19.01.2018 Views

New_129

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ส่วนราชการขึ้นตรงกองบัญชาการทหารสูงสุดขึ้นเป็นครั้งแรก ในการนี้ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารสูงสุด<br />

ได้มีดำริและอนุมัติให้มีการจัดสร้างตึกที่ทำการหน่วยขึ้นตรงกองบัญชาการทหารสูงสุด และตึกโทรคมนาคมบริเวณพื้นที่ระหว่างอาคารวิทยาลัย<br />

ป้องกันราชอาณาจักรกับด้านหลังอาคารทิศตะวันออกของศาลาว่าการกลาโหม จำนวน ๓ หลัง<br />

๒) ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เมื่อวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรได้ย้ายที่ทำการไปอยู่ที่อาคารใหม่ ถนนวิภาวดีรังสิต จึงได้<br />

ทำพิธีตั้งอาคารกองบัญชาการทหารสูงสุด ในวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๑๐ โดยใช้อาคารจำนวน ๔ หลัง ด้านทิศตะวันออกของศาลาว่าการกลาโหม<br />

จึงเป็นที่ทำการของกองบัญชาการทหารสูงสุด<br />

๓) ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ กองบัญชาการทหารสูงสุดได้ย้ายที่ทำการหน่วยขึ้นตรงไปอยู่ ณ ที่ทำการใหม่บริเวณถนน<br />

แจ้งวัฒนะ และส่งมอบอาคาร จำนวน ๔ หลัง ให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมดูแล ทั้งนี้เมื่อแรกรับมอบอาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ได้ใช้ประโยชน์ของอาคารวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เป็นที่ทำการของสำนักงานแพทย์ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม แต่เนื่องจากอาคาร<br />

ทั้ง ๔ หลัง เป็นอาคารที่มีอายุการใช้งานมานาน ประกอบกับสภาพภายในอาคารชำรุดทรุดโทรม จึงมิได้มีการปรับปรุงเพื่อใช้ประโยชน์<br />

(๒๑) อาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศตะวันออก เนื่องจากอาคารที่ทำการกองบัญชาการทหารสูงสุดมีอายุมากกว่า<br />

๕๐ ปี การบูรณะซ่อมแซมต้องใช้เงินงบประมาณจำนวนมาก ประกอบกับเป็นอาคารแบบเก่าที่ไม่สามารถปรับปรุงให้รองรับปริมาณงานได้เต็มที่<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมจึงได้บรรจุไว้ในแผนแม่บทการพัฒนาและปรับปรุงอาคาร สถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกของสำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม (ในยุคของ พลเอก สิริชัย ธัญญสิริ ปลัดกระทรวงกลาโหม) ทั้งนี้ ผู้บังคับบัญชาชั้นสูงได้พิจารณาจากกระแสพระบรม<br />

ราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื ่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา<br />

เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๐๔ มีความบางตอนว่า<br />

“…การสร้างอาคารสมัยใหม่นี้ คงจะเป็นเกียรติสำหรับผู้สร้างคนเดียวแต่<br />

เรื่องโบราณสถานนั้นเป็นเกียรติของชาติ อิฐเก่าแผ่นเดียวก็มีค่าควรจะช่วยกันรักษาไว้...<br />

...ไม่ควรจะเอาของใหม่ไปปนกับของเก่า ควรจะรักษาของเก่าไว้ เพราะเป็นเรื่อง<br />

เกี่ยวกับจิตใจของพลเมือง และสิ่งเหล่านี้เป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษ<br />

จึงควรรักษาไว้...<br />

....โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และโบราณสถานทั้งหลายนั้น ล้วนเป็นของมีคุณค่าและ<br />

จำเป็นแก่การศึกษาค้นคว้าในทางประวัติศาสตร์...<br />

...เป็นเครื่องแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของชาติไทย ที่มีมาแต่อดีตกาล สมควรจะ<br />

สงวนรักษาไว้ให้คงทน...<br />

...ควรจะได้มีพิพิธภัณฑสถานเก็บรักษาและตั้งแสดง...<br />

...เป็นที่ทราบกันอยู่ว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของประเทศเราที่เป็นเอกสารที่มี<br />

อยู่โดยจำกัด...<br />

...ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบจะต้องระวังรักษาอย่างดีที่สุดตลอดไป...”<br />

147

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!