26.03.2021 Views

มีนาคม 64

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

สังคมไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญต่อการ

พัฒนาประเทศและการบริหารราชการแผ่นดินประการหนึ่งคือ

ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรในสังคมไทย ทำให้เกิด

สังคมที่เรียกว่า สังคม “ผู้สูงอายุ” หรือสังคม “ผู้สูงวัย” และสังคม

“คนในยุคดิจิทัล” ขึ้นมาในห้วงเวลาเดียวกัน ซึ่งต้องการวิธีการ

บริหารจัดการให้ประชากรที่ต่างวัยต่างยุคต่างสมัยสามารถปรับตัว

ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมของดิจิทัล และสามารถอยู่

ร่วมกันโดยผสมผสานและสร้างจุดสมดุลระหว่าง

การใช้ประสบการณ์และการใช้ความรู้ใหม่ของคน

ต่างวัยต่างยุคสมัย เพื่อตอบสนองความต้องการและ

ร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีให้เกิดขึ้นต่อสังคม

ไทยโดยรวม

การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ คือ เมื่อ

ประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๐ หรือ

ประชากรอายุ ๖๕ ปี เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๔ ของ

ประชากรโดยรวมทั้งหมดของทั้งประเทศ ซึ่งพบว่า

ในปี ๒๕๖๔ ประเทศไทยมีแนวโน้มของประชากร

เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ ๒๐ จึงถือได้ว่าประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคม

ผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้ว อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของ

ประเทศไทยกับการเปลี่ยนแปลงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัล

ได้เกิดช่องว่างของการปรับตัวระหว่าง “ผู ้สูงอายุ” กับ “เทคโนโลยี

ดิจิทัล” ในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะในช่วงการระบาด

ของโรคโควิด-๑๙ กลุ่มผู้สูงอายุเกิดปัญหาด้านข้อจำกัดเรื่องความรู้

และทักษะในการเข้าถึงและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อลงทะเบียน

ขอรับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ ดังนั้นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้

และทักษะการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล จึงมี

ความจำเป็นและถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สำคัญในสังคมไทยยุคดิจิทัล

ในขณะที่สังคมไทยเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์

สังคมไทยก็ได้ปรากฏประชากรอีกกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า “คนในยุค

ดิจิทัล” ขึ้นเป็นสังคมอีกสังคมหนึ่ง คนในกลุ่มนี้คือ เด็กไทยที่เกิด

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

15

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!