26.03.2021 Views

มีนาคม 64

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ภาษาอังกฤษง่ายๆ สไตล์ครูวันดี

“Pandemic”

the word of year 2020

พันเอกหญิง ดร.วันดี โตสุวรรณ

นักวิจัยพิเศษ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม

คำ

ว่า “Pandemic” หรือ แพนดามิก ที่แปลว่า โรคระบาด

ขนาดใหญ่ ได้กลายเป็นคำศัพท์แห่งปี พ.ศ.๒๕๖๓ โดย

พจนานุกรมภาษาอังกฤษชื่อดังของสหรัฐอเมริกาเมอร์เรียม-เว็บเตอร์

(Merriam-Webster) และ เว็บไชต์ Dictionary.com ได้ยกให้คำว่า

“Pandemic” เป็นคำศัพท์แห่งปี ค.ศ.๒๐๒๐ ด้วยเหตุผลที่ว่า คำนี้

เป็นคำศัพท์ที่ได้รับการค้นหามากที่สุดในปี ๒๕๖๓ โดยระบุว่ามีการ

ค้นหาความหมายของคำนี้เพิ่มขึ้นกว่า ๑๓,๐๐๐ เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

ยิ่งเมื่อ ดร.เตโวโดรส อัดฮาโนม เกอเบรออีเยอซุส (Dr. Tedros

Adhanom Ghebreyesus) ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (World

Health Organization: WHO) ได้ออกมาประกาศเมื่อวันที่ ๑๑

มีนาคม ๒๕๖๓ ว่า โลกได้เข้าสู่ภาวะแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา

๒๐๑๙ หรือโรคโควิด-๑๙ ได้ยกระดับเป็น Pandemic ไปแล้ว หลัง

ลุกลามไปยังหลายประเทศของภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ดร.เตโวโดรส

กล่าวว่า “We are deeply concerned both by the alarming

levels of spread and severity and by the alarming levels of

inaction. We have therefore made the assessment that

COVID-19 can be characterized as a pandemic.”

จากพจนานุกรมเมอร์เรียม-เว็บเตอร์ (Merriam-Webster) ได้

ให้นิยามความหมายของคำว่า Pandemic หมายถึง การเกิดโรค

ระบาดที่แพร่กระจายเป็นวงกว้างไปยังพื้นที่ทั่วโลก (ในหลายประเทศ

และทวีป) และส่งผลกระทบต่อประชากรจำนวนมากอย่างเห็นได้ชัด

40

“Pandemic is an outbreak of a

disease that occurs over a wide

geographic areas (such as multiple

countries or continents) and typically

affects a significant proportion of

the population” และวิกิพีเดีย

สารานุกรมเสรีได้ระบุว่า Pandemic มา

จากรากศัพท์ภาษากรีกและภาษาละติน

παν pan ทั้งหมด + δήμος demos

ประชาชน) เป็นการระบาดของโรคติดเชื้อ

ที่แพร่กระจายในประชากรมนุษย์ใน

บริเวณกว้าง เช่น กระจายไปทั่วทุกทวีป

ทั่วโลก เริ ่มมีการใช้คำนี้ในบริบทที่กว้าง

ขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ ๑๗ และเริ่ม

ปรากฏในงานเขียนด้านการแพทย์ หลัง

กาฬโรคระบาดในช่วงยุคกลาง เป็นต้น

ดังนั ้นนักภาษาศาสตร์ได้เล่าว่า

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-๑๙ นั้น ภาษามีความ

สำคัญจริงๆ ภาษานั้นมีพลัง Language has power ตัวอย่างที่

น่าสนใจระบุไว้ในหนังสือ Words Can Change Your Brain โดย

ดร.แอนดรูว์นิวเบิร์ก และมาร์คโรเบิร์ตวัลด์แมน (Dr. Andrew Newberg

and Mark Robert Waldman) อธิบายว่า คำศัพท์ในเชิงบวก

หรือในเชิงลบมีพลังต่อการเปลี่ยนแปลงเคมีของสมอง โดยเฉพาะอย่าง

ยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ เป็นช่วงที่ทุกคน ทุกฝ่าย

มีความหวาดระแวงอยู่บ้าง ดังนั้น คำพูดหรือถ้อยคำ น้ำเสียง บางครั้ง

อาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้รับได้ ตัวอย่างเช่น นักวิชาการ

และนักภาษาศาสตร์ เสนอคำที่สามารถแสดงความรู้สึกในทางบวกได้

เช่น

๑. Stuck at Home เทียบกับ Stay at Home แทนที่จะพูด

ว่า “I got stuck at home ฉันติดแหง็ก อยู่กับบ้าน” เราก็จะพูดว่า

“I stay at home ฉันอยู่บ้าน (เพื่อระวังการติดเชื้อ)”

๒. New Normal เทียบกับ Next Normal เราอาจจะต้อง

หลีกเลี่ยงการพูดว่า “the new normal เพราะให้ความรู้สึกว่า

เราต้องเผชิญกับสิ่งใหม่ของโรคระบาด แต่ให้ใช้คำวา Next Normal

เพื่อการทำใจยอมรับการแพร่ระบาดครั้งต่อไป”

๓. Social Distancing เทียบกับ Physical Distancing

เนื่องจากคำว่า “Social Distancing จะแปลทำนองว่า “การห่างทาง

สังคม” ทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของการ

พันเอกหญิง ดร.วันดี โตสุวรรณ

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!