04.07.2018 Views

ASA CREW VOL.9

E-SAN FUTURE

E-SAN FUTURE

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

เรื่อง :<br />

E-SAN<br />

CLASSIC<br />

E-SAN CLASSIC<br />

Exploring the valuable ancient architecture which fully maintains E-San being<br />

สำรวจสถาปัตยกรรมเก่าแก่ทรงคุณค่าที่เชื่อมโยงความเป็นอีสานดั้งเดิมไว้เต็มเปี่ยม<br />

อาคารพิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานีแต่เดิมนั้นเป็นอาคาร<br />

เรียนของโรงเรียนสตรีประจำมณฑลอุดร ซึ่งเป็นโรงเรียน<br />

ที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี<br />

พระพันปีหลวง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

รัชกาลที่6 ทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะให้เป็นโรงเรียนประจำ<br />

มณฑลอุดร แต่ในปีพุทธศักราช 2462 พระองค์เสด็จ<br />

สวรรคตเสียก่อน การดำเนินงานจึงจำต้องค้างมา<br />

จนเวลาต่อมาพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (ศุข ดิษย<br />

บุตร) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร ผู้สำเร็จราชการมณฑล<br />

อุดร และคุณหญิงน้อม ดิษยบุตร (ศรีสุริยราช) ได้ชักชวน<br />

ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนชาวเมือง ร่วมบริจาคทรัพย์น้อม<br />

เกล้าน้อมกระหม่อม สร้างอาคารเรียนอุปถัมภ์นารีใหม่เพื่อ<br />

อุทิศถวายแด่พระองค์ท่าน และเมื่อปีพุทธศักราช 2463<br />

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทาน<br />

พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพิ่มเติม และพระราชทานนาม<br />

โรงเรียนใหม่ว่า “ราชินูทิศ” และได้ประกอบพิธีฝังรากศิลา<br />

จารึกโรงเรียนขึ้นในปี 2464 โดยตัวอาคารสร้างอยู่บริเวณ<br />

ริมหนองประจักษ์ และเปิดใช้เป็นโรงเรียนสตรีประจำ<br />

มณฑลอุดรตั้งแต่ปี 2468 เป็นต้นมา<br />

หลังจากใช้เป็นโรงเรียนสตรี อาคารนี้ก็ถูกปรับเปลี่ยน<br />

การใช้งานเป็นสำนักงานการศึกษาธิการเขต และปรับมา<br />

Udon Thani City Museum<br />

พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี<br />

อาคาร Neo Classic บอกเล่าอดีต เชื่อมโยงถึงปัจจุบัน<br />

เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานีในปี 2547 เป็นต้นมา แต่<br />

เนื่องจากเป็นอาคารเก่าแก่ ปัจจุบันอายุกว่า 90 ปี มีสภาพ<br />

ทรุดโทรม เทศบาลนครอุดรธานีในสมัยของนายอิทธิพนธ์<br />

ตรีวัฒนสุวรรณ นายกเทศมนตรี ได้ร่วมกับกรมศิลปากร<br />

จัดให้มีการออกแบบเพื่อบูรณะอาคาร และออกแบบ<br />

นิทรรศการภายในขึ้นใหม่ทั้งหมด โดยใช้เวลากว่า 4 ปี<br />

ตั้งแต่เริ่มวางแผนการบูรณะ และเปิดให้ประชาชนได้เข้า<br />

ชมไปแล้วเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2561 ที่ผ่านมา<br />

อาคารราชินูทิศเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้น สร้าง<br />

ด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกใกล้เคียงกับรูป<br />

แบบที่เรียกว่า Neo-Classic จัดแสดงเรื่องราวต่างๆ เกี่ยว<br />

กับจังหวัดอุดรธานี นับตั้งแต่ประวัติศาสตร์ โบราณคดี<br />

ธรรมชาติวิทยา ธรณีวิทยา ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และ<br />

ศิลปวัฒนธรรม รวมถึงพระประวัติและพระเกียรติคุณของ<br />

กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ก่อตั้งเมืองอุดรธานี<br />

ส่วนอาคารโครงสร้างเหล็กด้านข้างอาคารพิพิธภัณฑ์<br />

คืออาคารศูนย์บริการพิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี สร้างแทน<br />

ตำแหน่งของอาคารวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานีที่มีสภาพ<br />

ชำรุดทรุดโทรม โดยตัวอาคารถูกออกแบบให้มีผนัง 3 ชั้น<br />

ซ้อนกัน (Triple Layer) โดยผนังชั้นในสุดเป็นโครงสร้าง<br />

อิฐก่อ โดยมีอิฐไม้แทรกอยู่เป็นระบบ เพื่อเชื่อมโยงถึง<br />

ระบบโครงสร้างของอาคารพิพิธภัณฑ์ผนังชั้นที่สองเป็นผนัง<br />

กระจกหุ้มอาคารทั้งหมด เพื่อควบคุมระบบปรับอากาศ และ<br />

ผนังชั้นสุดท้ายคือผนังเหล็กฉลุหุ้มตัวอาคารทั้งหมดไว้โดย<br />

แพทเทิร์นของลายฉลุถูกออกแบบจากลายผ้าหมี่ขิด<br />

พระราชทาน เรียกว่า “หมี่ขิดลายสมเด็จ” ซึ่งเป็นลายที่ชุมชน<br />

ผ้าทอมือในจังหวัดอุดรทำถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์<br />

พระบรมราชินีนาถ และทำสีเหล็กฉลุทั้งหมดด้วยสีส ำริดที่สื่อ<br />

ความหมายถึงบ้านเชียงที่อยู่ในยุคสำริด อาคารหลังนี้จึงดู<br />

เหมือนการเปรียบเทียบประวัติศาสตร์ของตัวอาคารระหว่าง<br />

ความเก่าและใหม่ที่ต้องเดินไปคู่กันเสมอ<br />

พื้นที่ด้านหลังอาคารพิพิธภัณฑ์สามารถเชื่อมกับพื้นที่ของ<br />

หนองประจักษ์ ซึ่งเป็นสวนสาธารณะของเมือง ผู้ออกแบบจึง<br />

ปรับให้แนวรั้วด้านหลังอาคาร เป็นพื้นที่ที่สามารถเดินข้าม<br />

ระหว่างพิพิธภัณฑ์กับหนองประจักษ์ได้ ความเชื่อมโยงนี้ท ำให้<br />

พื้นที่สาธารณะทั้งสองส่วนสามารถใช้พื้นที่ร่วมกันและเปิด<br />

โอกาสให้คุณค่าของอาคารเก่าได้แสดง ให้เห็นอิทธิพลของ<br />

ความนิยมในศิลปะและสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่เฟื่องฟูมาก<br />

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและร่องรอย<br />

ประวัติศาสตร์ภาคประชาชนที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี<br />

ภายในนิทรรศการ ซึ่งทั้งหมดคืองานสถาปัตยกรรมร่วมสมัยที่<br />

มีความหมายว่า การสร้างปัจจุบันเพื่อให้อดีตเดินต่อไปได้<br />

อาคารพิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานีในวันนี้<br />

ไม่เพียงทำหน้าที่อนุรักษ์และบอกเล่าอดีต<br />

แต่การออกแบบทางสถาปัตยกรรม<br />

ยังเชื่อมโยงและเปิดกว้าง<br />

ให้ผู้คนในพื้นที่สาธารณะร่วม<br />

มองทั้งอดีตสู่ปัจจุบันไปพร้อมๆ กัน<br />

The Udonthani Museum at first was a building in the<br />

girl school of Udon territory which was first planned to<br />

be built by Her Majesty the Queen Sripatcharin, the<br />

queen of King RAMA VI. But she had died before the<br />

construction finished. Until Phraya SriSuriyaratch<br />

Waranuwat, the governor of the Udon territory, and his<br />

wife asked people to donate some money for funding<br />

to continue the construction. In 2463 BE, King RAMA VI<br />

graciously donated more funding and named the school<br />

“Rajinutis”. There was the foundation stone laying ceremony<br />

in 2464 BE and the school opened in 2468 BE.<br />

After it had been used as the school building, it was<br />

also used as the regional education office and became<br />

the museum of Udonthani since 2004. But because it<br />

was a 90 years old building, so Mr. Itthipol Triwatanasuwan,<br />

the mayor, collaborated with the fine art department<br />

decided to renovate and redesign all of the building. It<br />

took about 4 years and opened for the public on January<br />

18, 2018.<br />

The Rajinutis Building is a 2 storey building, looks<br />

like Neo-Classic style. It exhibits many things about<br />

Udonthani, such as history, archeology, natural science,<br />

geology, local history, culture, and the history of Prince<br />

Prajak Silpakom, the founder of Udonthani province.<br />

The building beside the museum is the service<br />

center of Udonthani Museum. It was built to replace the<br />

culture center of Udonthani which was old and dilapilated.<br />

The service center building is designed to have Triple<br />

Layer Walls. The first layer is masonry wall with some<br />

wooden bricks to relate to the structure of the museum<br />

building. The second layer is glass wall covering all over<br />

the building to control air conditioning system. The last<br />

layer is perforated steel sheet covering the building. The<br />

pattern of the perforating was inspired by the “Mee Khid”<br />

silk pattern called “Mee Khid Lai Somdej” which is the<br />

pattern of hand weaven silk that people in Udonthani<br />

humbly gave to Her Majesty Queen Sirikit. The color of<br />

steel layer is bronze to refer to Ban Chiang Archaeological<br />

Site which was a village in the Bronze Age. This building<br />

is like the metaphor that says the old and the new things<br />

should go along together.<br />

The area in the back of the museum building connects<br />

to Prajak Pond which is the public park of the city. The<br />

architect designed the back fence, between the museum<br />

and Prajak Pond, to connect both areas. It also opens<br />

the view of the valuable old building to the public to<br />

show western architectural influence which was very<br />

popular in the reign of King RAMA VI. The exhibition<br />

inside the museum also shows the history of Udonthani<br />

public. All of these are the meaning of contemporary<br />

architecture which meant to build the presence to<br />

maintain the past.<br />

พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี<br />

ที่ตั้ง: ถ.โพศรี อ.เมือง จ.อุดรธานี<br />

เจ้าของโครงการ: เทศบาลนครอุดรธานี<br />

คณะทงาน: บริษัท ซิตี้นีออน ดิสเพลส์ แอนด์<br />

คอนสตรั๊คชั่น (ประเทศไทย) จกัด<br />

ที่ปรึกษาโครงการ: กรมศิลปากร<br />

Udon Thani City Museum<br />

Location: Phosri Road, Mueang District,<br />

Udon Thani<br />

Owner: Udon Thani Municipality<br />

Team: Cityneon Display and Construction<br />

(Thailand) Co., LTD.<br />

Consultant: Fine Art Department<br />

- 26 -<br />

- 27 -<br />

MAY-APRIL MAY-JUNE 2018 - ISSUE 09<br />

MAY-APRIL MAY-JUNE 2018 - ISSUE 09

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!