19.01.2018 Views

New_129

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ภาพอาคารศาลาว่าการกลาโหมประมาณปีพุทธศักราช ๒๔๙๕<br />

ชั้นล่างถูกน้ำฝนซัดสาดเป็นประจำ ส่งผลถึงความเสียหายบริเวณอาคารอย่างสม่ำเสมอ จึงเกิดความคิดที่จะทำกันสาดเพื่อป้องกันน้ำซัดสาดอาคาร<br />

และยังใช้ประโยชน์เป็นหลังคาสำหรับช่องจอดรถของผู้บังคับบัญชา โดยการคัดลอกแบบกันสาดขอบขั้นล่างของอาคารมุขกลางมาเป็นต้นแบบ<br />

ของกันสาดรอบอาคารด้านในอาคารศาลาว่าการกลาโหม พร้อมทั้งเชิงชายที่มีลวดลายฉลุพร้อมกันไปด้วย จึงนับเป็นอีกหนึ่งของความคิดสร้างสรรค์<br />

ในการพัฒนาอาคารศาลาว่าการกลาโหมให้รองรับประโยชน์ใช้สอยและสอดรับกับความงดงามในรูปแบบของศิลปะโบราณอย่างเหมาะสม และ<br />

มีความกลมกลืนอย่างลงตัว<br />

(๕) ศาลเจ้าพ่อหอกลอง ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่กำลังพลในศาลาว่าการกลาโหมให้ความเคารพนับถือกันโดยตลอด โดย<br />

ศาลเจ้าพ่อหอกลอง เป็นที่ประดิษฐานของเจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์ (จัน) ซึ่งมีบรรดาศักดิ์และราชทินนาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า<br />

จุฬาโลกมหาราช มีการบันทึกประวัติว่า ท่านเกิดที่กรุงศรีอยุธยา เคยเป็นทหารเอกในพระเจ้ากรุงธนบุรีและดำรงตำแหน่งพลรบฝ่ายซ้าย<br />

ซึ่งเจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์ได้เคยติดตามพระเจ้ากรุงธนบุรีปฏิบัติการรบมาโดยตลอด มีความเชี่ยวชาญในทางหอก และชอบให้ทหารตีกลองศึก<br />

ในเวลาออกรบกับจัดหากลองรบมาเอง จึงทำให้ทหารทั้งหลายในสังกัดต่างพร้อมใจกันตั้งชื่อว่า “เจ้าพ่อหอกลอง” ทั้งนี้ ท่านได้สร้างกลอง<br />

128

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!