19.01.2018 Views

New_129

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

๒) การจัดวางปืนใหญ่โบราณครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ.๒๔๖๔ นายพลเอก เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร)<br />

ปลัดทูลฉลองและรั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ปรับแผนการจัดวางและนำปืนใหญ่โบราณจากโรงปืนใหญ่<br />

ในพระบรมมหาราชวังและวังหน้า จำนวน ๖๓ กระบอก มาจัดวาง ณ สนามหญ้าหน้าศาลาว่าการกลาโหม พร้อมจัดทำประวัติปืนใหญ่โบราณ<br />

เป็นครั้งแรก โดยนายพลตรี พระยาอินทรวิชิต (รัตน วิชิตอาวุธ) เจ้ากรมตำราทหารบก ได้มอบหมายให้ นายพันโท หม่อมเจ้าสมบูรณ์ศักดิ์<br />

เป็นผู้แปลและเรียบเรียงประวัติปืนใหญ่โบราณเหล่านั้น การปรับการจัดวางปืนใหญ่โบราณครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นการจัดทำกลางแจ้ง หมู่ปืนใหญ่<br />

โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหมที่สมบูรณ์แบบเป็นครั้งแรก<br />

๓) การจัดวางปืนใหญ่โบราณครั้งที่ ๓ ในระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๑ - ๒๔๘๓ โดย จอมพล ป.พิบูลสงคราม<br />

นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนายพลโท พระยาศักดิ์ดาดุลยฤทธิ์ ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ปรับการจัดวางปืนใหญ่<br />

โบราณและปรับปรุงภูมิทัศน์หน้าศาลาว่าการกลาโหม ด้วยการดำเนินการ ดังนี้<br />

๓.๑) นำปืนใหญ่โบราณบางส่วนย้ายไปตั้งแสดง ณ หน่วยทหารที่จังหวัดลพบุรี<br />

๓.๒) นำปืนใหญ่โบราณบางส่วนย้ายไปตั้งแสดง ณ ทำเนียบรัฐบาล<br />

ทำให้คงเหลือปืนใหญ่โบราณที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม จำนวน ๔๐ กระบอก ทั้งนี้ ได้คงปืนใหญ่โบราณ<br />

ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นทั้ง ๗ กระบอก และปืนใหญ่พญาตานีไว้<br />

กับคงรูปแบบพิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่กลางแจ้งหน้าศาลาว่าการกลาโหมไว้เช่นเดิม<br />

๔) การจัดวางปืนใหญ่โบราณครั้งที่ ๔ ในปี พ.ศ.๒๕๓๗ พลเอก วิจิตร สุขมาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

และพลอากาศเอก สุวิช จันทประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้จัดให้มีการปรับภูมิทัศน์และจัดวางปืนใหญ่โบราณ ให้เกิดความสง่างาม<br />

มากยิ่งขึ้น โดยการรื้อรั้วเหล็กเดิมออกและทำเป็นเสาปูน มีโซ่ร้อยเรียงกัน และปรับพื้นโดยยกพื้นให้สูงขึ้น<br />

๕) การจัดวางปืนใหญ่โบราณครั้งที่ ๕ ในปี พ.ศ.๒๕๓๘ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

พลเอก ประเสริฐ สารฤทธิ์ ปลัดกระทรวงกลาโหม (ตุลาคม ๒๕๓๗ - กันยายน ๒๕๓๘) และ พลเอก ไพบูลย์ เอมพันธุ์ ปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

(ตุลาคม ๒๕๓๘ - กันยายน ๒๕๓๙) ได้มอบหมายให้สำนักโยธาธิการกลาโหม ปรับภูมิทัศน์บริเวณสนามหญ้าหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

โดยการเรียงปืนใหญ่โบราณในลักษณะ อุตราวรรต คือ การจัดเรียงตามลำดับปีที่สร้าง เวียนไปทางซ้าย และนำแผ่นทองเหลืองบันทึกชื่อและ<br />

ประวัติปืนใหญ่โบราณ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ติดตั้งไว้บริเวณฐานปืนใหญ่โบราณทุกกระบอก<br />

๖) การจัดวางปืนใหญ่โบราณครั้งที่ ๖ ในปี พ.ศ.๒๕๔๗ พลเอก เชษฐา ฐานะจาโร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

และ พลเอก อู้ด เบื้องบน ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้พิจารณาปรับภูมิทัศน์ให้สอดรับกับการท่องเที่ยวเกาะรัตนโกสินทร์เชิงประวัติศาสตร์<br />

โดยปรับการจัดวางปืนใหญ่โบราณ ตามประเพณีนิยมของกองทัพไทยในสมัยโบราณ จึงได้ประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลปากรในประเด็น<br />

หลักการสากลของการจัดพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง หลักสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ซึ่งปรากฏว่ามีแนวคิดในการจัดวางปืนใหญ่โบราณ ๒ แนวทาง<br />

กล่าวคือ<br />

๖.๑) ทักษิณาวรรต ด้วยการจัดวางแบบเวียนขวา หรือตามเข็มนาฬิกา โดยจัดวางปืนใหญ่โบราณเรียงปีและ<br />

ยุคที่สร้าง โดยเริ่มต้นจากถนนกัลยาณไมตรี ไปทางถนนหลักเมือง<br />

117

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!