26.03.2021 Views

มีนาคม 64

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

พระเจ้ามินดง (Mindon Min) กษัตริย์ลำดับที่ ๑๐ ครองราชย์เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์

พ.ศ.๒๓๙๖ พระชนมายุ ๔๕ พรรษา ทรงปฏิรูปอาณาจักรให้มีความทันสมัย

ตองอู สมัยพระเจ้าบุเรงนอง (ครองราชย์ พ.ศ.๒๐๙๓ - ๒๑๒๔)

สู่สมัยพระเจ้าปดุง (Bodawpaya) กษัตริย์ลำดับที่ ๖ พระราชโอรส

ของพระเจ้าอลองพญา (พระองค์ที่สี่) ทรงขยายอาณาจักรมาทาง

ตะวันออกแต่ไม่สำเร็จ ได้ขยายอาณาจักรมาทางตะวันตกยึดได้

ยะไข่ (อาระกัน) สู่สมัยพระเจ้าจักกายแมง (Bagyidaw) กษัตริย์

ลำดับที่ ๗ ปี พ.ศ.๒๓๖๒ ขยายอาณาจักรมาทางตะวันออก (อัสสัม

และมณีปุระ) นำมาสู่สงครามที่เรียกว่า สงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่

หนึ่ง ระหว่างวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๓๖๗ - ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.

๒๓๖๙ เป็นฝ่ายแพ้สงครามตามสัญญายันดาโบ สูญเสียดินแดนทาง

ด้านตะวันตก รวมทั้งเมืองตะนาวศรี (เมืองท่าที่สำคัญ) ปกครองโดย

ข้าหลวงใหญ่ของอังกฤษที่กัลกัตตา พม่าต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม

รวมเป็นเงิน ๒.๐ ล้านปอนด์ และอังกฤษโดยบริษัทอิสต์-อินเดีย

ตะวันออก (East-India Company) ยังคงมีความขัดแย้งอยู่นำมาสู่

สงครามครั้งใหม่ เรียกว่าสงครามพม่า-อังกฤษ ครั้งที่สอง ระหว่าง

วันที่ ๕ เมษายน - ๒๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๙๕ อังกฤษยึดได้พม่า

ตอนล่าง (เมาะตะมะ ย่างกุ้ง พะสิม แปร และพะโค เรียกว่า พม่า

ตอนล่าง) เป็นฝ่ายแพ้สงคราม ในสมัยพระเจ้าพุกามแมง (Padan)

กษัตริย์ลำดับที่ ๙ ทรงขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่๑๗ พฤศจิกายน

พ.ศ.๒๓๘๙ - ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๙๖

๒. พระเจ้ามินดง (Mindon Min) กับปลายรัชกาล

พระเจ้ามินดง (Mindon) กษัตริย์ลำดับที่ ๑๐ ขึ้นครองราชย์

เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๙๖ พระชนมายุ ๔๕ พรรษา

พระองค์ทรงปฏิรูปการบริหารประเทศให้มีความทันสมัย (พม่าเหลือ

อาณาเขตเพียงพม่าตอนบน) พม่าเริ่มต้นค่อยกลับมามีความมั่นคง

อีกครั้ง เมื่อเวลาผ่านไป ๑๓ ปี นำมาสู่การเกิดกบฏภายในอาณาจักร

ผู้นำคือพระราชโอรสรวม ๒ พระองค์ (เจ้าชายมินกุน และเจ้าชาย

มินกุนเดง) ไม่สามารถปลงพระชนม์พระเจ้ามินดง (Mindon Min)

เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๐๙ เจ้าชายทั้ง ๒ พระองค์ หนีไปยัง

เขตปกครองของอังกฤษเกิดความขัดแย้งระหว่างอาณาจักรพม่า

ราชวงศ์อลองพญา (Alaungpaya Dynasty) กับบริษัทอิสต์-อินเดีย

ตะวันออก (East India Company) พระราชโอรสผู้มีสิทธิ์

ในราชบัลลังก์ ประกอบด้วย เจ้าชายเถ่าซา (Prince of Thonze)

พระราชโอรสลำดับที่ ๖ ประสูติ พ.ศ.๒๓๘๖ เจ้าชายยองยาน

(Prince of Nyaungyan) พระราชโอรสลำดับที่๑๑ ประสูติพ.ศ.๒๓๘๘

เจ้าชายเมะคะหย่า (Prince of Mekkhara) พระราชโอรสลำดับที่

๑๒ ประสูติเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๐ และเจ้าชายธีบอ (Prince of Thibaw)

พระราชโอรสลำดับที่ ๓๑ ประสูติเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๐๒

พระเจ้ามินดง (Mindon) ยังไม่ทรงแต่งตั้งให้เจ้าชายพระองค์ใด

ดำรงตำแหน่งอุปราช

๓. บทสรุป

พระเจ้ามินดง (Mindon Min) ราชวงศ์อลองพญา (Alaungpaya

Dynasty) ปฏิรูปประเทศให้มีความทันสมัยในหลายด้านด้วย

วิทยาการสมัยใหม่เพื่อให้อาณาจักรมีความมั่นคง เพราะสูญเสีย

อาณาจักรพม่าตอนล่าง หลังจากแพ้สงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่หนึ่ง

และครั้งที่สองเริ่มก้าวหน้าขึ้นซึ่งใช้เวลากว่า ๑๓ ปี เมื่อเกิดกบฏจาก

พระราชโอรส ในปี พ.ศ.๒๔๐๙ นำความขัดแย้งกับบริษัทอิสต์-

อินเดียตะวันออก (East-India Company) แต่อังกฤษยังไม่พร้อม

ที่จะทำสงครามกับพม่ายังติดพันสงครามในอัฟกานิสถาน และพระเจ้า

มินดง (Mindon) ยังไม่ทรงแต่งตั้งอุปราช ความขัดแย้งในราชสำนัก

ยังคงมีอยู่

บรรณานุกรม

๑. en.wikipedia.org/wiki/Second_Angro-Burmese_War

๒. en.wikipedia.org/wiki/First_Angro-Burmese_War

๓. en.wikipedia.org/wiki/Sir_George_Pollock,_St_Baronet

๔. en.wikipedia.org/wiki/Treaty_of_Yandabo

๕. en.wikipedia.org/wiki/Mandalay

๖. en.wikipedia.org/wiki/Mindon_Min

๗. en.wikipedia.org/wiki/Kanaung_Min

๘. en.wikipedia.org/wiki/First_Angro-Afghan_War

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

51

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!