19.01.2018 Views

New_129

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ห้องสนามไชย ได้รับการปรับปรุงและตั้งชื่อห้องให้สอดรับกับชื่อถนนที่อยู่ด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม โดยจัดทำ<br />

ในสมัยที่ พลเอก สัมพันธ์ บุญญานันต์ ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม ด้วยการปรับขนาดและพื้นที่ใช้สอยให้กว้างขวางมากขึ้น และตกแต่ง<br />

ให้เหมาะสมแก่การรับรองผู้แทนกระทรวงกลาโหมมิตรประเทศ ผู้แทนส่วนราชการ และแขกของปลัดกระทรวงกลาโหม รวมทั้งประกอบพิธีการ<br />

สำหรับปลัดกระทรวงกลาโหมที่ใช้ผู้เข้าร่วมพิธีจำนวนไม่มาก<br />

(๓๗) ห้องสราญรมย์ เป็นห้องที่ตั้งอยู่ชั้นที่ ๒ ด้านทิศเหนือ ใกล้กับทางเชื่อมชั้นที่ ๒ เป็นห้องที่จัดทำขึ้นในสมัยพลเอก<br />

วินัย ภัททิยกุล ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม โดยมีวัตถุประสงค์ใช้รับรองแขกของปลัดกระทรวงกลาโหมและรองปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

โดยจัดผังห้องออกเป็น ๔ ส่วน กล่าวคือ<br />

ส่วนที่ ๑ เป็นห้องประชุม ขนาดความจุประมาณ ๒๐ คน และสามารถใช้เป็นห้องรับประทานอาหารได้<br />

ส่วนที่ ๒ เป็นห้องรับแขก สามารถรองรับแขกได้ประมาณ ๑๕ - ๒๐ คน<br />

ส่วนที่ ๓ เป็นส่วนพักคอยบริเวณก่อนถึงห้องรับแขก<br />

ส่วนที่ ๔ เป็นห้องจัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม<br />

ในอดีต ห้องสราญรมย์นี้เคยใช้รับรองและเลี้ยงอาหารสำหรับผู้นำประเทศที่เคยเป็นแขกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง<br />

กลาโหมมาหลายครั้ง และเคยเป็นที่รับประทานอาหารกลางวันของอดีตผู้บังคับบัญชาชั้นสูงอยู่สมัยหนึ่ง ปัจจุบันยังคงใช้เป็นห้องสำหรับรับรอง<br />

แขกของปลัดกระทรวงกลาโหมและรองปลัดกระทรวงกลาโหม ทั้งยังมีการตกแต่งห้องให้สามารถรองรับแขกระดับประเทศได้อีกด้วย<br />

(๓๘) ห้องหลักเมือง บริเวณชั้นที่ ๓ ด้านมุมทิศเหนือตัดกับทิศตะวันออกของอาคารศาลาว่าการกลาโหม ซึ่งก่อนจะถึงทาง<br />

เชื่อมอาคารใหม่ด้านทิศตะวันออก มีห้องที่ใช้ชื ่อว่า ห้องหลักเมือง ๑ และหลักเมือง ๒ เพื่อจัดการประชุมสำหรับหน่วยขึ้นตรงสำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งในอดีตบริเวณที่ตั้งห้องทั้ง ๒ ห้อง เคยเป็นที่ทำการของสำนักตรวจสอบภายในกลาโหม (เดิมเรียกว่า สำนักตรวจบัญชี<br />

กลาโหม) และบริเวณดังกล่าวมีพื้นที่เหลือขนาดหนึ่งห้องทำงาน ประกอบกับในขณะนั้นสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมมีห้องประชุมจำกัด คือ<br />

มีเพียงห้องภาณุรังษีและห้องสุรศักดิ์มนตรีเท่านั้น จึงมีข้อจำกัดในการใช้ห้องเพื่อทำการประชุม ในขณะนั้น กองการประชุม สำนักนโยบายและ<br />

แผนกลาโหม จึงได้จัดระเบียบห้องดังกล่าวทำเป็นห้องประชุมขนาดความจุประมาณ ๔๐ คน เพื่อใช้ประโยชน์ในการประชุมหน่วย ซึ่งในเวลา<br />

ต่อมา มีหน่วยขึ้นตรงสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมใช้จัดการประชุมเป็นประจำ จึงมีการตั้งชื่อว่า ห้องหลักเมือง เพราะอยู่ด้านทิศเหนือใกล้กับ<br />

ศาลหลักเมืองอันเป็นที่สักการะของกำลังพลและประชาชนทั่วไป<br />

ต่อมาเมื่อสำนักตรวจสอบภายในกลาโหม ย้ายที่ทำการไปที่ตั้งใหม่ที่อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (แจ้งวัฒนะ)<br />

ในปี ๒๕๔๒ จึงได้จัดสรรพื้นที่ทำห้องประชุม และปรับปรุงห้องประชุมหลักเมืองเดิม จนเกิดเป็นห้องประชุม ๒ ห้อง กล่าวคือ<br />

• ห้องหลักเมือง ๑ เป็นห้องประชุมขนาดความจุประมาณ ๔๐ คน<br />

• ห้องหลักเมือง ๒ เป็นห้องประชุมขนาดความจุประมาณ ๘๐ คน<br />

(๓๙) วิมานท้าวเวสสุวัณณ์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของกระทรวงกลาโหมอีกแห่งหนึ่ง ที่ตั้งตระหง่านหน้าทุกท่านคือ ท้าวเวสสุวัณณ์<br />

เป็นหนึ่งในบรรดาท้าวจตุโลกบาลทั้งสี ่ โดยเป็นอธิบดีแห่งอสูร หรือยักษ์ หรือเป็นเจ้าแห่งภูตผีปีศาจ ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บน<br />

สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ถือเป็นท้าวจตุโลกบาลที่ทรงฤทธานุภาพมากที่สุด<br />

159

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!