21.11.2019 Views

ASA CREW VOL.17

การออกแบบสถาปัตยกรรม หลายต่อหลายคร้ัง สิ่งที่เจ้าของ อาคารและสถาปนิกมุ่่งหมายที่จะส่ือสาร มีมากกว่าแค่การใช้สอยและการใช้งานทั่วๆ ไปและไม่ใช่เพียงแค่อาคารทางศาสนาเท่าน้ันที่อาจมีเป้าหมายของการสื่อสารไปถึงระดับของความ spiritual วารสารอาษาฉบับนี้ จึงชวนท่านผู้อ่านมาร่วมเปิดบทสนทนาเก่ียวกับการออกแบบ spiritual space ที่มีต่อศาสนาต่างๆ ประเพณี พิธีกรรม การละเล่น รวมถึงความเชื่ออ่ืนๆ ไปพร้อมกัน – ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ บรรณาธิการวารสารอาษาครู

การออกแบบสถาปัตยกรรม หลายต่อหลายคร้ัง สิ่งที่เจ้าของ อาคารและสถาปนิกมุ่่งหมายที่จะส่ือสาร มีมากกว่าแค่การใช้สอยและการใช้งานทั่วๆ ไปและไม่ใช่เพียงแค่อาคารทางศาสนาเท่าน้ันที่อาจมีเป้าหมายของการสื่อสารไปถึงระดับของความ spiritual วารสารอาษาฉบับนี้ จึงชวนท่านผู้อ่านมาร่วมเปิดบทสนทนาเก่ียวกับการออกแบบ spiritual space ที่มีต่อศาสนาต่างๆ ประเพณี พิธีกรรม การละเล่น รวมถึงความเชื่ออ่ืนๆ ไปพร้อมกัน – ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ บรรณาธิการวารสารอาษาครู

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

_แล้วในมุมของศาสนาอิสลาม องค์ประกอบ<br />

ที่รวมกันเป็นมัสยิดมีอะไรบ้าง<br />

ดร.อาดิศร์: ท่านศาสดากล่าวไว้ว่า “พื้นดิน<br />

ทั้งหมดเป็นที่ที่สามารถทําการละหมาดได้” ซึ่ง<br />

ต้องเป็นพื้นที่สะอาดและไม่อยู่ในข้อห้าม แต่<br />

มุสลิมอยากจะมาละหมาดที่มัสยิด เพราะมีข้อ<br />

บัญญัติว่าทุกก้าวที่เดินทางไปละหมาดที่มัสยิด<br />

นั้นนับเป็นผลบุญทั้งสิ้น ตัวมัสยิดจึงเป็น<br />

เหมือนที่หมายของคนในชุมชนมุสลิม มัสยิด<br />

จึงรองรับกิจกรรมที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการ<br />

ละหมาด การทําบุญให้กับเด็กที่เกิดใหม่ การ<br />

ทําพิธีศพ การแต่งงาน และการจัดกิจกรรม<br />

ชุมชนอย่างการพบปะพูดคุย การสอนอ่านพระ<br />

คัมภีร์ หรือแม้กระทั่งเป็นพื้นที่ทํากิจกรรมของ<br />

เด็กๆในชุมชน และเมื่อถึงเวลาละหมาดก็จะมี<br />

การอะซานหรือประกาศให้ทุกคนมาละหมาด<br />

พร้อมกัน ทุกกิจกรรมจะหยุดทั้งหมดเพื่อให้<br />

ทุกคนได้ร่วมกันละหมาด การอะซานนี้เดิมก็<br />

จะให้คนปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้านที่สูงที่สุดเพื่อ<br />

ให้ได้ยินไปทั่ว ซึ่งภายหลังก็มีการพัฒนา<br />

เป็นการสร้างหออะซานเพื่อให้สามารถอะซาน<br />

ได้ไกลขึ้นแล้วก็เป็นจุดสังเกตว่าที่ไหนมีหอ<br />

อะซานก็แปลว่ามีชุมชนมุสลิมอยู่ ฟังก์ชันอื่น<br />

อย่างเช่นแท่นมินบัรนั้นเกิดจากการที่ต้องการ<br />

ให้คนเห็นและได้ยินผู้พูดได้ชัดเจนขึ้น จึงทํา<br />

แท่นให้สูงขึ้น หรือองค์ประกอบอย่างซุ้มมิห์รอบ<br />

ก็เกิดจากการที่บางครั้งชาวมุสลิมที่ไม่เคยเข้า<br />

มัสยิดนั้นๆ มาก่อนอาจจะงงว่าทิศทางไหนคือ<br />

ทิศทางที่ต้องหันไปเพื่อละหมาด ก็มีการสร้าง<br />

ซุ้มที่ประดับด้วยลวดลายหรือการใช้อักษร<br />

ประดิษฐ์จากข้อความในคัมภีร์หรือพระนาม<br />

ของพระเจ้าพระศาสดาเพื่อให้ศาสนิกชนรู้ว่า<br />

ทิศทางนี้คือทิศทางที่ต้องหันไปขณะละหมาด<br />

ก็จะเห็นว่าองค์ประกอบแต่ละอย่างนั้นเกิดจาก<br />

การใช้งานหรือฟังก์ชันแทบจะทั้งหมด<br />

_ในศาสนาอิสลามจะไม่สร้างรูปเหมือนหรือรูปเคารพของ<br />

พระเจ้า แล้วชาวมุสลิมใช้สัญลักษณ์หรือรูปแบบทาง<br />

สถาปัตยกรรมอะไรที่มีความหมายแทนพระเจ้าบ้างหรือเปล่า<br />

ดร.อาดิศร์: ไม่มีเลยครับเพราะถือเป็นข้อห้ามที่จะทําอะไร<br />

เทียบเคียงหรือเสมอพระเจ้า เราจะไม่ใช้สัญลักษณ์แทน<br />

พระองค์แต่จะใช้สัญลักษณ์หรือลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่<br />

ทําให้ระลึกถึงพระองค์มากขึ้นอย่างเช่นอักษรประดิษฐ์ที่เขียน<br />

พระนามของพระเจ้าหรือข้อความจากคัมภีร์ หรือการ<br />

ออกแบบเชิงสัญลักษณ์ที่มีการตีความสรวงสวรรค์ตามคัมภีร์<br />

อัลกุรอานแล้วนํามาเป็นแนวทางการวางผังที่สื่อถึงสวนใน<br />

สวรรค์ แต่ตรงนี้ยังไม่ค่อยพบในบ้านเราสักเท่าไหร่<br />

_ศาสนาอิสลามจะมีลักษณะของการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน<br />

แต่ศาสนาพุทธจะเห็นว่ามันเป็นเรื่องของการปฏิบัติของ<br />

แต่ละบุคคล อะไรคือความสมดุลของการปลีกวิเวกเข้าไป<br />

อยู่ในป่าเพื่อปฏิบัติธรรม กับการสอนธรรมะให้ชาวบ้านใน<br />

ชุมชนในมุมของพุทธศาสนา<br />

พระมาร์ค: ความเกี่ยวข้องกันระหว่างนักบวชกับคฤหัสถ์ทรง<br />

ตรัสไว้ว่า คฤหัสถ์บํารุงนักบวชด้วยปัจจัย 4 คือ จีวร บิณฑบาต<br />

เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ส่วนนักบวชพึงอุปการะ<br />

คฤหัสถ์ด้วยการแสดงธรรมของพระศาสดา ต่างคนต่างอาศัย<br />

กันและกันในการถอนกิเลส เพื่อทําที่สุดแห่งทุกข์ การมาวัด<br />

ของพุทธบริษัทคือการมาถวายทาน รักษาศีล เจริญภาวนา<br />

มาได้ยินได้ฟังในสิ่งที่ไม่เคยได้ยินได้ฟัง เมื่อฟังธรรมไปแล้วก็<br />

หลีกไปปฏิบัติด้วยการนั่งสลับเดิน เพื่อเพ่งพิสูจน์ข้อธรรม<br />

และทําความเข้าใจกับสัจธรรมที่ทรงสอนเกี่ยวกับการทํางาน<br />

ของจิต เหล่านี้เป็นการทําความเพียรเผากิเลส เพื่อให้หลุด<br />

ออกจากระบบของความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ธรรมของ<br />

พระพุทธเจ้าจึงเรียกว่าเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์ คือปาฏิหาริย์<br />

ของคําสอนที่ทําให้ปุถุชนพัฒนาเป็นอริยบุคคลได้จริงๆ แล้ว<br />

การทําความความเพียรนี้สามารถปฏิบัติที่ไหนก็ได้ เวลาไหน<br />

ก็ได้ จะยืน เดิน นั่ง นอน หากมีความคิดที่เป็นอกุศลเกิด<br />

ขึ้นก็ให้ละทิ้งเสีย กลับมาระลึกรู้อยู่ที่กายของตนเอง หาก<br />

แต่ว่าถ้าเราได้มาที่วัดนั้น เป็นการสละเวลาจากการใช้ชีวิต<br />

ปรกติที่วุ่นวายอยู่กับโลกธรรม แล้วแบ่งเวลามาแสวงหาสิ่ง<br />

ที่ประเสริฐกว่า<br />

_ แล้วอย่างที่วัดนาป่าพงนี่การอยู่อาศัยหรือการปฏิบัติ<br />

ของพระเป็นอย่างไร<br />

พระมาร์ค: การใช้ชีวิตก็จะเป็นไปตามธรรมวินัยที่ทรงบัญญัติ<br />

ให้มีความมักน้อยสันโดษ อย่างเช่นจีวร พระสงฆ์ที่นี่ก็ต้อง<br />

ย้อมเองตามพระวินัยที่กําหนดว่าภิกขุได้จีวรมาใหม่พึงถือ<br />

เอาวัตถุสําหรับทําให้เสียสี 3 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ<br />

ของเขียวครามก็ได้ ตมก็ได้ หรือของดําคลํ้ำก็ได้ และจีวรจะ<br />

ย้อมด้วยนํ้ำฝาด ที่นี่ก็จะใช้นํ้ำย้อมที่ได้จากเปลือกมังคุดกับ<br />

แก่นขนุน ดังนั้นวัดจึงจะต้องมีพื้นที่สําหรับซักผ้า ย้อมผ้า<br />

และตากจีวรที่ย้อมแล้ว ส่วนกิจข้อวัตรของภิกขุก็มีทั้งกิจ<br />

ส่วนรวม กิจส่วนตัว มีการดูแลเสนาสนะของวัด มุ่งเน้นการ<br />

ภาวนาเป็นหลัก การใช้สอยเสนาสนะก็เป็นไปตามที่ทรง<br />

บัญญัติว่า ให้ใช้สอยเสนาสนะเพียงเพื่อบําบัดความร้อน<br />

ความหนาว เหลือบ ย่ง ลมแดด ภัยอันตรายจากดินฟ้า<br />

อากาศ เพื่อความยินดีในการหลีกเร้น เพราะฉะนั้นสิ่ง<br />

ก่อสร้างจะเป็นไปอย่างไรก็ได้ให้สอดคล้องกับคำำสอน<br />

อย่างตอนนํ้าท่วมปี 2554 วัดก็ได้รับผลกระทบพอสมควร<br />

ทำำให้การพิจารณาจะทำำอะไรก็ต้องคํานึงถึงอันตราย<br />

จากนํ้าท่วมด้วย<br />

_การสวดมนต์หรือการทำวัตรของพระสงฆ์มีข้อกำหนด<br />

อะไรบ้าง<br />

พระมาร์ค: เรื่องของการสวดมนต์พระพุทธเจ้าจะไม่ได้มีข้อ<br />

กําหนดตายตัว แต่ทรงตรัสไว้ว่าการสาธยายธรรมของ<br />

พระองค์นั้นเป็น 1 ใน 5 หนทางที่จะทําให้ถึงการหลุดพ้นได้<br />

ส่วนภิกขุก็จะมีวินัยบัญญัติเรื่องการสวดปาฏิโมกข์ (การ<br />

สวดทบทวนศีลอันเป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์) ซึ่งเป็นข้อ<br />

บังคับของสงฆ์ที่จะต้องสวดทุกกึ่งเดือนหากอยู่กันตั้งแต่ 4<br />

รูปขึ้นไป การกําหนดพื้นที่ในการสวดปาฏิโมกข์ในอาวาส<br />

นั้นก็จะค่อนข้างยืดหยุ่นมากพอสมควร<br />

_ แล้วทางฝั่งศาสนาอิสลาม หน่วยเล็กที่สุดของพื้นที่<br />

สำหรับละหมาดควรจะมีขนาดพื้นที่เท่าไหร่<br />

ดร.อาดิศร์: ท่านศาสดาบอกว่าพื้นที่ทั้งหมดถ้าเป็นที่สะอาด<br />

ก็ถือว่าสามารถทําละหมาดได้ พื้นที่เล็กที่สุดของการ<br />

ละหมาดก็จะอยู่ที่ประมาณ กว้าง 0.5-0.6 ม. ยาว 1.20 ม.<br />

หรือก็คือพื้นที่ที่พอจะให้คนหนึ่งคนก้มลงกับพื้นได้เท่านั้น<br />

เอง แค่ต้องระวังด้านหน้าไม่ให้มีอะไรรบกวน อย่างในสังคม<br />

ปัจจุบันที่ต้องออกไปทํางานนอกบ้านอย่างเช่นตามออฟฟิศ<br />

ต่างๆ ก็คือใช้แค่พื้นที่ข้างโต๊ะทํางานที่สะอาดและสงบ ปูผ้า<br />

ก็ใช้ได้แล้ว ในสถานที่สาธารณะบางแห่ง เช่น สนามบิน<br />

โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้าเขาก็มีการสร้างห้องละหมาด<br />

เตรียมเอาไว้ให้ด้วย แต่เราก็มีข้อยกเว้นนะครับอย่างเช่นคน<br />

ที่เดินทางไกลก็จะได้รับการผ่อนผันให้สามารถย่อรวมการ<br />

ละหมาดให้สั้นลงได้<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> 17 52 53<br />

Spiritual

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!