06.06.2022 Views

หลักเมือง พฤษภาคม 65

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

จะมีทิศทางการเดินทางไปอย่างไร ซึ่งแม้ว่าจะมีหลักการของคณะ

ราษฎร ๖ ประการ ตามที่ พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ก็อ่าน

ในประกาศคณะราษฎรข้างต้น ซึ่งก็เป็นเสมือนการโฆษณาในการ

หาเสียงที่กระทำกันในยุคต่อมา ซึ่งประกอบด้วย :-

ประการที่ ๑ จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น

เอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของ

ประเทศไว้ให้มั่นคง

ประการที่ ๒ จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ

ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก

ประการที่ ๓ ต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทาง

เศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวาง

โครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก

ประการที่ ๔ จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน

ประการที่ ๕ จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ

เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก ๔ ประการดังกล่าวข้างต้น

ประการที่ ๖ จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

ทั้งนี้ หลักการ ๖ ประการ ที่คณะราษฎรได้ดำเนินการให้

ปรากฏและเห็นเป็นรูปธรรมก็มีอยู่เพียงประการเดียวคือ

ออกเค้าโครงเศรษฐกิจหรือสมุดปกเหลือง แต่ก็ไม่สามารถปฏิบัติได้

(ซึ่งผู้เขียนไม่ขอลงในรายละเอียด และท่านผู้อ่านสามารถสืบค้น

ข้อมูลได้) สำหรับอีกหลักการที่เหลือนั้น คงต้องยอมรับว่าบังเกิดผล

เป็นรูปธรรมจริงภายหลังปี พ.ศ.๒๕๐๐ ซึ่งเป็นยุคที่คณะราษฎร

(โดย หลวงพิบูลสงคราม ผู้นำคณะราษฎร) สูญสิ้นอำนาจไปแล้ว

และประเทศไทยได้มีการพัฒนาประเทศอย่างเต็มที่ ต่อเนื่องมาจน

ทัดเทียมนานาอารยประเทศดังในปัจจุบัน

“…ข้าพเจ้าเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของอาณา

ประชาราษฎร์ ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อกัน ทั้งเพื่อจัดการโดย

ละม่อมละมัยไม่ให้ขึ้นชื่อว่าได้จลาจลเสียหายแก่บ้านเมือง และ

ความจริง ข้าพเจ้า ได้คิดอยู่แล้วที่จะเปลี่ยนแปลงทำนองนี้ คือ

มีพระเจ้าแผ่นดินปกครองตามพระธรรมนูญ จึงยอมรับที่จะช่วย

เป็น ตัวเชิด เพื่อให้คุมโครงการตั้งรัฐบาลให้เป็นรูปวิธีเปลี่ยนแปลง

ตั้งพระธรรมนูญโดยสะดวก เพราะว่าถ้าข้าพเจ้าไม่ยอมรับเป็น

ตัวเชิด นานาประเทศไม่ยอมรับรัฐบาลใหม่นี้ ซึ่งจะเป็นความลำบาก

ยิ่งขึ้นหลายประการ...”

จึงแสดงให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อบ้านเมืองและพระราชวิสัยทัศน์ในการ

บริหารราชการแผ่นดินเป็นอย่างมาก กล่าวคือ

๑.๑ พระมหากรุณาธิคุณต่อประเทศและประชาชน

ชาวไทย ที่ทรงไม่มีพระราชประสงค์ให้เกิดการนองเลือดในแผ่นดิน

จากข้อความว่า “...ข้าพเจ้าเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของอาณา

ประชาราษฎร์ ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อกัน ทั้งเพื่อจัดการโดย

ละม่อมละมัยไม่ให้ขึ้นชื่อว่าได้จลาจลเสียหายแก่บ้านเมือง...”

หากท่านผู้อ่านได้ศึกษาพระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จ

พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๗๕ จะได้เห็นถึง

พระราชวิสัยทัศน์และพระมหากรุณาธิคุณอย่างชัดเจน จากความ

บางตอนในพระราชหัตถเลขา กล่าวคือ

หลักเมือง พฤษภาคม ๒๕๖๕

๑.๒ พระราชวิสัยทัศน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน

ใน ๒ ประการ คือ

๑.๒.๑ การพระราชทานรัฐธรรมนูญ พระองค์ทรงมี

พระราชประสงค์อย่างชัดเจนว่า ทรงมีแนวทางจะพระราชทาน

รัฐธรรมนูญให้แก่ประเทศอยู่ก่อนแล้ว และหากท่านผู้อ่านได้ศึกษา

ให้ชัดเจนต่อไปจะพบว่า พระองค์หารือกับคณะที่ปรึกษาในเรื่องการ

พระราชทานรัฐธรรมนูญหลายครั้งแล้ว แต่คณะที่ปรึกษาทั้งชาวไทย

และชาวต่างชาติยังเห็นว่าประเทศยังไม่พร้อมที่จะมีรัฐธรรมนูญใน

เวลานั้น อันเนื่องมาจากระบบการศึกษาของไทยยังอยู่ในระยะเริ่มต้น

5

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!