06.06.2022 Views

หลักเมือง พฤษภาคม 65

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

เมื ่อต้องอยู่กับโลกดิจิทัล

จุฬาพิช มณีวงศ์

รองบรรณาธิการ วารสารวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

แม้จะไม่มีจุดบ่งชี้ที่แน่ชัดว่า การอยู่บนโลกออนไลน์เสมือนจริง

ของคนทุกวันนี้จะมีผลกระทบต่อสภาพจิตใจจนทำให้โรคหดหู่

และการฆ่าตัวตายทำสถิติเพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง แต่อย่างน้อยก็มี

ความเริ่มตระหนักถึงภัยจากการเสพโซเชียลที่มากเกินไปของคนใน

สังคม

จากหนังสือ My Brain Has too Many Tabs Open ซึ่งแปล

เป็นไทยโดย พรรษรัตน์ พลสุวรรณ ซึ่งเป็นหนังสือติดอันดับขายดี

ในประเทศไทย ได้อธิบายถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในโลกโซเชียลและ

บอกวิธีว่าจะทำอย่างไรจึงจะสร้างสมดุลในการใช้ชีวิตและเรียนรู้

ที่จะอยู่กับเทคโนโลยี ซึ่งบางทีถ้ามากเกินไปก็อาจจะเป็นผลเสีย

เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาตอบโจทย์การใช้ชีวิตในปัจจุบัน ซึ่งทุกคนอาจ

เคยเจอกันมาแล้ว โดยเฉพาะ ๒ ปี ที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่

ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ยิ่งทำให้ต้องเผชิญกับการทำงานและ

การติดต่อทางออนไลน์มากขึ้นปราศจากเส้นแบ่งในเวลาหรือนอก

เวลางานอีกต่อไป บางคนพบว่าเดินออกจากบ้านลืมกระเป๋าเงินได้

แต่ลืมโทรศัพท์มือถือไม่ได้เพราะชีวิตผูกติดกับโทรศัพท์มือถือ

ทุกอย่าง จ่ายเงิน ดูปฏิทิน ดูนัด ดูเวลา ดูแผนที่ ฯลฯ

42

นอกจากนี้ หนังสือยังแนะนำการใช้โซเชียลในจุดที่พึงระวัง

ทั้งการแซทขณะเดิน ซึ่งมีผู้ประสบอุบัติเหตุกันมานักต่อนักไปจนถึงการ

ใช้ที่มากเกินไป ซึ่งสามารถสังเกตได้จากความรู้สึกในด้านลบ สะดุ้ง

ทุกครั้งที่ได้ยินเสียงไลน์เพราะโดนตามงานไม่เป็นเวลา เห็นรูปคนอื่น

ไปเที่ยว ชีวิตดี กินอาหารอร่อย ประสบความสำเร็จ ตัดภาพมา

เปรียบเทียบกับตัวเองก็มีความรู้สึกน้อยเนื้อต่ ำใจ เกิดอารมณ์ซึมเศร้า

ถึงเวลาที่จะต้องปิดพักการใช้งานชั่วคราวเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบมาก

จนเกินไป สอดคล้องกับนักจิตวิทยาที่ระบุว่า สมองมนุษย์ถูกออกแบบ

มาให้มีชีวิตรอด จะมีความรู้สึกกับข่าวร้ายมากกว่าข่าวดี เมื่อสมอง

รับเรื่องนั้นมาก ๆ จะคิดว่าเป็นเรื่องจริงทั้งที่ไม่ใช่เรื่องจริง

คุณชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล

เพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้ทัศนะว่า สังคมไทยเป็นสังคมดิจิทัลแบบ

ร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว เพราะวันนี้ชีวิตประจำวันของคนไทยใช้สมาร์ทโฟน

และอินเทอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสารและทำธุรกรรมต่าง ๆ

ทำให้ใช้ไซเบอร์ซีเคียวริตี้หรือการป้องกันการถูกโจมตีในระบบ

คอมพิวเตอร์มีความสำคัญต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน

อย่างมาก รัฐบาลให้ความสำคัญในเรื่องนี้สูงมาก มีการจัดตั้ง

จุฬาพิช มณีวงศ์

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!