26.03.2021 Views

มีนาคม 64

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ทั้งในระดับประเทศและระดับโลกที่ร่วมกันพัฒนาวิจัย ต่อยอด

การคิดค้นผลิตวัคซีนเพื่อใช้ในการป้องกันโรคต่างๆ ให้กับประชาชน

มาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การพัฒนาวัคซีนโควิด-๑๙ ของศูนย์วิจัย

วัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาล

จุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย ในครั้งนี้จะประสบความสำเร็จและสร้าง

คุณประโยชน์และชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยในระดับสากล

อย่างแน่นอน

วัคซีนที่กำลังทดสอบในประเทศไทย ชื่อว่าวัคซีน ChulaCov19

เป็นวัคซีนชนิด mRNA ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ใน

ภาวะฉุกเฉินแล้วในหลายประเทศ และให้ใช้ในประชาชนทั่วไปในบาง

ประเทศแล้ว เช่น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และหลาย

ประเทศทั่วโลกได้รับการฉีดวัคซีนชนิด mRNA แล้ว

วัคซีน ChulaCov19 เป็นการคิดค้นออกแบบและพัฒนาโดย

คนไทยจากความร่วมมือสนับสนุน โดยคุณหมอนักวิทยาศาสตร์

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

ผู้คิดค้นเทคโนโลยีนี้ของโลกคือ Prof. Drew

Weissman มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย วัคซีน

ChulaCov19 ผลิตโดยสร้างชิ้นส่วนขนาดจิ๋ว

จากสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนา (โดย

ไม่มีการใช้ตัวเชื ้อแต่อย่างใด) ซึ่งเมื่อร่างกาย

ได้รับชิ้นส่วนของสารพันธุกรรมขนาดจิ๋วนี้

เข้าไป จะทำการสร้างเป็นโปรตีนที่เป็นส่วน

ปุ่มหนามของไวรัสขึ้น (spike protein) และ

กระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันไว้เตรียม

ต่อสู้กับไวรัสเมื่อไปสัมผัสเชื้อ เมื่อวัคซีน

mRNA ทำหน้าที่ให้ร่างกายสร้างโปรตีน

เรียบร้อยแล้ว ไม่กี่วัน mRNA นี้จะถูกสลายไป

โดยไม่มีการสะสมในร่างกาย

วัคซีน ChulaCov19 นี้สามารถป้องกัน

โรคโควิด-๑๙ และลดจำนวนเชื้อได้อย่างมาก

ในหนูทดลอง ซึ่งผลการทดลองล่าสุด พบว่าภายหลังจากหนูทดลอง

ชนิดพิเศษที่ออกแบบให้สามารถเกิดโรคโควิด-๑๙ ได้ เมื่อได้รับการ

ฉีดวัคซีน ChulaCov19 ครบสองเข็ม ห่างกันสามสัปดาห์ หนูทดลอง

ได้รับเชื้อเข้าทางจมูก สามารถป้องกันหนูทดลองไม่ให้ป่วยเป็นโรค

และยับยั้งไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าสู่กระแสเลือด รวมทั้งสามารถลดจำนวน

เชื้อในจมูกและในปอดลงไปอย่างน้อย ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ เท่า ส่วนหนู

ที่ไม่ได้รับวัคซีน จะเกิดอาการแบบโควิด-๑๙ ภายใน ๓ - ๕ วัน

และทุกตัวมีเชื้อสูงในกระแสเลือดในจมูกและปอด

วัคซีน ChulaCov19 เก็บในอุณหภูมิตู้เย็นปกติคือ ๒ - ๘

องศาเซลเซียสได้อย่างน้อย ๑ เดือน ขณะนี้กำลังรอผลวิจัยที่ ๓ เดือน

ดังนั้นการขนส่งเพื่อกระจายวัคซีนไปยังต่างจังหวัดทั่วประเทศจึง

สามารถทำได้อย่างสะดวก

วัคซีน ChulaCov19 คาดว่าจะผลิตเสร็จเพื่อนำมาทดสอบใน

อาสาสมัครได้ ประมาณต้นเดือนพฤษภาคมนี้ และกำลังเตรียมการ

พัฒนารุ่น ๒ เพื่อทดสอบในหนูทดลอง เพื่อรองรับเชื้อดื้อวัคซีนใน

อนาคต เพราะเนื่องจากมีเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ กำลังแพร่ระบาด

ในหลายประเทศทั่วโลกและบางสายพันธุ์พบว่าเชื้อเริ่มดื้อต่อวัคซีน

ในปัจจุบันซึ่งเทคโนโลยีวัคซีน mRNA มีจุดเด่น คือสามารถออกแบบ

วัคซีนรุ่นที่สองเพื่อตอบโต้เชื้อที่ดื้อวัคซีนได้อย่างรวดเร็ว

สถาบันวัคซีนแห่งชาติยืนยันสนับสนุนการวิจัยวัคซีนโควิด-๑๙

ในประเทศ เพื่อสร้างรากฐานและพัฒนาขีดความสามารถด้านการ

วิจัยวัคซีนของประเทศเพื่อรับมือการระบาด วัคซีน mRNA เป็น

รูปแบบที่ ณ เวลานี้ได้รับการยอมรับแล้วว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่มี

ความรวดเร็วและสามารถพัฒนาเป็นวัคซีนที่ใช้ในการรับมือโรคติดต่อ

อุบัติใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถปรับเปลี่ยนได้

ตามการกลายพันธุ์ของไวรัส จึงเป็นส่วนสำคัญอย่างมากที่ทาง

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทุ่มเทให้กับการวิจัย

วัคซีน mRNA นี้ ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งรูปแบบการวิจัยพัฒนา

และผลิตวัคซีนเพื่อความมั่นคงของประเทศ

ที่มาข้อมูลเพิ่มเติม https://www.health-th.com

53

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!