06.06.2022 Views

หลักเมือง พฤษภาคม 65

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ระเบียบการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย

(Code of Conduct for Law Enforcement Officials 1979) ซึ่ง

ถือได้ว่าเป็นหลักสากลที่องค์การสหประชาชาติได้จัดทำขึ้น สรุปได้ว่า

ในประเทศที่ทหารสามารถใช้อำนาจหน้าที่อย่างตำรวจหรือโดย

กองกำลังรักษาความมั ่นคงของรัฐ ความหมายของเจ้าหน้าที่ที ่มี

อำนาจหน้าที่บังคับใช้กฎหมายรวมถึงเจ้าหน้าที่ดังกล่าวด้วย

ทั้งนี้ กำลังพลทหารจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมในเรื่อง

การใช้กำลังและอาวุธปืนในการบังคับใช้กฎหมายซึ่งแตกต่างจากการรบ

หรือการสงครามที่ได้รับการฝึกอบรมที่ผ่านมา ตลอดจนการจัดทำ

กฎการใช้กำลัง (Rules of Engagement) ที่เหมาะสมและทันสมัย

ในการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่และการฝึกอบรมเป็นประจำให้มีความ

ชำนาญ เพื่อให้อยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย ซึ่งจะได้รับการ

คุ้มครองปกป้องไม่ต้องรับผิดทั้งทางอาญา แพ่ง และวินัย

๒. หลักกฎหมายภายในประเทศที่สำคัญซึ่งกำลังพล กอ.รมน.

ภาค ๔ ส่วนหน้า จะต้องยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ โดยเฉพาะการใช้

อาวุธปืน และการชันสูตรพลิกศพกับการไต่สวนสาเหตุการตาย

ซึ่งแตกต่างจากการรบหรือการสงคราม ดังนี้

๒.๑ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๘ ซึ่งสรุปได้ว่า

การใช้กำลังหรืออาวุธของทหารที่ทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมายต้อง

พอสมควรแก่เหตุ หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าไม่เกินกว่าเหตุ ถือว่า

เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและอยู่ภายใต้หลักการ

ป้องกันตนเอง กล่าวคือ เป็นการป้องกันชีวิตของตนเองหรือผู้อื่นให้

พ้นภยันตรายที่ใกล้จะถึงจากการประทุษร้ายโดยผู้ต้องสงสัย

ผู้ต้องหา หรือผู้ที่จะถูกตรวจค้นหรือจับกุม ดังนั้น ในการทำหน้าที่

บังคับใช้กฎหมายต้องมีการแสดงตน การเตือนด้วยวาจา การยิงเตือน

ในทิศทางที่ปลอดภัย เว้นแต่หากสถานการณ์ไม่เอื้ออำนวยหรือเป็น

อันตรายต่อชีวิตหรือบาดเจ็บสาหัสของผู้ใด

๒.๒ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา

๑๕๐ ซึ่งสรุปได้ว่า ในกรณีที่มีการตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของ

เจ้าพนักงานระหว่างปฏิบัติหน้าที่หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุม

ของเจ้าพนักงานระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ให้มีการชันสูตรพลิกศพ แล้ว

มีการร้องขอต่อศาลชั้นต้นแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่ เพื่อให้ศาลทำการ

ไต่สวนและทำคำสั่งแสดงว่าผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด และถึง

เหตุกับพฤติการณ์ที่ตาย ถ้าตายโดยคนทำร้ายให้กล่าวว่าใครเป็น

ผู้กระทำเท่าที่จะทราบได้ แล้วส่งสำนวนไปให้พนักงานอัยการหรือ

อัยการทหารเพื่อมีคำสั่งฟ้องทางอาญาหรือไม่ฟ้องเจ้าพนักงาน

ดังกล่าว พนักงานอัยการหรืออัยการทหารจะพิจารณาว่าการกระทำ

ของเจ้าพนักงานดังกล่าวเกินกว่าเหตุหรือไม่ หากเห็นว่าไม่ได้กระท ำ

การเกินกว่าเหตุก็จะสั่งไม่ฟ้อง แต่ถ้าเห็นว่ากระทำเกินกว่าเหตุก็จะ

สั่งฟ้องเป็นคดีอาญาต่อไป

๓. หลักกฎหมายระหว่างประเทศและหลักสากลที่สำคัญ

๓.๑ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก สรุปสาระสำคัญได้ว่า ห้าม

เลือกปฏิบัติต่อเด็ก คุ้มครองเด็กทั้งไทยพุทธและไทยมุสลิมจากการ

ก่อเหตุรุนแรง แก้ไขเยียวยาเด็กที่ได้รับผลกระทบทั้งร่างกายและ

จิตใจ ส่งเสริมโครงการป้องกันมิให้เยาวชนถูกชักจูงและเป็นเครื่องมือ

ของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงและยาเสพติด ส่งเสริมให้เด็กเข้าใจหลัก

คำสอนของศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง ในกรณีต้องควบคุมเด็กหรือ

เยาวชนที่ต้องสงสัยกระทำผิด ต้องให้การดูแลและเมตตาเป็นพิเศษ

38

พลเอก กฤษณะ บวรรัตนารักษ์

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!