26.03.2021 Views

มีนาคม 64

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ความว่า

“...การศึกสงครามข้างญวน ข้างพม่า ก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมี

อยู่ก็แต่พวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดี อย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใด

ของเขาที่คิดควรจะเรียนเอาไว้ ก็เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือ

เลื่อมใสไปทีเดียว...”

ดังนั้น ในรัชสมัยของพระองค์จึงมีการเตรียมความพร้อม

ในการปฏิบัติการทางน้ำและทางทะเล โดยทรงพระกรุณาโปรด

เกล้าฯ ให้ต่อเรือขึ้นใหม่ในลักษณะ ดังนี้

ก) เรือที่ใช้ประโยชน์ทั้งในแม่น้ำและในทะเล ในลักษณะการ

เกณฑ์ขุนนาง และเจ้าภาษีนายอากร ร่วมกันต่อเรือขนาดย่อม

รูปแบบของเรือสำเภาจีนและเรือกำปั่นแปลง มีจำนวนประมาณ

๒๐๐ ลำเศษ โดยส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์เป็นเรือเพื่อการพาณิชย์

ข) เรือลาดตระเวนทางทะเลและชายฝั่ง ในลักษณะของเรือ

กำปั่นขนาดใหญ่ที่ต่อแบบตะวันตกจำนวน ๑๔ ลำ อำนวยการสร้าง

โดย กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ และหลวงนายสิทธิ์

(สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์) อาทิ เรือ

แกล้วกลางสมุทรหรือเรือแอเรียล เรือรบวิทยาคม เรือ

วัฒนานามหรือเรือแอโร เรือจินดาดวงแก้วหรือเรือ

ซักเซส เรือเทพโกสินทร์ เรือราชฤทธิ เรือสยามภพ

เรือโผนเผ่นทะเล เรือจรจบชล เพื่อใช้เป็นเรือลาด

ตระเวนตามชายฝั่งของไทย พร้อมกับจัดตั้งเป็น กองเรือ

ของกรมท่า ที่ทำหน้าที่ลาดตระเวน ป้องปราม และ

ปราบปรามการกระทำความผิดในทะเลและชายฝั่ง

หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นกิจการอุตสาหกรรมป้องกัน

ประเทศทางเรือครั้งแรกของประเทศไทย

ทั้งนี้ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ทรงพระปรีชา

สามารถทางด้านวิทยาการตะวันตกและการต่าง

ประเทศ ทรงศึกษาด้านการทหารเรือตะวันตก ทั้งเรื่องการต่อเรือ

การใช้กำลังทางเรือ และระบบอาวุธทางเรือ จึงทรงเป็นพระกำลัง

สำคัญของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเรื่องกิจการทาง

เรือ จึงนับเป็นการจัดกองทัพเรือในยุคแรกของประเทศไทย ที่มีหลัก

ฐานและระเบียบแบบแผน และวิธีการปฏิบัติตามรูปแบบสากลตาม

หลักนิยมและวิทยาการของตะวันตก ทัดเทียมนานาอารยประเทศ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทรงมีบทบาทอย่างมากในการจัดทำสนธิสัญญา

เบอร์นี่ ซึ่งเป็นสนธิสัญญาพระราชไมตรีทางการค้าโดยเสรีของ

รัฐบาลอังกฤษกับราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ และขอความสะดวก

ในการค้าได้โดยเสรี ทั้งนี้ การเจรจาการค้าบรรลุผลสำเร็จ และมี

สัญญาเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๓๖๙

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ขึ้นเป็น

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ก็ทรงเป็นพระกำลัง

ที่สำคัญยิ่งในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ได้ทรงเข้าร่วมการเจรจาทำสัญญาทางพระราชไมตรี

กับต่างประเทศ อาทิ สนธิสัญญาเบาว์ริงกับราชทูต

ประเทศอังกฤษ โดยที่พระเกียรติยศชื่อเสียง ในด้าน

ความรอบรู้ของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทในภาษา

หลายภาษา และในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชั ้นสูง

หลายวิชา ส่งผลให้พระเกียรติยศแพร่สะพัดถึง

สหรัฐอเมริกา

ทั้งนี้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า

นภาลัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในขณะทรงดำรงพระอิสริยยศ กรมหมื่นเจษฎา

บดินทร กำกับกรมท่านั้น ประเทศไทยได้ฟื้นฟูการ

ติดต่อค้าขายกับชาวยุโรป ทำให้การเดินเรือเพื่อ

ค้าขายของไทยกลายเป็นกิจการขนาดใหญ่ เห็นได้

จากที่ จอห์น ครอเฟอร์ด ทูตของผู้สำเร็จราชการ

อังกฤษ กล่าวไว้ว่า

6

พลโท ชัยวิทย์ ชยาภินันท์

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!