19.01.2018 Views

New_129

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

อย่างไรก็ตาม นอกจากกลองทั้งสามใบประจำ<br />

หอกลองแล้วยังมีกลองที่สำคัญของประเทศหรือกลองประจำ<br />

พระนครอีก ๒ ใบ และมีประวัติสำคัญ กล่าวคือ<br />

๑. กลองวินิจฉัยเภรี พระบาทสมเด็จ<br />

พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริการบำบัดทุกข์ของราษฎร<br />

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อกลองสำหรับ<br />

ตีกลองร้องฎีกาว่า “กลองวินิจฉัยเภรี” ตั้งไว้ ณ ทิมดาบกรมวัง<br />

(ศาลาแถวพวกขุนนางคอยเฝ้าฟังกระแสราชการ) ในบริเวณ<br />

พระบรมมหาราชวัง ให้กรมวังลั่นกุญแจไว้เมื่อผู้ใดจะไปร้องถวาย<br />

ฎีกา กรมวังก็จะไปไขกุญแจให้ เมื่อตีกลองแล้วตำรวจเวรก็ไป<br />

รับตัวและเรื่องราวของผู้ตีมาแล้วจึงนำความขึ้นกราบบังคม<br />

ทูลเกล้าฯ เพื่อมีพระบรมราชโองการตรัสสั่งให้ผู้ใดต้องช ำระความ<br />

ก็ให้ส่งเรื่องที่ถวายฎีกาไปตามรับสั่งนั้น พระองค์จะตรัสถาม<br />

ในเรื่องที่มีผู้ร้องฎีกาเสมอ ซึ่งตระลาการผู้ต้องชำระความก็ต้อง<br />

ชำระความไปตามกฎหมายด้วยความถูกต้อง ให้ความยุติธรรมแก่ผู้ร้องถวายฎีกา<br />

ภาพกลองประจำพระนคร<br />

(ปัจจุบันตั้งแสดงที่พระที่นั่งปฤษฎางคภิมุข พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)<br />

๒. กลองอินทเภรี เป็นกลองศึกที่ใช้บอกสัญญาณในการทำศึกสงคราม ซึ่งถือว่าเป็นกลองของพระอินทร์ ใช้บอกสัญญาณ<br />

ในการเคลื่อนทัพ การเข้าสัประยุทธ์ ซึ่งในบางตำราอาจเรียกว่า กลองสะบัดชัย นอกจากนี้ ในบางท้องถิ่นอาจใช้ชื่อ กลองอินทเภรี เป็นการตี<br />

บอกเวลาด้วยเช่นกัน<br />

ศาลหอกลองจำลองในปัจจุบัน<br />

ศาลเจ้าพ่อหอกลอง<br />

ภายในศาลาว่าการกลาโหม<br />

131<br />

หอกลองเดิม<br />

(บริเวณสวนเจ้าเชตุ)

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!