19.09.2017 Views

ASA CREW VOL.4

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

<strong>ASA</strong> DIALOGUE<br />

A Conversation with WHBC Architects<br />

บทสนทนากับ WHBC Architects<br />

“ในสตูดิโอของเรา เรานาแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรม<br />

ตะวันออกมาทางานร่วมกับวิถีตามครรลอง เพื่อที่จะสนทนา<br />

ตั้งคาถามและพูดคุยกับสถานการณ์นั้นๆ”<br />

BC Ang ทิ้งท้ายการบรรยาย 1 ชั่วโมงเต็มด้วยการสรุป<br />

วิถีการทำงานที่เฉพาะของ WHBC Architects จากนั้นบท<br />

สนทนาบนเวทีราว 50 นาทีจึงได้เริ่มต้นขึ้น การพูดคุยและ<br />

ตอบคำถามในวันนั้นเปิดโอกาสให้เขาและ Wen Hsia Ang<br />

ได้อธิบายวิธีการคิดและการทำงานในสตูดิโอที่น่าสนใจ<br />

และเป็นประโยชน์บทความนี้จึงได้คัดเลือกบทสนทนาบาง<br />

ส่วนมาเผยแพร่สู่สาธารณะ<br />

คัทลียา: เหมือนว่าคุณมุ่งที่จะมองหา“คำถามที่ใช่” และ<br />

“วิธีการแก้ปัญหาที่เฉพาะ”ในทุกๆ โปรเจ็กต์ของคุณอยู่เสมอ<br />

แล้วกระบวนการที่อยู่เบื้องหลัง“คำถามที่ใช่” เหล่านี้คืออะไร<br />

พวกคุณมีวิธีการตัดสินใจอย่างไรว่า นี่คือสิ่งที่ใช่และคุณจะ<br />

ต้องจัดการกับมัน<br />

BC: มันอาจจะฟังดูง่ายนะ เวลาที่เราอธิบายงานให้ฟังว่า<br />

เราแก้ปัญหาแบบใด ผมเชื่อว่านักออกแบบทุกคนต่างรู้ดีว่า<br />

ขั้นตอนการวิเคราะห์นั้นมีความซับซ้อนและหลากหลาย<br />

ความพยายามในการหาจุดสมดุลของความต้องการและ<br />

ข้อกำหนดต่างๆ นั้น มันเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและ<br />

ยุ่งเหยิงอยู่ไม่น้อยเลยกว่าที่จะสามารถหา “คำถามๆ นั้น” หรือ<br />

“สิ่งๆ นั้น” ที่คุณต้องการจะคลี่คลายได้ แต่พวกเรานักออกแบบ<br />

ถูกสอนมาโดยเฉพาะให้สามารถกลั่นกรองความคิดอันยุ่งเหยิง<br />

เหล่านี้ ให้กลายมาเป็นความคิดที่เรียบง่ายได้ ในความคิด<br />

ของผม นักออกแบบมีความรู้ที่หลากหลายแบบกว้างๆ แต่<br />

ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญที่รู้ลึกเฉพาะด้านดังนั้น เราจึงมีหน้าที่ที่จะ<br />

สังเคราะห์สิ่งเหล่านี้และกลั่นมันออกมาเป็นวิธีการแก้ปัญหา<br />

ที่ชัดเจน<br />

*เนื้อหาในบทความนี้ถอดความมาจากบทสนทนาบนเวที ของ WHBC Architects<br />

กับผู้ดำ เนินรายการ (ผศ.ดร.คัทลียา จิรประเสริฐกุล) ในโครงการ <strong>ASA</strong><br />

Dialogue 2017 ครั้งที่ 2 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560 เวลา<br />

15.00-17.00 น. ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่ง<br />

กรุงเทพมหานคร<br />

WH: มันเป็นคำถามที่ดีมากเลย ที่จริงฉันก็เคยไป<br />

บรรยายเรื่องนี ้ ในหัวข้อ “จะไปสู่ความชัดเจนได้อย่างไร”<br />

เพราะพวกเรานักออกแบบมักจะมีความคิดที่กระจัดกระจาย<br />

ไปหมด แล้วเราจะสามารถไปสู่ความชัดเจนและไปถึงจุดๆ<br />

นั้นได้อย่างไร จุดที่คุณจะพูดว่า“อ้า...ฉันรู้แล้ว!” และคุณก็จะ<br />

รู้ทันทีว่าจะต้องทำอย่างไรต่อไป<br />

มีคนกล่าวว่า “การค้นหาคำถามที่ใช่นั้นคือสิ่งที่ยาก<br />

ที่สุด ถ้าคุณพบมันแล้ว ขั้นตอนที่เหลือก็จะไม่ใช่เรื่องยาก<br />

อีกต่อไป” ดังนั้น ขั้นแรกคือเราจะต้องค้นหาคำถามที่ใช่เสีย<br />

ก่อน ในประเด็นนี้ นอร์แมน ฟอสเตอร์กล่าวไว้ว่า “สิ่งที่ผม<br />

อธิบายให้คุณฟังนั้นเป็นเพียงปลายยอดของภูเขาน้ำแข็ง<br />

แต่สิ่งที่คุณไม่เห็นนั้น แท้ที่จริงแล้วมันเป็นเส้นทางที่ลาก<br />

ยาวมาก เป็นการตรวจสอบที่ไม่สิ้นสุด ทำนองนั้น...”<br />

ดังนั้น การออกแบบจึงไม่มีวันจบแค่บนกระดาษ การ<br />

ตรวจสอบเกิดขึ้นได้ตลอดกระบวนการ ในการก่อสร้าง การ<br />

ตกแต่ง แม้กระทั่งในขั้นตอนที่เราส่งมอบงาน มันมีอะไร<br />

มากมายให้เราได้เรียนรู้ตลอดกระบวนการนี้ ซึ่งถึงมันจะ<br />

ยุ่งเหยิง แต่คุณก็ต้องเฝ้าตรวจสอบและปรับมันอยู่ตลอด<br />

เวลา และถ้าคุณสามารถถามคำถามที่ใช่และค้นหาทิศทาง<br />

ที่ใช่ได้แล้ว คุณก็จะสามารถไปต่อได้ เพราะคุณจะรู้ได้เลย<br />

ว่าต้องทำอะไรบ้าง...<br />

BC: ผมอยากจะแนะนำหนังสือดีๆ ที่เกี่ยวกับ “การคิด”<br />

เราสนใจในกระบวนการคิดและการออกแบบมาก เราสนใจ<br />

ว่าจิตของเราทำงานอย่างไร ผมเชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์<br />

เป็นกล้ามเนื้อที่เราฝึกได้ แม้มันจะเป็นสิ่งที่เรามีติดตัวเรา<br />

มาแต่กำเนิด ดังนั้น เราจึงต้องการเครื่องมือช่วยคิดเหล่านี้<br />

เพื่อฝึกให้จิตของเราทำงานแตกต่างออกไปจากเดิม เอ็ดเวิร์ด<br />

เดอ โบโน ผู้เขียนหนังสือเรื่องการคิดนอกกรอบ ได้แนะนำ<br />

วิธีการที่เรียกว่า“ความสัมพันธ์แบบบังคับ”(Force Association)<br />

โดยให้ลองหาอะไรหลายๆ อย่างมา แล้วเอาคำเหล่านั้นมา<br />

ใช้กับสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ ดังนั้น เมื่อคุณถูกบังคับให้เอา<br />

ของ 2 สิ่งมาสัมพันธ์กัน จิตของคุณก็จะสร้างรูปแบบใหม่<br />

ทางความคิดขึ้นมาทันทีวิธีนี้มันเป็นวิธีการเดียวกันกับที่เราฝัน<br />

ฉะนั้น มันมีเครื่องมือหลายอย่างที่ช่วยสร้างรูปแบบใหม่<br />

ทางความคิดและหนังสือเหล่านั้นก็เป็นสิ่งน่าเรียนรู้<br />

ผู้ฟัง: คุณมีวิธีการทำงานและโน้มน้าวลูกค้าได้อย่างไร<br />

BC: ถ้าคุณสามารถจัดการให้โปรเจ็กต์อยู่ภายใน<br />

งบประมาณและบรรลุวัตถุประสงค์ ลูกค้าก็จะยอมรับงาน<br />

นั้นได้ ดังนั้น วิธีการที่เรียบง่ายและใช้ได้จริงนี่แหละที่จะ<br />

ทำให้ลูกค้ายอมรับ แต่แนวทางการแก้ปัญหาที่คลุมเครือ<br />

หรือเฉพาะตัวมากๆ เช่น เน้นสไตล์การออกแบบ กลับจะ<br />

โน้มน้าวลูกค้าได้ค่อนข้างยาก<br />

WH: อธิบายอีกแบบก็คือ เราโน้มน้าวลูกค้าด้วยข้อ<br />

เท็จจริงและการวิเคราะห์มากกว่าจะใช้ความรู้สึกและสไตล์<br />

ของการออกแบบ ฉันคิดว่ามันง่ายกว่าที่จะโน้มน้าวใจลูกค้า<br />

ถ้าหากว่าคุณทำการบ้านมามากพอ<br />

ภาพ : www.artsfwd.org/munch-club-3-what-is-lateral-thinking/<br />

- 6 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!