26.03.2021 Views

มีนาคม 64

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

กลุ่มหัวรุนแรงในอินโดนีเซียจัดชุมนุมสนับสนุน

กลุ่มก่อการร้ายไอซิส (ISIS) ๒๐๑๖

โรงแรม เจดับบลิว แมริออท ปี ๒๕๔๖ และการโจมตีร้านสตาร์บัค

ณ กรุงจาการ์ตา ในปี พ.ศ.๒๕๕๙ จากตัวอย่างพบว่าเครือข่าย

ก่อการร้ายในอินโดนีเซียมีการมุ่งเป้าไปที่แหล่งผลประโยชน์และ

นักท่องเที ่ยวชาวตะวันตก ๓) เป็นพื้นที่เคลื่อนไหวของกลุ่มผู้นิยม

ความรุนแรงแบบสุดโต่งยุคใหม่ที่สำคัญในภูมิภาคอาเซียนอย่างเปิด

เผยและแพร่หลาย ซึ่งบุคคลเหล่านี้ได้มีการสาบานตนเข้าสวามิภักดิ์

ต่อกลุ่มก่อการร้ายสากลและได้เข้าร่วมก่อเหตุรุนแรงในต่างแดน

เช่น การเข้าร่วมกลุ่มไอซิสในสมรภูมิซีเรีย ภายใต้ชื่อกลุ่มกองกำลัง

คาติบาห์ นูซันตารา (Katibah Nusantara)

สิ่งบอกเหตุแนวโน้มสถานการณ์

เหตุการณ์โจมตีเมืองหลวงของอินโดนีเซีย เมื่อ ๑๔ มกราคม

๒๕๕๙ นับว่าเป็นการก่อวินาศกรรมกลางกรุงครั้งที่รุนแรงที่สุด และ

เป็นจุดเริ่มต้นของการก่อการร้ายอย่างเป็นทางการในภูมิภาค

อาเซียน เหตุการณ์ครั ้งนั้นส่งผลให้หน่วยงานด้านการต่อต้านการ

ก่อการร้ายในภูมิภาคถูกปลุกให้ต้องตื่นขึ้นเพื่อรับมือกับภัยคุกคามฯ

อย่างเต็มรูปแบบอีกครั้ง ซึ่งเป็นสิ่งบอกเหตุว่า แม้ว่าความพยายาม

ของหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายที่นับว่าเป็นหน่วยงานที่มี

ประสิทธิภาพสูงจะสามารถจับกุม อิหม่ามอาบู บาการ์ บาเชียร์

(Abu Bakar Bashir) แกนนำคนสำคัญของกลุ่มก่อการร้ายเจะมะห์

อิสลามิยาห์ ที่มีสายสัมพันธ์กับอัล-กออิดะห์ และเครือข่ายจำนวน

มากอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้กระนั้นก็ยังไม่สามารถยับยั้งอุดมการณ์ของ

แนวร่วมลงได้ เนื่องจากการก่อเหตุรุนแรงยังคงปรากฏด้วยวิธีที่

หลากหลายจากการกระทำของกลุ่มติดอาวุธหลายกลุ่มและได้ขยาย

ไปสู่ประชาชนที่มีแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยมที่บางรายมิได้อยู่ในบัญชี

รายชื่อในกลุ่มก่อการร้าย อาทิ เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๒

นายวิรันโต รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงของอินโดนีเซีย ได้ถูกลอบ

ทำลายด้วยอาวุธมีดโดยผู้ก่อเหตุกระทำในลักษณะ “Lone Wolf”

(ผู้ก่อเหตุโดยลำพัง/ไม่ระบุความเชื่อมโยงต่อกลุ่มใด) ดังจะเป็นที่

ประจักษ์แล้วว่าในขณะรัฐบาลจาการ์ตา พยายามทุ่มเทที่จะทลาย

เครือข่ายของกลุ่มก่อการร้ายแต่สงครามครั้งนี้ยังคงยากที่จะสงบลง

ภายในระยะเวลาอันสั้นเนื่องจากครั้งนี้เป็นสงครามแห่งอุดมการณ์/

ความเชื่อ (Ideology Warfare) ซึ่งแม้ว่าความพยายามที่ผ่านมานั้น

ยากลำบาก แต่นับจากนี้ (ปี ๒๐๒๑) หน่วยงานด้านความมั่นคงจะ

ต้องเจอกับอุปสรรคครั้งใหญ่มากขึ้นจากการปล่อยตัวผู้นำทางจิต

วิญญาณ/แกนนำระดับสั่งการสูงสุดของเครือข่ายกลุ่มก่อการร้าย

และกลุ่มอนุรักษ์นิยมหัวรุนแรง จำนวน ๒ คน ได้แก่

๑) นายริเซียก ซีฮับ (Rizieq Shihab) “Habib Rizieq” ผู้นำ

ของกลุ่มแนวร่วมพิทักษ์อิสลาม (FPI) ซึ่งเป็นกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่

ต่อต้านการปกครองระบอบประชาธิปไตย และเรียกร้องให้รัฐบาลฯ

34

พันเอก พิศาล อมรรัตนานุภาพ

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!