26.03.2021 Views

มีนาคม 64

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของนักวิจัยและคณะนักวิจัย เช่นกัน

๓.๓ วัฒนธรรม โดยนักวิจัยจะต้องเคารพและเข้าใจ

ต่อความต้องการและวัฒนธรรมในท้องถิ่น

๓.๔ ความยินยอม นักวิจัยจะต้องขอคำยืนยันอย่างเป็น

ทางการจากผู้เข้าร่วมการวิจัยและเป็นการร่วมการดำเนินโครงการ

วิจัยด้วยความสมัครใจ นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยจะต้องเข้าใจ

และทราบถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัย ความเสี่ยงและผลประโยชน์

ในการเข้าร่วม ผู้เข้าการวิจัยสามารถเปลี่ยนแปลงหรือถอนความ

ยินยอมได้ตลอดเวลาในระหว่างหรือหลังการวิจัย ในแง่ของความ

เป็นส่วนตัว นักวิจัยต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า ข้อมูลการวิจัยที่กล่าว

ถึงบุคคลจะจัดเก็บเป็นชั้นความลับ เว้นแต่ผู้เข้าร่วมจะยินยอมให้

เปิดเผยชื่อของตนในการศึกษาวิจัย

๓.๕ จริยธรรมการใช้ข้อมูลและนวัตกรรม หากมีการใช้

นวัตกรรมใหม่ๆ (เช่น ภาพถ่ายระยะไกล ข้อมูลขนาดใหญ่ และการ

อ้างอิงทางภูมิศาสตร์) นักวิจัยจะต้องพิจารณาถึงจริยธรรม กฎหมาย

ข้อบังคับที่จำเป็นและสำคัญ การใช้เทคนิคต่างๆ ในโครงการ จะ

ต้องคำนึงถึงการไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัว ข้อจำกัดทางกฎหมาย

กลไกทางสาธารณะและการได้รับการอนุญาตจากรัฐบาล เป็นต้น

๔) ใครเป็นเจ้าขององค์ความรู้ (Who owns the knowledge?)

หลังจากสิ้นสุดงานวิจัยและรวบรวมข้อมูลเสร็จแล้ว นักวิจัย

จะต้องพิจารณาว่าจะมีการแบ่งปันผลการวิจัยกับผู้เข้าร่วมการวิจัย

หรือไม่ ผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วมอย่างไร ตลอดกระบวนการวิจัยทั้งหมด

นักวิจัยจะต้องระบุอย่างชัดเจนถึงวิธีการเผยแพร่ผลการวิจัย และ

ตรวจสอบให้แน่ใจว่า การเลือกภาษาสำหรับการตีพิมพ์งานวิจัย

มีความเกี่ยวข้องอย่างไร นักวิจัยควรระบุอย่างชัดเจนว่า ผู้เข้าร่วม

การวิจัยสามารถเข้าถึงผลการวิจัยได้อย่างไร

สำหรับนักวิจัยทางทหารหรือบุคคลทั่วไปจะสังเกตได้ว่า งาน

วิจัยที่ท้าทายในช่วงโควิดนั้น จะเป็นงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์

และทางด้านคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จริยธรรมการวิจัยในคนจะมี

เงื่อนไข เช่น คุณค่าทางสังคม สัดส่วนของผลประโยชน์และอันตราย

หรือความเสี่ยง การทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การเลือก

สถานที่วิจัยที่เหมาะสม หรือการคัดเลือกผู้เข้าร่วมการวิจัยอย่าง

ยุติธรรม การตอบแทนผู้เข้าร่วมการวิจัยอย่างเหมาะสม หรือปัจจัย

เรื่องอื่นๆ ที่นักวิจัยจะต้องคำนึง ตัวอย่างชื่อบทความข้างล่างนี้

เป็นบทความยอดนิยมจำนวน ๑๐ บทความ ที่แนะนำให้นักวิจัยได้

ศึกษาถึงกระบวนการวิจัยและการดำเนินการวิจัยที่ได้รับความนิยม

จากผู้อ่าน เพื่อกระตุ้นให้มีแนวคิดต่อการดำเนินการวิจัยต่อไป

1) Molecular and serological investigation of 2019-

nCoV infected patients: implication of multiple shedding

routes (Wei Zhang et al.)

2) Evaluation of a COVID-19 IgM and IgG rapid test;

an efficient tool for assessment of past exposure to

SARS-CoV-2 (Tove Hoffman et al)

3) No credible evidence supporting claims of the

laboratory engineering of SARS-CoV-2 (Shan-Lu Liu et al)

4) Genomic characterization of the 2019 novel

human-pathogenic coronavirus isolated from a patient

with atypical pneumonia after visiting Wuhan (Jasper

Fuk-Woo et al)

5) Hypothesis for potential pathogenesis of SARS-

CoV-2 infection–a review of immune changes in patients

with viral pneumonia (Ling Lin et al)

6) Maximator: European signals intelligence

cooperation, from a Dutch perspective. (Bart Jacobs)

7) Pandemics, tourism and global change: a rapid

assessment of COVID-19 (Stefan Gössling et al)

8) Laboratory diagnosis of emerging human

coronavirus infections – the state of the art (Michael J.

Loeffelholz et al)

9) Meat and mental health: a systematic review of

meat abstention and depression, anxiety, and related

phenomena Meat & health (Urska Dobersek)

10) Emerging COVID-19 coronavirus: glycan shield

and structure prediction of spike glycoprotein and its

interaction with human CD2 (Naveen Vankadari)

อ้างอิง https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7048229/

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

31

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!