31.08.2018 Views

E-BOOK Wesmile _Vol 42 September

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

WORDS & PHOTOS: PARINYA SOMBUNYING<br />

เมื่อ 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช<br />

ฝั่งมะละบาร์ของอินเดียเป็นแหล่งปลูก<br />

เครื่องเทศที่สำคัญ และเครื่องเทศ<br />

ค่อยๆ เข้าสู่ครัวไทยตามการอพยพ<br />

โยกย้ายของชาวอินเดียสู่แหล่งต่างๆ<br />

ในย่านเอเชียอาคเนย์ และรวมถึงการ<br />

ค้ากับต่างประเทศด้วยอีกทางหนึ่ง<br />

เส้นทางเครื่องเทศ เป็นเส้นทาง<br />

เดินเรือเลียบชายฝั่งทะเล โดยอาศัย<br />

ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เดินเรือจาก<br />

ประเทศอินเดีย ตัดข้ามอ่าวเบงกอล<br />

มายังหมู่เกาะนิโคบาร์ เข้าสู่ชายฝั่ง<br />

ทะเลด้านตะวันตกของไทย เชื่อว่ามี<br />

การขึ้นบกที่ตะกั่วป่า อ่าวพังงา หรือ<br />

ตรัง แห่งใดแห่งหนึ่ง จากนั้นเดินทาง<br />

ต่อทางบกข้ามไปยังเมืองท่าฝั่งอ่าวไทย<br />

หรืออาจใช้อีกเส้นทางหนึ่ง โดยแล่น<br />

เรือเลียบชายฝั่งทะเลของไทยลงไป<br />

เรื่อยๆ แล้วข้ามช่องแคบมะละกาไป<br />

ยังหมู่เกาะซุนดา และหมู่เกาะโมลุกกะ<br />

อินโดนีเซีย ที่ได้ชื่อว่าเป็นเกาะเครื่องเทศ<br />

เนื่องจากเป็นแหล่งผลิตเครื่องเทศที่<br />

มีชื่อเสียง โดยมีชาวอาหรับเป็น<br />

ผู้ผูกขาดการค้า<br />

ต่อมาเมื่อประเทศมหาอำนาจใน<br />

ยุโรปเริ่มขยายอิทธิพลผ่านการเดินทาง<br />

ในมหาสมุทร พวกเขาก็ที่จะเริ่มสะสม<br />

เครื่องเทศได้เอง และปรับตัวกลายเป็น<br />

ผู้ค้าเครื่องเทศรายใหม่ ทำให้การผูกขาด<br />

เครื่องเทศของพ่อค้าชาวอาหรับสิ้นสุดลง<br />

ในขณะที่การค้าระหว่างประเทศ<br />

เป็นเรื่องใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นในเอเชีย<br />

ตะวันออกเฉียงใต้ ในฐานะที่เป็น<br />

ตลาดอันหอมหวานสำหรับชาวยุโรป<br />

ได้เริ่มติดต่อค้าขายกับชาติอื่นๆ ไม่ว่า<br />

จะเป็นจีน โปรตุเกส สเปน ฮอลันดา<br />

นั่นเองเป็นจุดที่ทำให้เครื่องเทศ<br />

เดินทางมาถึงภูมิภาคนี้ และรวมถึง<br />

ประเทศไทยด้วย<br />

เครื่องเทศ...สู่ครัวไทย<br />

ในอดีตพืชสำหรับปรุงรสที่คนไทย<br />

ใช้อยู่ดั้งเดิมในการประกอบอาหาร คือ<br />

ตะไคร้ หอม กระเทียม กระชาย ถึงจะ<br />

มีเพียงไม่กี่ชนิดก็สามารถนำมาปรุง<br />

อาหารได้หลายตำรับ ภายหลังเมื่อมี<br />

พืชปรุงรสชนิดอื่น คนไทยจึงเรียกเพื่อ<br />

แบ่งแยกให้ชัดว่าเป็น “เครื ่องเทศ”<br />

อันหมายถึงเครื่องปรุงรสที่มาจาก<br />

ต่างประเทศ เช่น ลูกผักชี ยี่หร่า<br />

กระวาน กานพลู และอีกมากมาย<br />

ก่อนที่เส้นทางเครื่องเทศจะเดิน<br />

ทางมาสู่ครัวไทยนั้น คนไทยโบราณ<br />

เป็นชาวน้ำ อาหารไทยแท้เป็นน้ำพริก<br />

ผักจิ้ม มีปลาเป็นเนื้อสัตว์หลัก แต่เมื่อ<br />

เริ่มมีการติดต่อกับต่างประเทศ การ<br />

รับเอาวัฒนธรรมการรับประทานสัตว์<br />

ชนิดอื ่น เช่น เนื้อวัว ได้เข้ามาทำให้วิถี<br />

การรับประทานอาหารของคนไทยมี<br />

ความซับซ้อนมากขึ ้น<br />

เนื้อสัตว์ใหญ่เป็นของแปลกใหม่<br />

และมีกลิ่นสาบฉุนอย่ารุนแรง การดับ<br />

กลิ่นคาวจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญ และ<br />

ย่อมต้องใช้ส่วนประกอบของน้ำแกง<br />

ชนิดต่างๆ โดยเรียกกันว่า “เครื่องแกง”<br />

หรือพริกแกง จุดนี้เองที่เครื่องเทศได้<br />

ถูกผสมผสานเข้าสู่ครัวไทย เป็นส่วน<br />

ประกอบสำคัญในพริกแกงแต่ละชนิด<br />

ที่เหมือนๆ กัน แต่ต่างกันตรงชนิด<br />

เครื่องเทศที่ใส่ และปริมาณที่ผสม<br />

โดยมีหลักอยู่ว่า จะต้องย่อยส่วน<br />

ประกอบต่างๆ ให้เล็กลง เพื่อให้ง่าย<br />

แก่การ “โขลก” ด้วยครกและสากหิน<br />

ที่จะช่วยขับกลิ่นหอมของเครื่องเทศ<br />

เพื่อกลบกลิ่นสาบคาว อีกทั้งมี<br />

คุณสมบัติช่วยย่อยเนื้อสัตว์ที่ทำให้<br />

ระบบร่างกายทำงานหนักกว่าการกิน<br />

อาหารไทยแบบดั้งเดิม ช่วยแก้ท้องอืด<br />

ท้องเฟ้อ ในที่สุดจึงกลายเป็นพริกแกง<br />

ในบ้านในเรือนที่เราคุ้นเคยมาแต่<br />

โบราณนั่นเอง<br />

“แกงเผ็ดใส่กะทิ เครื่องเทศ เช่น ลูก<br />

ผักชี ยี่หร่า กระวาน กานพลู พริกไทย<br />

เหล่านี้เป็นรสนิยมของแขกฮินดูแขก<br />

อาหรับเขา เรารับเอามาปรุงเป็นแกง<br />

เผ็ด เผลอๆ ไปก็เข้าใจว่าเป็นอาหาร<br />

ไทยไป”<br />

- ประยูร อุลุชาฎะ<br />

ศิลปินและผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์<br />

และโบราณคดี<br />

ที่มา: ตำรับแกงไทย, มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

23

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!