19.01.2018 Views

New_129

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ในการดำเนินการก่อสร้างแรงงานก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นชาวจีน วัสดุก่อสร้างโดยทั่วไปใช้วัสดุภายในราชอาณาจักรสยามในขณะนั้น<br />

อาทิ ไม้สัก อิฐ กระเบื้องดินเผารากกาบกล้วย ทราย ปูนซีเมนต์ ดินเหนียว ปูนขาว และต้นอ้อย สำหรับพิธีวางศิลาฤกษ์ สันนิษฐานว่า จัดพิธี<br />

เช่นเดียวกับการก่อสร้างอาคารสำคัญในสมัยนั้น และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานพิธีวาง<br />

ศิลาฤกษ์ซึ่งจากลักษณะโรงทหารหน้าสันนิษฐานว่าการวางศิลาฤกษ์อยู่ ณ บริเวณตึกกลางของโรงทหารหน้าในขณะนั้น<br />

“สร้างโรงทหารหน้า (กระทรวงกลาโหม)<br />

เมื่อทหารสมัครกลับเข้ามารับราชการตามเดิมมีจำนวนมาก แต่ที่พักอาศัยจะควบคุมทหารให้อยู่ได้เป็นปกติเรียบร้อยนั้น<br />

หายาก เจ้าหมื่นไวยวรนารถ ผู้บังคับการทหารหน้า จึงคิดเห็นว่าถ้าจะควบคุมและเลี้ยงดูทหารมากมายดังนี้ จำต้องทำที่อยู่ให้<br />

แข็งแรงมิดชิด พวกทหารจะได้อยู่ในความปกครองควบคุมให้เป็นระเบียบเรียบร้อยได้ จึงได้เที่ยวตรวจตราดูทำเล ที่ทางว่า<br />

จะมีที่ใดซึ่งสมควรจะสร้างเป็นโรงทหารหน้าต่อไปได้บ้าง จึงเห็นที่ฉางหลวงเก่า สำหรับเก็บข้าวเมื่อขณะเกิดทัพศึกมีอยู่ ๗ ฉาง<br />

แต่ทว่าปรักหักพัง ทั้งไม้ก็ผุหมดแล้ว พื้นก็หามีไม่ ต้นไม้และเถาวัลย์ขึ้นปกคลุมจนมิดฉางหมด ทั้งรอบบริเวณที่นั้นก็มีวังเจ้านาย<br />

อยู่หลายกรม แต่วังเหล่านั้นก็ทรุดโทรมหมดแล้วทุก ๆ แห่ง ในเขตเหล่านี้มีบริเวณจดไปถึงศาลเจ้าหลักเมือง จนถึงสะพานช้าง<br />

โรงสี (การที่เรียกสะพานช้างโรงสี ก็เพราะหมายความว่า ที่ตรงนั้นเป็นฉางหลวงสำหรับพระนคร และมีโรงสีเข้าอยู่ด้วย) ที่นี่ตั้งเป็น<br />

กรมยุทธนาธิการ และที่ว่าการกระทรวงกลาโหมอยู่ในเวลานี้ เนื้อที่ทั้งหมดยาว ๕ เส้น กว้าง ๓ เส้น ๑๐ วา เห็นว่า เป็นที่เหมาะ<br />

สำหรับจะตั้งเป็นโรงทหารหน้าได้ จึงได้ช่างถ่ายรูปฉางข้าวหลวง และที่วังทรุดโทรมทุก ๆ แห่ง กะสะเก็ดแผนที่ด้วยเส้นดินสอ<br />

ตามที่เจ้าหมื่นไวยวรนารถต้องการ และคิดว่าจะทำโรงทหารหน้าที่ทหารอยู่ได้ ๔ หมู่ เป็นกองทัพน้อย ๆ เพื่อจะได้รักษาความสงบ<br />

ในพระนคร จึงเรียกตัวนายกราซซี ซึ่งเป็นนายช่างรับเหมาในการก่อสร้างทั้งชั้นให้มาหา เจ้าหมื่นไวยวรนารถ จึงชี้แจงให้นายกราซซี<br />

เข้าใจความประสงค์ทุกประการ และสั่งให้นายกราซซีทำแปลนตึกมา ๒ ชนิด แปลน ๑ เป็นตึก ๒ ชั้น อีกแปลน ๑ เป็นตึก ๓ ชั้น<br />

ทั้งให้งบประมาณการที่จะก่อรากทำให้แน่นหนา ใช้เป็นตึกหลาย ๆ ชั้นได้ด้วย นายกราซซีได้ทำแปลนและเขียนรายการ พร้อมทั้ง<br />

งบประมาณการก่อสร้างมายื่นให้ผู้บังคับการตามคำสั่งทุกประการ เจ้าหมื่นไวยวรนารถได้นำแปลนตึก ๒ ชั้น พร้อมทั้งรูปฉาย<br />

ฉางข้าว กับราคางบประมาณของตึกประมาณ ๕,๐๐๐ ชั่ง (๔๐๐,๐๐๐ บาท) นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายก่อน แลได้กราบบังคมทูลชี้แจง<br />

ความตามเหตุที่จำเป็นทุก ๆ อย่าง<br />

เมื่อได้ทรงทอดพระเนตรแบบแปลนนั้นตลอดแล้ว จึงมีพระกระแสรับสั่งแก่ เจ้าหมื่นไวยวรนารถว่า<br />

“เวลานี้เงินของแผ่นดินก็ได้น้อย แต่ทว่าเป็นความจำเป็นจริงแล้ว ข้าก็จะยอมตามความคิดของเจ้า ให้เจ้าจัดแจง<br />

ทำสัญญากับนายกราซซีเสีย เพื่อจะได้ลงมือทำทีเดียว แต่ข้าจะต้องเอารูปถ่ายฉางข้าวและวังเจ้านายที่ทรุดโทรมนี้ไว้ก่อน<br />

เพื่อจะได้ปรึกษาหารือกับกรมสมเด็จท่านดูด้วย ถ้าเผื่อว่าท่านทรงขัดขวางไม่ทรงยินยอมและเห็นชอบด้วยแล้ว จะได้เอา<br />

รูปถ่ายนี้ถวายให้ทอดพระเนตรและทูลชี้แจงให้เข้าพระทัย”<br />

อยู่มาอีกไม่กี่วัน เจ้าหมื่นไวยวรนารถ ก็นำแปลนตึก ๓ ชั้น และงบประมาณเข้าไปอีก เพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย เมื่อพระบาท<br />

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นเจ้าหมื่นไวยวรนารถถือแปลนเข้าไปก็มีพระราชดำรัสรับสั่งถามว่า<br />

92

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!