19.01.2018 Views

New_129

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

๒) มีการบัญญัติตรา พระคชสีห์ ให้เป็นตราประจำกรมพระกลาโหม ซึ่งมี<br />

การใช้สืบทอดต่อมาจนถึงกระทรวงกลาโหมปัจจุบัน<br />

๓) การจัดส่วนราชการกรมพระกลาโหม แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย กล่าวคือ<br />

๓.๑) ฝ่ายทำการรบ มี แม่ทัพ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ<br />

๓.๒) ฝ่ายบังคับบัญชา มี ปลัดทูลฉลอง เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ<br />

๔) การปกครองบังคับบัญชาและการเกณฑ์ไพร่พล รวมถึงกิจการทั้งปวงใน<br />

กรมพระกลาโหม ให้ขึ้นอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสมุหพระกลาโหม ซึ่งถือดวงตราพระราชทาน คือ<br />

ตราพระคชสีห์เป็นสำคัญ รวมทั้งให้ใช้ธงประจำกรมพระกลาโหมหรือธงประจำตำแหน่ง สมุหพระกลาโหม<br />

เป็น ธงคชสีห์<br />

ตราพระคชสีห์<br />

๕) มีการตั้งทำเนียบบรรดาศักดิ์ของผู้ดำรงตำแหน่งของสมุหพระกลาโหมหรือสมุหกลาโหม ไว้คือ ออกญาสุรเสนา และ<br />

ออกญามหาเสนา ซึ่งนิยมใช้กันหลายสมัย จนต่อมาในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงบัญญัติ<br />

ให้ตรากฎหมายตราสามดวง (คชสีห์ราชสีห์และบัวแก้ว) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานมียศและพระราชทินนามของสมุหพระกลาโหม<br />

ว่า เจ้าพระยามหาเสนา กับให้ใช้ ตราคชสีห์ เป็นตราประจำตัวและประจำหน่วย<br />

๖) เดิมทีตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นต้นมา กำหนดให้สมุหกลาโหม มีอำนาจควบคุมกิจการเกี่ยวกับ<br />

ทางทหารทั่วประเทศ จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระเพทราชา ได้เปลี่ยนแปลงอำนาจให้มาเป็นควบคุมผู้บังคับบัญชาทหารและพลเรือนในแถบหัวเมือง<br />

ฝ่ายใต้ ส่วนสมุหนายก ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมดที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือน ทั้งนี้เพื่อกระจายอำนาจการปกครอง<br />

๗) จวบจนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกไป เนื่องจากทรง<br />

ปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในปี พ.ศ.๒๔๓๕<br />

(๘) การเปิดโรงทหารหน้า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดโรงทหารหน้า<br />

ในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๒๗ ซึ่งแตกต่างจากวันที่ ๘ เมษายน ๒๔๓๐ อันเป็นวันสถาปนากระทรวงกลาโหม ซึ่งในปัจจุบันยังมีหลายท่านที่สับสน<br />

ในเรื่องวันและเหตุการณ์ จึงใคร่ขอเรียนชี้แจงให้ทราบเพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกัน กล่าวคือ<br />

๑) การเปิดโรงทหารหน้า วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๒๗ เวลา ๑๑.๐๐ นาฬิกา เป็นวันที ่พระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาทรงกระทำพระราชพิธีเป็นปฐมฤกษ์ในการเปิดโรงทหารหน้า และตามมหาพิชัยฤกษ์<br />

โดยทรงประทับรถพระที่นั่งทอดพระเนตรอาคารใหม่และชมการประลองยุทธ์ของทหารพร้อมพระราชทานนามอาคารว่า โรงทหารหน้า เพื่อเป็น<br />

สิริมงคลให้แก่มวลหมู่ทหาร ทำให้ทหารไทยมีที่ทำการใหม่ที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งปรากฏข้อความของเหตุการณ์ในหนังสือ กลาโหมคำฉันท์ ดังนี้<br />

96

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!