21.11.2019 Views

ASA CREW VOL.17

การออกแบบสถาปัตยกรรม หลายต่อหลายคร้ัง สิ่งที่เจ้าของ อาคารและสถาปนิกมุ่่งหมายที่จะส่ือสาร มีมากกว่าแค่การใช้สอยและการใช้งานทั่วๆ ไปและไม่ใช่เพียงแค่อาคารทางศาสนาเท่าน้ันที่อาจมีเป้าหมายของการสื่อสารไปถึงระดับของความ spiritual วารสารอาษาฉบับนี้ จึงชวนท่านผู้อ่านมาร่วมเปิดบทสนทนาเก่ียวกับการออกแบบ spiritual space ที่มีต่อศาสนาต่างๆ ประเพณี พิธีกรรม การละเล่น รวมถึงความเชื่ออ่ืนๆ ไปพร้อมกัน – ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ บรรณาธิการวารสารอาษาครู

การออกแบบสถาปัตยกรรม หลายต่อหลายคร้ัง สิ่งที่เจ้าของ อาคารและสถาปนิกมุ่่งหมายที่จะส่ือสาร มีมากกว่าแค่การใช้สอยและการใช้งานทั่วๆ ไปและไม่ใช่เพียงแค่อาคารทางศาสนาเท่าน้ันที่อาจมีเป้าหมายของการสื่อสารไปถึงระดับของความ spiritual วารสารอาษาฉบับนี้ จึงชวนท่านผู้อ่านมาร่วมเปิดบทสนทนาเก่ียวกับการออกแบบ spiritual space ที่มีต่อศาสนาต่างๆ ประเพณี พิธีกรรม การละเล่น รวมถึงความเชื่ออ่ืนๆ ไปพร้อมกัน – ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ บรรณาธิการวารสารอาษาครู

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

_แล้วเรื่องของการเรียนคัมภีร์ มีข้อกำหนดเรื่องอายุ<br />

หรือเปล่า<br />

ดร.อาดิศร์: โดยปกติก็จะเรียนควบคู่ไปกับการเรียน<br />

วิชาสามัญปกติในโรงเรียน เพราะศาสนาอิสลามเราไม่มี<br />

นักบวช ฉะนั้นทุกคนจําเป็นต้องรู้เรื่องศาสนาเพื่อที่จะ<br />

ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเมื่อก่อนในบ้านเรานั้นศึกษา<br />

ศาสนาจากคัมภีร์ที่เป็นภาษาอาหรับทําให้มีคนเข้าใจน้อย<br />

ทําให้ต้องมีผู้รู้ศาสนาที่มีความรู้ด้านภาษาเป็นผู้อธิบายอีก<br />

ต่อหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรง<br />

โปรดให้จุฬาราชมนตรีทําการแปลคัมภีร์เป็นภาษาไทย<br />

ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เลยเพราะทําให้ทุกคน<br />

เข้าถึงความรู้ได้มากขึ้น<br />

_ในเรื่องการจัดสรรพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม คัมภีร์-<br />

อัลกุรอานมีข้อกำหนดหรือบัญญัติเกี่ยวกับศาสนสถาน<br />

ไว้บ้างหรือเปล่า<br />

ดร.อาดิศร์: ในคัมภีร์แทบจะไม่ได้กําหนดรูปแบบอะไร<br />

ของศาสนสถานเอาไว้ เพียงแค่บอกหลักการเอาไว้ว่าใน<br />

เวลาที่ละหมาดต้องหันหน้าไปทางทิศกิบลัตซึ่งเป็นที่ตั้ง<br />

ของวิหารกะอฺบะฮฺูในมัสยิดอัลฮูะรอมในนครมักกะฮฺู และ<br />

ในการสร้างมัสยิดเราจะระลึกเสมอว่าเรากําลังจะสร้าง<br />

บ้านของพระเจ้า เพื่อที่มุสลิมจะได้แสดงความภักดีต่อ<br />

พระเจ้า ทุกชุมชนก็พยายามจะสร้างมัสยิดในแบบที่ดี<br />

ที่สุดตามที่ศักยภาพของชุมชนนั้นๆจะสามารถทําได้แต่<br />

จะระมัดระวังไม่ให้สร้างหรูหราฟุ่มเฟือยจนเกินจําเป็น ซึ่ง<br />

ถ้าย้อนกลับมาในอดีตของบ้านเรา มัสยิดตามชุมชนก็<br />

จะสร้างตามรูปแบบเรือนไม้ของแต่ละพื้นที่ เพียงแต่ว่า<br />

อาจจะใหญ่กว่าเรือนทั่วๆไป หรืออาจจะมีการใช้ลวดลาย<br />

ฉลุไม้เป็นส่วนตกแต่งมากหน่อย เพื่อแสดงออกว่านี่คือ<br />

อาคารที่พิเศษกว่าอาคารอื่นๆ ในสมัยต่อมา บางชุมชน<br />

ที่มีขุนนางที่เป็นชาวมุสลิมอาศัยอยู่ ก็จะสร้างมัสยิดตาม<br />

รูปแบบที่คิดว่าดีที่สุดในยุคนั้น ซึ่งอาคารที่ดีที่สุดในบ้าน<br />

เราในสมัยนั้นก็คืออาคารสถาปัตยกรรมประเภทวัดและ<br />

วังมัสยิดในสมัยนั้นก็เลยอาจจะได้รับอิทธิพลทางรูปแบบ<br />

จากสถาปัตยกรรมไทย ยกตัวอย่างเช่น มัสยิดต้นสนหลัง<br />

เดิม หรือมัสยิดบางหลวง ต่อมาเมื่อเริ่มมีชาวต่างชาติ<br />

เข้ามามากขึ้น มัสยิดก็มีการเปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะ<br />

เป็นอาคารแบบยุโรปมากขึ้น แต่ก็มีลักษณะบางอย่างให้<br />

รู้ว่าอาคารหลังนั้นเป็นแบบอิสลาม ตัวอย่างเช่น มัสยิด<br />

บางอ้อ ซึ่งเป็นตึกยุโรปแต่มีโดมแบบอิสลาม จากนั้นก็มี<br />

พัฒนาการทางด้านรูปแบบมาเรื่อยๆ จนกระทั่งปัจจุบันที่<br />

มีสถาปนิกจบตามระบบการศึกษาในแบบสากล ก็มีการ<br />

ศึกษารูปแบบที่ตีความจากหลักคําสอนมากขึ้น ไม่ว่าจะ<br />

สร้างในรูปแบบใด แนวทางในการสร้างมัสยิดส่วนใหญ่มี<br />

ที่มาจากการสร้างตามแบบอย่างของท่านศาสดา สิ่งสําคัญ<br />

ประการแรกคือมัสยิดที่ท่านสร้างนั้นหันไปยังทิศกิบลัต<br />

ตามคําสั่งของพระเจ้า มัสยิดที่สร้างในเวลาต่อมาจึงหันไป<br />

ทิศกิบลัตเพื่อแสดงความภักดีต่อพระเจ้าองค์เดียว อย่าง<br />

ที่สองคือพื้นที่ภายในมัสยิดจะต้องมีความสะอาด สงบ<br />

และแสดงถึงความเท่าเทียมกันคือทุกคนเสมอกันภายใต้<br />

ความเมตตาของพระเจ้า อย่างที่สามคือตัวอาคารตอบ<br />

สนองภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และวัสดุท้องถิ่น และไม่<br />

หรูหราฟุ่มเฟือยเกินจําเป็น ทําให้มัสยิดในแต่ละพื้นที่ก็จะ<br />

มีความแตกต่างกันไป ซึ่งไม่ได้เป็นข้อบังคับแต่เป็นเหมือน<br />

แนวทางปฏิบัติเสียมากกว่า<br />

_ทางฝั่งของศาสนาพุทธ ในพระไตรปิฎกมีข้อกำหนด<br />

อะไรเกี่ยวกับการสร้างวัดหรือศาสนสถานเอาไว้บ้าง<br />

หรือเปล่า<br />

พระมาร์ค: คําสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงบัญญัติไว้ จะแบ่ง<br />

ออกเป็นสองส่วนคือ ธรรมและวินัย ในส่วนของวินัยก็คือ<br />

ข้อปฏิบัติของภิกขุ ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อความตั้งมั่นของพระ<br />

สัทธรรม การอยู่อาศัยของภิกขุก็จะมีบัญญัติเอาไว้ เช่น<br />

การสร้างกุฏิสงฆ์ ถ้าไม่ได้มีผู้แสดงความประสงค์ว่าจะสร้าง<br />

ให้ แต่ภิกขุนั้นเป็นผู้ที่ไปขอฆราวาสให้สร้างเพื่อตัวเอง ก็<br />

จะสร้างได้กว้างไม่เกิน 7 คืบพระสุคต ยาวไม่เกิน 12 คืบ<br />

พระสุคต (สาวกรุ่นหลังจะสรุปว่า 1 คืบพระสุคตเท่ากับ<br />

25 ซม.) จะต้องสร้างบนที่ดินที่ไม่มีเจ้าของและต้องมีชาน<br />

รอบ หากไม่ทําตามพระวินัยบัญญัตินี้ก็จะถูกปรับอาบัติ<br />

แต่ถ้ามีผู้มาแสดงเจตนาว่าจะสร้างให้ ก็ไม่ได้มีข้อกําหนด<br />

บังคับ ทรงอนุญาตให้สร้างได้ตามความเหมาะสมของข้อ<br />

ธรรมและวินัย ในกรณีที่สงฆ์หลายรูปมาอยู่ร่วมกันเป็นหมู่<br />

คณะเรียกว่ามีอาวาสเดียวกัน ก็มีกิจของสงฆ์ที่จะต้องทํา<br />

พร้อมกัน พระพุทธเจ้าจึงทรงกําหนดขอบเขตของอาวาสขึ้น<br />

เรียกว่าเขตสีมา โดยกําหนดขอบเขตด้วยเครื่องหมาย 8<br />

อย่างคือ ภูเขา แผ่นหิน ป่าไม้ ต้นไม้ หนทาง จอมปลวก<br />

แอ่งนํ้ำ แม่นํ้ำ และทรงอนุญาตเขตสีมาไม่เกิน 3 โยชน์<br />

(1 โยชน์เท่ากับ 16,000 เมตร) บัญญัติเรื่องสิ่งปลูกสร้าง<br />

อื่นๆเช่น กุฏิ ทางจงกรม วิหาร ห้องนํ้ำ ก็จะเน้นประโยชน์<br />

ใช้สอยเป็นหลัก ไม่ได้ทรงบัญญัติในเรื่องของรูปแบบหรือรูป<br />

ร่างหน้าตาเท่าไหร่ แต่จะเน้นไปที่ข้อปฏิบัติตัวของภิกขุเมื่อ<br />

เกี่ยวข้องสถานที่หรือกิจกรรมนั้นๆ<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> 17 50 51<br />

Spiritual

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!