09.06.2020 Views

งานออกแบบสถาปัตยกรรมไทย เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

ฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ โดย ศาสตราจารย์ สมคิด จิระทัศนกุล

ฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ โดย ศาสตราจารย์ สมคิด จิระทัศนกุล

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ตามอย่างผลงานอื่นๆ ประเภทนี้ที่ผ่านมา ซึ่งถ้าเป็นระดับชั้นพระบรมวงศานุวงศ์แล้ว สมเด็จครูมัก<br />

จะทรงใช้แบบเช่นนี้เสมอ ทว่า “รูปถ่าย” ที่ได้พบใหม่นั้น กลับกลายเป็นเพียงแบบอย่าง “ทรงกรวย<br />

เหลี่ยม” อันเรียบง่าย และสะอาดตา ต่างไปจากที่สันนิษฐานไว้<br />

2. “เมรุปะรำ” หม่อมเจ้าตระหนักนิธิผล ไชยันต์ เดิมใช้หลักฐานเฉพาะเอกสารที่มีอยู่<br />

ในหนังสือ “สาส์นสมเด็จ” ซึ่งระบุชื่อเรียกว่า “เมรุต้นไม้” แต่ไม่พบ “ร่างต้นแบบ” หรือ “รูปถ่าย” ใดๆ<br />

เช่นกัน โดยผู้เขียนได้วิเคราะห์รูปแบบขึ้นจากรายละเอียดตามเอกสารดังกล่าว และจาก “รูปถ่าย”<br />

ที่พบใหม่นั้น แม้ว่ามีความใกล้เคียงกับแบบอย่างที่ผู้เขียนสันนิษฐานขึ ้น หากแต่ก็มีความต่าง<br />

เล็กน้อยตรงที่ตัวงานสร้างจริงมี “คำ้ำยัน” ช่วยยึดโครงสร้างหลังคาอีกชุดหนึ่งด้วย ซึ่งต้อง<br />

ขอบพระคุณ “หอสมุดดำารงราชานุภาพ” วังวรดิศ ที่กรุณาอนุเคราะห์ภาพถ่ายอันเป็นหลักฐานสำาคัญ<br />

ต่อการใช้เผยแพร่ครั้งนี ้ โดยเฉพาะงานออกแบบพระเมรุของทั้งสองกรณีดังกล่าว ทำาให้ผู้เขียน<br />

ได้มีโอกาสนำามาปรับแก้ไขเนื้อหาและจัดทำาภาพจำาลอง 3 มิติชุดใหม่ให้มีความถูกต้องสมบูรณ์<br />

มากยิ่งขึ้น<br />

3. “พระอุโบสถ” วัดศรีมหาราชา เดิมใช้เอกสารหลักที่ปรากฏในหนังสือ “สาส์นสมเด็จ”<br />

เช่นกัน โดยมี “ร่างต้นแบบ” เกือบทั้งหมดให้ศึกษา และพบ “รูปถ่ายเก่า” ที่เป็น “ด้านหน้า” ตรง<br />

เพียงภาพเดียว ซึ่งต่อมาได้ปรากฏ “รูปถ่ายเก่า” ชุดใหม่ในสื่อสังคมออนไลน์ ก็ทำาให้เห็นได้ชัดเจน<br />

ว่างานออกแบบของสมเด็จครูชิ้นนี้ เมื่อถูกสร้างขึ้นจริงนั้นไม่ได้เป็นไปตามร่างต้นแบบเดิมทั้งหมด<br />

โดยมีหลายส่วนที่น่าจะทรงปรับปรุงแก้ไขขณะก่อสร้าง อาทิ<br />

• “พระประธาน” ตามร่างต้นแบบเป็นพระพุทธรูปขนาดย่อม (น่าจะเป็นองค์เดิมของ<br />

พระอุโบสถเก่า) ที่ทรงออกแบบให้ประดิษฐานภายใน “ปะรำา” แต่ในงานสร้างจริง “พระประธาน” กลับ<br />

เป็นพุทธศิลป์อย่างสมัยสุโขทัยที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิมเล็กน้อย ที่สำาคัญคือถูกประดิษฐานบนชุกชีแบบ<br />

“ลอยตัว” เหมือนทั่วๆ ไป ไม่ได้อยู่ภายใน “ปะรำา” ตามแบบร่าง<br />

• “ใบเสมา” ในร่างต้นแบบเห็นชัดเจนว่าสมเด็จครูทรงจัดวาง “ใบเสมา” ชุดหน้าและชุดกลาง<br />

ให้อยู่ภายในอาคารด้วยคุณลักษณะที่แนบติดข้างเสา ยกเว้น 3 ใบชุดหลังซึ่งทรงจัดวางแบบแนบ<br />

ผนังด้านนอกอาคาร แต่จากภาพถ่ายที่ปรากฏกลับกลายเป็นว่า “ใบเสมา” ถูกจัดรวมให้อยู่ภายใน<br />

พระอุโบสถด้วยกันทั้งหมด แสดงว่าสมเด็จครูน่าจะทรงเปลี่ยนพระทัยเมื่อการก่อสร้างเริ่มขึ้นแล้ว<br />

โดยคงมีพระวินิจฉัยว่าความชัดเจนในการแสดงเขตวงล้อมแห่ง “เสมา” นั้น ย่อมจะดูไม่สมบูรณ์หาก<br />

บางส่วนอยู่ภายในและบางส่วนอยู่ภายนอกของอาคาร ฉะนั ้นจึงทรงตัดสินพระทัยที่จะแก้ไขใหม่ให้<br />

อยู่ด้วยกันทั้งชุดดังกล่าว<br />

• “หน้าบรรพ์” ด้านหน้า ซึ่งในร่างต้นแบบ “ลายประธาน” เป็นเพียงกรอบสี่เหลี ่ยมบรรจุ<br />

ตัวอักษรธรรมเท่านั้น แต่ในงานสร้างจริงมีการออกแบบรายละเอียดเพิ่มเติมทั้งในเชิงกรอบภาพและ<br />

ลวดลายสองข้างคล้ายรูป “เชิงเทียน” ประดับประกอบ ขณะที่ด้านหลังก็ได้พบร่างต้นแบบเพิ่มเติม

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!