26.03.2021 Views

มีนาคม 64

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

สถานการณ์ความมั ่นคง

ในอินโดนีเซีย ปี ๒๐๒๑

(สงครามนอกแบบ : มิติการก่อการร้าย)

พันเอก พิศาล อมรรัตนานุภาพ

รองผู้อำนวยการกองข่าวความมั่นคง สำนักข่าวกรอง กรมข่าวทหาร

นั

อิหม่ามริเซียก ซีฮับ (Rizieq Shihab) “Habib Rizieq” ผู้นำของกลุ่มแนวร่วมพิทักษ์อิสลาม (FPI)

บตั้งแต่เกิดสงครามเย็น พ.ศ.๒๔๘๘ - ๒๕๓๔ (Cold War

1945 - 1991) ภูมิภาคอาเซียน (ASEAN) จัดเป็นพื้นที่ทาง

ยุทธศาสตร์ที่สำคัญทั้งทางด้านเศรษฐกิจและด้านการทหารที่

มหาอำนาจโลกต่างพยายามที่จะเข้ามารับบทบาทการเป็นผู้ครอง

อำนาจนำในภูมิภาค (Regional Hegemon) และดำเนินยุทธศาสตร์

แทรกแซงกิจการประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบัน

มหาอำนาจ - สหรัฐฯ และจีน - พยายามชิงความได้เปรียบผ่านการ

ใช้ขีดความสามารถที่มีเพื่อสร้างความสมดุล (rebalance) ซึ่งในมิติ

ด้านการทหารในการทำสงครามตามแบบ (Conventional

Warfare) แม้ว่าจีนจะเร่งพัฒนาศักยภาพทางทหาร แต่ยังนับว่า สหรัฐฯ

ได้รับการพัฒนาด้านศักย์สงครามที่ยากต่อการเผชิญหน้าในสงคราม

ตามแบบ อีกทั้งได้ทำการขีดวงปิดล้อมการขยายอิทธิพลของจีนด้วย

ยุทธศาสตร์ “การปักหมุดเอเชีย (Pivot to Asia)” ที่เป็นการเพิ่ม

แสนยานุภาพทางทหารในภูมิภาคเอเชียอย่างชัดเจน เพื่อเป็นการ

ถ่วงดุลประเทศจีน จึงใช้จุดแข็งตามหลักของสงครามนอกแบบ ใน

มิติด้านเศรษฐกิจจึงได้ดำเนินกลยุทธ์ผ่านยุทธศาสตร์ “หนึ่งแถบ

หนึ่งเส้นทาง (One Belt, One Road - อี้ไต้อี้ลู่)” ซึ่งเป็นการนำ

ประเทศในภูมิภาคฯ เป็นสมาชิกบนขบวนรถไฟสินค้าที่สามารถ

เชื่อมต่อความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจทั่วโลก ในขณะที่ทุกสายตา

กำลังจับจ้องไปที่ยุทธศาสตร์ระดับมหภาค (Macro) ทว่าประเด็นที่

น่าสนใจของภูมิภาคอาเซียนกลับเป็นปัญหาทางจุลภาค (Micro)

ในมิติด้านความมั่นคงอันเนื่องมาจากภัยคุกคามจากการก่อการร้าย

32

พันเอก พิศาล อมรรัตนานุภาพ

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!