19.01.2018 Views

New_129

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

๑๐. กระทรวงธรรมการ จัดการเกี่ยวกับเรื่องศาสนา การศึกษา การพยาบาล และพิพิธภัณฑ์<br />

๑๑. กระทรวงโยธาธิการ จัดการเกี่ยวกับเรื่องการก่อสร้าง ทำถนน ขุดคลอง และการช่างทั่วไป ทั้งการไปรษณีย์และโทรเลข หรือ<br />

รถไฟ ซึ่งจะมีสืบไปในภายหน้า<br />

๑๒. กระทรวงมุรธาธิการ ดูแลรักษาพระราชลัญจกรหนังสือราชการเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์<br />

๔) แปลงสภาพกระทรวงยุทธนาธิการ<br />

เหตุการณ์ต่อมาในวันเดียวกันนั้น คือ วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ในเรื่องที่สำคัญของการจัดส่วนราชการทางทหาร โดยมีเหตุผลของการปรับเปลี่ยนส่วนราชการในกระทรวงยุทธนาธิการ กล่าวคือ<br />

“...ทรงพระราชดำริห์พร้อมด้วยบรมวงษา แลเสนาบดีว่ากรมยุทธนาธิการเดิม ซึ่งทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นไว้ให้เปนกรมหัวน่าแลกรมกลางส ำหรับดำริห์จัดหา รักษาบังคับบัญชา<br />

ราชการแลกองทหารบกทหารเรือรวมกันเปนกรมเดียวนั้น ราชการที่ได้จัดการเปนแบบแผนราชการ<br />

กับราชการบ้านเมืองที่มีเปนอยู่บ้างแล้ว แต่ตำแหน่งแลน่าที่ผู้จะรับราชการตามพระราชบัญญัติ<br />

เดิมนั้น ยังเปนที่ก้าวก่าย แก่งแย่ง กับไม่เรียบร้อย เปนเหตุให้การทำน่าที่ไม่ทันกาลสมัยที่ควร<br />

จะเจริญไปได้อีก ย่อมเปนความลำบากแก่ผู้ที่จะบังคับบัญชาแลรับผิดชอบในราชการทหารบก<br />

ทหารเรือ เปนหลายประการ จึงสมควรจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติเดิมให้เปนการ<br />

ถูกต้องสมควรแก่กาลสมัยแห่งความเจริญของราชการที่มีเปนอยู่ในบัดนี้...”<br />

จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติขึ้นใช้บังคับฉบับหนึ่งชื่อว่า พระราชบัญญัติกรมยุทธนาธิการ รัตนโกสินทรศก ๑๑๑ ขึ้น โดยมี<br />

สาระสำคัญ ดังนี้<br />

ก) ให้แยกการบังคับบัญชาการทหารเรือ กรมช้าง กรมแสง จากกระทรวงยุทธนาธิการ ไปขึ้นกับกระทรวงกลาโหม<br />

ข) สำหรับกระทรวงยุทธนาธิการ ให้ลดฐานะเป็น กรมยุทธนาธิการ ซึ่งเป็นส่วนราชการที่มีลักษณะพิเศษไม่ต้องสังกัดขึ้นกระทรวงใด<br />

กับมีหน้าที่ปกครองบังคับบัญชาทหารบก<br />

ค) พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์<br />

วรเดช เป็น ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ (อัตราใหม่) กับให้มีตำแหน่งในที่ประชุมเสนาบดีด้วย<br />

ง) ตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้มีการกำหนดตั้งกรมขึ้นเป็นส่วนราชการขึ้นตรงกรมยุทธนาธิการ รวม ๕ กรม<br />

กล่าวคือ<br />

31

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!