26.03.2021 Views

มีนาคม 64

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

นำกฎหมายอิสลาม (Sharia Islamic Law) มาบังคับใช้ อีกทั้ง

สนับสนุนให้แนวร่วมก่อเหตุรุนแรงกับชนกลุ่มน้อยและผู้นับถือ

ศาสนาอื่นซึ่งรัฐบาลซาอุดีอาระเบียที่ได้ทำการจับกุมตัว ๓ ปีก่อน

โดยเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ทำการยกฟ้องและปล่อยตัว

ซึ่งในการกลับสู่มาตุภูมิมีกลุ่มผู้สนับสนุนให้การต้อนรับจ ำนวนหลาย

แสนคน ซึ่งเป็นสิ่งบอกเหตุว่า อิหม่ามริเซียกฯ ยังคงเป็นศูนย์รวม

ทางจิตวิญญาณของกลุ่มอนุรักษ์นิยมเหล่านี้ต่อไป

๒) นายอาบู บาการ์ บาเชียร์ (Abu Bakar Bashir) ซึ่งเป็น

อดีตแกนนำกลุ่มเจะมะห์ อิสลามิยาห์ (Jemaah Islamiyah) และ

ต่อมาได้ก่อตั้งกลุ่มจามาอะห์อันซอรุต เตาฮิด (Jamaah Anshorut

Tauhid: JAT) ที่อยู่เบื้องหลังการวางระเบิดบนเกาะบาหลี และเหตุ

ระเบิดโจมตีโรงแรมเจดับบลิว แมริออท เมื่อปี ๒๕๔๕ และ ๒๕๔๖

ตามลำดับ โดยขณะรับโทษได้ประกาศออกสื่อสาธารณะว่าตนเอง

ได้สาบานตนเข้าร่วมสวามิภักดิ์กับกลุ่มก่อการร้ายไอเอสและสั่งการ

ให้สมาชิกกลุ่มจามาอะห์ อันซอรุต เตาฮิด ให้การสนับสนุนการ

ดำเนินการต่างๆ ซึ่งนายบาเชียร์ฯ ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ

กูนังซินดูร์ของอินโดนีเซียเมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๖๔

วิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มการก่อการร้าย

ในการจัดตั้งกลุ่มและเครือข่ายแกนนำสูงสุดของกลุ่มแนวร่วม

พิทักษ์อิสลาม และกลุ่มจามาอะห์ อันซอรุต เตาฮิด มีขีดความ

สามารถเอาชนะในสงครามอุดมการณ์ โดยทั้ง ๒ กลุ่มต่างมี

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

วัตถุประสงค์ร่วมกัน หากทำการวิเคราะห์ตามหลัก

การทหาร และมีสิ่งบอกเหตุซึ่งได้แก่ ๑) เจตนารมณ์

ผู้นำ : อิหม่ามริเซียกและอิหม่ามบาเชียร์ ล้วนมีการ

แสดงออกอย่างชัดเจนที่ต้องการนำประเทศไปสู่การ

ปกครองตามแบบอนุรักษ์นิยม การต่อต้านรัฐบาล

อินโดนีเซียที่ไม่เคร่งครัดต่อหลักศาสนา (the Indonesian

state is a tyrannical unIslamic regime)

และยืนหยัดในการประกาศข้อเรียกร้องแบบไม่มี

เงื่อนไข โดยต้องการให้รัฐบาลฯ ต้องมาจากการ

คัดสรรของสภาซูเราะฮ์ (Shurah) และปกครอง

ประเทศภายใต้กฎหมายซาริอะห์ ๒) ขีดความ

สามารถ : กำลังพล/สมาชิกมีการเคลื่อนไหวและก่อเหตุ

ด้วยวิธีรุนแรงต่อผู้เห็นต่างฯ นับว่าเป็น “ญิฮาด

(ญะฮฺดุน)” ที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นหน้าที่ของสมาชิกฯ ทุกคน ที่นำไป

สู่การขยายขอบเขตความรุนแรง ซึ่งในขณะที่แกนนำถูกจับกุมแต่

สมาชิกที่มีมากกว่า ๑๐ ล้านคนทั่วประเทศยังคงเคลื่อนไหวก่อเหตุ

รุนแรงอย่างต่อเนื่อง ๓) จุดล่อแหลม : การปล่อยตัวให้แกนนำฯ

ที่ยังไม่ได้มีการเปลี่ยนอุดมการณ์ย่อมเป็นความเสี่ยงต่อการก่อเหตุ

รุนแรงในอินโดนีเซียต่อไปอย่างแน่นอน อีกทั้งยังมีสิ่งยืนยันการแจ้งเตือน

จากหน่วยงานด้านความมั่นคงหลายประเทศ อาทิ หน่วยต่อต้าน

การก่อการร้ายแห่งสหราชอาณาจักรและรัฐบาลออสเตรเลีย

ออกรายงานการแจ้งเตือนเมื่อเดือนมกราคม ๒๕๖๔ ที่สอดคล้อง

กันว่า อินโดนีเซียมีความเสี่ยงอยู่ในระดับที่สูงจากการถูกโจมตีโดย

กลุ่มก่อการร้าย และระบุให้ประชาชนของทั้ง ๒ ประเทศระมัดระวัง

ในการเดินทางเข้า-ออกอินโดนีเซีย โดยกลุ่มก่อการร้ายมีแผนที่จะ

ใช้ระเบิดพลีชีพในพื้นที่ที่มีประชาชนหนาแน่น สถานบันเทิงและ

แหล่งผลประโยชน์ของประเทศตะวันตก ดังนั้นสิ่งที่จะต้องติดตาม

ต่อไปว่าหลังจากการถูกปล่อยตัวของแกนนำทั้ง ๒ ท่านจะส่งผล

กระทบด้านความมั่นคงในอินโดนีเซียในมิติแห่งสงครามนอกแบบ

ต่อไปอย่างไร

References:

Department of Home Affairs (Australia), 2021, Ban on Overseas

Travel From Australia, 12 th January, viewed 1 st February 21

(https://www.smartraveller.gov.au/destinations/asia/indonesia)

UK Government (2021), Indonesia: Foreign travel advice:

Terrorism, viewed 1 st Feb 21 <https://www.gov.uk/foreigntravel-advice/indonesia/terrorism>

Fannin, R A 2019, Tech Titans of China, Nicholas Brealey Publishing,

London

Jones, S 2019, The Wiranto attack and the ISIS impact, Lowy Institute,

19 th Oct, Viewed 3 rd Feb 2021,<https://www.lowyinstitute.org/

the-interpreter/wiranto-attack-and-isis-impact>

Mahbubani, K 2020, Has China Won?, Hachette Book Group

Paddock, R C 2020, Polarizing Muslim Cleric Returns to Indonesia,

New York Times, 30 th Dec, viewed 1 st Feb 21 <https://www.

nytimes.com/2020/12/02/world/asia/indonesia-rizieq-muslim.

html>

35

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!