศูนย์

วิทยาศาสตร์แห่งชาติที่ครอบคลุมและพื้นที่สูงนวัตกรรมระดับ

ภูมิภาค สนับสนุนกรุงปักกิ่ง มหานครเซี่ยงไฮ้และเขตอ่าวกวางตุ้ง

- ฮ่องกง - มาเก๊า เพื่อจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยีระดับนานาชาติ สร้างแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนระดับ

ไฮเอนด์ สำหรับเอกสารการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระดับชาติและ

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

๒. ปรับปรุงความสามารถด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีของ

องค์กร เสริมสร้างตำแหน่งที่โดดเด่นขององค์กรในด้านนวัตกรรม

และส่งเสริมความเข้มข้นขององค์ประกอบนวัตกรรมต่างๆ ในองค์กร

ส่งเสริมการบูรณาการเชิงลึกของการผลิตการศึกษาและการวิจัย

และสนับสนุนองค์กรต่างๆ เพื่อเป็นผู้นำในการจัดตั้งกลุ่มนวัตกรรม

และดำเนินโครงการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญระดับ

ชาติ ให้บทบาทสำคัญของผู้ประกอบการในนวัตกรรมเทคโนโลยี

อย่างเต็มที่ ส่งเสริมให้องค์กรเพิ่มการลงทุนในการวิจัยและ

พัฒนาและใช้มาตรการจูงใจทางภาษีสำหรับการลงทุนขององค์กร

ในการวิจัยขั้นพื้นฐาน ให้การเล่นอย่างเต็มที่แก่ผู้นำและบทบาท

สนับสนุนขององค์กรขนาดใหญ่ สนับสนุนการเติบโตของนวัตกรรม

ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ในฐานะแหล่งนวัตกรรม

ที่สำคัญ เสริมสร้างการสร้างแพลตฟอร์มเทคโนโลยีทั่วไป รวมทั ้ง

ส่งเสริมการบูรณาการและนวัตกรรมของห่วงโซ่อุตสาหกรรม

ระดับบน กลาง และล่าง ตลอดจนองค์กรขนาดใหญ่และขนาดเล็ก

๓. กระตุ้นพลังสร้างสรรค์ของพรสวรรค์ ปฏิบัติตามหลัก

การเคารพแรงงาน ความรู้ความสามารถและความคิดสร้างสรรค์

พัฒนาระบบและกลไกการพัฒนาคนเก่งให้ลึกซึ้ง ปลูกฝัง แนะนำ

และใช้ประโยชน์จากความสามารถในทุกทิศทาง สร้างผู้มีความสามารถ

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

21


ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกและทีมนวัตกรรม

ปลูกฝังการแข่งขันในระดับสากล รวมทั้งพลังสำรองของผู้มีความ

สามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรุ่นเยาว์ ปรับปรุง

ระบบการประเมินความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่

มุ่งเน้นโดยความสามารถในการสร้างสรรค์คุณภาพของผลงาน

เสริมสร้างรูปแบบการศึกษาและยึดมั่นในความซื่อสัตย์ทางวิชาการ

ปฏิรูประบบวิชาการให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ปรับปรุงกลไกการสร้างแรงจูงใจ

ด้านนวัตกรรมและการรับประกันสร้างกลไกการกระจายผลกำไรที่

สะท้อนคุณค่าขององค์ประกอบของนวัตกรรม เช่น ความรู้และ

เทคโนโลยีอย่างเต็มที่ รวมทั้งปรับปรุงกลไกการแบ่งปันสิทธิและ

ผลประโยชน์ของความสำเร็จในการประดิษฐ์งานของบุคลากร

ด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างการฝึกอบรมผู้มีความ

สามารถด้านนวัตกรรมที่มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้และมีทักษะดำเนิน

โครงการต่ออายุความรู้ ตลอดจนการดำเนินการยกระดับทักษะและ

ขยายทีมวิศวกรระดับสูง ผู้มีความสามารถที่มีทักษะสูง สนับสนุน

การพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยระดับสูง และเสริมสร้างการฝึกอบรม

ผู้มีความสามารถพิเศษด้านการวิจัยขั้นพื้นฐาน ใช้นโยบายความ

สามารถที่เปิดกว้างมากขึ้น รวมถึงการสร้างการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

และนวัตกรรมในระดับสูงที่รวบรวมผู้มีความสามารถที่โดดเด่น

ทั้งในและต่างประเทศ

๔. ปรับปรุงระบบและกลไกนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยี ปรับปรุงการปฏิรูประบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ปรับปรุงระบบการกำกับดูแลวิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยีแห่งชาติ เพิ่มประสิทธิภาพระบบการวางแผน

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ รวมทั้งกลไกการดำเนินงาน

และส่งเสริมการจัดสรรโครงการฐานความสามารถและเงินทุนแบบ

บูรณาการในประเด็นสำคัญ ปรับปรุงองค์กรและการจัดการ

โครงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและใช้ระบบต่างๆ เช่น การ

เปิดเผยการจัดอันดับ ปรับปรุงกลไกการประเมินด้านวิทยาศาสตร์

22

พลตรี ดร.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล


และเทคโนโลยี และเพิ่มประสิทธิภาพโครงการรางวัลด้าน

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เร่งปฏิรูปสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์

และขยายความเป็นอิสระในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เสริมสร้าง

การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและปรับปรุงการถ่ายโอน

และการเปลี่ยนแปลงความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

อย่างมาก เพิ ่มการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาปรับปรุงกลไกการ

ลงทุนของรัฐบาลและกลไกการลงทุนหลายช่องทางจากสังคมและ

เพิ่มการสนับสนุนสำหรับการวิจัยชายแดนขั้นพื้นฐาน ปรับปรุง

ระบบนวัตกรรม การสนับสนุนทางการเงินและส่งเสริมอุตสาหกรรม

และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในวงกว้าง สืบสาน จิตวิญญาณ

แห่งวิทยาศาสตร์และงานฝีมือ เสริมสร้างงานวิทยาศาสตร์ที่เป็น

ที่นิยมและสร้างบรรยากาศทางสังคม ที่สนับสนุนนวัตกรรม

ปรับปรุงระบบจริยธรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งเสริม

ความร่วมมืออย่างเปิดกว้างด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การวิจัย และจัดตั้งกองทุนวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระดับโลก

บทสรุป การยึดมั่นในนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนความทันสมัย

ของจีน ใช้การพึ่งพาตนเองทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นส่วน

สนับสนุนเชิงยุทธศาสตร์ของการพัฒนาประเทศ ในการเผชิญกับ

สนามรบทางเศรษฐกิจ เผชิญกับความต้องการที่สำคัญของประเทศ

เผชิญกับชีวิตและสุขภาพของผู้คน รวมทั้งใช้ยุทธศาสตร์ในการฟื้นฟู

ประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และการศึกษาตลอดจนความสามารถ

เสริมสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม โดยการ

ปรับปรุงระบบนวัตกรรมแห่งชาติและเร่งสร้างพลังทางวิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยี เพื่อการดำรงอยู่ในการพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วย

นวัตกรรมและกำหนดข้อได้เปรียบในการพัฒนาใหม่ๆ อย่าง

ครอบคลุมดังกล่าวนั้น จะนำไปสู่การเร่งรัดในการพัฒนาระบบ

อุตสาหกรรมที่ทันสมัย รวมทั้งส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพและการ

ยกระดับระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจะนำเสนอต่อเป็นตอนที่ ๔

เอกสารอ้างอิง

ข้อมูลเกี่ยวกับข้อเสนอของคณะกรรมการกลางในการจัดทำแผนห้าปี ฉบับที่ ๑๔

สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของจีนและเป้าหมาย

ระยะยาวสำหรับปี พ.ศ.๒๕๗๘

จากเว็บไซต์ https://finance.sina.cn/2020-11-04/detailiiznctkc9361778.d.html?from=wap

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

23


“ชีวิตต้องดำเนินต่อไป”

พลตรี ดร.ดิเรก ดีประเสริฐ

ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารบก

ถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙

(COVID-19) หรือโควิด-๑๙ ทั้งโลกยังมีการแพร่ระบาดติดเชื้อ

เพิ่มขึ้นทุกวัน มีทั้งคนเจ็บและคนเสียชีวิตมากขึ้นตามลำดับ รวมทั้ง

การแพร่ระบาดติดเชื ้อไวรัสตัวนี้ในประเทศไทยด้วย แม้ว่าการ

วิเคราะห์เชิงลึกจะพบว่า การติดเชื้อของคนไทยเองมีอัตราที่ลดลง

มาเป็นลำดับ แต่ก็ยังไม่สามารถไว้ใจในสถานการณ์ดังกล่าวได้

ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะสิ่งมีชีวิตตัวใหม่นี้เป็นสิ่งมีชีวิตพันธุ์ใหม่ล่าสุด

ที่บังเกิดขึ้นมาร่วมกับมนุษยชาติบนโลกใบนี้

ด้วย ณ วันนี้ ความรู้ ความเข้าใจที่ถ่องแท้กับความเป็นมาและ

เป็นไปของไวรัสตัวนี้ จึงยังคงเป็นความคลุมเครือที่นักชีววิทยาและ

นักการแพทย์ทั่วโลกกำลังค้นหาคำตอบที่ดำมืดของมันอยู่ และไม่มี

ใครอาจหาญทำนายความเป็นไปในอนาคตของการเผชิญหน้าของ

มนุษย์โลกกับสิ่งมีชีวิตพันธุ์ใหม่นี้ได้อย่างชัดเจน หากทำได้เพียงการ

คาดเดากันไปต่างๆ นานา และพยายามหาวิธีการปกป้องตัวเองของ

มนุษย์ให้รอดพ้นจากเงื้อมมืออันโหดร้ายของไวรัสใหม่ตัวนี้ให้ได้

มากที่สุด

ในขณะที่มนุษย์ทั่วโลกต่างตื่นตระหนกกับมหันตภัยร้ายที่

มนุษย์กำลังถูกคุกคามความปกติสุขกันอย่างทั่วหน้านี้ โดยมียอด

24

ผู้ติดเชื้อทั่วโลกมากกว่า ๑๐๐ ล้านราย และจะมีผู้ติดเชื้อมากขึ้นเรื่อยๆ

โดยประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดในโลก

๒๐ กว่าล้านคน รองลงมาคือ ประเทศอินเดีย บราซิล รัสเซีย สหราช

อาณาจักรหรืออังกฤษ ฝรั่งเศส และอีกหลายๆ ประเทศทั่วทุกมุมโลก

โดยประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อจากไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้เป็นลำดับที่ ๑๐๐

กว่าของโลก มหันตภัยร้ายโควิด-๑๙ ส่งผลให้ตลอดทั้งปี ๒๕๖๓

ที่ผ่านมา จวบจนต้นปี ๒๕๖๔ นี้ การดำเนินชีวิตของคนไทยรวมถึง

ผู้คนทั่วโลก จึงต้องปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วโดยไม่ทันตั้งตัว สู่ยุคที่

เรียกว่า การดำเนินชีวิตบนความปกติใหม่หรือ “New Normal”

พลตรี ดร.ดิเรก ดีประเสริฐ


ไม่เพียงระบบการสาธารณสุขที่เกิดวิกฤตครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์

แต่ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจกับมาตรการล็อกดาวน์ต่างๆ ที่ทำให้ธุรกิจ

สถานประกอบการ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว โรงแรม ธุรกิจ

สายการบิน ร้านค้าในแหล่งท่องเที่ยว ต้องหยุดกิจการ ผู้คนตกงาน

นับล้าน เศรษฐกิจทั่วโลกซบเซาต่อเนื่อง ซึ่งนั่นจะไม่ใช่ทางออกของ

การแก้ปัญหาจากภัยคุกคามตัวใหม่นี้ร่วมกันในเวลาที่นานนัก เพราะ

การทำธุรกิจ การทำมาหาเลี้ยงชีพ การประกอบกิจการใดๆ ของ

มนุษย์ยังต้องดำเนินอยู่ต่อไปไม่เพียงแต่หยุดอยู่นิ่งๆ ที่เรียกว่าหยุด

กิจกรรมใดๆ เพื่อชาติแม้ว่ายาปฏิชีวนะในการป้องกันโรคร้ายนี้กำลัง

เป็นความหวังเดียวที่มนุษย์กำลังไขว่คว้า เพื่อให้การดำเนินชีวิต

กลับมาเป็นอย่างเดิมเหมือนที่เคยเป็น

หากแต่ว่า วิถีชีวิตแบบเดิมนั้น ย่อมเป็นไปได้ยาก แม้จะ

พยายามหาวัคซีนป้องกันไวรัสตัวนี้ได้ แต่ก็มีการยอมรับว่าไวรัสตัวนี้

จะไม่หยุดนิ ่ง และมันจะพัฒนาตัวเอง หรือที่เรียกว่า กลายพันธุ์

เพื่อการดำรงชีวิตของมันอยู่ต่อไปอย่างไม่หยุดนิ่ง และก็ยังไม่ใคร่ให้

หลักประกันในความปกติที่เป็นแบบเดิมของชีวิตผู้คนให้กลับมาอีก

ครั้งได้ การดำเนินชีวิตของผู้คนทุกสังคมจึงจำต้องปรับเปลี่ยน เพื่อ

ให้การดำเนินชีวิตยังต้องดำเนินต่อไปท่ามกลางความไม่ปกติใหม่นี้

ไปให้ได้

ในเวลานี้ เราจึงได้เห็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่มนุษย์พยายามคิดค้น

หาสิ่งใหม่มาป้องกันรักษาชีวิตให้รอดพ้นจากการตกเป็นเหยื่อของ

ไวรัสร้ายตัวนี้ตลอดเวลาเช่นกัน การคิดค้นนวัตกรรมต่างๆ ออกมา

ป้องกันโรคโควิด-๑๙ ในยามที่อุปกรณ์ขาดแคลนไปทั่วโลก ไม่ว่าจะ

เป็นเครื่องวัดอุณหภูมิอัตโนมัติรูปแบบต่างๆ เช่น ประตูวัดอุณหภูมิ

เครื ่องวัดอุณหภูมิแบบอ่านใบหน้า ฉากกันเชื้อโรค ชุดตรวจหาเชื ้อ

ไวรัสโควิด-๑๙ หุ่นยนต์ส่งอาหาร ยา เวชภัณฑ์ จากหลายสถาบัน

การศึกษา เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์คนไข้ มีระยะห่างทางกายภาพ

และนวัตกรรมอื่นๆ อีกมากมาย หน้ากากป้องกันโรคแบบผ้า เพื่อ

บรรเทาปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ รวมทั้ง

เรายังเห็นความร่วมมือร่วมใจของคนไทย ที่มีการสอนทำเจล

แอลกอฮอล์แบบง่าย และช่วยกันทำแจกจ่ายไปยังสถานศึกษาและ

หน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศ

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ ในวงกว้างทำให้ผู้คน

ทั่วโลก เห็นถึงความสำคัญของการดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคภัย

ต่างๆ มากขึ้น การดำเนินชีวิตของทุกภาคส่วนในสังคมที่ต้องดำเนิน

ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเด็กและเยาวชนหรือผู้คนในสังคมที่ต้องมีการ

เข้ารับการศึกษาในสถานศึกษาที่ระบบการศึกษาแบบออนไลน์ไม่อาจ

นำมาทดแทนระบบการเรียนการสอนแบบปกติอย่างมีประสิทธิภาพ

ได้ การเดินหน้าทำงานของทั้งภาครัฐ และภาคธุรกิจในทุกสาขาอาชีพ

ที่การทำงานแบบออนไลน์หรือที่เรียกกันว่า Work From Home นั้น

ไม่อาจทดแทนการทำงานในสถานที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้

รวมถึงในการดำรงอยู่ของผู้คนในโลกใบนี้ที่ต้องอยู่ร่วมกันในสังคม

อยู่ต่อไปอย่างไม่อาจแยกอยู่โดดเดี่ยวได้

จากบทเรียนใหม่ในโลกวันนี้ กำลังสั่งสอนมนุษย์โลกไม่ว่าจะ

เป็นคนในชาติหรือศาสนาใดให้รับรู้และตระหนักว่า ต่อแต่นี้เป็นต้นไป

มนุษย์ทุกชาติทุกภาษา ทุกสาขาอาชีพ จึงต้องยอมรับและปรับตัว

ในรูปแบบที่เรียกกันว่า ความปกติใหม่ (New Normal) เพื่อแสวงหา

หนทางในการอยู่และต่อสู้กับไวรัสโควิด-๑๙ นี้ให้ได้ เพราะสิ่งมีชีวิต

ตัวนี้ จะคงอยู่กับมนุษย์บนโลกใบนี้ต่อไปอีกนานแสนนาน การใช้

ทางออกด้วยการ งอมือ งอเท้า หยุดกิจกรรมทุกอย่าง หยุดการไปมา

หาสู่ หยุดการทำงานที่มีคุณภาพ (ในรูปแบบใหม่) หยุดการเรียนรู้

ด้วยระบบการศึกษาในโรงเรียน (ในรูปแบบใหม่) จึงเป็นทางออกเพียง

ชั่วครู่ชั่วยาม เพราะมันจะบั่นทอนการดำเนินชีวิตมนุษย์ให้พังทลาย

ลงในทุกๆ ด้าน ถึงวันนี้ มนุษย์จึงต้องตระหนักถึงการปรับเปลี่ยน

และแสวงหาวิถีชีวิตใหม่ๆ ที่จะอยู่และสู้กับไวรัสตัวนี้ให้ได้เพราะชีวิต

คือการเปลี่ยนแปลง ปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ชีวิตคือการต่อสู้

กับภัยคุกคามทุกรูปแบบ และทุกชีวิตมนุษย์ยังต้องดำเนินต่อไป

ในอนาคต

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

25


นโยบายของกระทรวงกลาโหม

ในด้านการปฏิรูปกองทัพ

และการส่งเสริมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

โยบายของกระทรวงกลาโหมในด้านการปฏิรูปกองทัพและ

การส่งเสริมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลนั้น ประกอบ

ไปด้วย การบูรณาการความร่วมมือและการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงาน

ทั้งภายในและภายนอกกระทรวงกลาโหม ตลอดจนทุกภาคส่วน

โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง พร้อมทั้งการประเมินผลงานของหน่วย

จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตัวจริงและการท ำงานเชิงรุก มีเป้าหมายที่ชัดเจน

เพื่อพัฒนากองทัพให้มีความทันสมัยรองรับภารกิจที่มีความซับซ้อน

หลากหลาย และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วภายใต้ภารกิจ “รวมไทย

สร้างชาติ” โดยมุ่งเน้นให้กองทัพมีความเข้มแข็ง โปร่งใส ยุติธรรม และ

เป็นที่พึ่งของประชาชนได้ในทุกโอกาส

ในการศึกษาแนวทางการปฏิบัติของกระทรวงกลาโหม เพื่อ

รองรับฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) จำเป็นต้องให้ครอบคลุม

ทุกมิติ อาทิ ด้านกำลังพล ด้านการข่าว และการรักษาความปลอดภัย

ด้านยุทธการและการฝึกศึกษา ด้านการส่งกำลังบำรุง ด้านกิจการ

พลเรือน ด้านงบประมาณ และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยคำนึงถึง

การเพิ่มระยะห่างทางกายภาพ มาตรการด้านสุขอนามัยอย่าง

สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อดำรงความพร้อมและ

26

ขีดความสามารถในการปฏิบัติการ ตลอดจนปรับปรุงรูปแบบการ

ทำงาน การปฏิบัติงานเหลื่อมเวลา การจัดผลัดการทำงานอย่าง

รอบคอบ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

สำหรับการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการของ

กระทรวงกลาโหมและกำลังพลให้มีขนาดเหมาะสมมีขีดความสามารถ

เข้มแข็ง มีความยืดหยุ่น คล่องตัวนั้น ต้องสอดคล้องกับการบริหาร

ราชการยุคใหม่รวมทั้งมีการพัฒนากลไกการบริหารจัดการความมั่นคง

แบบองค์รวม ตลอดจนพัฒนาการให้บริการภาครัฐที่สามารถอำนวย

ความสะดวกในการบริการด้านการสัสดี กำลังพลสำรอง และบริการ

ทางการแพทย์ให้กับประชาชน โดยขจัดปัญหาอุปสรรค ข้อจำกัดด้าน

กฎหมายหรือกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง

รวดเร็ว ลดเวลา ลดขั้นตอนการให้บริการภาครัฐ ลดภาระประชาชน

ตลอดจนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของรัฐบาล

อย่างรวดเร็ว ถูกต้องชัดเจนในทุกช่องทาง ทั้งสื่อวิทยุโทรทัศน์ สิ่งพิมพ์

และสื่อสังคมออนไลน์

นอกจากนี้ยังได้มีการขยายผลการนำกำลังพลสำรองเข้าทำ

หน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราวจากหน่วยนำร่องที่กำหนดไว้ไปสู่หน่วย

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


กำลังรบและหน่วยสนับสนุนการรบให้มีผลการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

เพื ่อให้หน่วยมีกำลังพลในระดับปฏิบัติการที ่มีความแข็งแรงและความ

สดชื่นเข้ามาปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ลดภาระผูกพัน

งบประมาณด้านบุคลากรและแก้ไขปัญหากำลังพลสูงอายุในหน่วย

พร้อมทั้งพิจารณานำทหารกองประจำการที่ปลดจากกองประจำการ

แล้ว เข้ามาทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราวในอนาคตเพิ่มเติม เพื่อเพิ่ม

ความหลากหลาย ในการคัดเลือกและสร้างแรงจูงใจให้ชายไทยสมัคร

เข้าเป็นทหารกองประจำการ รวมถึงพิจารณาปรับปรุงแนวทางการ

ดำเนินการและแก้ไขระเบียบเพื่อให้เกิดความเหมาะสม สอดคล้องกับ

การบริหารจัดการกำลังพลในภาพรวม

การเร่งรัดการนำข้าราชการพลเรือนกลาโหมมาบรรจุรับราชการ

เพื่อทดแทนการบรรจุกำลังทหารประจำการ โดยพิจารณาให้ครอบคลุม

ทุกส่วนราชการของกระทรวงกลาโหม และการบริหารจัดการกำลังพล

อื่นๆ ให้สอดคล้องกับการปรับโครงสร้างส่วนราชการและการปฏิรูป

ระบบงานด้านต่างๆ ของกระทรวงกลาโหมในส่วนที่ราชการขาดแคลน

ในตำแหน่งที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะหรือตำแหน่งที่ใช้ความชำนาญ

พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้สนับสนุนการปฏิบัติงาน เพื่อลด

การบรรจุกำลังพลโดยไม่จำเป็น

ทั้งนี ้ในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของชาติของกระทรวงกลาโหม

ในด้านการพัฒนาประเทศ การบรรเทาภัยพิบัติ และการช่วยเหลือ

ประชาชนนั้น มีเป้าหมายเพื่อให้ประเทศไทยเอาชนะอุปสรรคและ

ความท้าทายต่างๆ เพื่อดำรงความต่อเนื่องในการสนับสนุนการแก้ไข

ปัญหาที่สำคัญของชาติ ปัญหาความเดือดร้อนและการพัฒนาคุณภาพ

ชีวิตของประชาชน อาทิ การให้การสนับสนุนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

เพื่อเร่งรัดการปราบปรามขบวนการค้ายาเสพติดทั้งในพื้นที่ภายในและ

พื้นที่ชายแดน การปราบปรามการลักลอบเล่นการพนันผิดกฎหมาย

การลดความเหลื่อมล้ำของสังคม หนี้นอกระบบ การค้ามนุษย์ การ

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

ก่อการร้ายอาชญากรรมข้ามชาติ และการป้องกันและปราบปราม

การกระทำผิดตามแนวชายแดนและทางทะเล

ดำรงความต่อเนื่องในการสนับสนุนการดำเนินการของศูนย์

บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙

(ศบค.) และศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความ

มั่นคง (ศปม.) รวมทั้งสนับสนุนในการอำนวยการจัดเตรียมพื้นที่กักกัน

โรคแห่งรัฐ (State Quarantine) และพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐทางเลือก

(Alternative State Quarantine) ตลอดจนให้ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง

ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรอบคอบ โปร่งใส และตรวจสอบได้

สนับสนุนรัฐบาลในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาด

ของโรคติดต่ออุบัติใหม่ และโรคติดต่ออุบัติซ้ำ รวมถึงให้การรักษา

พยาบาลแก่ผู้ป่วยด้วยการนำศักยภาพของกองทัพมาสนับสนุนการ

ดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการพัฒนาขีดความสามารถ

ด้านการแพทย์ของกองทัพและด้านต่างๆ เพื่อให้พร้อมเผชิญ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคระบาดในอนาคต

บูรณาการร่วมกับส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการ

จัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย โดยเฉพาะการป้องกันและลด

ผลกระทบจากสาธารณภัย และการให้ความช่วยเหลือประชาชน ได้อย่าง

ทันท่วงที รวมทั้งพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของกำลังพล

เครื่องมือและยุทโธปกรณ์ให้เป็นมาตรฐานสากล เพื่อให้การสนับสนุน

การป้องกันและการบรรเทาสาธารณภัยและการช่วยเหลือประชาชน

เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือกับมิตร

ประเทศและองค์การระหว่างประเทศ ในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

และการบรรเทาภัยพิบัติทั้งในกรอบอาเซียนและสหประชาชาติ

ให้การสนับสนุนการดำเนินการของกองอำนวยการรักษาความ

มั่นคงภายในราชอาณาจักร และศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์

ของชาติทางทะเลในการแก้ไขปัญหาของชาติและประชาชน ให้

ครอบคลุมในทุกมิติโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดน

ภาคใต้ที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาโดยสันติวิธีเสริมสร้างการพัฒนาในพื้นที่

ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนควบคู่กับการ

บังคับใช้กฎหมายอย่างยุติธรรมและเป็นธรรม และให้ความสำคัญกับ

การควบคุมสถานการณ์ให้เกิดความสงบ โดยมุ่งเน้นการปราบปราม

และสกัดกั้นการลักลอบค้ายาเสพติดและสิ่งผิดกฎหมายต่างๆ

ตลอดจนบูรณาการความร่วมมือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการบริหาร

จัดการพื้นที่ร่วมกัน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่สามารถดำรงชีวิตได้อย่าง

มีปกติสุขและเกิดความสงบเรียบร้อย และการแก้ไขปัญหาการ

ทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal

Unreported and Unregulated Fishing : IUU Fishing) อย่างยั่งยืน

โดยดำรงความต่อเนื่องในการประสานการปฏิบัติร่วมกับส่วนราชการ

อื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อเฝ้าระวังการกระทำผิดในรูปแบบต่างๆ ทางทะเล

อย่างใกล้ชิด รวมทั้งบังคับใช้กฎหมาย/ระเบียบที่มีอยู่อย่างจริงจัง

ซึ่งผลการปฏิบัติที่ผ่านมาถือได้ว่าการแก้ไขปัญหาต่างๆ มีความ

ก้าวหน้าเป็นอย่างมาก และสามารถลดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน

ได้เป็นอย่างดี

ข้อมูลจาก : นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

27


ที ่เกี

กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

่ยวข้องกับการซื้อขายออนไลน์กรณีการโฆษณา

พันเอก นิติน ออรุ่งโรจน์

ผู้อำนวยการกองแผนและกำลังพล กรมพระธรรมนูญ

ดิมเมื่อผู้ซื้อต้องการจะซื้อสินค้าใดก็จะต้องเดินทางไปเลือกซื้อสินค้า

ตามหน้าร้านที่มีการวางสินค้านำเสนอต่อลูกค้าแล้วตกลงทำซื้อขาย

ด้วยการชำระราคาและส่งมอบของตามปกติ แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยี

สารสนเทศได้พัฒนาก้าวไปข้างหน้า ระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ

ทำให้มีผู้ประกอบธุรกิจเป็นเจ้าของกิจการเองขายสินค้าออนไลน์

ไม่ว่าจะใช้ช่องทาง Website, Line, Facebook, Instragram, Twiiter,

WhatsApp สนองตอบความต้องการของผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ โดยผู้ซื้อ

เพียงแต่ลงรูปภาพสินค้า รายละเอียด คุณสมบัติ และราคาของสินค้า

ไว้ตามช่องทางดังกล่าว หากผู้ซื้อสนใจก็จะมีการติดต่อตามช่องทาง

ที่ผู้ซื้อระบุไว้เช่น inbox, line เป็นต้น ชำระราคาสินค้าด้วยการโอนเงิน

ให้ผู้ขายทางช่องทาง application ของธนาคาร แล้วส่งมอบของ

ต่อไป ส่งผลให้การซื้อขายสินค้าราคาถูกกว่าการซื้อขายสินค้า

ตามร้าน ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย เป็นที ่สนองตอบต่อความ

ต้องการของผู้ซื้อ

ในทางกลับกัน การซื้อขายสินค้าออนไลน์อย่างแพร่หลาย

ดังกล่าว เป็นช่องทางให้แก่ผู้ขายที่ไม่สุจริต หลอกลวง ใช้เทคนิคการ

โฆษณา ละเมิดต่อผู้ซื้อซึ ่งเป็นผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อและ

สั่งซื้อสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ได้รับสินค้าที่ไม่ตรงตามคุณสมบัติ

ที่เสนอขาย ได้รับสินค้าล่าช้า เสียหาย หรือไม่ได้รับสินค้า

28

มีปัญหาว่า มีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับการ

ซื้อขายออนไลน์กรณีการโฆษณาหรือไม่ ในปัจจุบันมีรัฐธรรมนูญ

ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดได้รับรองสิทธิของผู้บริโภคไว้ในมาตรา ๔๖

ว่าผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครอง และพระราชบัญญัติคุ้มครอง

ผู้บริโภค พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๔ ก็ได้รับรองสิทธิของผู้บริโภค

หลายประการ

ประการที่หนึ่ง สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนา

คุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ กล่าวคือ

ผู้บริโภคต้องได้รับทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าอย่างถูกต้อง ชัดเจน

ไม่เข้าใจผิดทำให้เลือกซื้อสินค้าโดยไม่เป็นธรรม

พันเอก นิติน ออรุ่งโรจน์


ประการที่สอง สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้า เช่น

ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าด้วยความสมัครใจ โดยไม่มีการจูงใจ

ที่ไม่เป็นธรรม

ประการที่สาม สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้า

เช่น ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับสินค้าที่ปลอดภัย มีคุณภาพ มาตรฐาน

ที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือทรัพย์สิน

ประการที่สี่ สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา เช่น

ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะทำสัญญาโดยไม่ถูกเอาเปรียบจากผู้ขายซึ่งเป็น

เจ้าของธุรกิจ

ประการที่ห้า สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย

นอกจากนี้ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.๒๕๒๒

มาตรา ๒๒ ได้กำหนดข้อห้ามในการโฆษณา โดยวางหลักว่า

การโฆษณาจะต้องไม่ใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค

หรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม

ข้อความที่ถือว่าเป็นข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค

หรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม ได้แก่

(๑) ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า

หรือบริการไม่ว่าจะกระทำโดยใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติ

หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันไม่เป็นความจริงหรือเกินความจริง หรือไม่ก็ตาม

(๒) ข้อความที่เป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำ

ผิดกฎหมายหรือศีลธรรม หรือนำไปสู่ความเสื่อมเสียในวัฒนธรรม

ของชาติ (๓) ข้อความที่จะทำให้เกิดความแตกแยกหรือเสื่อมเสีย

ความสามัคคีในหมู่ประชาชน

ที่พบมากในปัจจุบันคือ (๔) ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความ

จริง เช่น เทียบเคียงกับกรณีโรงพยาบาลของนายดำ (นามสมมติ) ระบุ

ในแผ่นพับโฆษณาว่า โรงพยาบาลของนายแดง (นามสมมติ) รับผู้ป่วย

ได้ ๒๕,๐๐๐ คน และเพิ่งเข้าร่วมโครงการประกันสังคม รวมทั้ง

มี ๑๕๐ เตียง ตลอดจนระบุว่า โรงพยาบาลของนายแดง ไม่มี

ประสบการณ์การบริหารงานโรงพยาบาลด้านโครงการประกันสังคม

ซึ่งความเป็นจริงแล้ว โรงพยาบาลของนายแดงมีจำนวนผู้ป่วยที่รับได้

๕๐,๐๐๐ คน มีเตียง ๔๐๐ เตียง และเข้าร่วมโครงการประกันสังคม

ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๕ จึงมีประสบการณ์ตั้งแต่ปีที่เข้าร่วมโครงการ

เป็นต้นมา โรงพยาบาลของนายดำจึงเผยแพร่แผ่นพับโฆษณาไม่ตรง

กับความจริงโดยมีเจตนาให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่า โรงพยาบาลของ

นายดำมีศักยภาพดีกว่า ใหญ่กว่า มีประสบการณ์มากกว่าโรงพยาบาล

ของนายแดง จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อความจริงโดยใช้ข้อความอันเป็นเท็จ

หรือโอ้อวดเกินความจริง ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๑๑๘/๒๕๕๓

ทั้งนี้ ผู้ที่โดยเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด

สภาพ คุณภาพ ปริมาณ หรือสาระสำคัญประการอื่นอันเกี่ยวกับสินค้า

ไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือผู้อื่น โฆษณาหรือใช้ฉลากที่มีข้อความ

อันเป็นเท็จหรือข้อความที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าอาจก่อให้เกิด

ความเข้าใจผิดเช่นว่านั้น มีความผิดฐานก่อให้เกิดความเข้าใจผิด

ในแหล่งกำเนิดเกี่ยวกับสินค้า พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค

พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๔๗

ตราบใดที่เทคโนโลยีสารสนเทศยังคงพัฒนารุดหน้า ก็ยังคงต้อง

มีการซื้อขายออนไลน์และปรับปรุงรูปแบบการซื้อขายออนไลน์

ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกท่านอย่างต่อเนื่อง จำเป็นอย่างยิ่งที่ท่าน

ผู้อ่านทุกท่านควรที่จะใช้สิทธิผู้บริโภคที่ทุกท่านมีคุ้มครองการซื้อขาย

ออนไลน์ของท่านผู้อ่านต่อไป

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

29


“งานวิจัยยุคโควิด-๑๙”

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม

นสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙

(COVID-19) นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยได้กลายเป็นบุคคล

สำคัญที่สุดที่ชาวโลกฝากความหวังไว้ในการผลิต คิดค้นยา หรือ

หนทางใดๆ ที่ทำให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

การพัฒนาวัคซีน Vaccine เพื ่อสร้างภูมิคุ้มกันจากโรคโควิด-๑๙

อย่างเช่น วัคซีน : mRNA-1273 วัคซีน : BNT162b2 วัคซีน :

ChAdOx1nCoV-19 วัคซีน : Corona Vac หรือวัคซีนอื่นๆ เป็นต้น

รวมถึงการวิจัยและพัฒนาเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ การ

สาธารณสุข ตลอดจนการพัฒนางานวิจัยทางด้านเศรษฐกิจและ

สังคมที่รองรับผลกระทบต่างๆ เช่น การว่างงาน การอพยพ

อาชญากรรม เป็นต้น

ในประเทศไทยนั้น ผลงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในการ

แก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ มีจำนวน

มากเช่นกัน ตัวอย่างเช่น เครื่องตรวจวินิจฉัย “ลักษณะทาง

พันธุกรรมและการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

๒๐๑๙ ในประเทศไทย” ปัญญาประดิษฐ์ในการประเมินการ

30

ใส่หน้ากากอนามัยของประชาชน รวมทั้งผลงานที่ได้รับรางวัล

การวิจัยแห่งชาติซึ่งเป็นรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำ

ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ได้แก่ “เครื่องผลิตละอองไฮโดรเจน

เปอร์ออกไซด์สำหรับฆ่าเชื้อ” จากคณะวิทยาศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ “ระบบบริการตู้อบฆ่าเชื้อ

ไวรัสแบบไฮบริดควบคุมผ่านอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

สำหรับการให้บริการบริเวณสถานที่สาธารณะ” จากคณะ

เทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา เป็นต้น

เมื่อกล่าวถึงการดำเนินการวิจัยและพัฒนาโครงการ

หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การระบาดของ

โควิด-๑๙ นั้น นักวิจัยจำเป็นจะต้องเข้าใจถึงบริบท นโยบาย

ทิศทาง ตลอดจนความต้องการผลงานที่สามารถตอบสนอง

กับความต้องการของผู้ใช้ ถึงแม้ว่าจะเป็นหน่วยงานทาง

ทหาร หรือภาคเอกชนก็ตาม ดังนั้นหน่วยงานทางด้านการ

วิจัยและพัฒนาทั้งภาครัฐและเอกชนจำเป็นจะต้องปรับเปลี่ยน

กลยุทธ์และกระบวนการบริหารงานวิจัยให้เทียบทันและตอบสนอง

ต่อความต้องการ และสอดคล้องกับมาตรฐานของสังคม

ศูนย์การวิจัยและพัฒนานานาชาติ หรือ International

Development Research Centre, IDRC แห่งประเทศแคนาดา

ได้ให้ข้อเสนอแนะที่ควรคำนึงในการทำงานวิจัยในช่วงสถานการณ์

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ สรุปใจความสำคัญได้ดังนี้

๑) ใครคือผู้กำหนดงานการวิจัย (Who sets the research

agenda?) นักวิจัยจะต้องพิจารณาถึงลำดับความสำคัญ ความเร่ง

ด่วนว่าจะดำเนินการในระดับไหน ระดับท้องถิ่นหรือระดับภูมิภาค

ตลอดจนมุมมองในท้องถิ่น การเกี่ยวเนื่องต่อระบบนิเวศ การ

บริหารความเสี่ยงและอคติในประชากรในชุมชนนั้นๆ

๒) วิจัยเพื่อใคร (Who is the research for?) นักวิจัยจะ

ต้องคำนึงว่า โครงการวิจัยที่จะจัดทำนั้นจะมีประโยชน์ต่อใครบ้าง

เช่น ผู้สนับสนุนทุน ผู้วิจัยและผู้เข้าร่วมการวิจัยอย่างไร และจะนำ

ผลงานวิจัยไปใช้เพื่อปรับปรุงความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของผู้ใช้ ชุมชน

และประชาชนทั่วไปได้อย่างไร

๓) ออกแบบงานวิจัยอย่างไร (How is research

designed?) โดยงานวิจัยจะต้องคำนึงในเรื่องดังนี้

๓.๑ การทำงานร่วมกับนักวิจัยท้องถิ่น โดยนักวิจัยใน

ท้องถิ่นจะทำงานในฐานะนักวิจัยร่วม มีสิทธิ์มีเสียงในการแสดง

ความคิดแบบเสมอภาค ไม่ใช่เป็นเพียงผู้รวบรวมข้อมูลเท่านั้น

๓.๒ มีความคล่องตัวและความปลอดภัย กล่าวคือ บริบท

ของงานวิจัยจะต้องมีความโปร่งใสและให้เสรีภาพในการทำการวิจัย

ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการทางด้านสาธารณสุขได้รวดเร็ว

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม


โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของนักวิจัยและคณะนักวิจัย เช่นกัน

๓.๓ วัฒนธรรม โดยนักวิจัยจะต้องเคารพและเข้าใจ

ต่อความต้องการและวัฒนธรรมในท้องถิ่น

๓.๔ ความยินยอม นักวิจัยจะต้องขอคำยืนยันอย่างเป็น

ทางการจากผู้เข้าร่วมการวิจัยและเป็นการร่วมการดำเนินโครงการ

วิจัยด้วยความสมัครใจ นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยจะต้องเข้าใจ

และทราบถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัย ความเสี่ยงและผลประโยชน์

ในการเข้าร่วม ผู้เข้าการวิจัยสามารถเปลี่ยนแปลงหรือถอนความ

ยินยอมได้ตลอดเวลาในระหว่างหรือหลังการวิจัย ในแง่ของความ

เป็นส่วนตัว นักวิจัยต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า ข้อมูลการวิจัยที่กล่าว

ถึงบุคคลจะจัดเก็บเป็นชั้นความลับ เว้นแต่ผู้เข้าร่วมจะยินยอมให้

เปิดเผยชื่อของตนในการศึกษาวิจัย

๓.๕ จริยธรรมการใช้ข้อมูลและนวัตกรรม หากมีการใช้

นวัตกรรมใหม่ๆ (เช่น ภาพถ่ายระยะไกล ข้อมูลขนาดใหญ่ และการ

อ้างอิงทางภูมิศาสตร์) นักวิจัยจะต้องพิจารณาถึงจริยธรรม กฎหมาย

ข้อบังคับที่จำเป็นและสำคัญ การใช้เทคนิคต่างๆ ในโครงการ จะ

ต้องคำนึงถึงการไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัว ข้อจำกัดทางกฎหมาย

กลไกทางสาธารณะและการได้รับการอนุญาตจากรัฐบาล เป็นต้น

๔) ใครเป็นเจ้าขององค์ความรู้ (Who owns the knowledge?)

หลังจากสิ้นสุดงานวิจัยและรวบรวมข้อมูลเสร็จแล้ว นักวิจัย

จะต้องพิจารณาว่าจะมีการแบ่งปันผลการวิจัยกับผู้เข้าร่วมการวิจัย

หรือไม่ ผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วมอย่างไร ตลอดกระบวนการวิจัยทั้งหมด

นักวิจัยจะต้องระบุอย่างชัดเจนถึงวิธีการเผยแพร่ผลการวิจัย และ

ตรวจสอบให้แน่ใจว่า การเลือกภาษาสำหรับการตีพิมพ์งานวิจัย

มีความเกี่ยวข้องอย่างไร นักวิจัยควรระบุอย่างชัดเจนว่า ผู้เข้าร่วม

การวิจัยสามารถเข้าถึงผลการวิจัยได้อย่างไร

สำหรับนักวิจัยทางทหารหรือบุคคลทั่วไปจะสังเกตได้ว่า งาน

วิจัยที่ท้าทายในช่วงโควิดนั้น จะเป็นงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์

และทางด้านคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จริยธรรมการวิจัยในคนจะมี

เงื่อนไข เช่น คุณค่าทางสังคม สัดส่วนของผลประโยชน์และอันตราย

หรือความเสี่ยง การทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การเลือก

สถานที่วิจัยที่เหมาะสม หรือการคัดเลือกผู้เข้าร่วมการวิจัยอย่าง

ยุติธรรม การตอบแทนผู้เข้าร่วมการวิจัยอย่างเหมาะสม หรือปัจจัย

เรื่องอื่นๆ ที่นักวิจัยจะต้องคำนึง ตัวอย่างชื่อบทความข้างล่างนี้

เป็นบทความยอดนิยมจำนวน ๑๐ บทความ ที่แนะนำให้นักวิจัยได้

ศึกษาถึงกระบวนการวิจัยและการดำเนินการวิจัยที่ได้รับความนิยม

จากผู้อ่าน เพื่อกระตุ้นให้มีแนวคิดต่อการดำเนินการวิจัยต่อไป

1) Molecular and serological investigation of 2019-

nCoV infected patients: implication of multiple shedding

routes (Wei Zhang et al.)

2) Evaluation of a COVID-19 IgM and IgG rapid test;

an efficient tool for assessment of past exposure to

SARS-CoV-2 (Tove Hoffman et al)

3) No credible evidence supporting claims of the

laboratory engineering of SARS-CoV-2 (Shan-Lu Liu et al)

4) Genomic characterization of the 2019 novel

human-pathogenic coronavirus isolated from a patient

with atypical pneumonia after visiting Wuhan (Jasper

Fuk-Woo et al)

5) Hypothesis for potential pathogenesis of SARS-

CoV-2 infection–a review of immune changes in patients

with viral pneumonia (Ling Lin et al)

6) Maximator: European signals intelligence

cooperation, from a Dutch perspective. (Bart Jacobs)

7) Pandemics, tourism and global change: a rapid

assessment of COVID-19 (Stefan Gössling et al)

8) Laboratory diagnosis of emerging human

coronavirus infections – the state of the art (Michael J.

Loeffelholz et al)

9) Meat and mental health: a systematic review of

meat abstention and depression, anxiety, and related

phenomena Meat & health (Urska Dobersek)

10) Emerging COVID-19 coronavirus: glycan shield

and structure prediction of spike glycoprotein and its

interaction with human CD2 (Naveen Vankadari)

อ้างอิง https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7048229/

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

31


สถานการณ์ความมั ่นคง

ในอินโดนีเซีย ปี ๒๐๒๑

(สงครามนอกแบบ : มิติการก่อการร้าย)

พันเอก พิศาล อมรรัตนานุภาพ

รองผู้อำนวยการกองข่าวความมั่นคง สำนักข่าวกรอง กรมข่าวทหาร

นั

อิหม่ามริเซียก ซีฮับ (Rizieq Shihab) “Habib Rizieq” ผู้นำของกลุ่มแนวร่วมพิทักษ์อิสลาม (FPI)

บตั้งแต่เกิดสงครามเย็น พ.ศ.๒๔๘๘ - ๒๕๓๔ (Cold War

1945 - 1991) ภูมิภาคอาเซียน (ASEAN) จัดเป็นพื้นที่ทาง

ยุทธศาสตร์ที่สำคัญทั้งทางด้านเศรษฐกิจและด้านการทหารที่

มหาอำนาจโลกต่างพยายามที่จะเข้ามารับบทบาทการเป็นผู้ครอง

อำนาจนำในภูมิภาค (Regional Hegemon) และดำเนินยุทธศาสตร์

แทรกแซงกิจการประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบัน

มหาอำนาจ - สหรัฐฯ และจีน - พยายามชิงความได้เปรียบผ่านการ

ใช้ขีดความสามารถที่มีเพื่อสร้างความสมดุล (rebalance) ซึ่งในมิติ

ด้านการทหารในการทำสงครามตามแบบ (Conventional

Warfare) แม้ว่าจีนจะเร่งพัฒนาศักยภาพทางทหาร แต่ยังนับว่า สหรัฐฯ

ได้รับการพัฒนาด้านศักย์สงครามที่ยากต่อการเผชิญหน้าในสงคราม

ตามแบบ อีกทั้งได้ทำการขีดวงปิดล้อมการขยายอิทธิพลของจีนด้วย

ยุทธศาสตร์ “การปักหมุดเอเชีย (Pivot to Asia)” ที่เป็นการเพิ่ม

แสนยานุภาพทางทหารในภูมิภาคเอเชียอย่างชัดเจน เพื่อเป็นการ

ถ่วงดุลประเทศจีน จึงใช้จุดแข็งตามหลักของสงครามนอกแบบ ใน

มิติด้านเศรษฐกิจจึงได้ดำเนินกลยุทธ์ผ่านยุทธศาสตร์ “หนึ่งแถบ

หนึ่งเส้นทาง (One Belt, One Road - อี้ไต้อี้ลู่)” ซึ่งเป็นการนำ

ประเทศในภูมิภาคฯ เป็นสมาชิกบนขบวนรถไฟสินค้าที่สามารถ

เชื่อมต่อความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจทั่วโลก ในขณะที่ทุกสายตา

กำลังจับจ้องไปที่ยุทธศาสตร์ระดับมหภาค (Macro) ทว่าประเด็นที่

น่าสนใจของภูมิภาคอาเซียนกลับเป็นปัญหาทางจุลภาค (Micro)

ในมิติด้านความมั่นคงอันเนื่องมาจากภัยคุกคามจากการก่อการร้าย

32

พันเอก พิศาล อมรรัตนานุภาพ


อิหม่ามอาบู บาการ์ บาเชียร์ (Abu Bakar Bashir) แกนนำ จามาอะห์

อันซอรุต เตาฮิด (Jamaah Anshorut Tauhid: JAT)

ประจำถิ่นที่ได้ผันตนเองไปร่วม/เป็นเครือข่ายกับองค์กรก่อการร้าย

สากลซึ่งอาจกล่าวได้ว่า นอกจากเป็นปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข

แล้ว ยังเกิดปรากฏการณ์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขนาดความเข้มข้นที่เปรียบ

เสมือนทฤษฎีผลกระทบลูกหิมะ (Snowball-effect) กล่าวคือการ

สะสมมวลของปัญหาตามเวลาที่สั่งสมมาและทวีความรุนแรงและ

ขยายวงกว้างมากขึ้นหากไม่มีสิ่งใดมาขวางกั้น โดยกลุ่มก่อการร้าย

ในภูมิภาคฯ มีจำนวนหลายกลุ่มกระจัดกระจายไปทั่วทุกพื้นที่ซึ่ง

แต่ละกลุ่มล้วนมีเป้าหมายในการเคลื่อนไหวที่แตกต่างกันไป อาทิ

ในฟิลิปปินส์ที่มีกลุ่มก่อการร้ายที่สำคัญ อาทิ กลุ่มแนวร่วมปลด

ปล่อยอิสลามโมโรที่มีเป้าหมายที่แบ่งแยกดินแดงเพื่อจะปกครองใน

ลักษณะเขตปกครองพิเศษ “ภูมิภาคปกครองตนเองในเขตมุสลิม

มินดาเนา” (Autonomous Region in Muslim Mindanao)

ในขณะที่กลุ่มก่อการร้ายอาบูเซยาฟ (Abu Sayyaf group: ASG)

ต้องการแยกตัวเป็นอิสระจากรัฐบาลฯ และได้ประกาศสวามิภักดิ ์

เข้าร่วมกับกลุ่มก่อการร้ายไอซิส เพื่อมุ่งหน้าไปสู่การสถาปนา

รัฐอิสลาม ภายใต้การปกครองโดยผู้นำทางจิตวิญญาณเพียงหนึ่งเดียว

ซึ่งวัตถุประสงค์ของกลุ่มก่อการร้ายอาบูเซยาฟมีความเหมือนกับ

กลุ่มก่อการร้ายในอินโดนีเซีย ทั้งนี้แม้ว่าในอาเซียนยังคงมีความ

เคลื่อนไหวของกลุ่มก่อการร้ายหลายกลุ่มแต่ในบทความนี้เลือกที่จะ

นำเสนอความเคลื่อนไหวในอินโดนีเซียสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์

สำคัญในการปล่อยตัวแกนนำ/ผู้นำทางจิตวิญญาณที่สำคัญของกลุ่ม

อนุรักษ์นิยมในประเทศ

ประเทศอินโดนีเซียมีประชากรประมาณ ๒๕๓ ล้านคน ซึ่ง

มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีประชากรชาวมุสลิมมาก

ที่สุดในโลก โดยประมาณร้อยละ ๘๐ เป็นชาวมุสลิมนิกายซุนหนี่

และมุสลิมสายกลาง โดยความหลากหลายทางศาสนาถูกกำหนดไว้

ในรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่มีความเชื่อมโยงที่สำคัญใน

มุมมองด้านความมั่นคงเรื่องการก่อการร้ายสามารถแบ่งออกเป็น ๓

ประการคือ ๑) เป็นพื้นที่ปฏิบัติการ/ค่ายฝึกที่มีการเคลื่อนไหวของ

กลุ่ม/เครือข่ายกลุ่มก่อการร้ายและกลุ่มมุสลิมอนุรักษ์นิยมเคร่ง

ศาสนาอย่างต่อเนื่อง อาทิ กลุ่มอัล-กออิดะห์ (Al-Qaeda) กลุ่มแนว

ร่วมพิทักษ์อิสลาม (Islamic Defenders Front: Front Pembela

Islam: FPI) และกลุ่มเจะมะห์ อิสลามิยาห์ (Jemaah Islamiyah)

โดยตั้งแต่ยุค ๑๙๘๐ มีการใช้เป็นพื้นที่ให้การสนับสนุนด้านกำลัง

พลและการฝึกเพื ่อสนับสนุนภารกิจต่อต้านกองทัพโซเวียตใน

อัฟกานิสถาน ๒) เป็นพื้นที่เป้าหมายในการโจมตีจากการก่อการร้าย

หลายครั้ง เช่น แหล่งท่องเที่ยวในบาหลีในปี พ.ศ.๒๕๔๕ เหตุโจมตี

แผนที่แสดงจำนวนกลุ่มนักรบหัวรุนแรง (FTFs) ที่เข้าร่วมกลุ่มไอซิส (ISIS) ในการก่อเหตุในตะวันออกกลาง

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

33


กลุ่มหัวรุนแรงในอินโดนีเซียจัดชุมนุมสนับสนุน

กลุ่มก่อการร้ายไอซิส (ISIS) ๒๐๑๖

โรงแรม เจดับบลิว แมริออท ปี ๒๕๔๖ และการโจมตีร้านสตาร์บัค

ณ กรุงจาการ์ตา ในปี พ.ศ.๒๕๕๙ จากตัวอย่างพบว่าเครือข่าย

ก่อการร้ายในอินโดนีเซียมีการมุ่งเป้าไปที่แหล่งผลประโยชน์และ

นักท่องเที ่ยวชาวตะวันตก ๓) เป็นพื้นที่เคลื่อนไหวของกลุ่มผู้นิยม

ความรุนแรงแบบสุดโต่งยุคใหม่ที่สำคัญในภูมิภาคอาเซียนอย่างเปิด

เผยและแพร่หลาย ซึ่งบุคคลเหล่านี้ได้มีการสาบานตนเข้าสวามิภักดิ์

ต่อกลุ่มก่อการร้ายสากลและได้เข้าร่วมก่อเหตุรุนแรงในต่างแดน

เช่น การเข้าร่วมกลุ่มไอซิสในสมรภูมิซีเรีย ภายใต้ชื่อกลุ่มกองกำลัง

คาติบาห์ นูซันตารา (Katibah Nusantara)

สิ่งบอกเหตุแนวโน้มสถานการณ์

เหตุการณ์โจมตีเมืองหลวงของอินโดนีเซีย เมื่อ ๑๔ มกราคม

๒๕๕๙ นับว่าเป็นการก่อวินาศกรรมกลางกรุงครั้งที่รุนแรงที่สุด และ

เป็นจุดเริ่มต้นของการก่อการร้ายอย่างเป็นทางการในภูมิภาค

อาเซียน เหตุการณ์ครั ้งนั้นส่งผลให้หน่วยงานด้านการต่อต้านการ

ก่อการร้ายในภูมิภาคถูกปลุกให้ต้องตื่นขึ้นเพื่อรับมือกับภัยคุกคามฯ

อย่างเต็มรูปแบบอีกครั้ง ซึ่งเป็นสิ่งบอกเหตุว่า แม้ว่าความพยายาม

ของหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายที่นับว่าเป็นหน่วยงานที่มี

ประสิทธิภาพสูงจะสามารถจับกุม อิหม่ามอาบู บาการ์ บาเชียร์

(Abu Bakar Bashir) แกนนำคนสำคัญของกลุ่มก่อการร้ายเจะมะห์

อิสลามิยาห์ ที่มีสายสัมพันธ์กับอัล-กออิดะห์ และเครือข่ายจำนวน

มากอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้กระนั้นก็ยังไม่สามารถยับยั้งอุดมการณ์ของ

แนวร่วมลงได้ เนื่องจากการก่อเหตุรุนแรงยังคงปรากฏด้วยวิธีที่

หลากหลายจากการกระทำของกลุ่มติดอาวุธหลายกลุ่มและได้ขยาย

ไปสู่ประชาชนที่มีแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยมที่บางรายมิได้อยู่ในบัญชี

รายชื่อในกลุ่มก่อการร้าย อาทิ เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๒

นายวิรันโต รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงของอินโดนีเซีย ได้ถูกลอบ

ทำลายด้วยอาวุธมีดโดยผู้ก่อเหตุกระทำในลักษณะ “Lone Wolf”

(ผู้ก่อเหตุโดยลำพัง/ไม่ระบุความเชื่อมโยงต่อกลุ่มใด) ดังจะเป็นที่

ประจักษ์แล้วว่าในขณะรัฐบาลจาการ์ตา พยายามทุ่มเทที่จะทลาย

เครือข่ายของกลุ่มก่อการร้ายแต่สงครามครั้งนี้ยังคงยากที่จะสงบลง

ภายในระยะเวลาอันสั้นเนื่องจากครั้งนี้เป็นสงครามแห่งอุดมการณ์/

ความเชื่อ (Ideology Warfare) ซึ่งแม้ว่าความพยายามที่ผ่านมานั้น

ยากลำบาก แต่นับจากนี้ (ปี ๒๐๒๑) หน่วยงานด้านความมั่นคงจะ

ต้องเจอกับอุปสรรคครั้งใหญ่มากขึ้นจากการปล่อยตัวผู้นำทางจิต

วิญญาณ/แกนนำระดับสั่งการสูงสุดของเครือข่ายกลุ่มก่อการร้าย

และกลุ่มอนุรักษ์นิยมหัวรุนแรง จำนวน ๒ คน ได้แก่

๑) นายริเซียก ซีฮับ (Rizieq Shihab) “Habib Rizieq” ผู้นำ

ของกลุ่มแนวร่วมพิทักษ์อิสลาม (FPI) ซึ่งเป็นกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่

ต่อต้านการปกครองระบอบประชาธิปไตย และเรียกร้องให้รัฐบาลฯ

34

พันเอก พิศาล อมรรัตนานุภาพ


นำกฎหมายอิสลาม (Sharia Islamic Law) มาบังคับใช้ อีกทั้ง

สนับสนุนให้แนวร่วมก่อเหตุรุนแรงกับชนกลุ่มน้อยและผู้นับถือ

ศาสนาอื่นซึ่งรัฐบาลซาอุดีอาระเบียที่ได้ทำการจับกุมตัว ๓ ปีก่อน

โดยเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ทำการยกฟ้องและปล่อยตัว

ซึ่งในการกลับสู่มาตุภูมิมีกลุ่มผู้สนับสนุนให้การต้อนรับจ ำนวนหลาย

แสนคน ซึ่งเป็นสิ่งบอกเหตุว่า อิหม่ามริเซียกฯ ยังคงเป็นศูนย์รวม

ทางจิตวิญญาณของกลุ่มอนุรักษ์นิยมเหล่านี้ต่อไป

๒) นายอาบู บาการ์ บาเชียร์ (Abu Bakar Bashir) ซึ่งเป็น

อดีตแกนนำกลุ่มเจะมะห์ อิสลามิยาห์ (Jemaah Islamiyah) และ

ต่อมาได้ก่อตั้งกลุ่มจามาอะห์อันซอรุต เตาฮิด (Jamaah Anshorut

Tauhid: JAT) ที่อยู่เบื้องหลังการวางระเบิดบนเกาะบาหลี และเหตุ

ระเบิดโจมตีโรงแรมเจดับบลิว แมริออท เมื่อปี ๒๕๔๕ และ ๒๕๔๖

ตามลำดับ โดยขณะรับโทษได้ประกาศออกสื่อสาธารณะว่าตนเอง

ได้สาบานตนเข้าร่วมสวามิภักดิ์กับกลุ่มก่อการร้ายไอเอสและสั่งการ

ให้สมาชิกกลุ่มจามาอะห์ อันซอรุต เตาฮิด ให้การสนับสนุนการ

ดำเนินการต่างๆ ซึ่งนายบาเชียร์ฯ ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ

กูนังซินดูร์ของอินโดนีเซียเมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๖๔

วิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มการก่อการร้าย

ในการจัดตั้งกลุ่มและเครือข่ายแกนนำสูงสุดของกลุ่มแนวร่วม

พิทักษ์อิสลาม และกลุ่มจามาอะห์ อันซอรุต เตาฮิด มีขีดความ

สามารถเอาชนะในสงครามอุดมการณ์ โดยทั้ง ๒ กลุ่มต่างมี

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

วัตถุประสงค์ร่วมกัน หากทำการวิเคราะห์ตามหลัก

การทหาร และมีสิ่งบอกเหตุซึ่งได้แก่ ๑) เจตนารมณ์

ผู้นำ : อิหม่ามริเซียกและอิหม่ามบาเชียร์ ล้วนมีการ

แสดงออกอย่างชัดเจนที่ต้องการนำประเทศไปสู่การ

ปกครองตามแบบอนุรักษ์นิยม การต่อต้านรัฐบาล

อินโดนีเซียที่ไม่เคร่งครัดต่อหลักศาสนา (the Indonesian

state is a tyrannical unIslamic regime)

และยืนหยัดในการประกาศข้อเรียกร้องแบบไม่มี

เงื่อนไข โดยต้องการให้รัฐบาลฯ ต้องมาจากการ

คัดสรรของสภาซูเราะฮ์ (Shurah) และปกครอง

ประเทศภายใต้กฎหมายซาริอะห์ ๒) ขีดความ

สามารถ : กำลังพล/สมาชิกมีการเคลื่อนไหวและก่อเหตุ

ด้วยวิธีรุนแรงต่อผู้เห็นต่างฯ นับว่าเป็น “ญิฮาด

(ญะฮฺดุน)” ที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นหน้าที่ของสมาชิกฯ ทุกคน ที่นำไป

สู่การขยายขอบเขตความรุนแรง ซึ่งในขณะที่แกนนำถูกจับกุมแต่

สมาชิกที่มีมากกว่า ๑๐ ล้านคนทั่วประเทศยังคงเคลื่อนไหวก่อเหตุ

รุนแรงอย่างต่อเนื่อง ๓) จุดล่อแหลม : การปล่อยตัวให้แกนนำฯ

ที่ยังไม่ได้มีการเปลี่ยนอุดมการณ์ย่อมเป็นความเสี่ยงต่อการก่อเหตุ

รุนแรงในอินโดนีเซียต่อไปอย่างแน่นอน อีกทั้งยังมีสิ่งยืนยันการแจ้งเตือน

จากหน่วยงานด้านความมั่นคงหลายประเทศ อาทิ หน่วยต่อต้าน

การก่อการร้ายแห่งสหราชอาณาจักรและรัฐบาลออสเตรเลีย

ออกรายงานการแจ้งเตือนเมื่อเดือนมกราคม ๒๕๖๔ ที่สอดคล้อง

กันว่า อินโดนีเซียมีความเสี่ยงอยู่ในระดับที่สูงจากการถูกโจมตีโดย

กลุ่มก่อการร้าย และระบุให้ประชาชนของทั้ง ๒ ประเทศระมัดระวัง

ในการเดินทางเข้า-ออกอินโดนีเซีย โดยกลุ่มก่อการร้ายมีแผนที่จะ

ใช้ระเบิดพลีชีพในพื้นที่ที่มีประชาชนหนาแน่น สถานบันเทิงและ

แหล่งผลประโยชน์ของประเทศตะวันตก ดังนั้นสิ่งที่จะต้องติดตาม

ต่อไปว่าหลังจากการถูกปล่อยตัวของแกนนำทั้ง ๒ ท่านจะส่งผล

กระทบด้านความมั่นคงในอินโดนีเซียในมิติแห่งสงครามนอกแบบ

ต่อไปอย่างไร

References:

Department of Home Affairs (Australia), 2021, Ban on Overseas

Travel From Australia, 12 th January, viewed 1 st February 21

(https://www.smartraveller.gov.au/destinations/asia/indonesia)

UK Government (2021), Indonesia: Foreign travel advice:

Terrorism, viewed 1 st Feb 21 <https://www.gov.uk/foreigntravel-advice/indonesia/terrorism>

Fannin, R A 2019, Tech Titans of China, Nicholas Brealey Publishing,

London

Jones, S 2019, The Wiranto attack and the ISIS impact, Lowy Institute,

19 th Oct, Viewed 3 rd Feb 2021,<https://www.lowyinstitute.org/

the-interpreter/wiranto-attack-and-isis-impact>

Mahbubani, K 2020, Has China Won?, Hachette Book Group

Paddock, R C 2020, Polarizing Muslim Cleric Returns to Indonesia,

New York Times, 30 th Dec, viewed 1 st Feb 21 <https://www.

nytimes.com/2020/12/02/world/asia/indonesia-rizieq-muslim.

html>

35


ระบบป้องกันภัยทางอากาศ VL MICA (MBDA)

เปิดประตูสู่เทคโนโลยี

ป้องกันประเทศ

เปรียบเทียบคุณลักษณะ

ของระบบป้องกันภัยทางอากาศ

Iron Dome และ VL MICA

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ

36

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ


การโจมตีทางอากาศมีบทบาทต่อการทำสงครามเป็นอย่างมาก

ทำให้เกิดความเสียหายด้วยความรุนแรงและรวดเร็ว อีกทั้ง

เครื่องบินรบในปัจจุบันใช้เทคโนโลยีขั้นสูง มีระบบป้องกันตนเอง

สามารถปล่อยอาวุธนำวิถีโจมตีเป้าหมายได้ในระยะไกล รวมทั้ง

อากาศยานโจมตีไร้คนขับ (Unmanned Combat Aerial Vehicle:

UCAV) ที่มีความสามารถบินในระดับต่ำเข้ามาโจมตีเป้าหมายระยะใกล้

จึงทำให้ระบบป้องกันภัยทางอากาศ (Air Defence System) มีความ

สำคัญมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาระบบให้ทันต่อเทคโนโลยี

สมัยใหม่ดังกล่าว เพื่อให้มีความพร้อมสูงสุดในการป้องกันภัยทางอากาศ

ได้ทันท่วงที ในปัจจุบันมีระบบป้องกันภัยทางอากาศหลายรุ่น

ถูกผลิตและพัฒนาขึ้นในหลายประเทศ ได้แก่THAAD ของสหรัฐอเมริกา

VL MICA ของฝรั่งเศส S-400 ของรัสเซีย Iron Dome ของอิสราเอล

และ HQ-9 ของจีน เป็นต้น โดยแต่ละระบบมีคุณลักษณะเฉพาะ

และถูกออกแบบสำหรับการปฏิบัติการที่ระยะแตกต่างกัน

ในบทวิเคราะห์ฉบับนี้ จะเปรียบเทียบคุณลักษณะของระบบ

ป้องกันภัยทางอากาศ Iron Dome ของบริษัท Rafael Advanced

Defense Systems อิสราเอลที่เพิ่งส่งมอบล็อตที่สองให้กับกองทัพ

สหรัฐอเมริกา เมื่อต้นเดือนมกราคม ๒๕๖๔ กับระบบป้องกันภัยทาง

อากาศ VL MICA ของบริษัท MBDA Missile System ซึ่งเป็นบริษัท

ร่วมทุนของประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี สหราชอาณาจักร และอิตาลี

ที่ประจำการอยู่ในหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบกไทย

เมื่อปลายปี ๒๕๖๒

ระบบป้องกันภัยทางอากาศ Iron Dome

Iron Dome เป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยใกล้ที่มี

ประวัติการถูกใช้งานจริงมากกว่า ๒,๐๐๐ ครั้ง โดยมีความแม่นยำ

มากกว่าร้อยละ ๙๐ สามารถป้องกันฐานปฏิบัติการทางทหาร และพื้นที่

ชุมชนเมืองจากภัยคุกคามทางอากาศหลายรูปแบบ ได้แก่ ระบบอาวุธ

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

37


ระบบป้องกันภัยทางอากาศ Iron Dome (Refael)

ระบบป้องกันภัยทางอากาศ VL MICA

VL MICA เป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยใกล้ สามารถ

ป้องกันฐานปฏิบัติการทางทหาร พื้นที่ชุมชนเมือง โดยสามารถปกป้อง

ภัยคุกคามทางอากาศได้ ๓๖๐ องศา รวมทั้งเป้าหมายที่บินในระดับต่ำ

เช่น จรวดร่อน และลูกระเบิดนำวิถี ระบบดังกล่าวประกอบด้วยรถที่

บังคับการระบบเรดาร์ และแท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีอัตตาจร

ซึ่งสามารถยิงอาวุธปล่อยนำวิถี VL MICA RF ที่นำวิถีแบบ Active

Radar Homing หรือ VL MICA IR ที่นำวิถีแบบ Infrared [2]

C-RAM จรวดร่อน เป็นจรวดนำวิถีความแม่นยำสูง (Precise Guided

Missile: PGM) อากาศยาน และอากาศยานไร้คนขับ โดยระบบดังกล่าว

ประกอบด้วย ๓ ส่วนหลัก ได้แก่ ระบบตรวจจับและติดตามเป้าหมาย

ด้วยเรดาร์ (Detection & Tracking Radar) ระบบควบคุมอาวุธและ

อำนวยการรบ (Battle Management & Control: BMC) และหน่วย

ยิงอาวุธ (Missile Firing Unit) [1]

38

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ


ตาราง เปรียบเทียบคุณลักษณะของหลักของ Iron Dome และ VL MICA

คุณลักษณะ Iron Dome VL MICA ของ ทบ.

ขนาดของจรวด ความยาว ๓ ม. ความยาว ๓.๑ ม.

เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๖๐ มม.

เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๖๐ มม.

น้ำหนักจรวด (๑ ลูก) ๙๐ กก. ๑๑๒ กก.

ระยะปฏิบัติการ ๔ – ๗๐ กม. ๒๐ กม.

ส่วนนำวิถี Electro-Optical Active Radar Homing

Infrared

จำนวนท่อยิง ๒๐ นัดต่อแท่นยิง ๓ นัดต่อแท่นยิง

ระบบเรดาร์ IAI Elta Systems EL/M-2084 TRML-3D/32-6

Multimission Radar

ตรวจจับได้ไกล ๒๐๐ กม.

จากตารางจะเห็นว่าระบบป้องกันภัยทางอากาศ Iron Dome มี

พิสัยทำการและการเข้าต่อตีเป้าหมายได้ไกลถึง ๗๐ กิโลเมตร ซึ่งมากกว่า

VL MICA ที่มีระยะปฏิบัติการเพียง ๒๐ กิโลเมตร จึงมีความได้เปรียบ

ในการวางกำลังของหน่วยป้องกันภัยทางอากาศ ซึ่งสามารถใช้ชุดยิง

จำนวนน้อย แต่ครอบคลุมพื้นที่ได้เป็นบริเวณกว้าง อีกทั้ง Iron Dome

มีจำนวนนัดต่อท่อยิงมากกว่า VL MICA จึงสามารถยิงอาวุธปล่อยได้

จำนวนมากกว่า ในส่วนของระบบป้องกันภัยทางอากาศ VL MICA

มีจุดเด่นอยู่ที่ระบบจรวดที่ใช้เรดาร์แบบ Active

Radar Homing โดยหลังจากยิงออกจากแท่นยิง

เมื่อจรวดล็อกเป้าได้แล้ว สามารถนำวิถีไปยัง

เป้าหมายได้ด้วยตัวเองและมีความทนทานต่อการ

ถูกรบกวนสัญญาณ (Jamming)

อิสราเอลเป็นผู้พัฒนาและผลิตระบบ

ป้องกันภัยทางอากาศ Iron Dome สำหรับใช้งาน

ในประเทศของตน ที่มีภัยคุกคามในระดับสูงมาก

และมีโอกาสถูกโจมตีด้วยอาวุธหลายประเภท

หรือจรวดหลายๆ ลูก หลายทิศทางในเวลา

เดียวกันได้ตลอดเวลาจากประเทศรอบบ้าน

อิสราเอลจึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ระบบ

ป้องกันภัยทางอากาศที่มีขีดความสามารถสูงมาก

เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับสถานที่สำคัญ และ

ประชาชนของตน

สำหรับประเทศไทย สถานการณ์ระดับ

ภัยคุกคามอยู่ในระดับต่ำกว่าอิสราเอลมาก อีกทั้ง

งบประมาณในการจัดหายุทโธปกรณ์ทางทหารมีจำกัด ในการเลือกใช้

ระบบป้องกันภัยทางอากาศจึงเลือกให้เหมาะสม มีราคาถูกกว่า Iron

Dome มาก จึงมั่นใจได้ว่าระบบ VL MICA ที่มีประจำการอยู่มีขีดความ

สามารถในการปกป้องพื้นที่สำคัญๆ ในกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ หากใน

อนาคตสถานการณ์ระดับภัยคุกคามมีแนวโน้มสูงขึ้น อาจพิจารณาเพิ่ม

จำนวนแท่นยิงให้เพียงพอจากภัยคุกคามทางอากาศจำนวนมาก

(Swarm) ได้

เอกสารอ้างอิง

[1]

R. A. D. S. Ltd., “Iron Dome,” Rafael Advanced Defense Systems Ltd., June 2019. [ออนไลน์]. Available: https://www.rafael.co.il/wp-content/

uploads/2019/06/Multi-Mission-IRON-DOME-Brochure.pdf. [%1 ที่เข้าถึง13 January 2021].

[2]

“VL MICA,” MBDA Missile Systems, [ออนไลน์]. Available: https://www.mbda-systems.com/product/vl-mica/. [%1 ที่เข้าถึง14 January 2021].

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

39


ภาษาอังกฤษง่ายๆ สไตล์ครูวันดี

“Pandemic”

the word of year 2020

พันเอกหญิง ดร.วันดี โตสุวรรณ

นักวิจัยพิเศษ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม

คำ

ว่า “Pandemic” หรือ แพนดามิก ที่แปลว่า โรคระบาด

ขนาดใหญ่ ได้กลายเป็นคำศัพท์แห่งปี พ.ศ.๒๕๖๓ โดย

พจนานุกรมภาษาอังกฤษชื่อดังของสหรัฐอเมริกาเมอร์เรียม-เว็บเตอร์

(Merriam-Webster) และ เว็บไชต์ Dictionary.com ได้ยกให้คำว่า

“Pandemic” เป็นคำศัพท์แห่งปี ค.ศ.๒๐๒๐ ด้วยเหตุผลที่ว่า คำนี้

เป็นคำศัพท์ที่ได้รับการค้นหามากที่สุดในปี ๒๕๖๓ โดยระบุว่ามีการ

ค้นหาความหมายของคำนี้เพิ่มขึ้นกว่า ๑๓,๐๐๐ เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

ยิ่งเมื่อ ดร.เตโวโดรส อัดฮาโนม เกอเบรออีเยอซุส (Dr. Tedros

Adhanom Ghebreyesus) ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (World

Health Organization: WHO) ได้ออกมาประกาศเมื่อวันที่ ๑๑

มีนาคม ๒๕๖๓ ว่า โลกได้เข้าสู่ภาวะแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา

๒๐๑๙ หรือโรคโควิด-๑๙ ได้ยกระดับเป็น Pandemic ไปแล้ว หลัง

ลุกลามไปยังหลายประเทศของภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ดร.เตโวโดรส

กล่าวว่า “We are deeply concerned both by the alarming

levels of spread and severity and by the alarming levels of

inaction. We have therefore made the assessment that

COVID-19 can be characterized as a pandemic.”

จากพจนานุกรมเมอร์เรียม-เว็บเตอร์ (Merriam-Webster) ได้

ให้นิยามความหมายของคำว่า Pandemic หมายถึง การเกิดโรค

ระบาดที่แพร่กระจายเป็นวงกว้างไปยังพื้นที่ทั่วโลก (ในหลายประเทศ

และทวีป) และส่งผลกระทบต่อประชากรจำนวนมากอย่างเห็นได้ชัด

40

“Pandemic is an outbreak of a

disease that occurs over a wide

geographic areas (such as multiple

countries or continents) and typically

affects a significant proportion of

the population” และวิกิพีเดีย

สารานุกรมเสรีได้ระบุว่า Pandemic มา

จากรากศัพท์ภาษากรีกและภาษาละติน

παν pan ทั้งหมด + δήμος demos

ประชาชน) เป็นการระบาดของโรคติดเชื้อ

ที่แพร่กระจายในประชากรมนุษย์ใน

บริเวณกว้าง เช่น กระจายไปทั่วทุกทวีป

ทั่วโลก เริ ่มมีการใช้คำนี้ในบริบทที่กว้าง

ขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ ๑๗ และเริ่ม

ปรากฏในงานเขียนด้านการแพทย์ หลัง

กาฬโรคระบาดในช่วงยุคกลาง เป็นต้น

ดังนั ้นนักภาษาศาสตร์ได้เล่าว่า

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-๑๙ นั้น ภาษามีความ

สำคัญจริงๆ ภาษานั้นมีพลัง Language has power ตัวอย่างที่

น่าสนใจระบุไว้ในหนังสือ Words Can Change Your Brain โดย

ดร.แอนดรูว์นิวเบิร์ก และมาร์คโรเบิร์ตวัลด์แมน (Dr. Andrew Newberg

and Mark Robert Waldman) อธิบายว่า คำศัพท์ในเชิงบวก

หรือในเชิงลบมีพลังต่อการเปลี่ยนแปลงเคมีของสมอง โดยเฉพาะอย่าง

ยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ เป็นช่วงที่ทุกคน ทุกฝ่าย

มีความหวาดระแวงอยู่บ้าง ดังนั้น คำพูดหรือถ้อยคำ น้ำเสียง บางครั้ง

อาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้รับได้ ตัวอย่างเช่น นักวิชาการ

และนักภาษาศาสตร์ เสนอคำที่สามารถแสดงความรู้สึกในทางบวกได้

เช่น

๑. Stuck at Home เทียบกับ Stay at Home แทนที่จะพูด

ว่า “I got stuck at home ฉันติดแหง็ก อยู่กับบ้าน” เราก็จะพูดว่า

“I stay at home ฉันอยู่บ้าน (เพื่อระวังการติดเชื้อ)”

๒. New Normal เทียบกับ Next Normal เราอาจจะต้อง

หลีกเลี่ยงการพูดว่า “the new normal เพราะให้ความรู้สึกว่า

เราต้องเผชิญกับสิ่งใหม่ของโรคระบาด แต่ให้ใช้คำวา Next Normal

เพื่อการทำใจยอมรับการแพร่ระบาดครั้งต่อไป”

๓. Social Distancing เทียบกับ Physical Distancing

เนื่องจากคำว่า “Social Distancing จะแปลทำนองว่า “การห่างทาง

สังคม” ทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของการ

พันเอกหญิง ดร.วันดี โตสุวรรณ


ติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ให้กับตนเองและผู้อื่น จำเป็นต้องอยู่ห่างๆ

ไม่พูด ไม่คุย ทำให้หงุดหงิดทางอารมณ์ และเกิดความเหงา แต่เมื่อใช้

คำว่า Physical Distancing หรือ“ความห่างเหินทางกายภาพ”

เป็นสิ่งที่ส่วนใหญ่กำลังทำอยู่ เพียงห่างกันทางร่างกาย แต่สามารถ

ติดต่อสื่อสารด้วยระบบ Zoom, Face Time, Skype, Teams

และแพลตฟอร์มอื่นๆ เพื่อเชื่อมต่อแบบเสมือนจริงได้ เป็นต้น

ท้ายนี้ มีบทความที่น่าสนใจจากสาวน้อยที่ชื่อ Lauren Salgado

นักศึกษาจากมหาวิทยาลัย University of Arizona

สหรัฐอเมริกา ในเว็บไซต์ The Daily Wildcat ที่ติดเชื้อโควิดได้เล่าถึง

การรับมือกับเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ Coping with COVID-19 ที่เธอได้

เผชิญมาอย่างน่าสนใจ เรามาอ่านไปเรียนรู้สำนวนภาษาอังกฤษไปค่ะ

เริ่มจากพยาบาลบอกเธอว่าเธอติดเชื้อโควิด-๑๙ จากนั้นโทรหาคุณพ่อ

และเล่าถึงอาการที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน น่าสนใจมากค่ะ อ่านไปแปลไป

นะคะ เรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษไปค่ะ

Nurse: “You tested positive for COVID-19”

Lauren: “Oh my goodness, really?”

Nurse: “Yes, make sure you quarantine yourself

right away.”

Lauren ได้เล่าต่อไปในบทความบางส่วนว่า After the nurse

told me to quarantine myself, I couldn’t believe that I

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

really had the coronavirus, it was like a movie playing out

in real life. I felt at a loss of direction since the nurse didn’t

tell me what my next steps were. I immediately called my

dad who was at work and everyone else that I had just

seen in the last two weeks since I may have exposed them

to the virus.

The days to follow I had more trouble breathing.

I had finally stopped running a fever on Saturday, but the

rest of my symptoms were still there. As I received lots of

concern from friends and family, I felt like an enigma from

society since Arizona cases of COVID-19 were still in low

numbers.

My doctor has told me that 14 days after I have my

last symptom is when I can consider myself no longer

contagious but will still be practicing social distancing and

quarantining.

The worst part of having COVID-19 is the pain that is

experienced. The constant fevers I had, body aches and

fatigue, but the worst of it which I am still experiencing, is

not being able to breathe.

The asthma attacks that I’ve had while having this

virus have been worse than my usual attacks. I had felt

that mostly everyone will be exposed to the coronavirus

at some point in time since it spreads so easily, but having

it hit home, personally being affected by it, has taken an

emotional, mental and physical toll on me. This virus is

very painful, it’s real and it is aggressive. Even under the

agony of staying inside, we all need to stay home as much

as possible because that is the only way to prevent the

spread of the coronavirus.

ในประเทศไทย จะไม่ได้ใช้คำภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ Pandemic

มากนัก แต่ที่แน่ๆ คำที่อาจจะเป็น คำศัพท์ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๓

ของเจ้าหน้าที่ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมที่คุ้นเคยและใช้

ประจำในช่วงการหมุนเวียนที่ได้ปฏิบัติหน้าที่สถานที่กักตัวแห่งรัฐก็คือ

State Quarantine หรือพูดย่อๆ ก็คือ State นั่นเอง ขอให้ทุกคน

สุขภาพแข็งแรงค่ะ

“Stay safe and healthy”

อ้างอิง

https://www.wildcat.arizona.edu/article/2020/04/n-covid-guestletter

41


วิธีการเข้าเป็นพลทหาร

กองประจำการ (ทหารเกณฑ์)

น้องใหม่ที ่เหมาะสมของไทย

พลโท ดร.ทวี แจ่มจำรัส

ข้าราชการบำนาญ

นต้นเดือนเมษายนของทุกปี ซึ่งใกล้เข้ามาแล้ว เป็นฤดูกาลตรวจเลือก

ทหารทั่วประเทศ ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ ๑๐ - ๑๓ วัน เป็น

ไปตามกฎหมายคือ พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ และที่แก้ไข

เพิ่มเติม พ่อ-แม่ผู้ปกครอง หรือตัวผู้ที่จะต้องเข้าสู่กระบวนการที่ไม่

ต้องการเป็นทหาร ก็จะพยายามวิ่งเต้นติดต่อเสียเงินให้กับเจ้าหน้าที่

ที่เกี่ยวข้องเพื่อไม่ต้องเป็นทหาร แต่ก็มีจำนวนมากที่สนใจสมัครใน

วันทำการคัดเลือกขอเป็นพลทหารโดยไม่ต้องจับสลากใบดำ ใบแดง

ในช่วงปีที่แล้วมีภาคสังคมและพรรคการเมืองได้นำเสนอเพื่อยกเลิก

การตรวจเลือกทหารและยกร่างกฎหมายใหม่ แต่ไม่ผ่านความเห็น

ชอบเพราะเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับด้านการเงินที่นายกรัฐมนตรี

จะต้องให้ความเห็นชอบก่อน ผู้เขียนจึงมีความสนใจและทำวิจัยเรื่อง

“บทบาทของนายทหารบกระดับกลางที่มีอิทธิพลต่อการเข้าเป็น

พลทหารกองประจำการ (ทหารเกณฑ์) ของไทย” เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่

ที่สมาคมนักวิจัยแห่งประเทศไทย และได้รับการตอบรับและยืนยัน

จากบรรณาธิการวารสารสมาคมนักวิจัย ว่าได้ส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิ

อย่างน้อย ๒ ท่าน พิจารณาบทความวิจัยเรื่องดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว

42

ผู้เขียนเห็นว่างานวิจัยเรื่องนี้ควรนำเสนอให้สังคมทั่วไปได้รับรู้อย่าง

กว้างขวางเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะพร้อมกับตอบคำถามของ

สังคมไปในตัวด้วย

ผู้เขียนได้ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็น

นายทหารบกระดับกลางชั้นยศ พันตรีถึงพันเอก (พิเศษ) ที่มาเข้ารับ

การศึกษาในโรงเรียนเสนาธิการทหารบก และวิทยาลัยการทัพบก

ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ (ต.ค.๖๒ - ก.ย.๖๓) จำนวน ๔๑๐ คน

พลโท ดร.ทวี แจ่มจำรัส


ใช้สถิติขั้นสูงด้วยการวิเคราะห์แบบจำลองสมการ

โครงสร้าง และใช้การสัมภาษณ์เจาะลึกจากนายทหาร

อีก ๑๕ คน การที่ผู้เขียนใช้กลุ่มตัวอย่างเป็น

นายทหารบกระดับกลาง เพราะว่า ๑. เคยเป็นผู้บังคับ

บัญชาทหารมีคุณวุฒิ วัยวุฒิเหมาะสมและเคย

ปกครองบังคับบัญชาทหารเกณฑ์มาโดยตรง ย่อมรู้

ความต้องการของทหารเกณฑ์ได้ดี ๒. กลุ่มตัวอย่าง

จำนวนมากเคยเป็นประธานกรรมการและกรรมการ

คัดเลือกการเกณฑ์ทหารมาก่อน ย่อมทราบขั้นตอน

และวิธีการที่สมควรแก้ไขปรับปรุง ๓. ปฏิบัติตาม

นโยบายของกองทัพบก กองทัพไทยและกระทรวง

กลาโหม ที่จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่

เกี่ยวข้องโดยตรงกับตัวทหารเกณฑ์ให้เหมาะสมตาม

สภาพสังคมที่เปลี่ยนไป และ ๔. เมื่อเจริญเติบโตเป็น

นายทหารชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงกลาโหม จะต้องเกี่ยวข้องกับ

นโยบายด้านความมั่นคงของประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

จากการศึกษาเรื่องการเข้าเป็นพลทหารกองประจำการ

ของไทย แบ่งออกได้เป็น ๓ ลักษณะ คือ ๑. ด้วยความสมัครใจ

๒. ด้วยการเกณฑ์ และ ๓. ด้วยวิธีผสม โดยมีปัจจัยภายนอกที่สำคัญ

๔ ประการที่ส่งผลต่อการเข้าเป็นพลทหารเกณฑ์ ประการที่ ๑ ผลของ

กฎหมาย โดยพิจารณาจากการรับผิดทางอาญา - แพ่ง

การนิรโทษกรรม การละเมิดสิทธิมนุษยชน และการทุจริตของ

เจ้าหน้าที่ ประการที่ ๒ ความมีฐานะเกียรติยศโดยพิจารณาจาก

สิทธิด้านค่าตอบแทน สิทธิด้านสวัสดิการ สิทธิด้านความเจริญ

ก้าวหน้า และสิทธิด้านสังคม ประการที่ ๓ ความมีอุดมการณ์รักชาติ

โดยพิจารณาจากการเสียโอกาสการสมัครเป็น

นักศึกษาวิชาทหาร และการมีจิตอาสา และประการ

ที่ ๔ ผลของการฝึกอบรม โดยพิจารณาจากการมี

วิชาชีพติดตัว การเป็นผู้นำในสังคม และการศึกษา

นอกโรงเรียน โดยมีคำถามแบบประมาณค่า

ให้ตอบ ๕ ระดับคะแนน ได้แก่ ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง

ไม่เห็นด้วย ปานกลาง เห็นด้วย และเห็นด้วยอย่างยิ่ง

รวมทั้งหมด ๙๙ คำถาม และจากการวิเคราะห์ด้วย

สมการโครงสร้าง โดยใช้โปรแกรมริสเลล พบว่า ปัจจัย

ที่มีอิทธิพลรวมสูงสุด (ทางตรง-ทางอ้อม) ต่อการเข้า

เป็นพลทหารกองประจำการ (ทหารเกณฑ์) ของไทย

มากที่สุด เรียงลำดับ ดังนี้คือ ความมีอุดมการณ์

รักชาติ ผลของกฎหมาย ผลของการฝึกสอนอบรม

และความมีฐานะเกียรติยศ

ผู้เขียนได้เสนอแนะวิธีการที่เหมาะสมต่อการ

เข้าเป็นพลทหารกองประจำการ (ทหารเกณฑ์) ของไทย

ด้วยวิธีการที่เรียงลำดับ ดังนี้คือ

๑. วิธีการผสม คือเปิดรับสมัครทั่วไป ด้วยวิธี

การสมัครใจก่อน ถ้าได้จำนวนทหารเพียงพอก็ไม่ต้อง

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

เกณฑ์ แต่ถ้าได้จำนวนผู้สมัครใจไม่พอ จึงต้องเรียกเกณฑ์ภายหลัง

ในวิธีการสมัครใจนั้น ทางราชการต้องเปิดรับสมัครทั่วไปเหมือนเปิด

รับชายไทยสมัครเข้าเป็นนักเรียนทหาร (นักเรียนนายสิบ นักเรียน

จ่าทหารเรือ นักเรียนจ่าทหารอากาศ นักเรียนช่างฝีมือทหาร

นักเรียนเตรียมทหาร นักเรียนนายร้อยของเหล่าทัพ นักเรียนแพทย์

ทหารของกองทัพบก ฯลฯ) ล่วงหน้าก่อนฤดูเกณฑ์ในเดือนเมษายน

ของทุกปี และแจ้งสิทธิที่ทางราชการจะให้เมื่อเข้าเป็นทหารกอง

ประจำการด้วยระบบนี้ ทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทางสื่อ

ทุกประเภท ถ้ามีบุคคลสมัครมากเกินความต้องการก็ให้บุคคลสมัคร

ก่อนได้รับสิทธิ์ก่อน โดยอำนวยความสะดวกการสมัครให้ทุกค่าย

ทหารที่มณฑลทหารบกมีอยู่ทั่วประเทศ ให้เลือกเหล่าทัพที่ต้องการ

43


ตามลำดับ ไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาทหาร จำนวนทหารที่ต้องการ

แต่ละปี ต้องมียอดความจำเป็นที่แท้จริง ส่วนรายละเอียดต่างๆ ทาง

ราชการต้องมากำหนดให้ครอบคลุมที่ทางราชการจะได้รับประโยชน์

สูงสุดต่อไปภายหลัง

๒. ด้วยความสมัครใจ ต้องประกาศล่วงหน้าพอสมควร ไม่ใช่

สมัครในวันทำการคัดเลือก ส่วนเวลารับราชการควรขยายจากเดิม

๑ ปี หรือ ๒ ปี เป็นมากกว่า ๒ ปี เพื่อที่ทางราชการจะได้ใช้ประโยชน์

อย่างเต็มที่ภายหลัง เมื ่อทางราชการได้ตอบแทนสิทธิต่างๆ อย่าง

ดีแล้ว

๓. ด้วยการเกณฑ์ เมื่อทำวิธีที่ ๑ และ ๒ ไม่ได้ จำนวนทหาร

ไม่ครบต้องเรียกเกณฑ์ภายหลังต่อไป ไม่สามารถยกเลิกวิธีนี้ได้เพื่อ

เป็นหลักประกันในอนาคต

มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ทางราชการกระทรวงกลาโหม

สมควรดำเนินการ

๑. เปลี่ยนแปลงวิธีการเดิมมาเป็นวิธีผสม (วิธีสมัครใจก่อน ถ้า

ได้ทหารไม่พอ จึงเกณฑ์ภายหลัง) โดยเริ่มทำตั้งแต่ปีงบประมาณ

๒๕๖๔ (ก่อนวันเกณฑ์ในเดือนเมษายนของทุกปี)

ถ้าดำเนินการได้ทัน ถ้าไม่ทันก็เลื่อนไปปีหน้า โดยจัด

ทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทุกภาคส่วนรับทราบ

เช่นป้าย “กองทัพต้องการทหารสมัครใจรับใช้ประเทศชาติ”

หรือข้อความรณรงค์เหมือนในต่างประเทศ เช่น ใช้คำว่า

“I want you To Military”

๒. ต้องดำเนินการแก้ไขนามเรียกขานของสังคมใน

ทำนองดูถูกเหยียดหยาม ไม่ให้เกียรติ ศักดิ์ศรีความเป็น

มนุษย์ เช่น เรียก ไอ้เณร ไอ้หัวเกรียน ไอ้โล้น ฯลฯ และ

ฟ้องดำเนินคดีเป็นตัวอย่างให้สังคมได้รับรู้บ้าง

๓. มีความมุ่งมั่นที่ขจัดกระบวนการทุจริตในทุกขั้นตอน

ของเจ้าหน้าที่ (ฝ่ายทหาร ฝ่ายมหาดไทย ฝ่ายแพทย์

(กลาโหมและกระทรวงสาธารณสุข) ฯลฯ และลงโทษอย่างเด็ดขาด

จริงจัง และทำการประชาสัมพันธ์ให้สังคมได้รับรู้ และเมื่อได้

พลทหารเข้าประจำการในหน่วยแล้ว ต้องไม่หาผลประโยชน์ใดๆ

จากตัวทหาร และไม่ใช้ทหารนอกเหนือภารกิจทางทหารและที่ทาง

ราชการกำหนด

๔. ใช้ระบบเทคโนโลยี (Technology) ที่ทันสมัยเข้ามาใช้แทน

ระบบการทำด้วยมือ (Manual) เช่นระบบบัญชีทหารกองเกิน

กองหนุนทุกประเภท ฯลฯ ให้สามารถตรวจสอบได้ทุกสถาน

กาลเวลา (Real time) และเป็นจริงทุกขั้นตอน

๕. คณะกรรมการคัดเลือก (ถ้ามีการเกณฑ์) ต้องได้บุคคลที่มี

ความซื่อสัตย์ ใจซื่อมือสะอาด ไม่เห็นแก่อามิสสินจ้างใดๆ โดยเฉพาะ

ประธานคณะกรรมการ ถ้าคณะกรรมการทุจริตเสียเอง ต้องมี

บทลงโทษเพิ่มขึ้นไปอีก

๖. ทำการปรับปรุงสิทธิต่างๆ ที่ทางราชการและรัฐวิสาหกิจ

กำหนดไว้แต่เดิมให้ทันสมัย และเพิ่มมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของ

สังคมและเศรษฐกิจของประเทศ และให้สามารถใช้สิทธิ์ต่างๆ ได้จริง

44

พลโท ดร.ทวี แจ่มจำรัส


๗. การคำนวณความต้องการยอดทหารในแต่ละปี ต้องคำนึงถึง

ภัยคุกคามต่างๆ ที่ต้องสอดคล้องกับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน

เช่น การเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียน ฯลฯ เป็นยอดทหารที่กองทัพ

จำเป็นอย่างแท้จริงเท่านั้น

๘. การให้สมัครเป็นนักศึกษาวิชาทหาร (นศท.) ต้องมีจำนวน

ความต้องการกำลังพลสำรองที่เพียงพออย่างแท้จริง ไม่มากเกินควร

และเข้มงวดการฝึกอบรม ทดสอบให้ได้มาตรฐานตามกำหนด

๙. นำเสนอออกกฎหมาย การซ้อมทรมานบุคคล นำมาบังคับ

ใช้กับทหาร ตำรวจ ราชทัณฑ์ ดีเอสไอ ฯลฯ ในโอกาสต่อไป

๑๐. ปรับปรุงสิทธิให้เป็นข้าราชการทหารในช่วงเวลาที่เข้ามา

เป็นพลทหารกองประจำการเพื่อสิทธิกำลังพลของตนและครอบครัว

๑๑. ควรนิรโทษกรรมให้ทหารที่หนีราชการในอดีตให้กลับมา

เป็นพลเมืองดีของชาติต่อไปเหมือนในต่างประเทศ

มีข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ ดังนี้

๑. ให้มีการสอน อบรมบรรยายวิชา “สิทธิมนุษยชน” ใน

หลักสูตรของโรงเรียนทหารทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ เช่น การสอน

อบรมพลทหารทุกเหล่าทัพ โรงเรียนนายสิบทหารบก โรงเรียนจ่า

ทหารเรือ โรงเรียนจ่าทหารอากาศ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร โรงเรียน

นายร้อย วิทยาลัยแพทย์ พยาบาลของทุกเหล่าทัพ หลักสูตร

จ่าอาวุโส ชั้นนายร้อย ชั้นนายพัน โรงเรียนเสนาธิการ และวิทยาลัย

การทัพทุกเหล่าทัพ ฯลฯ เพื่อให้กำลังพลทุกระดับ มีความรู้ ความ

เข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษยชน

๒. ให้มีการสอนอบรม บรรยายวิชาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย

ทหารอย่างสม่ำเสมอ เช่น พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗

พ.ร.บ.ว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ.๒๔๗๖ ประมวลกฎหมายอาญาทหาร,

จริยธรรมของทหาร และกฎหมายปกครองเบื้องต้น ฯลฯ ใน

หลักสูตรต่างๆ ของทหารตามข้อ ๑ เพื่อให้กำลังพลทุกคนได้

รับทราบและปฏิบัติตามได้ถูกต้อง

๓. เสนอให้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายทหารตามข้อ ๒ และ

กฎกระทรวง ระเบียบ คำสั่ง ฯลฯ ที่ออกมาใช้บังคับเป็นเวลานานแล้ว

ให้สอดคล้องกับสภาพของสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป

ผลงานวิจัยดังกล่าวได้ส่งไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อ

พิจารณาใช้ประโยชน์ตามแต่จะเห็นสมควร เช่น กรมเสมียนตรา

กรมสรรพกำลังกลาโหม กรมกำลังพลทหารบก หน่วยบัญชาการ

รักษาดินแดน วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยการทัพบก

และโรงเรียนเสนาธิการทหารบก

ผู้เขียนก็หวังว่างานวิจัยนี้คงเป็นประโยชน์ต่อกระทรวง

กลาโหม เหล่าทัพและสังคมในภาพรวม ต่อไปในอนาคตถ้าปรับปรุง

สิทธิ และเปลี่ยนวิธีการใหม่ คงจะเห็นผู้สมัครเข้าเป็นพลทหาร

กองประจำการเกินความต้องการ โดยไม่ต้องเกณฑ์หวังว่าจะสร้างความ

พึงพอใจให้แก่ทุกภาคส่วนของสังคมไทยได้อย่างดีแน่นอน

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

45


การวัดความสำเร็จในชีวิต

จุฬาพิช มณีวงศ์

รองบรรณาธิการ วารสารวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

ากหนังสือชื่อ How will you measure your Life? ผลงาน

ของศาสตราจารย์ Clayton M. Christensen แห่งมหาวิทยาลัย

ฮาร์วาร์ด (Harvard University) ปรมาจารย์ด้านนวัตกรรมผู้ล่วงลับ

ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้กับ Steve Jobs ในการสร้างความสำเร็จกับ

บริษัท Apple ตั้งคำถามให้กับผู้ใฝ่หาความสำเร็จว่า “คนเราควรจะ

วัดความสำเร็จของชีวิตอย่างไร”

ศาสตราจารย์ Clayton M. Christensen มีสมมติฐานว่า ใน

ช่วงแรกของชีวิตเราอาจวัดความสำเร็จด้วยชื่อเสียง เงินทอง ความ

มั่งคั่ง การมีคู่สมรสที่หน้าตางดงามเพียบพร้อม แต่เมื่อเวลาผ่านไป

หลายสิบปี อาจารย์พบว่าเพื่อนร่วมรุ่นที่มีเงินทอง

มากมายอาจไม่มีความสุขกับครอบครัว เผชิญการหย่าร้าง

หลายครั้งไม่มีเวลาคุยกับลูกหลาน หรือแม้กระทั่ง

อาจเลือกทางลัดเพื่อให้ร่ำรวยจนกระทั่งติดคุก อาจารย์

จึงตั ้งคำถามใหม่ว่า เราจะวัดความสำเร็จอย่างไร หาก

เราเห็นว่า เราควรให้ความสำคัญกับครอบครัวสุขภาพ

และความมั่นคงทางการเงิน มากกว่าชื่อเสียงและ

เงินทอง และเราจะดำเนินชีวิตอย่างไร เพื ่อให้บรรลุ

เป้าหมายเหล่านี้

ผลการจัดอันดับนวัตกรรม Bloomberg Innovation

Index ประจำปี ค.ศ.๒๐๒๑ รายงานว่าประเทศไทย

ได้รับการจัดอันดับขยับขึ้นถึง ๔ อันดับ จากอันดับที่๔๐

ขึ้นมาเป็นอันดับที่ ๓๖ จากอันดับที่ ๖๐ เขตเศรษฐกิจ

46

ที่มีนวัตกรรมมากที่สุด สะท้อนถึงความสามารถของไทยในการใช้

นวัตกรรมฝ่าฟันวิกฤตต่างๆ โดยเฉพาะการบริหารจัดการ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ อาทิ การตรวจคัดกรอง

โรค หุ่นยนต์ แอปพลิเคชันต่างๆ รวมถึงการกำหนดประเทศ

ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน

และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BGC Economy (Bio-Circular-Green

Economy) หลังการเกิดโควิด-๑๙ โดย ไมเคิล รูเบนส์ บลูมเบอร์ก

(Michael R. Bloomberg) ประเมินจากปัจจัย ๗ ด้าน ได้แก่ ค่าใช้จ่าย

การวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน

จุฬาพิช มณีวงศ์


ประเทศ มูลค่าเพิ่มจากอุตสาหกรรมการผลิต สัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวม

ภายในประเทศต่อประชากรผู้มีงานทำ สัดส่วนจำนวนบริษัท

สัดส่วนผู้ที่เข้าศึกษา ผู้จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และสัดส่วน

บัณฑิตที่จบสายวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม จำนวนนักวิจัย จำนวน

การขอสิทธิบัตร และจำนวนสิทธิบัตรที่ได้รับ โดยประเทศไทยมี

คะแนนรวมอยู่ที่ ๖๕.๔๒ คะแนน

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ซึ่งยืดเยื้อมาเป็น

เวลากว่า ๑ ปีแล้ว แม้จะมีความพยายามในการระงับยับยั้งโรคด้วย

การเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนทั่วโลก แต่ก็ยังไม่มีคำยืนยันว่า

โรคนี้จะจากเราไปภายในเวลาอันรวดเร็วภายในปี ๒๕๖๔ ขณะที่

ทุกคนต้องมีชีวิตต่อไป ทำให้เกิดการเตรียมรับมือในทุกๆ ด้าน

เริ่มตั้งแต่การสร้างบุคลากรพันธุ์ใหม่ในยุค New Normal ด้วย

ระบบการศึกษาที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ตั้งแต่ระดับปฐมวัยไปจนถึง

ระดับบัณฑิตศึกษา ทักษะการนำความรู้ไปประกอบอาชีพ พัฒนา

เศรษฐกิจ สังคม และการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้ที่ยากจะ

คาดเดา ไม่ใช่เพียงการออกแบบจัดระบบการศึกษาแบบออนไลน์

ซึ่งเป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและไม่สามารถตอบโจทย์ใน

ระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รูปแบบการศึกษาที่กำลังขยายวงออกไปอย่างกว้างขวาง

ยกเว้นประเทศไทย เป็นการศึกษาที่เรียกว่า Hybrid Homeschool

คือ การเรียนการสอนแบบลูกผสมระหว่างการเรียนในสถาบันการ

ศึกษากับการเรียนกับครอบครัวที่บ้าน ซึ่งเป็นที่นิยมในหลาย

ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา ในหนึ่งสัปดาห์

ผู้ปกครองจะเลือกหลักสูตรให้เด็กนักเรียนไปโรงเรียนเพียงสัปดาห์ละ

๒ - ๓ วัน เวลาที่เหลือนอกนั้นจะเรียนกับครอบครัว โดยผู้เรียน

สามารถเลือกใช้สื่อการสอนออนไลน์ สื่อที่มีการเผยแพร่ในเว็บไซต์

ต่างๆ รวมถึงสื่อที่ทางบริษัทจัดทำธุรกิจสื่อการสอนไว้จำหน่าย และ

มีส่วนหนึ่งที่จะดึงความสามารถและทักษะความรู้ที่มีผู้เรียนถนัด

และชอบออกมา ได้แก่ ดนตรี การขับร้อง ศิลปะ เครื่องยนต์กลไก

การเพาะปลูก และการเล่นกีฬาประเภทต่างๆ การเรียนรูปแบบนี้

จะมีโปรแกรมเรียนที่บ้าน ๓ วัน และแต่งตัวด้วยชุดนักเรียนเพียง

๒ วัน เน้นการมีส่วนร่วมอภิปราย ถกเถียงแสดงความคิดเห็นอย่าง

เห็นควร ซึ่งผลการสำรวจของ Twinkl.co.th ระบุว่าได้รับความนิยม

จากประเทศทั่วโลกเพิ่มขึ ้น อาทิ ในสหราชอาณาจักรมีจำนวน

นักเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ ๔๐ ภายใน ๓ ปี จากการสำรวจใน

สหรัฐอเมริกามีนักเรียน ๒,๕๐๐,๐๐๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๓ ประเทศ

แคนาดามีผู้เรียน ๑๐๐,๐๐๐ คนหรือร้อยละ ๑.๘ สหราช

อาณาจักรมีผู้เรียน ๖๐,๕๐๐ คน ประเทศออสเตรเลีย ๓๐,๐๐๐ คน

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

47


ประเทศรัสเซีย ๑๐๐,๐๐๐ คน ประเทศแอฟริกาใต้ ๓๐,๐๐๐ คน

ประเทศชิลี ๑๕,๐๐๐ คน ประเทศฟิลิปปินส์๑๒,๐๐๐ คน ประเทศ

นิวซีแลนด์ ๖,๕๗๓ คน แต่ประเทศไทยมีผู้เรียนเพียง ๑,๐๐๐ คน

เท่านั้น

หลักการที่น่าสนใจของการศึกษาในระบบโฮมสคูลนี้คือความ

เชื่อที่ว่าวัยเด็ก คือวัยแห่งการเรียนรู้ แสวงหา ที่ควบคู่ไปกับความ

สนุกสนาน การเรียนตลอดวันในห้องเรียนของโรงเรียน ทำให้เด็กมี

ความกดดัน บางวิชาที่เด็กไม่ชอบหรือไม่ถนัดก็เสมือนกับเป็นการ

บังคับให้เรียนเพื่อได้คะแนนหรือเกรดตามที่พ่อแม่ผู้ปกครอง

คาดหวังไว้ ส่วนที่มีการท้วงติงว่า ระบบการเรียนแบบนี้จะทำให้เด็ก

ขาดการเข้าสังคมอยู่กับโลกส่วนตัวมากเกินไป มีคำตอบโต้ว่า เด็กที่

ชอบอยู่กับโลกส่วนตัวก็อาจจะพบได้ในเด็กที่จบจากระบบการศึกษา

จากสถาบันการศึกษาได้เช่นกัน

48

สำหรับประเทศไทยล่าสุด คณะกรรมการสภาการศึกษามีมติ

ในการขับเคลื่อน 5 Big Rock ตามแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา

โดยจะจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับการสร้างโอกาสและความ

เสมอภาคทางการศึกษา เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ การพัฒนาการ

เรียนการสอนสู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ เพื่อตอบสนองการ

เปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ โดยกระทรวงศึกษาธิการเป็นหลัก

การปฏิรูปกลไกและระบบการผลิตและพัฒนาครู รวมถึงบุคลากร

ทางการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐาน โดยกระทรวงการอุดมศึกษา

วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นหน่วยงานหลักในการจัดการ

อาชีวศึกษาระบบทวิภาคีและระบบอื่นๆ ที่เน้นการฝึกปฏิบัติอย่าง

เต็มรูปแบบ นำไปสู่การว่างงานและสร้างงานกระทรวงศึกษาธิการ

เป็นหลัก และปฏิรูปบทบาทการวิจัยและระบบธรรมาภิบาลของ

สถาบันอุดมศึกษา เพื่อสนับสนุนและพัฒนาประเทศออกจากกับดัก

รายได้ปานกลางอย่างยั่งยืน โดยกระทรวงการอุดมศึกษาฯ

เป็นหลัก

ด้านกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ยังได้ใช้งบประมาณ

๑๐,๐๐๐ ล้านบาทจากวงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ จัดทำ

โครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ”

หรือ U2T ส่งนักศึกษาและประชาชน ๖๐,๐๐๐ คน พร้อม

อาจารย์จาก ๗๖ มหาวิทยาลัยลงไปทำงานกับชุมชน ๓,๐๐๐

ตำบลทั่วประเทศ เริ่มตั้งแต่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ใช้เวลา

๑ ปี มีเป้าหมายพัฒนาคนและชุมชน โดยให้นักศึกษา

ประชาชนและอาจารย์ลงไปทำงานทุกตำบลทั่วประเทศ เก็บ

ข้อมูลเพื่อทำ Big Data ของประเทศและทำให้นักศึกษาได้

ฝึกทักษะเพิ่มขึ้น มีมุมมองและวิธีคิดที่ทันสมัย เพื่อเข้าสู่

จุฬาพิช มณีวงศ์


ตลาดแรงงาน ช่วยให้ประเทศลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และแก้ปัญหา

สังคม ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรี

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ระบุว่า

โครงการนี้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เพื่อสร้างอนาคต สร้าง

โอกาส ทำให้การว่างงานทุเลาลงและที่สำคัญทำให้สังคมได้รู้ว่า บัดนี้

มหาวิทยาลัยออกจากหอคอยงาช้างแล้ว

ในโลกยุคปัจจุบัน ความสลับซับซ้อนและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่

เข้ามาเป็นทั้งตัวช่วยและตัวสร้างความเหลื่อมล้ำต่อผู้ที่ก้าวตาม

ไม่ทัน การเดินหน้าไปสู่ความสำเร็จ ความเจริญก้าวหน้า และการ

ยกระดับฐานะ เป็นสิ่งที่ย้อนแย้งได้ตลอดเวลา ดังจะเห็นได้ว่า ผู้คน

ยุคนี้มีคำปรารภที่ตรงกันว่า สังคมไทยนับวันจะเสื่อมทรามลงใน

แทบทุกด้าน เพราะเรามุ่งวัดความสำเร็จในชีวิตจากความเจริญทาง

วัตถุ จนลืมนึกถึงความสุขที่แท้จริง ระบบการศึกษา เพื่อพัฒนาคน

ให้เป็นพลเมืองดี น่าจะเป็นด่านแรกที่ทำให้ประเทศไทยไปต่อได้

อย่างถูกทาง

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

49


พระเจ้ามินดง

แห่งราชวงศ์อลองพญากับปลายรัชกาล

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์

ข้าราชการบำนาญ

อาณาจักรพม่าในยุคที่สาม ราชวงศ์อลองพญา (Alaungpaya Dynasty) ถึงสมัยพระเจ้ามินดง (Mindon Min) เป็นระยะเวลา ๑๐๑ ปี

เมื่ออาณาจักรก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดของอำนาจ เวลาเมื่อเปลี่ยนรัชกาลใหม่มีการแย่งชิงบัลลังก์เกิดขึ้นหลายครั้ง น ำความสูญเสียอย่างมากทั้งราชวงศ์ ขุนนาง

และอาวุธ อาณาจักรจึงเริ่มเสื่อมลงเป็นลำดับ อังกฤษโดยบริษัทอิสต์-อินเดียตะวันออก (East India Company) ขยายการค้าได้เข้าควบคุมท่าเรือที่สำคัญ

ทางเส้นทางเดินเรือของอาณาจักรอินเดีย และขยายดินแดนสู่ภายในอาณาจักรอินเดียเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าขาย มีจุดศูนย์กลางควบคุมอยู่ที่

เมืองกัลกัตตา ได้ขยายมาทางตะวันออกใกล้กับอาณาจักรพม่า

บทความนี้ กล่าวถึงพระเจ้ามินดง (Mindon) ราชวงศ์อลองพญา (Alaungpaya Dynasty) กับปลายรัชกาล

๑. พกล่าวทั

่วไป

ระเจ้าอลองพญา (Alaungpaya) สถาปนาอาณาจักรพม่า

ขึ้นมาใหม่ เรียกว่าอาณาจักรพม่าในยุคที่สาม เมื่อวันที่ ๑๗

เมษายน พ.ศ.๒๒๙๕ สามารถรวบรวมอาณาจักรต่างๆ ตามแนวลุ่ม

แม่น้ำอิรวดีและอาณาจักรข้างเคียงให้เป็นหนึ่งเดียว ขณะมี

พระชนมายุ ๓๘ พรรษา จากการอ่อนแอของราชวงศ์ตองอูที่ผ่านยุค

เรืองอำนาจสูงสุดมาเป็นระยะเวลานาน พระองค์ทรงขยายอาณาจักร

มาทางทิศตะวันออกแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ทรงสวรรคตเมื่อวันที่

๑๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๐๓ ที่เมืองเมาะตะมะ พระชนมายุ ๔๖

พรรษา พระราชโอรสได้รับราชสมบัติคือ พระเจ้ามังลอก (พ.ศ.

๒๓๐๓ - ๒๓๐๖) และพระเจ้ามังระ (Hsinbyushin) ทรงขึ้น

ครองราชย์เมื่อวันที่๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๐๖ พระราชโอรสของ

พระเจ้าอลองพญา (พระองค์ที่สอง) สามารถยึดครองอาณาจักร

ทางด้านทิศตะวันออกได้สำเร็จตามความประสงค์ของพระราชบิดา

เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ค.ศ.๒๓๑๐ อาณาจักรพม่าในยุคที่สาม ขึ้นสู่

จุดสูงสุดของอำนาจเทียบได้กับอาณาจักรพม่าในยุคที่สอง ราชวงศ์

50

อนุสาวรีย์พระเจ้าอลองพญา (Alaungpaya) ปฐมกษัตริย์อาณาจักรพม่าในยุคที ่สาม

ครองราชสมบัติระหว่างวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๒๙๕ ถึงวันที่ ๑๑ พฤษภาคม

พ.ศ.๒๓๐๓ (ตั้งอยู่หน้าพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ)

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


พระเจ้ามินดง (Mindon Min) กษัตริย์ลำดับที่ ๑๐ ครองราชย์เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์

พ.ศ.๒๓๙๖ พระชนมายุ ๔๕ พรรษา ทรงปฏิรูปอาณาจักรให้มีความทันสมัย

ตองอู สมัยพระเจ้าบุเรงนอง (ครองราชย์ พ.ศ.๒๐๙๓ - ๒๑๒๔)

สู่สมัยพระเจ้าปดุง (Bodawpaya) กษัตริย์ลำดับที่ ๖ พระราชโอรส

ของพระเจ้าอลองพญา (พระองค์ที่สี่) ทรงขยายอาณาจักรมาทาง

ตะวันออกแต่ไม่สำเร็จ ได้ขยายอาณาจักรมาทางตะวันตกยึดได้

ยะไข่ (อาระกัน) สู่สมัยพระเจ้าจักกายแมง (Bagyidaw) กษัตริย์

ลำดับที่ ๗ ปี พ.ศ.๒๓๖๒ ขยายอาณาจักรมาทางตะวันออก (อัสสัม

และมณีปุระ) นำมาสู่สงครามที่เรียกว่า สงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่

หนึ่ง ระหว่างวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๓๖๗ - ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.

๒๓๖๙ เป็นฝ่ายแพ้สงครามตามสัญญายันดาโบ สูญเสียดินแดนทาง

ด้านตะวันตก รวมทั้งเมืองตะนาวศรี (เมืองท่าที่สำคัญ) ปกครองโดย

ข้าหลวงใหญ่ของอังกฤษที่กัลกัตตา พม่าต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม

รวมเป็นเงิน ๒.๐ ล้านปอนด์ และอังกฤษโดยบริษัทอิสต์-อินเดีย

ตะวันออก (East-India Company) ยังคงมีความขัดแย้งอยู่นำมาสู่

สงครามครั้งใหม่ เรียกว่าสงครามพม่า-อังกฤษ ครั้งที่สอง ระหว่าง

วันที่ ๕ เมษายน - ๒๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๙๕ อังกฤษยึดได้พม่า

ตอนล่าง (เมาะตะมะ ย่างกุ้ง พะสิม แปร และพะโค เรียกว่า พม่า

ตอนล่าง) เป็นฝ่ายแพ้สงคราม ในสมัยพระเจ้าพุกามแมง (Padan)

กษัตริย์ลำดับที่ ๙ ทรงขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่๑๗ พฤศจิกายน

พ.ศ.๒๓๘๙ - ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๙๖

๒. พระเจ้ามินดง (Mindon Min) กับปลายรัชกาล

พระเจ้ามินดง (Mindon) กษัตริย์ลำดับที่ ๑๐ ขึ้นครองราชย์

เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๙๖ พระชนมายุ ๔๕ พรรษา

พระองค์ทรงปฏิรูปการบริหารประเทศให้มีความทันสมัย (พม่าเหลือ

อาณาเขตเพียงพม่าตอนบน) พม่าเริ่มต้นค่อยกลับมามีความมั่นคง

อีกครั้ง เมื่อเวลาผ่านไป ๑๓ ปี นำมาสู่การเกิดกบฏภายในอาณาจักร

ผู้นำคือพระราชโอรสรวม ๒ พระองค์ (เจ้าชายมินกุน และเจ้าชาย

มินกุนเดง) ไม่สามารถปลงพระชนม์พระเจ้ามินดง (Mindon Min)

เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๐๙ เจ้าชายทั้ง ๒ พระองค์ หนีไปยัง

เขตปกครองของอังกฤษเกิดความขัดแย้งระหว่างอาณาจักรพม่า

ราชวงศ์อลองพญา (Alaungpaya Dynasty) กับบริษัทอิสต์-อินเดีย

ตะวันออก (East India Company) พระราชโอรสผู้มีสิทธิ์

ในราชบัลลังก์ ประกอบด้วย เจ้าชายเถ่าซา (Prince of Thonze)

พระราชโอรสลำดับที่ ๖ ประสูติ พ.ศ.๒๓๘๖ เจ้าชายยองยาน

(Prince of Nyaungyan) พระราชโอรสลำดับที่๑๑ ประสูติพ.ศ.๒๓๘๘

เจ้าชายเมะคะหย่า (Prince of Mekkhara) พระราชโอรสลำดับที่

๑๒ ประสูติเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๐ และเจ้าชายธีบอ (Prince of Thibaw)

พระราชโอรสลำดับที่ ๓๑ ประสูติเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๐๒

พระเจ้ามินดง (Mindon) ยังไม่ทรงแต่งตั้งให้เจ้าชายพระองค์ใด

ดำรงตำแหน่งอุปราช

๓. บทสรุป

พระเจ้ามินดง (Mindon Min) ราชวงศ์อลองพญา (Alaungpaya

Dynasty) ปฏิรูปประเทศให้มีความทันสมัยในหลายด้านด้วย

วิทยาการสมัยใหม่เพื่อให้อาณาจักรมีความมั่นคง เพราะสูญเสีย

อาณาจักรพม่าตอนล่าง หลังจากแพ้สงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่หนึ่ง

และครั้งที่สองเริ่มก้าวหน้าขึ้นซึ่งใช้เวลากว่า ๑๓ ปี เมื่อเกิดกบฏจาก

พระราชโอรส ในปี พ.ศ.๒๔๐๙ นำความขัดแย้งกับบริษัทอิสต์-

อินเดียตะวันออก (East-India Company) แต่อังกฤษยังไม่พร้อม

ที่จะทำสงครามกับพม่ายังติดพันสงครามในอัฟกานิสถาน และพระเจ้า

มินดง (Mindon) ยังไม่ทรงแต่งตั้งอุปราช ความขัดแย้งในราชสำนัก

ยังคงมีอยู่

บรรณานุกรม

๑. en.wikipedia.org/wiki/Second_Angro-Burmese_War

๒. en.wikipedia.org/wiki/First_Angro-Burmese_War

๓. en.wikipedia.org/wiki/Sir_George_Pollock,_St_Baronet

๔. en.wikipedia.org/wiki/Treaty_of_Yandabo

๕. en.wikipedia.org/wiki/Mandalay

๖. en.wikipedia.org/wiki/Mindon_Min

๗. en.wikipedia.org/wiki/Kanaung_Min

๘. en.wikipedia.org/wiki/First_Angro-Afghan_War

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

51


สาระน่ารู้ทางการแพทย์

“ความก้าวหน้าล่าสุด

ของการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-๑๙ ในประเทศไทย”

สำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙

(COVID-19) ทุกประเทศทั่วโลกต่างพยายามช่วยกันเร่งคิดค้น

และพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19)

วารสารหลักเมืองฉบับนี้ ขอนำเสนอถึงความก้าวหน้าในการพัฒนา

วัคซีนในประเทศไทย ว่าเป็นอย่างไรบ้าง

การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19)

ในประเทศไทยที่ผ่านมา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดเตรียมความ

พร้อมของสถานที่ แพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ รวมถึง

การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีมาตรฐาน ซึ่งนำมาใช้ในการตรวจ

คัดกรองประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ทางด้านศูนย์วิจัย

วัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันการ

วิจัยทางการแพทย์ที่ได้รับความร่วมมือจากนักวิจัยทางการแพทย์

และวิทยาศาสตร์ทั้งในระดับประเทศและระดับโลกร่วมกันพัฒนา

ต่อยอด การคิดค้น วิจัย ผลิตวัคซีน เพื่อใช้ในการป้องกันโรคต่างๆ

ให้กับประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยวัคซีน

52

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการทดสอบวัคซีน

โควิด-๑๙ ในลิงเข็มที่สอง ลิงสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ในระดับสูง

มีสุขภาพดี

ดังนั้น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมเดินหน้าเปิดทดสอบในอาสาสมัคร

ต่อไป โดยทางโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และศูนย์วิจัย

วัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดเตรียม

ความพร้อมของสถานที่แพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์และ

หลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการทดสอบกับอาสาสมัคร

อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้ความสำคัญเรื่องของความปลอดภัย

อย่างสูงสุด เพื่อให้ประชาชน เกิดความเชื่อมั่น และมั่นใจในความ

ปลอดภัยของการทดสอบฉีดวัคซีนครั้งนี้

อย่างไรก็ตามกระทรวงสาธารณสุข สถาบันวัคซีนแห่งชาติ

ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอีก

หลายหน่วยงาน รวมถึงนักวิจัยทางการแพทย์และนักวิทยาศาสตร์

สำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


ทั้งในระดับประเทศและระดับโลกที่ร่วมกันพัฒนาวิจัย ต่อยอด

การคิดค้นผลิตวัคซีนเพื่อใช้ในการป้องกันโรคต่างๆ ให้กับประชาชน

มาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การพัฒนาวัคซีนโควิด-๑๙ ของศูนย์วิจัย

วัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาล

จุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย ในครั้งนี้จะประสบความสำเร็จและสร้าง

คุณประโยชน์และชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยในระดับสากล

อย่างแน่นอน

วัคซีนที่กำลังทดสอบในประเทศไทย ชื่อว่าวัคซีน ChulaCov19

เป็นวัคซีนชนิด mRNA ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ใน

ภาวะฉุกเฉินแล้วในหลายประเทศ และให้ใช้ในประชาชนทั่วไปในบาง

ประเทศแล้ว เช่น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และหลาย

ประเทศทั่วโลกได้รับการฉีดวัคซีนชนิด mRNA แล้ว

วัคซีน ChulaCov19 เป็นการคิดค้นออกแบบและพัฒนาโดย

คนไทยจากความร่วมมือสนับสนุน โดยคุณหมอนักวิทยาศาสตร์

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

ผู้คิดค้นเทคโนโลยีนี้ของโลกคือ Prof. Drew

Weissman มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย วัคซีน

ChulaCov19 ผลิตโดยสร้างชิ้นส่วนขนาดจิ๋ว

จากสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนา (โดย

ไม่มีการใช้ตัวเชื ้อแต่อย่างใด) ซึ่งเมื่อร่างกาย

ได้รับชิ้นส่วนของสารพันธุกรรมขนาดจิ๋วนี้

เข้าไป จะทำการสร้างเป็นโปรตีนที่เป็นส่วน

ปุ่มหนามของไวรัสขึ้น (spike protein) และ

กระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันไว้เตรียม

ต่อสู้กับไวรัสเมื่อไปสัมผัสเชื้อ เมื่อวัคซีน

mRNA ทำหน้าที่ให้ร่างกายสร้างโปรตีน

เรียบร้อยแล้ว ไม่กี่วัน mRNA นี้จะถูกสลายไป

โดยไม่มีการสะสมในร่างกาย

วัคซีน ChulaCov19 นี้สามารถป้องกัน

โรคโควิด-๑๙ และลดจำนวนเชื้อได้อย่างมาก

ในหนูทดลอง ซึ่งผลการทดลองล่าสุด พบว่าภายหลังจากหนูทดลอง

ชนิดพิเศษที่ออกแบบให้สามารถเกิดโรคโควิด-๑๙ ได้ เมื่อได้รับการ

ฉีดวัคซีน ChulaCov19 ครบสองเข็ม ห่างกันสามสัปดาห์ หนูทดลอง

ได้รับเชื้อเข้าทางจมูก สามารถป้องกันหนูทดลองไม่ให้ป่วยเป็นโรค

และยับยั้งไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าสู่กระแสเลือด รวมทั้งสามารถลดจำนวน

เชื้อในจมูกและในปอดลงไปอย่างน้อย ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ เท่า ส่วนหนู

ที่ไม่ได้รับวัคซีน จะเกิดอาการแบบโควิด-๑๙ ภายใน ๓ - ๕ วัน

และทุกตัวมีเชื้อสูงในกระแสเลือดในจมูกและปอด

วัคซีน ChulaCov19 เก็บในอุณหภูมิตู้เย็นปกติคือ ๒ - ๘

องศาเซลเซียสได้อย่างน้อย ๑ เดือน ขณะนี้กำลังรอผลวิจัยที่ ๓ เดือน

ดังนั้นการขนส่งเพื่อกระจายวัคซีนไปยังต่างจังหวัดทั่วประเทศจึง

สามารถทำได้อย่างสะดวก

วัคซีน ChulaCov19 คาดว่าจะผลิตเสร็จเพื่อนำมาทดสอบใน

อาสาสมัครได้ ประมาณต้นเดือนพฤษภาคมนี้ และกำลังเตรียมการ

พัฒนารุ่น ๒ เพื่อทดสอบในหนูทดลอง เพื่อรองรับเชื้อดื้อวัคซีนใน

อนาคต เพราะเนื่องจากมีเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ กำลังแพร่ระบาด

ในหลายประเทศทั่วโลกและบางสายพันธุ์พบว่าเชื้อเริ่มดื้อต่อวัคซีน

ในปัจจุบันซึ่งเทคโนโลยีวัคซีน mRNA มีจุดเด่น คือสามารถออกแบบ

วัคซีนรุ่นที่สองเพื่อตอบโต้เชื้อที่ดื้อวัคซีนได้อย่างรวดเร็ว

สถาบันวัคซีนแห่งชาติยืนยันสนับสนุนการวิจัยวัคซีนโควิด-๑๙

ในประเทศ เพื่อสร้างรากฐานและพัฒนาขีดความสามารถด้านการ

วิจัยวัคซีนของประเทศเพื่อรับมือการระบาด วัคซีน mRNA เป็น

รูปแบบที่ ณ เวลานี้ได้รับการยอมรับแล้วว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่มี

ความรวดเร็วและสามารถพัฒนาเป็นวัคซีนที่ใช้ในการรับมือโรคติดต่อ

อุบัติใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถปรับเปลี่ยนได้

ตามการกลายพันธุ์ของไวรัส จึงเป็นส่วนสำคัญอย่างมากที่ทาง

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทุ่มเทให้กับการวิจัย

วัคซีน mRNA นี้ ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งรูปแบบการวิจัยพัฒนา

และผลิตวัคซีนเพื่อความมั่นคงของประเทศ

ที่มาข้อมูลเพิ่มเติม https://www.health-th.com

53


เรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าเอชคิว-๘๕ (HQ-185: Khanh Hoa)

เรือดำน้ำชั้นกิโล (Kilo Project 636.1) ของกองทัพเรือเวียดนาม

จัดหาเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๒ รวม ๖ ลำ ปัจจุบัน

นำเข้าประจำการครบตามโครงการแล้ว

กองทัพเรือเมียนมา ประจำการด้วยเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้า

ลำแรกชั้นกิโล (Kilo Project 877) จัดหามาจากกองทัพเรือ

อินเดียชื่อ เรือมินแยตีหะตู (USM Minye Theinkhathu) เมื่อวันที่

๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๓ เรือขนาด ๓,๐๗๖ ตัน ยาว ๗๖.๒ เมตร

ความเร็วขณะดำ ๑๗ นอต ดำน้ำลึก ๓๐๐ เมตร ลูกเรือ ๕๒ นาย

(เป็นนายทหาร ๑๓ นาย) ปฏิบัติการนาน ๔๕ วัน ตอร์ปิโด

ขนาด ๕๓๓ มิลลิเมตร (ชนิดหกท่อยิง แบบ Type-53 ยาว ๗.๒ เมตร

น้ำหนัก ๒,๐๗๐ กิโลกรัม หัวรบหนัก ๓๐๗.๖ กิโลกรัม

ความเร็ว ๔๔ นอต และระยะยิง ๑๘,๐๐๐ เมตร) กองทัพเรือเมียนมา

54

แนะนำอาวุธเพื ่อนบ้าน

อาเซียนกับกอง

เรือดำน ้ำดีเซลไฟฟ้า

ชั้นกิโล (Kilo)

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์

ข้าราชการบำนาญ

นำออกทำการฝึกในรหัสบัณฑุลา (Bandoola) การฝึกประจำปี

กองทัพเรือ (Fleet Exercise 2020) กองทัพเรือเมียนมามี

ภัยคุกคามทางทะเลคือ กองเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าของกองทัพเรือ

บังกลาเทศในชั้นหมิง (Ming-class: Type-035G) ต่อจากสาธารณรัฐ

ประชาชนจีน (ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๐๕ - ๒๕๒๗ รวม ๒๓ ลำ) นำเข้า

ประจำการ ๒ ลำ (BNS Nabajatra S-161 & BNS Joyjatra S-162)

ราคา ๒๐๓ ล้านเหรียญสหรัฐ (เป็นเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้ามือสอง)

ข้อมูลที่สำคัญคือ ขนาด ๒,๑๑๐ ตัน ยาว ๗๖.๐ เมตร ดำน้ำได้ลึก

๓๐๐ เมตร ตอร์ปิโดขนาด ๕๓๓ มิลลิเมตร (ชนิดแปดท่อยิง ตอร์ปิโด

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


แบบวายยู-๔ ขนาดยาว ๗.๗๕ เมตร น้ำหนัก ๑,๗๗๕ กิโลกรัม

หัวรบหนัก ๓๐๙ กิโลกรัม ความเร็ว ๓๐ นอต และระยะยิงไกล

๑๕,๐๐๐ เมตร) และลูกเรือ ๕๗ นาย (นายทหาร ๑๐ นาย) กองทัพเรือ

บังกลาเทศประจำการวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๐ กองทัพเรือ

เมียนมาสนใจเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าชั้นกิโลของรัสเซียซึ่งมีความ

ต้องการเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้า ๔ ลำ (ก่อนนั้นมีผู้นำทางทหารของ

เมียนมาเยี่ยมชมฐานทัพเรือที่เซวาสโตโปล ชมเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้า

ชื่อเรือบี-๒๓๗ (B-237: Rostov-on-Don) ได้ชมระบบอำนวยการ

รบ ระบบอาวุธและได้ทดลองส่องกล้องของเรือดำน้ำลำนี้ เมื่อวันที่

๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๐) ประเทศเมียนมามีเขตแดนติดต่อกับ

บังกลาเทศทางบกเป็นระยะทาง ๒๗๑ กิโลเมตร ชายฝั่งทะเลยาว

๒,๒๒๘ กิโลเมตร

เรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าชั้นกิโล (Kilo : Project 877 & Project

636) ต่อขึ้นจากอดีตสหภาพโซเวียต เรือดำน้ำลำแรก ประจำการ

เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๓ ประจำการทั้งสิ้น ๓๔ ลำ (Project 877

รวม ๒๒ ลำ & Project 636 รวม ๑๒ ลำ) ข้อมูลทั่วไป ความเร็วที่

ผิวน้ำ ๑๗ นอต ความเร็วขณะดำ ๒๐ นอต ระยะปฏิบัติการขณะ

ดำได้ไกล ๗๔๐ กิโลเมตร และตอร์ปิโด ขนาด ๕๓๓ มิลลิเมตร

สามารถทำการยิงจรวดนำวิถีโจมตีชายฝั่งแบบรุ่นส่งออกแบบ

คาลิเบอร์ (Kalibr/3M-54E/Club-S) รัสเซียต่อเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้า

ชั้นกิโลทั้งสิ้น ๘๐ ลำ ประจำการในกองทัพเรือมิตรประเทศ ๘

ประเทศ คือโปแลนด์ (๑ ลำ) โรมาเนีย (๑ ลำ) อัลจีเรีย (Project

877 รวม ๒ ลำ และ Project 636 รวม ๔ ลำ รวมทั้งสิ้น ๖ ลำ)

อิหร่าน (Project 877 รวม ๓ ลำ) สาธารณรัฐประชาชนจีน (จัดหา

ครั้งแรก Project 877 รวม ๒ ลำ ประจำการปี พ.ศ.๒๕๓๘ และ

Project 636 รวม ๘ ลำ เป็นเงิน ๒.๐ พันล้านเหรียญสหรัฐ ประจำ

การชุดแรกปี พ.ศ.๒๕๔๘ เรือดำน้ำชั้นกิโล ประจำการรวมทั้งสิ้น

เรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าลำแรกของกองทัพเรือเมียนมา มีชื่อเรือมินแยตีหะตู (USM Minye

Theinkhathu) ประจำการเมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๓

๑๒ ลำ) อินเดีย (Project 877 รวม ๑๐ ลำ เรียกว่าชั้นฮินดูกูส

เรือดำน้ำลำแรกได้นำเข้าประจำการปี พ.ศ.๒๕๒๙ และเรือลำ

สุดท้ายหรือเรือลำที่สิบ ประจำการปี พ.ศ.๒๕๔๓ ประจำการนาน

ประมาณ ๑๕ ปี ทำการปรับปรุงใหม่ขั้นโรงงานทั้งหมด) เวียดนาม

(๖ ลำ) และเมียนมา ปัจจุบันเรือดำน้ำชั้นกิโล (Kilo) ประจำการ

อยู่ทั้งสิ้น ๖๒ ลำ เป็นเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าประสบความสำเร็จมาก

ที่สุดแบบหนึ่งของโลกทั้งยอดการต่อขึ้นและประจำการอย่างแพร่

หลายในกองทัพเรือมิตรประเทศของรัสเซีย

เรือดำน้ำชั้นกิโล (Kilo) สามารถยิงโจมตีชายฝั่งทะเลด้วย

จรวดนำวิถีแบบคาลิเบอร์ (3M14K/SS-N30A) ข้อมูลที่สำคัญ

กองทัพเรือบังกลาเทศประจำการด้วยเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าชั้นหมิง (Ming-class: Type-035G) รวม ๒ ลำ (BNS Nabajatra S-161 & BNS Joyjatra S-162) ขนาด ๒,๑๑๐ ตัน

ดำน้ำได้ลึก ๓๐๐ เมตร และตอร์ปิโดขนาด ๕๓๓ มิลลิเมตร ประจำการวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๐

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

55


เรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าชั้นกิโล (Kilo Project 877) จัดหามาจากกองทัพเรืออินเดีย เรือขนาด

๓,๐๗๖ ตัน ยาว ๗๖.๒ เมตร ความเร็วขณะดำ ๑๗ นอต ดำน้ำลึก ๓๐๐ เมตร ปฏิบัติการ

นาน ๔๕ วัน และตอร์ปิโดขนาด ๕๓๓ มิลลิเมตร (ชนิดหกท่อยิง)

ยาว ๖.๒ เมตร หัวรบหนัก ๔๕๐ กิโลกรัม ความเร็ว ๒.๕ มัค และ

ระยะยิง ๒,๕๐๐กิโลเมตร เรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าชั้นกิโล (Kilo Project

636) ชื่อเรือบี-๒๓๗ (B-237: Rostov-on-Don ประจำการ พ.ศ.

๒๕๕๗) ยิงจรวดนำวิถีแบบคาลิเบอร์ (3M14k/Kalibr) จากทะเล

เมดิเตอร์เรเนียนสู่เป้าหมายในประเทศซีเรีย เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม

พ.ศ.๒๕๕๘ และเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าชั้นกิโล (Kilo Project 636)

ชื่อเรือบี-๒๖๘ (B-268: Veliky Novgorod ประจำการ พ.ศ.๒๕๕๙)

ได้ทำการโจมตีเป้าหมายฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซีเรีย เมื่อวันที่ ๓๑

ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๐ และได้ผลิตจรวดนำวิถีโจมตีชายฝั่งแบบรุ่น

ส่งออกแบบคาลิเบอร์(Kalibr/3M-54E/Club-S) สำหรับมิตร

ประเทศที่ประจำการด้วยเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าชั้นกิโล ข้อมูลที่สำคัญ

คือ น้ำหนัก ๒,๓๐๐ กิโลกรัม (ขึ้นกับชนิดของรุ่น) ยาว ๘.๙ เมตร

เส้นผ่าศูนย์กลาง ๐.๕๓๓ เมตร นำวิถีด้วยเรดาร์ ความเร็ว ๒.๕ มัค

และมีระยะยิงไกล ๒๒๐ กิโลเมตร

เวียดนาม มีความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้านกรณีหมู่

เกาะสแปรตลีย์(Spratly Islands) พื้นที่๔๒๕,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร

จรวดนำวิถีแบบคาลิเบอร์ (3M14K/SS-N30A) ขนาดยาว ๖.๒ เมตร หัวรบหนัก ๔๕๐

กิโลกรัม ความเร็ว ๒.๕ มัค และระยะยิง ๒,๕๐๐ กิโลเมตร และรุ่นส่งออกแบบคาลิเบอร์

(Kalibr/3M-54E/Club-S ในภาพเป็นรุ่นส่งออก) นำวิถีด้วยเรดาร์ ความเร็ว ๒.๕ มัค และ

มีระยะยิงไกล ๒๒๐ กิโลเมตร ทำการยิงจากเรือดำน้ำชั้นกิโล (Kilo)

56

เรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าชั้นกิโล (Kilo) กำลังบรรจุตอร์ปิโดประจำเรือดำน้ำทางด้านหัวเรือ

ให้มีความพร้อมรบก่อนที่จะออกปฏิบัติการทางทะเลต่อไป

กับอีก ๕ ประเทศ เป็นพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลมีความซับซ้อนมาก

เวียดนามจึงได้เพิ่มขีดความสามารถทางทะเลด้วยการจัดหาเรือดำน้ำ

ดีเซลไฟฟ้าชั้นกิโล (Kilo Project 636) จากประเทศรัสเซีย รวม

๖ ลำ (ราคาเรือลำละ ๓๕๐ ล้านเหรียญสหรัฐ) ปี พ.ศ.๒๕๕๒ เป็น

ครั้งแรกที่ประจำการด้วยเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าจึงต้องเตรียมความ

พร้อมในทุกด้านเพื่อความพร้อมรบสูงสุด ประกอบด้วย การสร้าง

ฐานทัพเรือดำน้ำใหม่ การฝึกศึกษาและระบบส่งกำลังบำรุงซ่อม

บำรุง รวมทั้งโครงการของเรือดำน้ำเป็นเงินทั้งสิ้น ๓.๒ พันล้าน

เหรียญสหรัฐ เรือลำแรก (HQ-182 : Ha Noi) ประจำการวันที่ ๓

เมษายน พ.ศ.๒๕๕๗ เรือลำที่สอง (HQ-183 : Ho Chi Minh City)

ประจำการวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๗ เรือลำที่สาม (HQ-184 :

Hai Phong) ประจำการวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๘ เรือลำที่สี่

(HQ-185 : Khanh Hoa) ประจำการวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๘

เรือลำที่ห้า (HQ-186 : Da Nang) ประจำการวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.

๒๕๕๘ และเรือลำสุดท้ายของโครงการคือลำที่หก (HQ-187 :

Ba Rja-Vung Tau) ประจำการวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๐

พร้อมด้วยจรวดนำวิถีโจมตีชายฝั่งแบบคาลิเบอร์(Kalibr/3M-54E/

Club-S) ประจำการ ๕๐ ลูก (ได้จัดหาเพิ่มเติมอีก ๔๐ ลูก)

ปัจจุบันกองเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้ากองทัพเรือเวียดนามประจำการ

ด้วยเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้ามากที่สุดของกองทัพเรืออาเซียน

บรรณานุกรม

๑. The World Defence Almanac 2015.

๒. https://en.wikipedia.org/wiki/Sindhughosh-class_submarine

๓. https://en.wikipedia.org/wiki/BNS_Nabajatra

๔. https://en.wikipedia.org/wiki/Type_035_submarine

๕. https://en.wikipedia.org/wiki/Kilo-class_submarine

๖. https://en.wikipedia.org/wiki/Myanmar_Navy

๗. https://en.wikipedia.org/wiki/Yu-4_torpedo

๘. https://en.wikipedia.org/wiki/Type_53_torpedo

๙. https://en.wikipedia.org/wiki/3M-54_Kalibr

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


ปริศนาอักษรไขว้

สำ

หรับปริศนาอักษรไขว้ในวารสาร

หลักเมืองฉบับนี้ จะเป็นคำเกี่ยวกับ

กิจกรรมสนุกๆ ไปหากันว่ามีกิจกรรมอะไรบ้าง

ลองหาดูนะคะ Let’s go

เฉลย

1. BIRDWATCHING 2. CROSSWORDS 3. PARK 4. DRIVING 5. HOBBIES 6. PETS 7. RIDING 8. POLO 9. TOYS

10. PLAYING 11. ENTERTAINING 12. TALKING 13. EXERCISE 14. EATING 15. FOOTBALL 16. GOLF 17. WALKING

18. POKER 19. CARDS

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

57


พลเอก ประยุุทธ์์ จัันทร์โอชา นายุกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่่าการกระทรว่งกลาโหม เป็นประธ์านในพิธีีลงนามบัันทึกข้้อตกลง

คว่ามร่ว่มมือ (MOU) โครงการบููรณาการเพือพัฒนาคุณภาพชีวิิตกลุ่มเปราะบัางรายุครัว่เรือน ระหว่่าง ๑๒ กระทรว่ง ๑ หน่ว่ยุงาน โดยมีี

พลเอก ณัฐ อินทรเจริิญ ปลัดกระทรว่งกลาโหม ร่ว่มพิธีี ณ ตึกภักดีบดิินทร์ ทำาเนียุบัรัฐบัาล เมือ ๓ มีนาคม ๒๕๖๔

58


พลเอก ณัฐ อินทรเจร ิญ ปลัดกระทรว่งกลาโหม ให้การต้อนรับั พลจััตว่า หอม คีม ผู้้ ช ่ว่ยุทูตทหาร ราชอาณาจัักรกัมพูชา

ประจำำากรุงเทพฯ เข้้าเยุี ยุมคำน ับัเพื อแนะนำต ัว่ในโอกาสเข้้ารับต ำาแหน่งใหม่ ณ ห้องพระบัารมีปกเกล้า ภายุในศาลาว่่าการกลาโหม

เมือ ๒ มีนาคม ๒๕๖๔

หลัักเมืือง มีีนาคมื ๒๕๖๔

59


พลเอก ณัฐ อินทรเจริิญ ปลัดกระทรว่งกลาโหม เป็นประธ์านในพิธีีเปิดกิจักรรม “เราทำาคว่ามดี เพือชาติ ศาสน์ กษััตริย์์” ปรับัปรุง

ภูมิทัศน์พืนทีสว่นสมเด็จัพระศรีนครินทราบัรมราชชนนี โรงเรียุนนวมิินทราชินูทิศ หอวััง นนทบุุรี โดยสำำนัักงานปลัดกระทรว่งกลาโหม

เป็นส่ว่นหนึงข้องการบููรณาการร่ว่มกัน ระหว่่างเทศบัาลนครปากเกร็ด สถานีตำารว่จัภูธ์รปากเกร็ด ตลอดจันห้างสรรพสินค้าและประชาชน

ในพื นที ใกล้เคียุง ด้ว่ยุการทำาคว่ามสะอาดคูคลองบ้้านเก่า ทาสี ตัดแต่งกิ งไม้ให้มีคว่ามสะอาดเรียุบัร้อยุ เพื อสุข้อนามัยุที ดีข้องกำล ังพล

และประชาชนในพืนทีโดยุรอบั ณ พืนทีสว่นสมเด็จัพระศรีนครินทราบัรมราชชนนี วััดเรืองเว่ชมงคล บริิเว่ณคลองบ้้านเก่า และถนนศรี

สมาน อำาเภอปากเกร็ด จัังหวััดนนทบุุรี เมือ ๕ มีนาคม ๒๕๖๔

60


พลเอก ณัฐ อินทรเจริิญ ปลัดกระทรว่งกลาโหม ให้การต้อนรับั นายุอะศิม อิฟติคัร อะห์มัด เอกอัครราชทูตปากีสถานประจำำาประเทศไทยุ

ในโอกาสหารือข้้อราชการ และพิธีีลงนามในบัันทึกคว่ามเข้้าใจั (MOU) ว่่าด้ว่ยุคว่ามร่ว่มมือด้านการป้องกันประเทศระหว่่างกัน โดยม ี

รองปลัดกระทรว่งกลาโหมและนายุทหารชันผูู้้ใหญ่ข้องสำนัักงานปลัดกระทรว่งกลาโหม ร่ว่มต้อนรับั ณ ห้องสุรศักดิมนตรีเมือ ๕ มีนาคม ๒๕๖๔

หลัักเมืือง มีีนาคมื ๒๕๖๔

61


กิิจกิรรมสมาคมภริยาข้้าราชกิาร

สำำนัักงนัปลััดกระทรวงกลัโหม

62

นางรมิดา อินทรเจร ิญ นายุกสมาคมภริยุาข้้าราชการสำน ักงานปลัดกระทรว่งกลาโหม พร้อมด้ว่ยุอุปนายุก และกรรมการ

สมาคมฯ มอบัสิงข้องเพือช่ว่ยุเหลือบัรรเทาทุกข์์จัากการแพร่ระบัาดข้องโรคโควิิด-๑๙ ณ ศูนย์์พัฒนาอาชีพคนตาบัอด สถานคุ้มครอง

และพัฒนาคนพิการบ้้านนนทภูมิ สถานสงเคราะห์และพัฒนาคนพิการบ้้านเฟ่องฟ้า ชุมชนวััดช่องลม และชุมชนวััดนาว่งษ์์

จัังหวััดนนทบุุรี เมือ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๔


นางรมิดา อินทรเจริิญ นายุกสมาคมภริยุาข้้าราชการสำนัักงานปลัดกระทรว่งกลาโหม พร้อมด้ว่ยุ อุปนายุกและกรรมการสมาคมฯ

ออกจำำาหน่ายุดอกป๊อปป้จัากมูลนิธิิสงเคราะห์ครอบัครัว่ทหารผู้่านศึก ให้กับั พลเอก ณัฐ อินทรเจร ิญ ปลัดกระทรว่งกลาโหม

รองปลัดกระทรว่งกลาโหม หัว่หน้าหน่ว่ยุข้ึ นตรงและกำล ังพลสำนัักงานปลัดกระทรว่งกลาโหม ณ ศาลาว่่าการกลาโหม และสำน ักงาน

ปลัดกระทรว่งกลาโหม (พืนทีศรีสมาน) เมือ ๑ กุมภาพันธ์์ ๒๕๖๔

หลัักเมืือง มีีนาคมื ๒๕๖๔

63


นางรมิดา อินทรเจริิญ นายุกสมาคมภริยุาข้้าราชการสำนัักงานปลัดกระทรว่งกลาโหม ได้มอบัเครืองเลเซอร์ปรินเตอร์ และสิงข้อง

ต่างๆ ให้กับัคณะครูโรงเรียุนกลาโหมอุทิศ และศูนย์์พัฒนาเด็กเล็กนครนนท์ ๙ กลาโหมอุทิศ เพือให้ทางโรงเรียุนไว้้ใช้ประโยุชน์

ในการเรียุนการสอน ณ ห้องประชุมโรงเรียุนกลาโหมอุทิศ จัังหวััดนนทบุุรีตามโครงการ “มอบด ้ว่ยุใจ ต ้านภัยุ COVID-19”

เมือ ๑๗ กุมภาพันธ์์ ๒๕๖๔

กิิจกิรรมสมาคมภริยาข้้าราชกิาร

สำำนัักงนัปลััดกระทรวงกลัโหม

64


ด้วยความปรารถนาดีจาก สานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

สานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!