19.01.2018 Views

New_129

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

(๓๒) พระบรมฉายาลักษณ์พระราชทาน สิ่งสำคัญที่จะกล่าวถึงนี้คือ พระบรมฉายาลักษณ์พระราชทานของบุรพกษัตริย์<br />

แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ๒ พระองค์ กล่าวคือ<br />

๑) พระบรมฉายาลักษณ์พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์จอมทัพไทย<br />

ครึ่งพระองค์ ลงพระปรมาภิไธย และมีพระราชหัตถเลขาว่า<br />

“ให้สำหรับศาลากระทรวงกลาโหม<br />

วันที่ ๗ ตุลาคม ร.ศ.๑๑๕”<br />

๒) พระบรมฉายาลักษณ์พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์จอมทัพเรือ<br />

ในพระอิริยาบถยืนเต็มพระองค์ ลงพระปรมาภิไธย และมีพระราชหัตถเลขาว่า<br />

“พ.ศ.๒๔๕๗<br />

ให้ไว้สำหรับศาลากระทรวงกลาโหม”<br />

ปัจจุบันพระบรมฉายาลักษณ์พระราชทานทั้ง ๒ องค์ ได้ประดับในกรอบไม้ และประดิษฐานไว้ที่สำนักงานของรัฐมนตรี<br />

ว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

(๓๓) ห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นห้องที่ตั้งอยู่ข้างสำนักงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

อยู่ด้านทิศตะวันตกของอาคารศาลาว่าการกลาโหม ซึ่งจากการตรวจสอบแล้วไม่มีการบันทึกรายละเอียดไว้แต่อย่างไร แต่ทราบมาว่าในห้วงสงคราม<br />

เย็นระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๓ - ๒๕๓๕ เคยใช้ห้องนี้เป็นที่พบปะของผู้แทนองค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สปอ.<br />

หรือ Southeast Asia Treaty Organization: SEATO) และเป็นที่สนทนาและรับการเยี่ยมคำนับของผู้แทนกระทรวงกลาโหมมิตรประเทศ<br />

มาโดยตลอด<br />

ในปัจจุบัน ห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ใช้เป็นห้องรับการเยี่ยมคำนับและการเยี่ยมคารวะของผู้แทน<br />

กระทรวงกลาโหมมิตรประเทศ ผู้แทนส่วนราชการ และแขกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทั้งในพิธีการทูต หรือพิธีการทั่วไป รวมถึงการ<br />

พบปะตามอัธยาศัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งการจัดห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีรูปแบบเป็นห้องรับแขกที่เป็น<br />

ทั้งพิธีการและไม่เป็นพิธีการ มีการประดับประดาด้วยสิ่งของโบราณ อาทิ รูปปั้นลอยตัวของอดีตผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม และ<br />

มีการจารึกรายพระนาม รายนาม และประดับภาพถ่ายของอดีตสมุหกลาโหม เสนาบดีกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน<br />

ทราบว่าเคยมีความพยายามตั้งชื่อห้องของอดีตผู้บังคับบัญชาและอดีตนายทหารฝ่ายเสนาธิการของอดีตผู้บังคับบัญชา<br />

ว่า จะใช้ชื่อห้องว่า ห้องสวัสดิโสภา เพราะห้องอยู่เกือบจะตรงข้ามกับประตูสวัสดิโสภา ซึ่งเป็นประตูใหญ่ชั้นนอกของพระบรมมหาราชวัง<br />

แต่มีผู้ทักท้วงว่าชื่อนี้เป็นชื่อประตูใหญ่มีเทพรักษาอยู่จึงไม่เหมาะที่จะนำมาเป็นชื่อห้องจึงยุติความคิดไป แต่หากให้เสนอชื่อก็ควรจะเป็นชื่อว่า<br />

มิตราภิรมย์ ซึ่งแปลว่า มิตรหรือแขกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมที่เข้ามายังห้องนี้ จะเปี ่ยมไปด้วยความสุขและน่ายินดี เพราะสอดคล้อง<br />

กับวัตถุประสงค์ในการใช้ห้อง<br />

156

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!