19.09.2017 Views

ASA CREW VOL.4

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ผศ.ดร.คัทลียา จิรประเสริฐกุล<br />

(see CONTRIBUTORS PAGE)<br />

C1<br />

Mr.Boo Chung Ang<br />

The Kissing Tower, on-paper project in KL<br />

ภาพ : www.whbca.com<br />

ผู้ฟัง: คุณจะช่วยอธิบายมุมมองที่มีต่อตัวเองในโลก<br />

ใบใหญ่นี้ได้มั้ย ทั้งมุมเชิงบวกและลบ คือผมมองในด้านดีนะ<br />

ว่าคุณมีวิธีคิดเป็นของตัวเองและไม่ได้ถูกกลืนไปในสังคมใหญ่<br />

BC: ผมคิดว่าเราตัวเล็กมาก เราก้มหน้าก้มตาทำงาน...<br />

หวังว่านะ บางครั้งเราอาจอยากจะทำอะไรที่แปลกออกไปบ้าง<br />

แต่ท้ายที่สุด งานออกแบบควรจะเป็นอะไรที่บวกนะ เพราะ<br />

คุณกำลังสร้างสรรค์และมันไม่เหมือนกับการเมืองที่มีแต่<br />

การต่อสู้แย่งชิงตลอดเวลา การออกแบบมันวิเศษเพราะว่า<br />

เราสร้างสรรค์ดังนั้น ถ้าคุณทำแล้วมีความสุข ก็จงทำต่อไปเถิด<br />

WH: บางครั้งที่เราตั้งคำถามกับตัวเองว่าสิ่งที่เราทำนั้น<br />

มันยิ่งใหญ่เพียงพอมั้ย หรือเราแค่มีความสุขอยู่กับการทำ<br />

สิ่งเล็กๆ ที่มันอาจจะให้ประโยชน์ต่อมนุษยชาติหรือไม่ก็ได้<br />

นี่เป็นคำถามที่ทั้งนักออกแบบและไม่ใช่นักออกแบบมัก<br />

ถาม แต่ฉันคิดว่าในความเป็นมนุษย์นั้น ทุกๆ ก้าวเล็กๆ ที่<br />

เราก้าวไป เราอาจไม่เห็นผลกระทบมากมายหรือเห็นได้ใน<br />

ทันที แต่ถ้าทุกๆ ก้าวของคุณไปในทิศทางที่ถูกที่ควร และ<br />

ทุกคนรอบตัวก็ทำเช่นเดียวกัน เราก็สามารถบอกตัวเองได้ว่า<br />

เราได้พัฒนาขึ้นแล้ว<br />

กลับมาที่คำถาม ฉันคิดว่าเราพยายามอย่างดีที่สุด<br />

ที่จะท ำให้สิ่งที่เราคิดออกมาเป็นงานออกแบบหรือสถาปัตยกรรม<br />

และเราก็หวังว่ามันจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก<br />

จะในระดับท้องถิ ่นหรือในระดับโลกนั้นเราก็ไม่อาจทราบได้<br />

แต่ถ้ามันไม่เกิดผลใดๆ ก็ไม่เป็นไร ถ้าเราสามารถทำให้ตัวเรา<br />

มีความสุข เพื่อนบ้านมีความสุข ลูกค้าก็มีความสุข ฉันก็คิดว่า<br />

มันพอแล้วล่ะ<br />

คัทลียา: คุณทั้งคู่ดูถ่อมตัวและติดดินมากเลยค่ะ มัน<br />

เลยทำให้นึกถึงคำที่คุณอธิบายบริษัทตัวเองว่าเป็น“สถาปนิก<br />

ติดดิน” (Blue-collar Architects) คุณช่วยอธิบายได้ไหม<br />

คะ ว่ามันเกิดขึ้นมาได้อย่างไรในระหว่างที่ประกอบวิชาชีพ<br />

เพราะฉันคิดว่าคุณชัดเจนและกล้าหาญมากที่พูดแบบนั้น<br />

WH: วิชาชีพของเราเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ไม่ง่ายเลย<br />

ครอบครัวและญาติๆ ของเรามักจะถามว่า “เราทำอะไร”<br />

ผู้รับเหมาหรือเปล่า หรือเป็นคนทำงานอิสระ ในมุมหนึ่งมัน<br />

ก็ใช่นะ เพราะเราก็ลงพื้นที่รางวัดด้วยตัวเอง และพูดคุยกับ<br />

ช่างก่อสร้าง ดังนั้น เราจึงมองภาพของตัวเองเป็นสถาปนิก<br />

ที่ติดดิน มากกว่าที่จะเป็นสถาปนิกชั้นสูงที่คนเข้าถึงไม่ได้<br />

BC: เราไม่ใช่แค่คิดอย่างเดียวนะ แต่เราเชื่อในการ<br />

กระทำและการทำให้ดีด้วย แต่การจะทำอะไรให้ได้ดีนั้น เรา<br />

จำเป็นจะต้องรู้จักช่างที่ทำงานนั้น เพราะช่างจะรู้ว่าต้องทำ<br />

อย่างไรงานจึงจะออกมาดีที่สุด ความรู้นี้มันทำให้เราเป็น<br />

นักออกแบบที่ดีขึ้น เพราะเราจะสามารถออกแบบได้อย่าง<br />

มีประสิทธิภาพ ไม่เหลือเศษ และลงรายละเอียดได้ ฉะนั้น<br />

เราจึงต้องทำงานกับผู้รับเหมาอย่างใกล้ชิด ไม่ใช่ใช้ระบบสั่ง<br />

ลงมา เอาแบบนี่นะ...ฉันไม่สนใจ! ความไม่เข้าใจกระบวนการ<br />

ทั้งหมดจะทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรจำนวนมาก<br />

ผู้ฟัง: คุณช่วยอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัสดุคอนกรีตได้มั้ย<br />

เช่น มีวิธีเตรียมไม้แบบอย่างไร หรือตกแต่งผิววัสดุอย่างไร<br />

BC: ผมคิดว่าคอนกรีตนั้นมี 2 เรื่อง คือ คอนกรีตใน<br />

ฐานะที่เป็นโครงสร้างนั้นจะสัมพันธ์กับรูปทรงเรขาคณิต<br />

เพราะมันจะทำให้โครงสร้างนั้นสามารถตั้งอยู่ได้นอกจากนี้<br />

ยังมีรายละเอียดเทคนิควิธีทางวิศวกรรม เช่น ส่วนผสมของ<br />

คอนกรีตผสมและเหล็กเสริม ซึ่งทำให้เราต้องทำงานใกล้ชิด<br />

กับวิศวกรเพื่อกำหนดโครงสร้างร่วมกัน<br />

เรื่องที่สองคือการตกแต่งผิววัสดุ ซึ่งแน่นอนว่ามันเกิด<br />

จากแบบหล่อที่เลือกใช้ดังนั้น การทำความเข้าใจแบบหล่อ<br />

จึงเป็นสิ่งที ่สำคัญอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นชนิดของแบบหล่อ<br />

ว่าไม้แบบชนิดต่างๆ ที่มาจากต่างถิ่นกันจะมีการดูดซับน้ำ<br />

ที่ไม่เท่ากัน จึงทำให้ผิววัสดุออกมาแตกต่างกัน ที่สำคัญ<br />

สถาปนิกต้องเข้าใจและยอมรับด้วยว่า ไม้เป็นวัสดุธรรมชาติ<br />

จึงมีผิวที่ไม่สม่ำเสมอ จึงทำให้แบบที่หล่อออกมามีผิวใน<br />

ลักษณะเดียวกัน แต่ถ้าคุณอยากได้ผิววัสดุที่เรียบสม่ ำเสมอ<br />

คุณก็ควรจะใช้แบบหล่อที่ทำด้วยเหล็ก<br />

WH: มันเป็นข้อจำกัดด้านราคา ถ้าคุณเห็นงานคอนกรีต<br />

ในญี่ปุ่น จะพบว่ามันสมบูรณ์แบบมาก เส้นคมชัดและสวยงาม<br />

เพราะว่าเขาสามารถจ่ายค่าแบบหล่อที่ทำจากเหล็กได้ แต่<br />

ในมาเลเซีย เราไม่มีงบประมาณขนาดนั้น เราจึงต้องเลือกใช้<br />

แบบหล่อชนิดอื่นๆ โดยที่เรารู้และยอมรับว่ามันจะมีความ<br />

ไม่สมบูรณ์แบบเกิดขึ้นที่ผิววัสดุ แต่เราสามารถออกแบบ<br />

ให้ออกมาดูดีได้ ดังนั้น สิ่งสำคัญคือเราต้องมีความเข้าใจ<br />

ในวัสดุท้องถิ่นและหาวิธีการพลิกแพลงมัน<br />

The subtracted house, Bangsaar, KL<br />

คัทลียา: ถามถึงโปรเจ็กต์ที่Wen Hsia ออกแบบให้กับ<br />

ชุมชนท้องถิ่น Orang Asli ว่าในการพูดคุยกับชาวบ้านนั้น<br />

มันยากลำบากแค่ไหน กว่าจะออกมาเป็นกระบวนการ<br />

ก่อสร้าง<br />

WH: จริงๆ มันก็เหมือนกับงานอื่นๆ ที่เราทำ คือ เราต้อง<br />

เข้าใจคนและสถานที่อย่างดีและพูดคุยกับพวกเขาว่าจะ<br />

ทำงานกันอย่างไร ฉันจำคลิปวิดีโอ ของ TEDx Talk อันหนึ่ง<br />

ที่เป็นกลุ่มคนไปทำงานชุมชนชนบท นักออกแบบก็คิดที่จะ<br />

ปลูกผักเพื่อช่วยชาวบ้าน แต่พอผักที่ปลูกไว้ใกล้ฤดูเก็บเกี่ยว<br />

ก็มีโขลงช้างมาทำลายพืชผักเสียหายหมด พวกเขาจึงถาม<br />

ชาวบ้านว่าแถวนี้มีช้างด้วยเหรอ ชาวบ้านจึงได้บอกว่า...มีสิ<br />

พวกเราถึงไม่ปลูกผักยังไงล่ะ เพราะมันจะถูกช้างทำลายหมด<br />

บทเรียนจากเรื่องนี้ก็คือ บางครั้งเวลาที่เราไปสถานที่ใหม่ๆ<br />

และเริ่มทำงานด้วยความรู้และความเข้าใจที่มีอยู่เดิม<br />

เราอาจก่อให้เกิดความผิดพลาดครั้งใหญ่หลวงได้ ดังนั้น<br />

เราจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจและพูดคุยกับชาวบ้าน รวมทั้ง<br />

ทำความเข้าใจด้วยว่าอะไรเป็นข้อจำกัด วัสดุที่หาได้ หรือ<br />

กำลังคนของเขา เราจำต้องสื่อสารเยอะมากๆ และใช้เวลา<br />

มากที่นั่น<br />

BC: ในการพูดคุยกับคนนั้น บางครั้งเราก็อาจไม่ได้ข้อ<br />

เท็จจริง ดังนั้น บางครั้งเราจึงต้องอ่านระหว่างบรรทัด และ<br />

เราก็บอกได้เลยจากประสบการณ์ว่าเราก็ผิดพลาดมามาก<br />

เหมือนกันจากความเข้าใจที่ไม่ถ่องแท้ ดังนั้น พวกเราก็ยัง<br />

ต้องเรียนรู้ต่อไป และเราทุกคนก็เป็นเช่นนั้น...<br />

*ติดตามฟังการบรรยายและบทสนทนาฉบับเต็มได้ที่ Facebook<br />

สมาคมสถาปนิกสยามฯ หรือทางเว็บไซต์ www.asa.or.th<br />

ภาพ : www.whbca.com<br />

- 7 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!