04.07.2018 Views

ASA CREW VOL.9

E-SAN FUTURE

E-SAN FUTURE

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

KHON<br />

KAEN<br />

ดร.สมศักดิ์ จังตระกูล<br />

ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น<br />

อยากให้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ช่วย<br />

อธิบายถึงภาพรวมในอนาคตของภาคอีสานว่าจะมี<br />

ลักษณะและทิศทางเป็นอย่างไร สหรับรองรับการ<br />

มาถึงของระบบขนส่งสาธารณะขนาดใหญ่ ได้แก่<br />

รถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง ทางหลวงพิเศษ<br />

มอเตอร์เวย์ เป็นต้น<br />

การมีระบบขนส่งสาธารณะขนาดใหญ่ ได้แก่ รถไฟรางคู่<br />

รถไฟความเร็วสูง และทางหลวงพิเศษมอเตอร์เวย์ เป็นการ<br />

ลงทุนระบบสาธารณูปโภคของประเทศไทยครั้งสำคัญนี้จะสร้าง<br />

ความเจริญเติบโตให้กับภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก ในอนาคต<br />

ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียจะมีการคมนาคมเชื่อมโยง<br />

อย่างไร้พรมแดน ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับ<br />

พลันในด้านต่างๆ ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม<br />

และภาคการศึกษา ฯลฯ ซึ่งรัฐบาลอาจจะต้องส่งเสริมสิทธิ<br />

พิเศษกระตุ้นให้กับภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรม<br />

เพื่อการสนับสนุนจะต้องมีการปรับเปลี่ยน เมื่อมีนักลงทุนจาก<br />

นักธุรกิจทั้งในประเทศ และต่างประเทศที่เพิ่มทวีคูณอย่าง<br />

รวดเร็ว<br />

การเตรียมความพร้อมของแต่ละจังหวัดในภาค<br />

อีสาน โดยเฉพาะหัวเมืองใหญ่ๆ เช่น นครราชสีมา<br />

ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย ว่ามีอะไรบ้าง ทั้งใน<br />

ระยะสั้น และระยะยาว<br />

จังหวัดขอนแก่นมีภูมิศาสตร์ที่อยู่ตรงจุดกึ่งกลางภาคอีสาน<br />

และเป็นจุดตัดเส้นทางการคมนาคมขนส่งหลัก East-West<br />

Corridor การเตรียมความพร้อมของผู้คนในจังหวัดภาคอีสาน<br />

สิ่งแรกที่จะต้องทำคือเปลี่ยนทัศนคติในการดำเนินชีวิตให้<br />

สอดคล้องกับนโยบายของประเทศ คือไทยแลนด์4.0 โดยการ<br />

เปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจแบบเดิมที่ทำมากได้น้อยเป็นทำ<br />

น้อยได้มาก โดยเปลี ่ยน 4 องค์ประกอบที่มีอยู่ และใส่<br />

นวัตกรรม ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์เพิ่มลงไป เช่น<br />

การเกษตรแบบเดิม ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ที่เน้นการบริหาร<br />

จัดการและเทคโนโลยี SMEs เดิมที่ภาครัฐให้ความช่วยเหลือ<br />

อยู่ตลอดเวลายกระดับให้เป็น Smart Farmers หรือ Start Up<br />

ที่มีศักยภาพสูง เปลี่ยนจากภาคบริการที่มีมูลค่าค่อนข้างต่ำ<br />

เป็น Hi Value Service และเปลี่ยนแรงงานที่มีทักษะต่ำไปสู่<br />

แรงงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือ Reform in Action<br />

การเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา<br />

เวียดนาม จะมีลักษณะอย่างไร และมีประโยชน์กับ<br />

ภูมิภาคอีสานในทิศทางใด<br />

หากพูดถึงความเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านคงหนีไม่<br />

พ้นการค้าการขาย ก็คือ ภาคเกษตรกรรมนั่นเอง ความจริงแล้ว<br />

สินค้ากับประเทศเพื่อนบ้านของเราคล้ายคลึงกัน ดังนั้นหาก<br />

จะค้าขายในอนาคตจะต้องมีการยกระดับสินค้าในประเด็นนี้<br />

หมายถึงสินค้าจะต้องมีความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมและ<br />

เทคโนโลยีจึงจะแข่งขันได้<br />

ขอนแก่นซึ่งเป็น “เมืองศูนย์กลางของภาคอีสาน”<br />

จะมีลักษณะการพัฒนาไปในทิศทางใด<br />

จังหวัดขอนแก่นจะต้องรักษาความได้เปรียบในเชิง<br />

ภูมิศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางภาคอีสานให้ได้แบบมีศักยภาพ<br />

และอย่างที่เรียนไปแล้วว่าจังหวัดขอนแก่นเรามีทิศทางการ<br />

พัฒนาเมือง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดประชุม<br />

บริษัทข้ามชาติ การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล การประชุม<br />

นานาชาติ และการจัดนิทรรศการ(Mice City) การพัฒนาเมือง<br />

อัจฉริยะ (Smart City) การพัฒนาเมืองให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพ<br />

นานาชาติ (Medical Hub) และเรื่องที่สำคัญคือเรื่องบริโภค<br />

เราจะต้องวางแผนผลิตสินค้าทางการเกษตรที่มีคุณภาพเพื่อ<br />

ส่งออก และเป็นศูนย์กลางตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าเพื่อการ<br />

บริโภคที่มีคุณภาพในอนาคต เพื่อให้เป็นเมืองที่น่าอยู่<br />

ปลอดภัย ห่างไกลจากยาเสพติด และอาชญากรรม<br />

ประชาชนทั่วไปควรมีการเตรียมความพร้อมเพื่อ<br />

รองรับอนาคตที่กลังจะเกิดขึ้นนี้อย่างไร<br />

ประชาชนชาวขอนแก่นจะต้องตื่นตัวพร้อมที ่จะเรียนรู้ทัน โดยให้พัฒนาใน 2 มิติ มิติที่หนึ่ง เป็นการพัฒนาแบบไทย<br />

สมัย และพร้อมปรับทัศนคติตามความเปลี่ยนแปลงของโลก หมายความว่าอะไรที่ดีอยู่แล้วก็ให้คงอยู่ หรืออะไรที ่มีคุณค่า<br />

อย่างฉับพลันให้ได้ สิ่งที่ภาครัฐต้องทำอย่างเร่งด่วน คือ การ ทางสถาปัตยกรรมก็เห็นสมควรให้ทำงานในเชิงอนุรักษ์ไว้<br />

ยกระดับความรู้ ทักษะ และทัศนคติของประชาชน อย่างไร มิติที่สอง กรณีการสร้างใหม่ ก็ให้นำเอาความรู้นวัตกรรมและ<br />

ก็ตาม จะต้องได้รับความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนและทุก เทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อก้าวไปสู่มาตรฐานสากลและสามารถ<br />

ภาคส่วน<br />

แข่งขันได้<br />

บทบาทของสถาปนิกกับการพัฒนาในครั้งนี้ ในมุมมอง<br />

ของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นคิดว่าควร<br />

เป็นเช่นไร<br />

ความจริงแล้วอาชีพสถาปนิกมีความสำคัญและมีบทบาท<br />

ต่อการพัฒนาบ้านเมืองเป็นอย่างมาก สมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์ ต้องนำเสนอภาพลักษณ์ของเมืองใน<br />

แต่ละย่าน และนำจุดแข็งมาสร้างให้เป็นจุดเด่นหรืออัตลักษณ์<br />

ในขณะเดียวกันจะต้องเดินหน้าเรื่องการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม<br />

ควบคู่กันไป<br />

อยากให้กรรมาธิการสถาปนิกอีสาน สมาคม<br />

สถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เข้ามามีส่วนร่วม<br />

กับทางจังหวัดหรือภูมิภาคอย่างไรบ้าง<br />

ท่านต้องนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ของท่านให้กับ<br />

ผู้บริหารเมือง โดยจะต้องเป็นรูปข้อมูลที่เป็นงานวิจัยหรือ<br />

งานที่มีวิชาการรองรับโดยทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษา<br />

ผศ.สุรศักดิ์ โลห์วนิชชัย<br />

ประธานกรรมาธิการสถาปนิกอีสาน<br />

ขอให้ท่านช่วยเล่าถึงประสบการณ์ในการดรง<br />

ตแหน่งประธานกรรมาธิการสถาปนิกอีสานว่า<br />

เป็นอย่างไร<br />

ตั้งแต่รับตำแหน่งประธานกรรมาธิการสถาปนิกอีสาน<br />

เป็นต้นมา ก็ได้ทำงานในการเชื่อมต่อประสานระหว่างสมาชิก<br />

กับสมาคมฯ ด้วยการดำเนินกิจกรรมอย่างหลากหลายตามแผน<br />

งานและงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมฯ อีกทั้ง<br />

ยังมีกิจกรรมร่วมกันกับกรรมาธิการสถาปนิกในภูมิภาค อื่นๆ ทำให้<br />

มีการแลกเปลี่ยนความเห็นและประสบการณ์ในวิชาชีพมากขึ้น<br />

ด้วยลักษณะของภูมิประเทศของภาคอีสานที่มีขนาดกว้างใหญ่<br />

และวิชาชีพสถาปนิกเองก็ยังไม่เป็นที่รู้จักหรือเข้าใจในการ<br />

ปฏิบัติวิชาชีพสำหรับประชาชนทั่วไป จึงเป็นอุปสรรคสำคัญ<br />

ประการหนึ่งในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของสมาคมฯ ให้ทั่วถึง<br />

แนวทางหนึ่งที่พยายามดำเนินการกันอยู่คือการสร้างการจัดตั้ง<br />

ศูนย์กิจกรรมของแต่ละกลุ่มจังหวัดหลักๆ ที่มีสมาชิกจำนวน<br />

มากในพื้นที่ภาคอีสาน เพื่อร่วมกันทำกิจกรรมของสมาคมฯ ให้<br />

มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม<br />

กรรมาธิการสถาปนิกอีสานมีแนวทางในการติดต่อ<br />

สื่อสารให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ สถาปนิก<br />

ในแต่ละจังหวัดของภาคอีสานอย่างไร<br />

แนวทางในการติดต่อสื่อสารในปัจจุบันจะใช้เทคโนโลยี<br />

การสื่อสารที่อำนวยความสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย เช่น<br />

การใช้โซเชียลมีเดียต่างๆ เพื่อให้เข้าถึงสมาชิกให้ทั่วถึงมากที่สุด<br />

เพื่อสื่อสารให้ได้รับทราบข่าวสารกันได้อย่างกว้างขวางใช้ความ<br />

ไม่เป็นทางการในการสื่อสาร หากสมาชิกมีข้อสงสัยในเรื่องการ<br />

ดำเนินการอะไรจะสามารถเข้ามาสอบถาม เพื่อให้ ผู้เกี่ยวข้อง<br />

ได้มาอธิบายให้ชัดเจน เสริมกับการสื่อสารอย่างเป็นทางการของ<br />

สมาคมฯ ผ่านหนังสือและจดหมายเหตุของสมาคมฯ ก็จะช่วย<br />

ให้เกิดความเข้าใจในภารกิจของสมาคมฯ มากขึ้น ด้วยความ<br />

คาดหวังว่าจะทำให้สมาชิกเข้าใจและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของ<br />

สมาคมฯ มากยิ่งขึ้น<br />

การเชื่อมโยงกับสถาปนิกอาเซียน โดยเฉพาะภูมิภาค<br />

อีสาน ทางกรรมาธิการสถาปนิกอีสานได้มีการ<br />

ติดต่อกับสถาปนิกประเทศเพื่อนบ้านที่ไหนบ้าง และ<br />

อย่างไร<br />

ในกลุ่มสมาชิกสถาปนิกอาเซียน ทางกรรมาธิการสถาปนิก<br />

อีสานมีการติดต่อใกล้ชิดกับสมาคมสถาปนิก วิศวกรและการ<br />

ก่อสร้างของประเทศลาว มีการแลกเปลี่ยนกิจกรรมในหลายระดับ<br />

ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ นอกจากนี้ยังได้มีการ<br />

ประสานงานเพื่อสร้างความร่วมมือกับสมาคมสถาปนิก<br />

เวียดนาม เพื่อการแลกเปลี่ยนด้านวิชาชีพกันต่อไปในอนาคต<br />

ปัจจุบันยังเป็นการร่วมมือในระดับวิชาการระหว่างสถาบันการ<br />

ศึกษาของไทยกับลาว และเวียดนาม ผ่านการฝึกปฏิบัติการของ<br />

นักศึกษาและอาจารย์ ด้วยงบประมาณที ่ได้รับการสนับสนุน<br />

จากสมาคมสถาปนิกสยามฯ<br />

ท่านอยากให้สถาปนิกอีสานรุ่นต่อไปในอนาคต<br />

มีลักษณะเป็นอย่างไร<br />

เนื่องจากภาคอีสานนั้นเป็นภาคที่ผลิตสถาปนิกไปประกอบ<br />

วิชาชีพในภูมิภาคอื่น มากกว่าการที่จะผลิตสถาปนิกมา<br />

ประกอบวิชาชีพในพื้นที่อีสานเอง เห็นได้จากปริมาณของ<br />

สถาปนิกที่จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาในภาคอีสานจะ<br />

กระจายตัวไปทำงานทั้งในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ สงขลา ภูเก็ต<br />

ชลบุรี ฯลฯ ในขณะที่จำนวนของสถาปนิกที่จบการศึกษาจาก<br />

สถาบันในภูมิภาคอื่นเข้ามาประกอบวิชาชีพในพื้นที่อีสานมี<br />

จำนวนน้อยมาก จึงเป็นภาระที่สถาปนิกรุ่นต่อไปในพื้นที่ภาค<br />

อีสานจะต้องมีความร่วมมือร่วมใจ และมีจิตอาสาในการดำเนิน<br />

กิจกรรมเพื่อวิชาชีพ มากกว่าการทำเพื่อตนเองหรือเฉพาะกลุ่ม<br />

ทำให้เกิดมาตรฐานในการปฏิบัติวิชาชีพยกระดับวิชาชีพให้สังคม<br />

ยอมรับในมาตรฐานการทำงาน สร้าง งานสถาปัตยกรรมที่ดีและ<br />

น่าสนใจให้เกิดขึ้นในพื้นที่ต่อไป<br />

แนวทางหนึ่งที่<br />

พยายามดำเนินการอยู่<br />

คือการสร้างการจัดตั้ง<br />

ศูนย์กิจกรรมของแต่ละ<br />

กลุ่มจังหวัดหลักๆ ที่มีสมาชิก<br />

จำนวนมากในพื้นที่ภาคอีสาน<br />

เพื่อร่วมกัน<br />

ทำกิจกรรมของสมาคมฯ<br />

ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม<br />

คถามสุดท้าย เมื่อมีระบบขนส่งสาธารณะขนาดใหญ่<br />

เข้ามาในภูมิภาคอีสาน ท่านคิดว่าจะเกิดประโยชน์กับ<br />

สถาปนิกอีสานอย่างไร<br />

สิ่งที่คาดหวังสำหรับการมีระบบขนส่งสาธารณะขนาดใหญ่<br />

ในภาคอีสานก็คือการที่ระบบเศรษฐกิจของแต่ละจังหวัดในภาค<br />

อีสานจะมีการขยายตัวมากขึ้น มีการค้า การใช้จ่ายในด้านต่างๆ<br />

มากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าหากเป็นไปตามที่คาดหวังแล้ว จะทำให้<br />

เกิดความต้องการคุณภาพและปริมาณของงานออกแบบ<br />

สถาปัตยกรรมมากยิ่งขึ้น มีค่าตอบแทนของค่างานออกแบบ<br />

มากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพสถาปนิกต้องมีการปรับตัวให้<br />

สนองตอบต่อความต้องการข้างต้นและตามความคาดหวังของ<br />

ผู้ใช้บริการวิชาชีพที่สูงขึ้นกว่าเดิม<br />

- 18 -<br />

- 19 -<br />

MAR-APRIL 2018 - ISSUE 09<br />

MAR-APRIL 2018 - ISSUE 09

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!