19.01.2018 Views

New_129

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

๑) บริเวณทางออกถนนด้านข้างถนนหลักเมืองตรงข้ามศาลหลักเมือง และ<br />

๒) บริเวณทางออกถนนด้านข้างถนนกัลยาณไมตรีตรงข้ามประตูวังสราญรมย์ (กระทรวงการต่างประเทศเดิม)<br />

ซึ่งหากสังเกตจะพบเห็นว่าอยู่ติดกับหัวเสาที่มีเหล็กกั ้นข้างป้อมยามรักษาการณ์ มีลักษณะเป็นเหล็กดัดรูปสี่เหลี่ยม<br />

สองชั้นบริเวณมุมทั้งสี่ย่อมุมเข้าหาศูนย์กลางทาสีขาวนวล โดยในปัจจุบันเหลือเพียง ๔ ช่องเท่านั้น ทั้งนี้ สำนักโยธาธิการกลาโหม ได้เก็บไว้<br />

ให้ดูเป็นต้นแบบ กรณีที่ว่าหากในอนาคตหากมีการรื้อฟื้นขึ้นมาทำใหม่ จะได้สามารถคัดลอกไปใช้ประโยชน์ได้<br />

รั้วเหล็กรอบสนามหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

๓.๒ อาคารและองค์ประกอบภายในศาลาว่าการกลาโหม<br />

(๑) การออกแบบอาคารด้านในของศาลาว่าการกลาโหม เมื่อเข้ามาภายในอาคารศาลาว่าการกลาโหมแล้ว จะพบว่า<br />

อาคารด้านในจะแตกต่างจากภายนอกมาก ซึ่งจากแนวคิดในการออกแบบอาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านนอกเป็นแบบพาลลาเดียน เป็นการ<br />

ก่ออิฐถือปูนและตกแต่งอาคาร แต่ด้านในมีความพิเศษในการออกแบบคือทำทางเดินเชื่อมต่อกันได้ทุกอาคาร และระเบียงไม้โปร่งรอบในอาคาร<br />

ทั้งสามชั้น กล่าวคือ<br />

o ชั้นล่าง ทำเป็นรั้วไม้ซี่ขนาดสูงประมาณหน้าอก<br />

o ชั้นสองและชั้นสาม ทำราวระเบียงเป็นรูปไม้ขัดกันในลักษณะกากบาท และมีเสาปูนเกลี้ยงรูปสี่เหลี่ยม<br />

เป็นตัวรับน้ำหนัก<br />

สาเหตุสำคัญที่ด้านในต้องทำเป็นระเบียงไม้เพราะช่วยให้ปลอดโปร่ง เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น<br />

จึงเป็นการระบายอากาศ ซึ่งต่างจากยุโรปที่มีอากาศหนาวเย็น นอกจากนี้ยังช่วยให้อาคารมีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น สามารถเดินติดต่องานหรือประสาน<br />

งานได้ทั้งสามชั้นโดยไม่ต้องเดินลงมาชั้นล่าง และเดินขึ้นไปใหม่ในระหว่างอาคาร<br />

126

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!