19.01.2018 Views

New_129

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

๗) พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช ๒๕๐๓<br />

ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ได้มีการแก้ไขปรับปรุงในยุคปริวรรต (๒๕ มิถุนายน ๒๔๗๕ – ๒๔ ธันวาคม ๒๕๓๔) รวม ๕ ครั้ง (ซึ่งรวมการแก้ไข<br />

โดยคณะปฏิวัติอีก ๑ ครั้ง) โดยมีสาระสำคัญ ข้อสังเกต และการจัดส่วนราชการ ดังนี้<br />

๗.๑) พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช ๒๕๐๓ (ฉบับที่ ๑)<br />

๗.๑.๑) สาระสำคัญเริ่มใช้บังคับในวันที ่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๐๓ รวม ๒๕ มาตรา โดยสาระสำคัญส่วนใหญ่จะใกล้เคียงกับ<br />

พระราชบัญญัติจัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๐๐ แต่มีความแตกต่างกันในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้<br />

(๑) ชื่อพระราชบัญญัติเปลี่ยนจากคำว่า จัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร มาเป็น จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม<br />

(๒) การจัดส่วนราชการกระทรวงกลาโหม ประกอบด้วย สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง และ<br />

กองบัญชาการทหารสูงสุด (ซึ่งประกอบด้วย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และส่วนราชการอื่น ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา)<br />

โดยให้กองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เป็นนิติบุคคล<br />

ราชอาณาจักร<br />

(๓) อำนาจหน้าที่ส่วนราชการ โดยกองบัญชาการทหารสูงสุดและเหล่าทัพ มีหน้าที่เตรียมกำลังรบและป้องกัน<br />

(๔) สมาชิกสภากลาโหม ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ปลัดและรองปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ผู้บัญชาการ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด เสนาธิการและรองเสนาธิการทหาร ผู้บัญชาการ รองผู้บัญชาการ ผู้ช่วยผู้บัญชาการ และเสนาธิการ<br />

เหล่าทัพ<br />

๗.๑.๒) ข้อสังเกต พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ถูกตราขึ้นเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่กองทัพในการสร้างความร่วมมือกับ<br />

สหรัฐอเมริกา ในการกำหนดมาตรการต่อต้านการแพร่กระจายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการเร่ง<br />

ดำเนินยุทธศาสตร์ต่อต้านสงครามเย็นของสหรัฐอเมริกา โดยมีไทยเป็นแกนนำ ภายใต้ สนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้<br />

หรือ สปอ. : SEATO (ปีพุทธศักราช ๒๔๙๗) การบัญญัติกฎหมายเพื่อให้เกิดการรวมศูนย์อำนาจทางทหารจึงเกิดขึ้น ดังจะเห็นจากการรวบรวม<br />

เหล่าทัพเป็นหน่วยขึ้นตรงกองบัญชาการทหารสูงสุด ภายใต้ภารกิจเดียวกัน คือ เตรียมกำลังรบและป้องกันราชอาณาจักร เพื่อให้สามารถสั่งใช้<br />

กำลังทหารได้ภายใต้ผู้สั่งการคนเดียว คือ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ก่อนใช้อำนาจของรัฐมนตรีตามกฎหมาย<br />

68

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!