06.06.2022 Views

หลักเมือง พฤษภาคม 65

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

สำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ

หรือ สกมช. เป็นหน่วยงานหลักในการกำกับดูแลเพื่อรักษาความ

มั่นคงและความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยร่วมมือกับหน่วยงาน

โครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ ๘ ด้าน ได้แก่ ด้านความ

มั่นคงของรัฐ ด้านบริการภาครัฐที่สำคัญ ด้านการเงินการธนาคาร

ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม ด้านการขนส่งและ

โลจิสติกส์ ด้านพลังงานและด้านสาธารณูปโภค ด้านสาธารณสุขและ

ด้านอื่น ๆ ทั้งนี้สิ่งที่ต้องทำคู่ขนานกันไปคือ การมีกฎหมายคุ้มครอง

ข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕

โดยผู้ให้บริการของบริษัทต่าง ๆ ต้องมีระบบป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล

ไม่ให้รั่วไหลหรือถูกแอบอ้างไปใช้ในทางมิชอบ

พลเอก ดร.ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการ

การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบัน

ประชากรไทยประมาณ ๗๐ ล้านคนลงทะเบียนใช้โทรศัพท์มือถือถึง

๑๓๓ เปอร์เซ็นต์ และมีอัตราการอยู่บนอินเทอร์เน็ตเป็นอันดับ ๓

ของโลก โดยใช้เวลาถึงกว่า ๙ ชั่วโมงต่อวัน สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่

ใช้เวลา ๖ ชั่วโมงต่อวัน จึงเป็นเรื่องง่ายดายและรวดเร็วที่ข้อมูลและ

การติดต่อจากอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์จะมาเคาะประตูบ้าน

อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งปัจจุบันมีการดำเนินการเพื่อรับมือทาง

ไซเบอร์ มีการจัดทำแผนการป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงทาง

ไซเบอร์อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของชาติ

ในระยะยาวถึงปี ๒๕๗๐

ภารกิจสำคัญที่จะต้องทำคือ การสร้างความตระหนักให้เข้าใจ

ถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์ว่าไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ เพียงคลิกเดียวก็

สามารถทำให้ระบบพังได้ ซึ่งจะมีการออกกฎหมายอีก ๔ ฉบับ

เพื่อเป็นแนวทางที่จะให้หน่วยงานที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ

ทางสารสนเทศนำไปปฏิบัติตามซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี

๒๕๖๕ นี้

“ปฏิบัติการทางไซเบอร์และความมั่นคงทางสังคมเป็นเรื่อง

สำคัญละเลยไม่ได้ เพราะการใช้งานสังคมออนไลน์ของคนรุ่นใหม่

ส่งผลให้ค่านิยมในสังคมเปลี่ยนไปมากจนวัฒนธรรมของเราถูก

ทำลายโดยสื่อสังคมออนไลน์”

พลเอก ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการ

การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กล่าว

หลักเมือง พฤษภาคม ๒๕๖๕

43

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!