19.01.2018 Views

New_129

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

(๒) ถัดจากโรงเลี้ยงม้า ได้จัดสรรพื้นที่แบ่งเป็นห้องนายแพทย์ทหารและโรงพยาบาลทหาร เพื่อให้บริการทางการแพทย์<br />

ให้แก่กำลังพล ซึ่งในสมัยต่อมา ได้จัดตั้งกรมแพทย์ทหารบก เป็นหน่วยขึ้นตรงกรมยุทธนาธิการด้วย<br />

(๓) การตั้งโรงครัว ได้ตั้งในด้านทิศตะวันออกใกล้กับคลองคูเมืองเดิม คือ พื้นที่สุดอาคารรอยต่อระหว่างด้านทิศใต้ ห้องผลิต<br />

น้ำประปา จัดตั้งเป็นโรงครัว จึงทำให้มีการแยกพื้นที่เพื่อความสะอาด และเป็นการวางรากฐานระบบสาธารณสุขในอาคารโรงทหารหน้าไว้อย่าง<br />

เหมาะสม<br />

เรื่องที่สาม : ระบบไฟฟ้าครั้งแรกในประเทศไทย โรงทหารหน้าเป็นอาคารแรกของประเทศ ที่มีการผลิตไฟฟ้าใช้เองโดยมี<br />

การติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นเครื่องแรกและเป็นครั้งแรกในสยาม โดย นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ซึ่งดำรงตำแหน่ง<br />

ผู้บังคับการกรมทหารหน้าในขณะนั้น ได้ใคร่ครวญแล้วเกรงว่าในกรณีที่จัดงานกลางคืน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ต้องมีการจุดเทียนไข<br />

พร้อม ๆ กันเป็นร้อยเล่ม และต้องใช้คนมากมายปีนป่ายอาคารเพื่อติดเทียนไข แม้ต่อมาจะเปลี่ยนมาใช้โคมน้ำมันก็ตาม อาจเกิดเพลิงได้<br />

ซึ่งทุกมุมห้องจะต้องมีถังปูนที่จัดทำเป็นถังน้ำดักเอาไว้ ทำให้เกิดความยุ่งยากและไม่ปลอดภัย กอปรกับท่านเองได้เคยเป็นอุปทูตได้เดินทางไป<br />

กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส กับเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ ได้พบเห็นกรุงปารีส สว่างไสวไปด้วยไฟฟ้า ต่อเมื่อกลับมายังสยามจึงคิดว่า สยามน่าจะมี<br />

ไฟฟ้าใช้แบบเดียวกับอารยประเทศและการนี้หากจะกระทำให้สำเร็จได้แล้ว คงต้องเริ่มต้นที่ภายในพระบรมมหาราชวังและบ้านเจ้านายก่อน<br />

ดังนั้น นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ก็มี<br />

พระราชดำรัสตอบมาว่า “ไฟฟ้า หลังคาตัด ข้าไม่เชื่อ” เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านจึงตระหนักว่า ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการจำเป็นต้องหาหนทางหรือ<br />

วิธีจูงใจให้ผู้ที่ไม่เคยเห็น หรือผู้ที่ไม่เคยใช้ไฟฟ้าบังเกิดความนิยมขึ้นมาก่อน จึงนำความไปกราบบังคมทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื ่นเทวะวงศ์<br />

วโรปการ ขอให้ช่วยกราบทูลสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชเทวี ให้ทรงรับซื้อที่ดินซึ่งได้รับมรดกจากบิดา ณ ตำบลวัดละมุด บางอ้อ เป็นเงิน<br />

๑๘๐ ชั่ง หรือจำนวน ๑๔,๔๐๐.๐๐ บาท เมื่อได้เงินมาแล้ว จึงหารือกับนายมาโยลา (Malayo) ครูฝึกทหารชาวอิตาเลียน ที่มารับราชการในสยาม<br />

ให้เดินทางไปซื้อเครื่องจักรกลกำเนิดไฟฟ้าที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๗ โดยให้ซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามาสองเครื่อง เพื่อจะได้ผลัดเปลี่ยนกัน<br />

ใช้งาน และซื้อสายเคเบิลสำหรับพาดสายไปจนถึงพระบรมมหาราชวัง พร้อมจัดซื้อโคมไฟชนิดต่าง ๆ เข้ามาในประเทศ หลังจากได้เครื่องจักรกล<br />

และอุปกรณ์แล้ว ท่านจึงได้ทดลองติดตั้งและฝังสายเคเบิลใต้ดินจากโรงทหารหน้า ลอดผ่านถนนสนามไชยไปยังพระบรมมหาราชวัง พร้อม<br />

ติดตั้งโคมไฟ โดยเปิดใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๔๒๗ อันเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ซึ่งสร้างความตื่นเต้นแก่ผู้พบเห็นเหตุการณ์นั้นเป็นอย่างยิ่ง<br />

ในเวลาต่อมา ปรากฏว่าไฟฟ้าเป็นที่นิยมกันแพร่หลาย ทั้งในราชสำนัก วังเจ้านาย และชาวบ้านผู้มีฐานะในพระนคร พระบาท<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินที่นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรีใช้จ่ายไปในการติดตั้งวางระบบ<br />

ไฟฟ้าคืนให้ ซึ่งนายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี จึงวางแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ เพื่อให้ประชาชนในกรุงเทพฯ ได้ใช้ไฟฟ้า แต่เกิดมี<br />

ราชการสงครามปราบฮ่อ เป็นเวลานาน โครงการของท่านจึงต้องระงับไว้ก่อน<br />

โดยปกติแล้วโรงทหารหน้ามีการติดตั้งโคมไฟแสงสว่างภายในอาคาร บริเวณมุมอาคารและประตูทางเข้า-ออก เพื่อใช้ประโยชน์<br />

ของแสงสว่างในการปฏิบัติหน้าที่เวรยามภายในโรงทหารหน้า อีกทั้งด้านมุมท้ายสุดของอาคารบริเวณทิศเหนือใกล้สะพานช้างโรงสี บริเวณชั้นที่ห้า<br />

ของอาคาร เป็นที่ตั้งของทหารยามรักษาเหตุการณ์ จึงมีการติดตั้งเครื่องโทรศัพท์พร้อมเครื่องฉายไฟฟ้าอยู่ด้านบนเพื่อใช้ประโยชน์ในยามฉุกเฉิน<br />

ซึ่งจากการค้นคว้าข้อมูลที่มีการบันทึกไว้พบว่า โรงทหารหน้าได้ทำการติดตั้งเสาไฟฟ้าและโคมไฟแสงสว่างทุกมุมด้านนอกของอาคาร โดยเฉพาะ<br />

108

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!