26.03.2021 Views

มีนาคม 64

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ประการที่สอง สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้า เช่น

ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าด้วยความสมัครใจ โดยไม่มีการจูงใจ

ที่ไม่เป็นธรรม

ประการที่สาม สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้า

เช่น ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับสินค้าที่ปลอดภัย มีคุณภาพ มาตรฐาน

ที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือทรัพย์สิน

ประการที่สี่ สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา เช่น

ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะทำสัญญาโดยไม่ถูกเอาเปรียบจากผู้ขายซึ่งเป็น

เจ้าของธุรกิจ

ประการที่ห้า สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย

นอกจากนี้ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.๒๕๒๒

มาตรา ๒๒ ได้กำหนดข้อห้ามในการโฆษณา โดยวางหลักว่า

การโฆษณาจะต้องไม่ใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค

หรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม

ข้อความที่ถือว่าเป็นข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค

หรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม ได้แก่

(๑) ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า

หรือบริการไม่ว่าจะกระทำโดยใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติ

หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันไม่เป็นความจริงหรือเกินความจริง หรือไม่ก็ตาม

(๒) ข้อความที่เป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำ

ผิดกฎหมายหรือศีลธรรม หรือนำไปสู่ความเสื่อมเสียในวัฒนธรรม

ของชาติ (๓) ข้อความที่จะทำให้เกิดความแตกแยกหรือเสื่อมเสีย

ความสามัคคีในหมู่ประชาชน

ที่พบมากในปัจจุบันคือ (๔) ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความ

จริง เช่น เทียบเคียงกับกรณีโรงพยาบาลของนายดำ (นามสมมติ) ระบุ

ในแผ่นพับโฆษณาว่า โรงพยาบาลของนายแดง (นามสมมติ) รับผู้ป่วย

ได้ ๒๕,๐๐๐ คน และเพิ่งเข้าร่วมโครงการประกันสังคม รวมทั้ง

มี ๑๕๐ เตียง ตลอดจนระบุว่า โรงพยาบาลของนายแดง ไม่มี

ประสบการณ์การบริหารงานโรงพยาบาลด้านโครงการประกันสังคม

ซึ่งความเป็นจริงแล้ว โรงพยาบาลของนายแดงมีจำนวนผู้ป่วยที่รับได้

๕๐,๐๐๐ คน มีเตียง ๔๐๐ เตียง และเข้าร่วมโครงการประกันสังคม

ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๕ จึงมีประสบการณ์ตั้งแต่ปีที่เข้าร่วมโครงการ

เป็นต้นมา โรงพยาบาลของนายดำจึงเผยแพร่แผ่นพับโฆษณาไม่ตรง

กับความจริงโดยมีเจตนาให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่า โรงพยาบาลของ

นายดำมีศักยภาพดีกว่า ใหญ่กว่า มีประสบการณ์มากกว่าโรงพยาบาล

ของนายแดง จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อความจริงโดยใช้ข้อความอันเป็นเท็จ

หรือโอ้อวดเกินความจริง ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๑๑๘/๒๕๕๓

ทั้งนี้ ผู้ที่โดยเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด

สภาพ คุณภาพ ปริมาณ หรือสาระสำคัญประการอื่นอันเกี่ยวกับสินค้า

ไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือผู้อื่น โฆษณาหรือใช้ฉลากที่มีข้อความ

อันเป็นเท็จหรือข้อความที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าอาจก่อให้เกิด

ความเข้าใจผิดเช่นว่านั้น มีความผิดฐานก่อให้เกิดความเข้าใจผิด

ในแหล่งกำเนิดเกี่ยวกับสินค้า พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค

พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๔๗

ตราบใดที่เทคโนโลยีสารสนเทศยังคงพัฒนารุดหน้า ก็ยังคงต้อง

มีการซื้อขายออนไลน์และปรับปรุงรูปแบบการซื้อขายออนไลน์

ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกท่านอย่างต่อเนื่อง จำเป็นอย่างยิ่งที่ท่าน

ผู้อ่านทุกท่านควรที่จะใช้สิทธิผู้บริโภคที่ทุกท่านมีคุ้มครองการซื้อขาย

ออนไลน์ของท่านผู้อ่านต่อไป

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๔

29

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!