06.06.2022 Views

หลักเมือง พฤษภาคม 65

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

อย่างเป็นทางการแล้ว จึงเป็นการฉีกข้อตกลงมินสก์อย่างชัดเจน ซึ่ง

ส่งผลให้สถานการณ์ในภูมิภาคนี้เลวร้ายลงไปอีกเป็นทวีคูณ และ

ล่าสุด วุฒิสภารัสเซียมีมติเป็นเอกฉันท์อนุมัติให้ประธานาธิบดี

วลาดิเมียร์ ปูติน มีอำนาจใช้กองทัพรัสเซียนอกประเทศได้ เพื่อให้การ

สนับสนุนกลุ่มแบ่งแยกดินแดน (โดเนตสก์ และลูฮันสก์) ซึ่งตั้งอยู่ใน

ภูมิภาคดอนบาสทางตะวันออกของยูเครนได้ โดยอ้างว่า เป็นการ

ส่งกำลังทหารไปเพื่อรักษาสันติภาพในพื้นที่ดังกล่าว หาใช่เป็นการ

ส่งกำลังทหารไปรุกรานประเทศยูเครนตามข้อกล่าวหาของสหรัฐฯ

และ NATO ด้วยเหตุผลว่า ผู้นำยูเครนใช้ความรุนแรงและการนองเลือด

ต่อกลุ่มคนที่ต้องการเป็นรัฐอิสระจากยูเครน ซึ่งคนเหล่านั้น

ต่างภักดีต่อรัสเซีย อีกทั้ง NATO ก็ได้ให้การสนับสนุนอาวุธ

ยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยแก่ยูเครนเพื่อใช้ในการเผชิญหน้ากับรัสเซีย

อีกด้วย โดยจุดเปราะบางที่ปูตินตัดสินใจส่งกำลังทหารไปรักษา

สันติภาพในดินแดนโดเนตสก์และลูฮันสก์ ก็เพราะเห็นว่าทางการ

ยูเครนสั่งให้ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย โดยเข้าปราบผู้ประท้วง

หลักเมือง พฤษภาคม ๒๕๖๕

จนในที่สุดเกิดเป็นจลาจลด้วยอาวุธ และเข้าสู่สงครามอย่าง

เต็มรูปแบบ

จากประเด็นอ่อนไหวเปราะบางในกรณีกลุ่มแบ่งแยกดินแดน

ยูเครน ทั้งโดเนตสก์และลูฮันสก์ ที่คุกรุ่นมาโดยตลอด ยิ่งทวีความ

หมิ่นเหม่ในการก่อสงครามหรือความขัดแย้งรุนแรงมากขึ้นเป็น

ลำดับ ดั่งเป็นการเติมน้ำมันเข้ากองไฟก็คือ การแสดงท่าทีของ

องค์การป้องกันแอตแลนติกเหนือ (NATO) ในการรับยูเครนเข้าเป็น

สมาชิก ซึ่งนั่นจึงซ้ำเติมจุดเปราะบางให้แทบจะขาดสะบั้นลง จาก

ความไม่ไว้วางใจยูเครนของรัสเซีย อันเปรียบเสมือนเป็นหอกข้างแคร่

ของรัสเซียที่เห็นว่าปัญหาโดเนตสก์และลูฮันสก์ ก็ยังไม่ได้รับ

การตอบสนองจากยูเครน การแสดงท่าทีสนับสนุนให้ยูเครนเข้าเป็น

สมาชิก NATO ที่รัสเซียแสดงจุดยืนชัดเจนมาโดยตลอดว่าต้องการ

ให้ NATO หยุดแผ่ขยายอิทธิพลโดยรับประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตะวันออก

ที่เคยเป็นอาณานิคมของรัสเซียเข้าเป็นสมาชิกมากขึ้นไปอีก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่รัสเซียไม่ต้องการให้ยูเครนเข้าร่วมเป็น

สมาชิก NATO จนเมื่อต้นปี ค.ศ. ๒๐๒๑ ที่ผ่านมา เมื่อสหรัฐฯ และ

NATO เพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องของรัสเซียดังกล่าว รัสเซียจึงแสดง

กำลังทหารของกองทัพอันเกรียงไกร ด้วยการระดมกำลังทหาร

จำนวนมากเข้าประชิดชายแดนยูเครน รวมถึงบริเวณภูมิภาค

ดอนบัสเพื่อกดดันสหรัฐฯ และ NATO ให้ยุติความตั้งใจดังกล่าว

อย่างสิ้นเชิง

วิกฤตการณ์รัสเซีย-ยูเครน ได้เดินทางมาถึงจุดตึงเครียดถึง

ขีดสุดอย่างหลีกหนีไม่พ้น เมื่อต่างฝ่ายต่างยืนหยัดในจุดยืนของตน

และในที่สุดประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ตัดสินใจออกคำสั่งให้

กองทัพส่งกำลังทหารเข้าไปรักษาสันติภาพในเมืองโดเนตสก์และ

ลูฮันสก์ อันเป็นดินแดนทางภาคตะวันออกของยูเครนที่ยูเครนกล่าวว่า

เป็นกลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดน ในขณะที่

กลุ่มคนในดินแดนดังกล่าวและรัสเซียกล่าวว่า

เป็นกลุ่มคนที่ต่อสู้เพื่ออิสระในการปกครอง

ตนเองซึ ่งมีความชอบธรรมในการต่อสู้ หลัง

จากประธานาธิบดี ปูติน ได้ลงนามรับรองให้

ทั้งสองเมืองนี้เป็นรัฐอิสระจากการปกครอง

ของยูเครน และรัสเซียมีความจำเป็นที่จะต้อง

ส่งกองกำลังของตนเพื่อเข้าไปรักษาสันติภาพ

นำความสงบสุขมาสู่ชนกลุ่มน้อยในพื้นที่

ดังกล่าวอย่างถูกต้องตามกฎหมายหาใช่

เป็นการรุกรานยูเครน ทั้งยังบานปลายไปสู่

การคว่ำบาตรของประเทศมหาอำนาจตะวันตก

ที่ได้รับการตอบโต้จากรัสเซียแบบไม่ลดละ

เหล่านี้คือ ที่มาของความขัดแย้งอันกำลัง

ส่งผลกระทบลุกลามไปในมิติต่าง ๆ ที่ขยาย

วงกว้างออกไปต่อชีวิตของคนทั้งโลก เพราะ

จุดยืนที่แตกต่างอย่างชัดเจน

35

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!